ใบกะเพรานอกจากทำเป็นเมนูฮิตประจำชาติผัดกะเพราแล้ว ปรุงเป็นแกงจืดก็รสชาติอร่อยรับประทานง่าย ปลายฝนต้นหนาวอย่างนี้เด็ก ๆ มักจะเป็นหวัดง่ายคุณแม่ลองทำแกงจืดผัดกะเพราให้ลูกรับประทานกันค่ะ นอกจากคุณสมบัติเด็ดในการต้านหวัดแล้ว กะเพรายังช่วยบรรเทาอาการไอ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลายเครียด แก้อักเสบ เนื่องจากใบกะเพรานั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระค่ะ เครื่องปรุง ใบกะเพรา แคร์รอต หมูสับ กระเทียม พริกไทย รากผักชี น้ำปลา ซีอิ๊วขาว น้ำตาล วิธีทำ ตั้งน้ำซุปกระดูกหมูในหม้อให้เดือด ใส่กระเทียมพริกไทยรากผักชีโขลกลงไปพอหอม ๆ ตามด้วยหมูสับปั้นก้อน พอหมูสุกดีแล้วใส่แคร์รอตเพื่อให้ดูน่ารับประทาน เหยาะน้ำปลาปรุงรสอย่าให้รสเค็มจัด ใส่น้ำตาลเล็กน้อยเพื่อปรุงรสให้กลมกล่อมโดยไม่ต้องใช้ผงชูรส ใส่ใบกะเพราพอสุกปิดไฟยกลงจากเตา
เปิดเทอมไปสักพักหนึ่งแล้วคุณลูกยังป่วนอยู่หรือเปล่าคะ อะไรก็ตามพอทิ้งไปนานเข้าก็กลายเป็นเรื่องยาก จึงเป็นธรรมดาที่ลูกจะดื้อและป่วนในช่วงเปิดเทอมใหม่ ๆ เพราะเคยอิสระมานาน หมดช่วงเวลาแห่งความสนุกต้องมาตื่นแต่เช้า ไปเรียนหนังสือ แม่ ๆ มาหาวิธีรับมือกันค่ะ 1.ให้ลูกนอนแต่หัวค่ำ บ้านไหนฝึกลูกให้นอนหัวค่ำตลอดจะช่วยได้มาก ลูกจะตื่นเช้าโดยไม่อิดออดเพราะได้นอนครบ 10 ชั่วโมงเต็ม ๆ โดยประมาณตามวัยของเขา 2.สร้างบรรยากาศการไปโรงเรียนให้สดชื่น เลี่ยงการดุหรือบ่นลูก อาจจะเตรียมมื้อเช้าเมนูโปรด หรือบอกลูกว่าหลังเลิกเรียนจะชวนเขาทำกิจกรรมที่ชอบ 3.ช่วยดูแลจัดกระเป๋านักเรียน ทำให้กิจกรรมนี้เป็นเรื่องสนุกร่วมกัน ช่วยดูแลการบ้านเพื่อช่วยลดความเครียดให้เขา 4.หลังเลิกเรียนให้ลูกได้กลับมาพักผ่อนเร็ว ๆ ได้ทำกิจกรรมที่เขาชอบ หลังจากพักหายเหนื่อยชวนเขาขี่จักรยาน เล่นบอล หรือทำกิจกรรมที่ได้ออกกำลังกาย 5.ในช่วงแรกอาจเพิ่มสิทธิพิเศษบางอย่างให้ลูก เช่นให้เล่นได้นานหน่อย ได้กินขนมหรือของเล่นที่เขาชอบบ้าง แต่ต้องมีขอบเขตไม่ให้ต่างจากข้อกำหนดเดิมมากเกินไป ช่วงแรก ๆ นี้คุณแม่อย่าเพิ่งเป๊ะมาก ลดความเคร่งครัดในสิ่งที่ลูก “ต้อง” ทำลงสักนิด รอเขาปรับตัวได้ค่อยว่ากันค่ะ
หน้าฝนแวะเวียนมาทีไร คุณแม่มักจะเป็นกังวลกับสุขภาพของลูกน้อยเป็นพิเศษ มีเรื่องใดต้องระวังบ้างมาดูกันเลยค่ะ 1.หวัด เด็กเล็กมีโอกาสเป็นหวัดง่าย ไอ มีน้ำมูก หายใจครืดคราดอยู่บ่อย ๆ การให้ลูกดื่มน้ำหรือนมมากขึ้นช่วยได้ ถ้าไม่ได้มีน้ำมูกมากควรหลีกเลี่ยงการกินยาค่ะ วิธีลดน้ำมูก แม้ว่าภายในรูจมูกของลูกเป็นส่วนที่บอบบาง ไม่ควรมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปสัมผัส แต่หากมีความจำเป็นควรดูแลอย่างถูกวิธี เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน