โรงเรียนโชรส์เบอรี กรุงเทพ (Shrewsbury International School Bangkok) เป็นโรงเรียนนานาชาติอันดับ Top5 ของประเทศไทยและหนึ่งในโรงเรียนที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และยังเป็น 1 ใน 9 โรงเรียนที่ดีที่สุดของประเทศอังกฤษซึ่งมีอายุเก่าแก่มานานราว 500 ปีเลยทีเดียว เด่นในด้านของวิชาการและการพัฒนาทักษะรอบด้านให้เด็ก ๆ สอนโดยครูเจ้าของภาษาคุณภาพคับแก้วตามหลักสูตรการศึกษาของประเทศอังกฤษ ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในหลักสูตรการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก โรงเรียนมี 2 แคมปัส Shrewsbury City Campus ถนนพระราม 9 ย่านสุขุมวิท และ Shrewsbury Riverside ถนนเจริญกรุงย่านสาทร และปีการศึกษาหน้า 2023-2024 ทั้ง 2 แคมปัสจะขยายการรับสมัครเรียนระดับชั้นอนุบาล (Early Years) ค่ะ มาชมที่แรกกันนะคะ Shrewsbury City Campus เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น Nursery ไปจนถึง Year 6 (ตั้งแต่อายุ 2 -11 ปี) คุณ…
“ต๊าย..ตาย..รองเท้าเปื้อนโคลนหมดแล้วลูก”
เสียงคุณแม่ยังสาววัยสามสิบต้นๆ ในชุดกีฬาดูทะมัดทะแมงพูดกับลูกชายวัยสามขวบ ยังไม่ทันสิ้นเสียงของคุณแม่ เสียงของลูกชายอีกคนก็ดังลั่นมาจากอีกด้านที่อยู่ไม่ไกลนัก
“มดกัด มดกัด....” เด็กชายวัยห้าขวบร้องพลางขยับเท้าไปมาพลาง มองเผินๆ เหมือนเต้นเบรคแด้นซ์ฝีมือใกล้เคียงมืออาชีพ
ไม่กี่วินาทีถัดจากนั้นเสียงคุณแม่ก็ประสานรับ
“แย่แล้ว...แย่แล้ว มดกัด มดกัด แตนไปดูน้องบอมหน่อยซิ” คุณแม่หันไปสั่งพี่เลี้ยงให้เข้าไปช่วยเหลือบอมเด็กชายวัยห้าขวบโดยด่วน
ภาพที่เห็นในขณะนี้ก็คือ มีนักเต้นอยู่สองคนคือเด็กชายวัยห้าขวบและสาวใหญ่วัยสามสิบกว่า แต่ที่ดูตื่นตระหนกมากกว่า น่าจะเป็นสาวใหญ่วัยสามสิบกว่าครับ
เหตุการณ์ข้างต้นเกิดขึ้นที่สวนรถไฟซึ่งเป็นสวนสาธารณะยอดนิยมสำหรับครอบครัวคนกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน และเหตุการณ์นี้ก็น่าจะทำให้คาดเดาได้ว่าผู้เป็นแม่คงมีความกังวล ความกลัว ความไม่แน่ใจ และความตื่นตระหนกอยู่กับตัวจนกลายเป็นบุคลิกที่พร้อมจะแสดงออกให้ได้รับรู้อยู่เสมอ เพราะขนาดผมเองที่กำลังขี่รถจักรยานผ่านกับลูกสาวเพียงไม่กี่นาทียังเป็นพยานรู้เห็นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ลูกสาววัยเจ็ดขวบของผมยังเผลอแสดงสีหน้าวิตกกังวลร่วมด้วยอยู่พักใหญ่ ลูกชายสองคนของคุณแม่ซึ่งอยู่กับคุณแม่ที่วิตกจริตเช่นนี้ เห็นท่าจะน่าเป็นห่วงไม่ใช่น้อย
แม้ว่าครอบครัวนี้จะไม่ได้มาปรึกษากับผมโดยตรง แต่ก็เริ่มเห็นเด่นชัดว่าอาการตื่นตระหนกเริ่มปรากฏที่บอม ลูกชายคนโตแล้วเพราะโดนมดกัดนิดเดียวแต่ร้องโวยวายราวกับโดนสุนัขตัวใหญ่ขย้ำ
ทำไมลูกจึงเป็นเช่นนี้?
