คุณแม่มักมีความสุขที่เห็นลูกกินได้ แต่ดีใจได้ไม่เท่าไหร่ก็มานั่งกลุ้มเพราะของที่ลูกกินมีแต่ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ช็อกโกแลต เยลลี่ คุกกี้ ขนมเค้ก ไอศกรีม ฯลฯ ที่มีแต่แป้ง ไขมัน น้ำตาล เกลือที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสารพัด แล้วจะทำอย่างไรดีลูกกินแต่ขนม เรามี 5 วิธีแก้ไขมาฝากค่ะ 1.จัดสรรเวลา ควรจัดสรรเวลาอาหารของลูก ไม่ควรให้ลูกกินขนมก่อนกินอาหารมื้อหลัก เพราะจะทำให้ลูกอิ่มจนไม่อยากกินข้าว 2.จัดปริมาณ ไม่ปล่อยให้ลูกกินขนมไปเรื่อย ๆ แม้ว่าจะอย่างละนิดอย่างละหน่อยก็ตาม ตกลงกับลูกว่าสามารถกินขนมในปริมาณมากน้อยแค่ไหน 3.จัดผลไม้แทนขนม ไม่ควรมีขนมเก็บไว้ในบ้านมากเกินไป เตรียมของว่างที่มีประโยชน์หรือผลไม้ไว้แทนขนมจะดีต่อสุขภาพของลูกมากกว่า 4.จัดให้นาน ๆ ครั้ง สำหรับเด็กที่เคยติดใจในรสชาติขนมไปแล้ว การห้ามกินขนมค่อนข้างทำร้ายจิตใจเด็ก ให้ลูกกินได้ในปริมาณที่เหมาะสม หรือกินบ้างนาน ๆ ครั้ง 5.จัดพฤติกรรมของพ่อแม่ คุณพ่อคุณแม่ควรทำตัวเป็นต้นแบบที่ดีในเรื่องการกิน ทั้งไม่กิน และไม่ซื้อแต่ขนม แต่เลือกกินของที่มีประโยชน์ พยายามสร้างความคุ้นเคยในการกินอาหารที่มีประโยชน์ตั้งแต่เล็ก ๆ เพื่อสุขภาพของลูกค่ะ
การสร้างนิสัยให้ลูกกินข้าวหมดจาน เป็นการฝึกให้เด็ก ๆ ตักข้าวแต่พอดี ฝึกเรื่องวินัยการกิน การกินข้าวอย่างใส่ใจไม่เหลือทิ้ง ยังช่วยส่งเสริมให้ลูกเห็นคุณค่าของอาหารด้วยค่ะ การจะฝึกให้ลูกกินได้หมดจาน ทำอย่างไรเรามี 3 วิธีมาบอกต่อ รู้คุณข้าว….เราต้องสอนลูก คุณพ่อคุณแม่รู้จักคุณค่าของข้าวแล้วยังสามารถสอนลูกได้ค่ะ อธิบายให้ลูกฟังว่าข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย ทั้งมีประโยชน์และมีราคาสูงขึ้นทุกวัน การสอนให้ลูกกินข้าวหมดจานยังใช้เป็นแนวทางในการต่อยอดความคิดกินอยู่แบบพอเพียงให้กับเด็ก ๆ ลดการสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ ลดการกำจัดขยะลดมลพิษ ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อนอีกด้วย ฝึกคุณหนูหม่ำหมดจาน step 1 เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกกินเป็นเวลา โดยกำหนดเวลาอาหารให้ชัดเจน ใส่ใจในสัดส่วนอาหารที่เหมาะสม เปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลาย เตรียมอาหารให้มีขนาดชิ้นเล็กพอดีคำ เคี้ยวง่าย step 2 ฝึกให้ลูกตักอาหารเอง ฝึกให้ระบุปริมาณอาหารที่ต้องการ หรือรู้จักบอกว่ามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ขอเพิ่มหรือขอลดรู้จักความพอดีในการกิน เมื่อกินหมดลูกจะมีความภูมิใจ ไม่กินเหลือ คุณแม่ไม่ต้องบังคับให้กินจนหมดจาน step 3 พ่อแม่ต้องไม่กินอาหารแบบทิ้งขว้าง เป็นตัวอย่างที่ดี อย่าบังคับให้ลูกกินถ้าลูกไม่หิว เด็กมีความอยากอาหารในแต่ละวันแต่ละมื้อไม่เท่ากัน จึงไม่ควรคาดหวังให้ลูกกินได้หมดเหมือนกันทุกมื้อ Tips : ชื่นชมหรือให้กำลังใจลูกทุกครั้งที่ลูกกินจนหมด ช่วยให้ลูกมีแรงจูงใจสร้างนิสัยในการคิดก่อนจะกินก่อนจะใช้มากขึ้น