อาจใช้ก้านสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดภายในรูจมูก แต่อย่าเข้าไปลึกเพราะอาจเป็นอันตรายได้ เด็กที่โตหน่อย ใช้ลูกยางดูดน้ำมูก โดยทำความสะอาดลูกยางด้วยน้ำและสบู่ บีบน้ำออกให้หมด เวลาใช้บีบกระเปาะยางให้แบนแล้วสอดเข้าไปในรูจมูกแล้วค่อย ๆ คลายมือที่บีบออกเบา ๆ เพื่อดูดน้ำมูก ใช้เสร็จแล้วควรทำความสะอาดและผึ่งลมให้แห้ง 2.ผดผื่นตอแย เชื้อโรคมักเติบโตได้ดีในอากาศอับชื้นนำมาสู่ปัญหาผดผื่นได้ ดูแลและป้องกัน ดูแลของใช้ลูก อย่างผ้าอ้อม เสื้อผ้า หรือผ้าห่มไม่ให้อับชื้น ก่อนเก็บผ้าให้จับดูว่าส่วนไหนยังชื้นอยู่ควรตากแดดให้แห้งหรือรีดให้หายชื้น ถ้าใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปต้องหมั่นเปลี่ยนเสมอ เพราะมีโอกาสทำให้เกิดผดผื่นได้มากกว่าผ้าอ้อมผ้า ถ้าลูกคันทาคาลามายน์เพื่อช่วยบรรเทา อย่าให้เกาเด็ดขาด ถ้ามีทีท่าว่าจะลามไม่หยุด ควรไปพบคุณหมอ 3. แมลง กัด ต่อย …
คุณแม่มักมีความสุขที่เห็นลูกกินได้ แต่ดีใจได้ไม่เท่าไหร่ก็มานั่งกลุ้มเพราะของที่ลูกกินมีแต่ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ช็อกโกแลต เยลลี่ คุกกี้ ขนมเค้ก ไอศกรีม ฯลฯ ที่มีแต่แป้ง ไขมัน น้ำตาล เกลือที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสารพัด แล้วจะทำอย่างไรดีลูกกินแต่ขนม เรามี 5 วิธีแก้ไขมาฝากค่ะ 1.จัดสรรเวลา ควรจัดสรรเวลาอาหารของลูก ไม่ควรให้ลูกกินขนมก่อนกินอาหารมื้อหลัก เพราะจะทำให้ลูกอิ่มจนไม่อยากกินข้าว 2.จัดปริมาณ ไม่ปล่อยให้ลูกกินขนมไปเรื่อย ๆ แม้ว่าจะอย่างละนิดอย่างละหน่อยก็ตาม ตกลงกับลูกว่าสามารถกินขนมในปริมาณมากน้อยแค่ไหน 3.จัดผลไม้แทนขนม ไม่ควรมีขนมเก็บไว้ในบ้านมากเกินไป เตรียมของว่างที่มีประโยชน์หรือผลไม้ไว้แทนขนมจะดีต่อสุขภาพของลูกมากกว่า 4.จัดให้นาน ๆ ครั้ง สำหรับเด็กที่เคยติดใจในรสชาติขนมไปแล้ว การห้ามกินขนมค่อนข้างทำร้ายจิตใจเด็ก ให้ลูกกินได้ในปริมาณที่เหมาะสม หรือกินบ้างนาน ๆ ครั้ง 5.จัดพฤติกรรมของพ่อแม่ คุณพ่อคุณแม่ควรทำตัวเป็นต้นแบบที่ดีในเรื่องการกิน ทั้งไม่กิน และไม่ซื้อแต่ขนม แต่เลือกกินของที่มีประโยชน์ พยายามสร้างความคุ้นเคยในการกินอาหารที่มีประโยชน์ตั้งแต่เล็ก ๆ เพื่อสุขภาพของลูกค่ะ
การนอน เป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเบบี๋ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสมอง ค่ะ การนอนกรนดูเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่บางกรณีอาจเป็นอันตรายได้ค่ะ แล้วลูกเรานอนกรนหรือเปล่า ถ้ายังไม่แน่ใจ ควรสังเกตการนอนของลูก ดูว่านอนกรนหรือไม่ เพราะจากการศึกษาพบว่า 20 % ของเด็กมีอาการนอนกรน โดย 7 - 10 % มีอาการนอนกรนทุกคืน เด็กหลายคนนอนกรนแต่ก็มีสุขภาพดี