ประการแรกลูกเลียนแบบปฏิกิริยาจากสิ่งที่เห็น เขาไม่ได้ตั้งใจเลียนแบบแต่เป็นการทำงานของสมอง เลียนแบบปฏิกิริยาตื่นตระหนกของคุณแม่
แม่ทนุถนอมลูกเกินไป ด้วยเพราะแม่กังวลกับสิ่งรอบตัว ลูกจึงไม่เรียนรู้ที่จะอดทนกับสิ่งที่เกิดขึ้น
แม่ไม่อนุญาตให้ลูกได้จัดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ไม่แม่ก็พ่อหรือพี่เลี้ยงจะคอยช่วยเหลือ เข้าทำนองเพลงของพี่เบิร์ดเขา “.....จะไปในทันใดจะตรงไปจะใกล้ไกล ถ้าหากเป็นเธอจะรีบไป ให้เธอได้ความสบายใจ....”
แม่ได้ส่งสารบางอย่างว่า โลกนี้ไม่น่าปลอดภัย โลกนี้น่ากลัว โลกนี้น่าระแวงสงสัย ผมไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับคุณแม่ท่านนี้โดยตรง ได้แต่คาดเดาจากโหงวเฮ้ง และประสบการณ์ที่เคยพบคุณแม่ลักษณะนี้มาบ้าง คาดว่าที่บ้านคุณแม่คงสั่งสอนและห้ามปรามลูกอยู่เสมอ
แม่กับลูกมีแถบเส้นของความผูกพันที่ถ่ายทอดไปมาซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าอยู่ ลูกจึงซึมซับความรู้สึกที่แม่มีได้ง่าย ดังนั้นหากแม่กังวลลูกก็จะรู้สึกได้โดยง่าย
แม่ควรช่วยลูกอย่างไรดีหากลูกเข้าข่ายขี้กลัว ขี้กังวล ขี้ตระหนก ประการแรกควรพิจารณาที่ตัวคุณแม่ก่อนว่าตัวเรามีลักษณะที่ขี้กังวลหรือไม่ ท่าทีของเราเป็นไปในลักษณะที่ตื่นตระหนก หรือสติแตกโดยง่ายหรือไม่ หากใช่ก็ควรมองหาสาเหตุและรีบแก้ไข
ถัดมาคงต้องรีบปรับการเลี้ยงดูให้ลูกได้มีโอกาสเผชิญโลกมากขึ้นโดยที่ไม่มีความกังวลของแม่มาเป็นข้อจำกัดของการเล่นและเรียนรู้
อนุญาตให้ลูกได้เล่นอย่างหลากหลาย อย่างสม่ำเสมอ เพราะโลกของการเล่น ช่วยให้ลูกได้ยืดหยุ่น เป็นตัวของตัวเอง ได้หัดแก้ไขปัญหา…
โรงเรียนเป็นสถานที่สำคัญในการฟูมฟักเด็กทั้งในเรื่องการศึกษา พัฒนาการ นิสัยใจคอ ตลอดจนคุณธรรมต่างๆ หากเด็กสามารถปรับตัวและเข้ากับโรงเรียนได้ดีก็จะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น แต่หากปรับตัวไม่ได้ ไม่ชอบโรงเรียนหรือปฏิเสธโรงเรียนก็เป็นเรื่องยากที่จะช่วยให้เด็กรับประโยชน์ในการไปโรงเรียนได้อย่างเต็มที่
มดเป็นเด็กหญิงวัย 11 ปี อยู่ชั้นป.6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในรอบ 3 ปีนี้ย้ายโรงเรียนมา 3 แห่ง พูดง่าย ๆ คือ ปีละแห่ง พ่อแม่ตระหนักถึงความสำคัญของโรงเรียนและมองว่า การที่มดปฏิเสธโรงเรียนเป็นเพราะโรงเรียนแต่ละแห่งอาจไม่เหมาะกับลูก ในเดือนสองเดือนแรกของการเปลี่ยนโรงเรียนดูเหมือนจะได้ผล แต่พอเข้าเดือนที่สามอาการเดิม ๆ ก็ปรากฏขึ้น คือ ตอนเช้า บ่นกระปอดกระแปดไม่อยากไปโรงเรียน ร้องไห้ ทุกเช้าแม่ไปส่ง ก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะยอมลงจากรถ และยิ่งในปีนี้อาการต่าง ๆ ดูรุนแรงมากขึ้น มดขอโทรศัพท์เพื่อที่จะคุยกับแม่ได้ทุกเวลาที่รู้สึกไม่สบายใจขณะอยู่โรงเรียน ซึ่งก็ได้ผล แม่ให้โทรศัพท์ และมด ก็โทรหาแม่หลายครั้งในช่วงเวลากลางวัน ในที่สุดแม่รู้สึกว่า การย้ายโรงเรียนอาจไม่ใช่ทางแก้ปัญหาอีกต่อไป แม่จึงพามดมาพบหมอ
