Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ค้นหาสาเหตุทำไมลูกไม่อยากไปโรงเรียน ?

โรงเรียนเป็นสถานที่สำคัญในการฟูมฟักเด็กทั้งในเรื่องการศึกษา พัฒนาการ นิสัยใจคอ ตลอดจนคุณธรรมต่างๆ หากเด็กสามารถปรับตัวและเข้ากับโรงเรียนได้ดีก็จะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น แต่หากปรับตัวไม่ได้ ไม่ชอบโรงเรียนหรือปฏิเสธโรงเรียนก็เป็นเรื่องยากที่จะช่วยให้เด็กรับประโยชน์ในการไปโรงเรียนได้อย่างเต็มที่ มดเป็นเด็กหญิงวัย 11 ปี อยู่ชั้นป.6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในรอบ 3 ปีนี้ย้ายโรงเรียนมา 3 แห่ง พูดง่าย ๆ คือ ปีละแห่ง พ่อแม่ตระหนักถึงความสำคัญของโรงเรียนและมองว่า การที่มดปฏิเสธโรงเรียนเป็นเพราะโรงเรียนแต่ละแห่งอาจไม่เหมาะกับลูก ในเดือนสองเดือนแรกของการเปลี่ยนโรงเรียนดูเหมือนจะได้ผล แต่พอเข้าเดือนที่สามอาการเดิม ๆ ก็ปรากฏขึ้น คือ ตอนเช้า บ่นกระปอดกระแปดไม่อยากไปโรงเรียน ร้องไห้ ทุกเช้าแม่ไปส่ง ก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะยอมลงจากรถ และยิ่งในปีนี้อาการต่าง ๆ ดูรุนแรงมากขึ้น มดขอโทรศัพท์เพื่อที่จะคุยกับแม่ได้ทุกเวลาที่รู้สึกไม่สบายใจขณะอยู่โรงเรียน ซึ่งก็ได้ผล แม่ให้โทรศัพท์ และมด ก็โทรหาแม่หลายครั้งในช่วงเวลากลางวัน ในที่สุดแม่รู้สึกว่า การย้ายโรงเรียนอาจไม่ใช่ทางแก้ปัญหาอีกต่อไป แม่จึงพามดมาพบหมอ มดเป็นลูกคนแรกในลูกทั้งหมดสามคนของครอบครัว อีกสองคนเป็นลูกชายฝาแฝดวัย 9 ปี น้องชายทั้งสองอยู่โรงเรียนชายล้วนแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เล็ก มดมีความสนใจแตกต่างจากน้อง น้องทั้งสองมักเล่นด้วยกันและสนใจ อะไรคล้ายกัน ญาติพี่น้องปู่ย่าตายายรอบตัวสนใจน้องฝาแฝดเป็นพิเศษ มดรับรู้ความแตกต่างนี้มาตลอดแต่ก็ไม่ถึงขั้นอิจฉาหรือทะเลาะกับน้องมากนัก…

Read more

ช่วยให้ลูกมีความคิดเชิงบวก

พ่อแม่ทุกคนย่อมปรารถนาให้ลูกมีความสุขและประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งสิ้น ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยก็คือการส่งเสริมให้ลูกมีความคิดเชิงบวก ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดอีกหลายคุณลักษณะในตัวเด็ก ทั้งความมั่นใจในตัวเอง ความรู้สึกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค สุขภาพจิตที่ดี รวมทั้งมนุษยสัมพันธ์และความมีเสน่ห์ในตนเอง แล้วพ่อแม่จะช่วยลูกได้อย่างไร ใช้ภาษาเชิงบวก บ่อยครั้งที่พ่อแม่ชินกับการใช้ คำสั่งห้าม หรือการพูดตำหนิ ต่อว่าลูก นั่นถือเป็นการตอกย้ำ กับความคิดหรือพฤติกรรมเชิงลบ เช่น “ทำไมถึงสะเพร่าอย่างนี้” “อย่าเกเร และดื้อกับคุณตาคุณยายนะลูก” “อย่ากระโดดเป็นลิงเป็นค่างอย่างนี้” “ทำไมถึงขี้เกียจกันจริง” ตัวอย่างเหล่านี้มักเกิดขึ้นจากความผิดหวังหรือไม่พอใจของพ่อแม่ แต่การพูดเชิงลบเช่นนั้น นอกจากโอกาสที่ลูกจะเชื่อฟังหรือ ทำตามน้อยแล้ว ยังอาจส่งผลในเชิงลบต่อตัวลูกคือลูกเชื่อว่าตนเองเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะพ่อแม่ ที่เขารัก บอกเขาหรือตอกย้ำเสมอว่าเขามีลักษณะเช่นนั้น นอกจากนั้นแล้วในเด็กบางคนที่พ่อแม่ไม่ใคร่ใส่ใจในเชิงบวกนัก ลูกอาจทำพฤติกรรมเชิงลบเพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือในเด็กบางราย อาจค่อย ๆ พัฒนาเป็นลักษณะการต่อต้านและทำในสิ่งที่พ่อแม่ไม่ประสงค์ในที่สุด พ่อแม่คงต้องหันมาพิจารณาตนเองในแต่ละสถานการณ์ก่อนว่าเราต้องการอะไรจากลูก แล้วพูดในสิ่งที่อยากเห็นหรือต้องการจากลูกแทน เช่น จากตัวอย่างข้างต้นแทนที่จะพูดว่า “ทำไมถึงสะเพร่าอย่างนี้” พ่อแม่อาจพูดว่า “ตรวจทานหลังทำเสร็จด้วยนะลูก” และแทนที่จะพูดว่า “อย่าเกเร และดื้อกับคุณตาคุณยายนะลูก” พ่อแม่อาจพูดว่า “เชื่อฟังคุณตาคุณยายนะลูก” เป็นต้น อย่างไรก็ตามในบางโอกาสพ่อแม่อาจใช้การพูดโดยใช้ ‘I-message’ เมื่อพ่อแม่เกิดความรู้สึกเชิงลบ หรือเมื่อพิจารณาแล้วว่าลูกไม่เห็นว่าเป็นปัญหาอะไรของลูกเองแต่สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของพ่อแม่และเป็นปัญหาของพ่อแม่เองมากกว่า เช่น “แม่รู้สึกหงุดหงิดที่เห็นของเล่นทิ้งเกลื่อนบนพื้นเพราะแม่อาจสะดุดล้มลงได้” “แม่รู้สึกกังวลที่สี่ทุ่มแล้วลูกยังไม่นอน…

Read more