นมแม่มีข้อดีนานัปการดังที่คุณแม่ทราบ มีโปรตีนย่อยง่าย สร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ เช่นดอทบวมโรคทางเดินอาหาร ป้องกันท้องเสีย ป้องกันภูมิแพ้ ต้านการอักเสบติดเชื้อ สุขภาพแข็งแรงโตเร็ว แล้วนมแม่ยังช่วยเสริมสร้างสติปัญญาความเฉลียวฉลาดให้ลูกได้ รายงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford University และ the Institute for Social and Economic Research, Essex University พบว่านมแม่ช่วยพัฒนาด้านความจำและยังช่วยเรื่องการเรียนของเด็กเมื่อถึงวัยเข้าเรียนอีกด้วย เมื่อได้กินนมทารกจะเติบโตเป็นเด็กที่มีความสุข สุขภาพจิตดีเพราะได้รับความอบอุ่นจากอ้อมกอดแม่ ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยและมีความสุขเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาสมองของเด็กเช่นกัน คุณแม่มือใหม่พยายามให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนหรือนานกว่านั้นก็ยิ่งดีนะคะ เพราะนมแม่เลอค่าสุด ๆ ค่ะ
ต้องยอมรับว่าบางครั้งลูกน้อยแสนน่ารักสามารถกลายเป็นลูกน้อยแสนป่วนได้ ทำให้คุณแม่ต้องแปลงร่างเป็นแม่มดกันบ้าง แต่บ่อยไปก็จะไม่ดีทั้งกับคุณแม่และคุณลูกแน่ ๆ มาดูวิธีบรรเทาอาการปี๊ดแตกใส่คุณลูกกันค่ะ ตั้งสติ ท่องไว้ในใจว่าตอนนี้กำลังโกรธลูกใจเย็นลงหน่อย หาสาเหตุที่แท้จริง ต้นเหตุอาจจะไม่ใช่ลูก แต่เป็นความเครียดจากที่ทำงาน ปัญหาการ พักผ่อนน้อยอดนอน 3.นับ 1-10 ก่อนอาละวาดใส่ลูก เมื่อรู้สึกโกรธสุดขีดให้เดินเลี่ยงออกไปจากห้องนั้นก่อน ฝากคุณพ่อดูสักครู่ค่อยกลับมาใหม่ พูดถึงความรู้สึกของคุณแม่ว่ารู้สึกแย่อย่างไรเมื่อลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้ แทนการชี้ข้อผิดของลูก อย่าเอาคดีเก่ามารวมรวบยอดพูดซ้ำซาก เวลาหายโกรธแล้ว ช่วงเวลาอารมณ์ดีอธิบายให้ลูกฟังด้วยท่าทีอบอุ่นอ่อนโยน เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันค่ะ
รับทราบมาบ่อย ๆ ว่าการกินเค็มหรือกินโซเดียมมากส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต กระดูกพรุน อัมพฤกษ์อัมพาต ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่อาจมั่นใจว่าลูกไม่ได้กินเค็มเกินไป ดูตัวเลขเหล่านี้แล้วอาจเปลี่ยนความคิดใหม่ มาดูปริมาณโซเดียมในอาหารจานเดียวกันก่อน สุกี้น้ำ 1,560 มิลลิกรัม บะหมี่น้ำหมูแดง 1,480 มิลลิกรัม เส้นใหญ่เย็นตาโฟ 1,417 มิลลิกรัม ผัดซีอิ๊ว 1,352 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 977 มิลลิกรัม กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่าผู้ใหญ่ไม่ควรกินเกลือเกินวันละ 1 ช้อนชา (เกลือ 1 ช้อนชา =โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม) แล้วเด็กล่ะ ? 6-11 เดือน 175-550 มิลลิกรัม/วัน (ประมาณ ¼ ช้อนชา) 1-3…
งานวิจัยจาก Trieste and the University of Padua ที่ตีพิมพ์ใน Scientific Reports เผยว่า ทารกในครรภ์อายุตั้งแต่ 18 สัปดาห์ขึ้นไปจะเคลื่อนไหวโดยใช้มือข้างที่ถนัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมือขวา งานวิจัยรายงานว่าความถนัดซ้ายหรือขวาของลูกนั้นถูกกำหนดมาตั้งแต่ในครรภ์ นักจิตวิทยาพัฒนาการแนะนำว่า อย่าพยายาม “แก้ไข” ความถนัดซ้ายของลูก เพราะจะส่งผลให้สมองของลูกทำงานหนักขึ้น มีโอกาสเกิดปัญหาในการเขียน การใช้กรรไกร หรือมีด และเล่นกีฬาได้ไม่ดี รวมไปถึงเหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องมาจากความถนัดซ้ายหรือขวาของเด็ก ๆ เกี่ยวข้องกับการบริการจัดการและการทำหน้าที่ของสมอง สมองซีกซ้ายและซีกขวา นั้นมีหน้าที่ควบคุมการทำงานและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ข้อแนะนำ ถ้าลูกยังไม่แสดงให้เห็นการใช้มือข้างที่ถนัดภายในอายุ 2 ปี พยายามให้เขาหยิบจับสิ่งของโดยใช้มือทีละข้าง และอย่าสั่งให้ลูกใช้ช้อนหรือปากกาด้วยมือข้างใด แต่ปล่อยให้เขาได้เลือกข้างที่ถนัดด้วยตัวเอง เมื่อลูกแสดงให้เห็นว่าถนัดมือข้างไหน พยายามหากิจกรรมให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อมือข้างนั้นด้วยจะดีที่สุดค่ะ