แต่พบว่าราว 2% มีปัญหาขณะหลับ คือ มีปัญหาหายใจลำบาก อาจเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น รู้จักภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea Syndrome : OSAS) ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นมักเกิดจากช่องคอที่แคบลงและปิดในระหว่างหลับ ทำให้เด็กมีอาการหายใจเสียงดัง หายใจหอบ สะดุ้ง สำลัก เวลาหายใจเข้าหน้าอกจะบุ๋มปกติขณะหลับ โดยปกติขณะหลับกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกายจะหย่อนตัวลง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจด้วย เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นกล้ามเนื้อคอจะหย่อนตัวมาก ทำให้ช่องคอแคบกว่าปกติจนกระทั่งช่องคอปิด ทำให้เด็กพยายามหายใจเพิ่มขึ้น อาจได้ยินเสียงหายใจดังเฮือกเมื่อเริ่มกลับมาหายใจอีกครั้ง การหายใจเช่นนี้อาจกระตุ้นให้ตื่นเป็นช่วงสั้น ๆ และอาจทำให้หัวใจมีภาวะขาดออกซิเจน…
ใคร ๆ ก็อยากให้ลูกอยู่สุขใจสบายเนื้อสบายตัว ไม่มีปัญหารบกวนผิว แต่ลูกกลับมีปัญหาผดผื่นขึ้นจนได้ ยิ่งอากาศบ้านเราเปลี่ยนแปลงง่าย เริ่มอบอ้าวทีไรผดผื่นลูกก็ผุดขึ้นมาให้แม่ ๆ กลุ้มใจได้ตลอด ไม่เป็นไรค่ะเรามีวิธีจัดการ รู้ทันผดผื่น ทราบไหมคะว่าผดของลูกเกิดจากมีเหงื่อออกมาก เนื่องจากร่างกายมีความร้อนมากเกินไปค่ะ ไม่ได้เกิดจากการสัมผัสกับแสงแดด ผดจะมีลักษณะเป็นผื่นสีแดง ๆ มักขึ้นตามร่างกายในบริเวณที่มีต่อมเหงื่อมาก เช่น ใบหน้า ซอกคอ ไหล่ ตามข้อพับ ขาหนีบ ตัวลูกก็จะแดง ๆ และผิวหนังจะร้อน สาเหตุที่วัยเบบี๋เป็นผดบ่อย เพราะต่อมเหงื่อยังพัฒนาไม่เต็มที่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงแต่อย่างใด วิธีดูแล หาเสื้อผ้าเนื้อบางเบา เหมาะสมกับอากาศมาสวมใส่ให้ลูกเล็กอย่างผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นผ้าที่ซับเหงื่อได้ดี และไม่ทำให้ร่างกายของลูกร้อน จึงเหมาะสมสำหรับการให้เด็กสวมใส่มากที่สุด งดเสื้อผ้าที่เป็นขนสัตว์มุ้งมิ้ง หรือเส้นใยสังเคราะห์ อย่าสวมเสื้อหนาเกินไป หรือใส่ให้ลูกหลาย ๆ ชั้น ยิ่งอากาศร้อน ห้ามใส่ หมั่นอาบน้ำชำระร่างกายให้ลูกบ่อย ๆ ด้วยน้ำธรรมดาในอุณหภูมิห้อง แล้วเช็ดตัวให้แห้ง การอาบน้ำบ่อย ๆ จะช่วยให้ผิวหนังลูกเย็นลง ลูกก็จะสบายตัวมากขึ้น จัดห้องลูกไม่ให้ร้อนอบอ้าว อากาศถ่ายเทได้ดี มีลมพัดเข้าออกเบา…