มดเป็นลูกคนแรกในลูกทั้งหมดสามคนของครอบครัว อีกสองคนเป็นลูกชายฝาแฝดวัย 9 ปี น้องชายทั้งสองอยู่โรงเรียนชายล้วนแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เล็ก มดมีความสนใจแตกต่างจากน้อง น้องทั้งสองมักเล่นด้วยกันและสนใจ อะไรคล้ายกัน ญาติพี่น้องปู่ย่าตายายรอบตัวสนใจน้องฝาแฝดเป็นพิเศษ มดรับรู้ความแตกต่างนี้มาตลอดแต่ก็ไม่ถึงขั้นอิจฉาหรือทะเลาะกับน้องมากนัก…
พ่อแม่ทุกคนย่อมปรารถนาให้ลูกมีความสุขและประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งสิ้น ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยก็คือการส่งเสริมให้ลูกมีความคิดเชิงบวก ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดอีกหลายคุณลักษณะในตัวเด็ก ทั้งความมั่นใจในตัวเอง ความรู้สึกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค สุขภาพจิตที่ดี รวมทั้งมนุษยสัมพันธ์และความมีเสน่ห์ในตนเอง แล้วพ่อแม่จะช่วยลูกได้อย่างไร
ใช้ภาษาเชิงบวก
บ่อยครั้งที่พ่อแม่ชินกับการใช้ คำสั่งห้าม หรือการพูดตำหนิ ต่อว่าลูก นั่นถือเป็นการตอกย้ำ กับความคิดหรือพฤติกรรมเชิงลบ เช่น “ทำไมถึงสะเพร่าอย่างนี้” “อย่าเกเร และดื้อกับคุณตาคุณยายนะลูก” “อย่ากระโดดเป็นลิงเป็นค่างอย่างนี้” “ทำไมถึงขี้เกียจกันจริง” ตัวอย่างเหล่านี้มักเกิดขึ้นจากความผิดหวังหรือไม่พอใจของพ่อแม่ แต่การพูดเชิงลบเช่นนั้น นอกจากโอกาสที่ลูกจะเชื่อฟังหรือ ทำตามน้อยแล้ว ยังอาจส่งผลในเชิงลบต่อตัวลูกคือลูกเชื่อว่าตนเองเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะพ่อแม่ ที่เขารัก บอกเขาหรือตอกย้ำเสมอว่าเขามีลักษณะเช่นนั้น นอกจากนั้นแล้วในเด็กบางคนที่พ่อแม่ไม่ใคร่ใส่ใจในเชิงบวกนัก ลูกอาจทำพฤติกรรมเชิงลบเพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือในเด็กบางราย อาจค่อย ๆ พัฒนาเป็นลักษณะการต่อต้านและทำในสิ่งที่พ่อแม่ไม่ประสงค์ในที่สุด
พ่อแม่คงต้องหันมาพิจารณาตนเองในแต่ละสถานการณ์ก่อนว่าเราต้องการอะไรจากลูก แล้วพูดในสิ่งที่อยากเห็นหรือต้องการจากลูกแทน เช่น จากตัวอย่างข้างต้นแทนที่จะพูดว่า “ทำไมถึงสะเพร่าอย่างนี้” พ่อแม่อาจพูดว่า “ตรวจทานหลังทำเสร็จด้วยนะลูก” และแทนที่จะพูดว่า “อย่าเกเร และดื้อกับคุณตาคุณยายนะลูก” พ่อแม่อาจพูดว่า “เชื่อฟังคุณตาคุณยายนะลูก” เป็นต้น อย่างไรก็ตามในบางโอกาสพ่อแม่อาจใช้การพูดโดยใช้ ‘I-message’ เมื่อพ่อแม่เกิดความรู้สึกเชิงลบ หรือเมื่อพิจารณาแล้วว่าลูกไม่เห็นว่าเป็นปัญหาอะไรของลูกเองแต่สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของพ่อแม่และเป็นปัญหาของพ่อแม่เองมากกว่า เช่น “แม่รู้สึกหงุดหงิดที่เห็นของเล่นทิ้งเกลื่อนบนพื้นเพราะแม่อาจสะดุดล้มลงได้” “แม่รู้สึกกังวลที่สี่ทุ่มแล้วลูกยังไม่นอน…