หากคุณแม่กังวลว่าลูกนอนนานไม่ตื่นขึ้นมากินนมสักที คงต้องสังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกค่ะ ถ้าลูกนอนสบาย เป็นปกติดีไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องกังวลหรือปลุกให้ลุกขึ้นมากินนมทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง อาจยืดหยุ่นช่วงเวลาการกินกันได้ ตามความเหมาะสม การที่ลูกนอนนานถ้าไม่นานจนรู้สึกว่าผิดปกติมากก็ไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปค่ะ หรือถ้าคุณแม่ยังไม่คลายความกังวลอาจปรึกษาคุณหมอ ร่วมกับการสังเกตการเจริญเติบโต น้ำหนักตัวกับปริมาณการกินของลูก ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ หากมีปัญหาจะได้ดูแลแก้ไขทัน
เมื่อไม่กี่วันมานี้ ข่าวพ่อของเด็กที่ถูกวัยรุ่น 5 คนรุมโทรมระงับอารมณ์ไม่อยู่ทำร้ายร่างกายผู้ก่อเหตุ เนื่องจากญาติผู้ก่อเหตุที่อ้างตัวว่าเป็นอบต.พยายามจ่ายเงินโดยไม่ต้องแจ้งความ ยังมีมีตำรวจช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้เรื่องจบ สร้างความโกรธแค้นให้กับคนในสังคม และรู้สึกสะใจเมื่อผู้ทำผิดโดนพ่อเหยื่อทำร้ายเอาคืนบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกครั้งที่มีข่าวคราวเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขืน สะเทือนความรู้สึกคนเป็นพ่อเป็นแม่และทุกคนในสังคม มีคำถามว่าเมื่อไหร่ปัญหานี้จะหมดไป แล้วเราจะปกป้องเด็ก ๆ ของเราอย่างไร ไทยติดอันดับ 10 โลกคดีข่มขืน ไทยติดอันดับ 10 ของโลกจากการคำนวณจำนวนคดี แต่ถ้าคำนวณจากอัตราเฉลี่ยคดีต่อประชากรหญิงจะติดอันดับ 29 ของโลก รายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติล่าสุด สถิติคดีข่มขืนในไทย พ.ศ. 2552-2556 เฉลี่ยปีละ 4,000 คดี ซึ่งหมายความว่ามีเหตุเกิดขึ้นทุก 2 ชั่วโมง ตำรวจจับได้ปีละ 2,400 คดี แต่ข้อมูลจากศูนย์พัฒนาข้อมูลกระบวนการยุติธรรมสำนักงานกิจการยุติธรรมรายงานว่าคดีข่มขืนเกิดขึ้นจริงมากกว่า 30,000 ดีต่อปี เท่ากับว่าเกิดขึ้นทุก ๆ 15 นาที คดีข่มขืนที่ไม่ได้แจ้งความมีถึง 87% สถิติเรื่องราวร้องทุกข์ข่มขืนอนาจารผ่านมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ปี 2558 มี 658 ราย …
สถานการณ์ของหมอกควันฝุ่นพิษ PM 2.5 ดีขึ้นเป็นพัก ๆ แต่ก็ยังไม่หมดสิ้นไปซักที เดี๋ยวมีรายงานว่าจังหวัดโน้นจังหวัดนี้ประกันมีฝุ่นหนาตึ้บเด็กเล็ก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง ยิ่งน่าเป็นห่วงเพราะมีโอกาสได้รับอันตรายจากฝุ่นพิษได้มากที่สุด การให้ลูกสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น ไม่ออกไปอยู่กลางแจ้งในวันที่มีฝุ่นหนาแน่น การใช้เครื่องกรองอากาศ และปิดประตูหน้าต่างบ้านเป็นวิธีป้องกันเด็ก ๆ จากฝุ่นพิษที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนทำได้ แต่หมดที่ว่ามานี้เป็นการป้องกันจากภายนอกค่ะ การดูแลสุขภาพลูกให้แข็งแรงก็เป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างเกราะป้องกันอันแข็งแกร่งเพื่อต่อสู้กับฝุ่นพิษในอากาศ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลร่างกายของร่างกายของลูกให้แข็งแรงอย่างไรได้บ้างมาฟังกันค่ะ 1.กินอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน นอกจากการให้ลูกกินอาหารครบทั้ง 5 หมู่แล้ว เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารเหล่านี้ วิตามินซี : ผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น บร็อคโคลี คะน้า ปวยเล้ง ฝรั่ง ลิ้นจี่ สตรอว์เบอร์รี ส้ม กีวี มะละกอสุก ฯลฯ วิตามินอี : อาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น ผักโขม เมล็ดทานตะวัน น้ำมันคาโนล่า มะเขือเทศ มะม่วง…
ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่ควรพักผ่อนอย่างไรบ้าง อย่างน้อยควรนอนพักผ่อนช่วงกลางคืนให้ได้ 6-8 ชั่วโมง ไม่ควรหยิบจับหรือยกสิ่งของหนัก เพราะเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อและมดลูกกลับคืนสู่สภาพปกติ หากคุณแม่ยกของหนัก อาจกระทบกระเทือนถึงอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานมดลูกได้ เคล็ดลับเพิ่มเวลาพัก 1.ช่วง 2 สัปดาห์แรกให้คุณพ่อหรือคนในครอบครัวช่วยดูแลลูกตอนกลางคืนแม่ได้นอนพักเต็ม ๆ ก็จะฟื้นตัวเร็วขึ้น 2.หลังอาหารกลางวันอาจหาเวลาพักผ่อนให้ได้ประมาณ 30 นาที 3.เมื่อลูกหลับคุณแม่หลับด้วย แม้บางครั้งจะเป็นช่วงสั้น ๆ แต่ก็ช่วยให้แม่สดชื่นได้ 4.อย่ากังวลถึงงานการคั่งค้างมากเกินไป เลือกทำเฉพาะที่จำเป็นก่อน ขอให้แม่ ๆ ทุกท่านฟื้นตัวเร็ว ๆ นะคะ
การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างยิ่ง คุณแม่อย่าผัดวันกระกันพรุ่งนะคะ คุณแม่คนใหม่ควรเน้นการออกกำลังกายเบา ๆ ช่วงแรก อาจเป็นการเดินหรือทำงานบ้านที่ไม่ต้องใช้แรงมากนัก เพื่อช่วยในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในให้กลับสู่สภาพปกติได้เร็ว การบริหารยืดเหยียดร่างกาย การเดิน โยคะ หรือออกกำลังกายในแบบที่ชอบแต่ไม่ใช่แบบที่หนักหน่วงเกินไป หากทำเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น คุณแม่คลอดเองสามารถเริ่มออกกำลังกายเบา ๆ ได้ตั้งแต่ 2-3 วันหลังคลอด ส่วนคุณแม่ที่ผ่าคลอดควรเริ่มต้นออกกำลังหลังคลอดไปประมาณ 20 วันแล้วหรือตามคำแนะนำของคุณหมอ หากปล่อยทิ้งไว้นานหลายเดือนกว่าจะเริ่มออกกำลังกาย แม่ ๆ มักจะลดน้ำหนักยากค่ะ การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้น้ำหนักลด รูปร่างของแม่กลับคืนมา และยังป้องกันช่องคลอดหย่อนกระบังลมเคลื่อนอีกด้วย
การดูแลแผลหลังคลอดทั้งแผลคลอดเองและผ่าคลอด คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องความสะอาดค่ะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แผลคลอดธรรมชาติ จะมีอาการปวดแผล 3-4 วัน หรืออย่างมาก 1 สัปดาห์ และจะค่อย ๆ ทุเลาลง มักหายเองภายใน1 สัปดาห์หลังคลอด หากปวดมากสามารถกินยาแก้ปวดลดได้ แต่ถ้าปวดแผลฝีเย็บมาก มีอาการบวมแดง กดแล้วเจ็บอาจเป็นเพราะฝีเย็บอักเสบควรรีบพบคุณหมอทันที ต้องหมั่นดูแลความสะอาดไม่ให้เกิดการติดเชื้อ การทำความสะอาดโดยทั่วไปคือ ทำความสะอาดแผลทุกวัน วันละ 1-2 ครั้งด้วยสบู่หรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออย่างอ่อนล้างกับน้ำสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพราะการล้างจากก้นมาด้านหน้า จะนำเชื้อโรคจากทวารหนักมาสู่แผลและช่องคลอด แผลผ่าคลอด ตรวจดูแผลว่า มีการปริแตกไหม ซึ่งคุณหมอจะปิดพลาสเตอร์กันน้ำมาให้ เมื่อครบกำหนดที่คุณหมอนัดก็ควรไปตามนัดเพื่อให้ตรวจแผลว่าเรียบร้อยดีหรือไม่ คำแนะนำ ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดด้วยวิธีธรรมชาติหรือผ่าคลอด การดูแลแผลหลังคลอดเป็นสิ่งสำคัญ เน้นเรื่องความสะอาด เพราะหากแผลติดเชื้อจากสิ่งสกปรกจะยิ่งทำให้แผลหายช้ามากขึ้น t