เด็กตอบสนองเสียงต่าง ๆ ตั้งแต่แรกเกิดค่ะ คุณแม่ลองสังกตลูกดูว่าถ้ามีเสียงดนตรีแทรกขึ้นขณะที่มีเสียงอื่นดังอยู่ ลูกจะทำท่าเงี่ยหูฟังดนตรีอย่างตั้งใจ ถ้าได้ยินเสียงแม่เห่กล่อม ลูกก็จะนอนง่ายขึ้น เด็กในวัยแรกเกิดถึง 1 ขวบมีพัฒนาการตอบสนองต่อเสียงดนตรีเพิ่มขึ้นตามวัยดังนี้ค่ะ วัย 1 เดือน รู้จักมองหาจุดที่มาของเสียงที่ได้ยิน เมื่อได้ยินเสียงแม่ร้องเพลงจะจำได้เป็นพิเศษ วัย 2 เดือน สนใจฟังเสียงต่าง ๆ แสดงอาการชอบใจ เมื่อได้ฟังเสียงดนตรีและเสียงเพลงจะชะงักงัน และหยุดนิ่งเพื่อฟังเสียง วัย 3 เดือน หนูชอบส่งเสียงอืออาตอบรับเสียงที่ได้ยิน หันหน้าไปหาเสียงเพลง เงี่ยหูฟัง บางทีก็หยุดดูดนมเพื่อตั้งใจฟังเสียงที่เกิดขึ้น ส่งเสียงในลำคอโต้ตอบเสียงนั้น วัย 4 เดือน เวลาได้ยินเสียงดนตรีจะตอบสนองทันที มองหาแหล่งเกิดเสียงแล้วก็หยุดฟังเสียงดนตรี เวลาลูกส่งเสียงเหมือนพูดคุย ก็ยังมีระดับเสียงขึ้นลงเหมือนเสียงดนตรีด้วยนะ วัย 5 เดือน เวลาเปิดเพลงจะมีปฏิกิริยาเหมือนตอบสนองต่อจังหวะและทำนองดนตรี แล้วจะใช้วิธีการส่งเสียงเป็นการสื่อสารกับคนอื่นได้ด้วย วัย 6 เดือน ทำท่าพอใจเมื่อได้ยินเสียงดนตรี เช่น ผงกหัว โน้มตัวลงตอบสนอง ส่งเสียงพึมพำ ทำหน้าประหลาดใจต่อแหล่งที่มาของเสียง พูดเลียนระดับเสียงดนตรี…
ในช่วงขวบปีแรกการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นไปตามพัฒนาการทางร่างกาย ถ้าส่งเสริมอย่างเหมาะสมก็จะทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมวัยคุณพ่อคุณแม่มีส่วนช่วยให้ลูกน้อยได้ออกกำลังกายในช่วงขวบปีแรกอย่างไรมาดูกันค่ะ แรกเกิด - 3 เดือน ช่วงแรกเกิดเด็กอาจทำได้แค่มองเห็นและขยับตัวไปตามธรรมชาติ ฉะนั้น เมื่อเหยียดแขน ขยับขา คุณแม่อาจหาของเล่นปลอดภัยให้ลูกลองสัมผัส จับ กำ ขยำ หรือแม้แต่เวลาที่คุณให้นมลูก แล้วให้ลูกเพลิดเพลินกับการจับ การกำนิ้วหรือจับใบหน้าของแม่ก็ได้ค่ะ 3 - 6 เดือน เมื่อลูกพลิกคว่ำได้ ขณะลูกอารมณ์ดีให้จับลูกนอนคว่ำ ลูกจะหัดชัดคอขึ้น คุณแม่เอาของเล่นวางไว้ด้านหน้า เพื่อลูกจะหัดคว้า และขยับตัวมากขึ้น 6 - 9 เดือน กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ แข็งแรงมากขึ้น สามารถหยิบจับ คว้า กำสิ่งของได้นานขึ้น วิธีง่ายๆ คือ ให้ลูกหยิบ จับ ตักในการกินอาหารเข้าปากเอง เพื่อช่วยบริหารกล้ามเนื้อมือ และช่วยให้สายตากับมือทำงานประสานกัน อาจหาของเล่นเขย่า ของเล่นที่สามารถเข้าปากได้ หรือชวนลูกคืบตัวมาหาค่ะ 9 - 12 เดือน การเคลื่อนไหวของเด็กวัยนี้ดีขึ้นตามลำดับ คลาน ทรงตัวนั่ง และพัฒนาไปสู่การเกาะยืน จนกระทั่งเดินได้เอง…
เมื่อแรกคลอดเด็กทารกอาจมีภาวะตัวเหลืองได้ค่ะ ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้มากที่สุดในเด็กทารกโดยประมาณ 60-70% ทั้งในทารกอายุครรภ์ครบกำหนดและคลอดก่อนกำหนด ทั้งนี้จะสังเกตเห็นได้จากการมีสารตัวเหลืองที่ผิวหนังหรือเยื่อบุตาขาว สาเหตุของอาการตัวเหลือง เกิดก่อนกำหนด <37 สัปดาห์ หมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน เหลืองจากเม็ดเลือดแดงแตกตัว เช่น พร่องเอนไซม์ G6PD ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกินไป มีรอยฟกช้ำจากการคลอด มีจุดจ้ำแดงที่ผิวหนัง หรือมีการติดเชื้อ มีภาวะลำไส้อุดตัน ท่อน้ำดีอุดตันแต่กำเนิด ฯลฯ การดูแลลูกเมื่อตัวเหลือง ควรป้อนนมบ่อยขึ้นทุก 3 ชั่วโมง ประมาณ (8 มื้อ/วัน) เพื่อให้ลูกน้อยได้ขับถ่ายสารตัวเหลืองออกจากร่างกาย ประเมินภาวะตัวเหลือง โดยสามารถใช้นิ้วกดดูสีผิวที่อยู่ใต้ผิวหนังหรือกดตรงปุ่มกระดูก ทำในห้องที่แสงสว่างเพียงพอ ถ้าพบว่าลูกมีอาการตัวเหลืองมากหรือเพิ่มมากขึ้นให้รีบพาไปหาคุณหมอทันที เพื่อตรวจดูสารตัวเหลืองในร่างกายค่ะ ซึ่งวิธีการรักษาจะมี 3 แบบด้วยกันคือ การส่องไฟ การเปลี่ยนถ่ายเลือด และการใช้ยาค่ะ ข้อมูลอ้างอิง : บทความ “ปัญหาที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด” โดย พญ.นภาไพลิน เศรษฐพานิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชกรรมทั่วไป ประจำแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ Mother & Care Free…
การสร้างนิสัยให้ลูกกินข้าวหมดจาน เป็นการฝึกให้เด็ก ๆ ตักข้าวแต่พอดี ฝึกเรื่องวินัยการกิน การกินข้าวอย่างใส่ใจไม่เหลือทิ้ง ยังช่วยส่งเสริมให้ลูกเห็นคุณค่าของอาหารด้วยค่ะ การจะฝึกให้ลูกกินได้หมดจาน ทำอย่างไรเรามี 3 วิธีมาบอกต่อ รู้คุณข้าว….เราต้องสอนลูก คุณพ่อคุณแม่รู้จักคุณค่าของข้าวแล้วยังสามารถสอนลูกได้ค่ะ อธิบายให้ลูกฟังว่าข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย ทั้งมีประโยชน์และมีราคาสูงขึ้นทุกวัน การสอนให้ลูกกินข้าวหมดจานยังใช้เป็นแนวทางในการต่อยอดความคิดกินอยู่แบบพอเพียงให้กับเด็ก ๆ ลดการสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ ลดการกำจัดขยะลดมลพิษ ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อนอีกด้วย ฝึกคุณหนูหม่ำหมดจาน step 1 เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกกินเป็นเวลา โดยกำหนดเวลาอาหารให้ชัดเจน ใส่ใจในสัดส่วนอาหารที่เหมาะสม เปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลาย เตรียมอาหารให้มีขนาดชิ้นเล็กพอดีคำ เคี้ยวง่าย step 2 ฝึกให้ลูกตักอาหารเอง ฝึกให้ระบุปริมาณอาหารที่ต้องการ หรือรู้จักบอกว่ามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ขอเพิ่มหรือขอลดรู้จักความพอดีในการกิน เมื่อกินหมดลูกจะมีความภูมิใจ ไม่กินเหลือ คุณแม่ไม่ต้องบังคับให้กินจนหมดจาน step 3 พ่อแม่ต้องไม่กินอาหารแบบทิ้งขว้าง เป็นตัวอย่างที่ดี อย่าบังคับให้ลูกกินถ้าลูกไม่หิว เด็กมีความอยากอาหารในแต่ละวันแต่ละมื้อไม่เท่ากัน จึงไม่ควรคาดหวังให้ลูกกินได้หมดเหมือนกันทุกมื้อ Tips : ชื่นชมหรือให้กำลังใจลูกทุกครั้งที่ลูกกินจนหมด ช่วยให้ลูกมีแรงจูงใจสร้างนิสัยในการคิดก่อนจะกินก่อนจะใช้มากขึ้น