ในวัย 8-9 เดือนลูกเริ่มสนใจจับทุกอย่างเข้าปาก ! เป็นโอกาสดี ๆ ที่คุณแม่จะฝึกให้ลูกหยิบจับอาหารหม่ำเอง มีเทคนิคง่าย ๆ มาแนะนำค่ะ 1.เตรียมอาหารที่ดีต่อสุขภาพลูก อย่างผักหรือผลไม้รสอ่อน เริ่มต้นด้วยอาหารชิ้นเล็ก ๆ นิ่ม ๆ เพื่อป้องกันการสำลักหรือติดคอ 2.เตรียมอาหารไว้น้อย ๆ ก็พอ แล้วปล่อยให้ลูกตัดสินใจเองว่าจะกินหรือไม่ ลองปล่อยให้ลูกหยิบ จับ เล่นกับอาหารเพื่อทำความคุ้นเคย ต้องยอมให้เลอะเทอะบ้าง แรก ๆ คุณแม่ยังคงป้อนอยู่นะคะ เพื่อให้ลูกได้อาหารพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย 3.ถ้าลูกอยากถือช้อนเองปล่อยตามใจเขาค่ะ โดยคุณแม่สอนวิธีการกิน อาจการจับมือลูกให้แน่นแล้วค่อย ๆ ป้อนเข้าปากลูกช้า ๆ 4.ถ้าลูกเริ่มเล่นอาหาร ให้ลูกหยุดกิน โดยคุณแม่ทำสีหน้าปกติ ไม่ดุหรือแสดงอาการตื่นเต้นร้อนรนให้ลูกเห็น เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเล่นอาหารไม่เลิก และจะทำเช่นนี้อีกในครั้งต่อไป พยายามควบคุมเวลากินของลูกแต่ละมื้อให้อยู่ในราว ๆ 30 นาทีค่ะ 5.ใช้ชามพลาสติกก้นกว้างที่หกยากไม่แตกง่าย และช้อนขอบมน ขนาดเหมาะกับปากของลูก ด้ามช้อนให้จับได้ง่าย เพื่อให้ลูกตักอาหารป้อนตัวเองได้ มีการศึกษาพบว่าในช่วงอายุ 11 เดือน…
การเลือกพี่เลี้ยงเด็กซักคนไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากดูนิสัยใจคอว่าน่าไว้วางใจ ใจเย็น ใจดี อดทนกับการดูแลเด็กได้จะไม่ทำร้ายลูกเราแล้ว คุณแม่อย่าลืมดูเรื่องความสะอาดและสุขภาพของคนที่จะมาเป็นพี่เลี้ยงด้วยนะคะ มีโรคติดต่ออะไรบ้าง เด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบภูมิต้านทานยังอ่อนจึงมีโอกาสรับเชื้อได้ง่าย เป็นแล้วอาการอาจรุนแรง โรคต่าง ๆ ที่พบว่ามีโอกาสติดได้บ่อยเช่น วัณโรค HIV ซิฟิลิส เริม กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ โลหิตเป็นพิษ ไข้ไทฟอยด์ อหิวาต์ ไวรัสตับอักเสบ โรคติดเชื้อทางผิวหนัง เหา และพยาธิ ฯลฯ ถ้าเป็นพี่เลี้ยงต่างด้าวปรึกษาคุณหมอว่าประเทศนั้น ๆ มักจะมีโรคติดเชื้ออะไรบ้าง แล้วจะทำยังไงดี ในศูนย์พี่เลี้ยงบางแห่งอาจมีใบรับรองการตรวจสุขภาพของพี่เลี้ยง แต่ถ้าไม่มีหรือคุณแม่ไม่มั่นใจก็พาไปตรวจสุขภาพได้ โรงพยาบาลบางแห่งมีแพกเกจตรวจสุขภาพพี่เลี้ยง ถ้าไม่มีลองปรึกษาคุณหมอว่าควรตรวจอะไรบ้าง รวมทั้งรับวัคซีนป้องกันโรค เช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี และวัคซีนป้องกันวัณโรค สอนเรื่องความสะอาด มาตรฐานความสะอาดของคุณแม่และพี่เลี้ยงอาจไม่เท่ากันค่ะ สอนให้พี่เลี้ยงเรื่องสุขอนามัยและความสะอาด เช่น ความสะอาดร่างกาย การล้างมือ ไม่กินของร่วมกัน ไอจามปิดปาก…
พอลูกครบ 1 ขวบหรือขวบครึ่งก็ถึงเวลาให้บอกลาขวดนมที่รักได้แล้ว การดูดนมจากขวดนานเกินไปมีข้อเสียหลายประการ ตั้งแต่ฟันผุ ฟันยื่น หรือลดโอกาสพัฒนาทักษะการพูดและการใช้มือ รบกวนเวลานอนตอนกลางคืน เพราะยังตื่นมาดูดนมกลางดึก และหูชั้นกลางมีโอกาสอักเสบเนื่องจากนมไหลย้อนเข้าไป โอกาสดีก็วัยนี้ ในวัย 1ขวบถึง 1 ขวบครึ่งลูกเริ่มมีฟันหลายซี่ให้ดูแล และเริ่มจิบน้ำจากแก้วได้คล่อง ที่สำคัญคือเป็นช่วงที่ยอมทำตามคำสั่งได้ง่าย ถ้ายืดเยื้อไปจนใกล้ 2 ขวบ เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น การบอกให้เลิกขวดนมยากกว่าวัยนี้ค่ะ ทีละขั้นทีละตอน การตั้งเป้าให้เลิกขวดนมควรเตรียมพร้อมให้ลูกสามารถจิบน้ำจากแก้วได้ สามารถเริ่มฝึกได้ตั้งแต่วัย 6 - 9 เดือน โดยเริ่มจิบน้ำเปล่าก่อน หากทำได้ไม่สำลัก ค่อยลองให้จิบน้ำผลไม้และนมตามลำดับ เมื่อดูแล้วว่าเด็กสามารถดื่มนมจากแก้วโดยไม่สำลัก ค่อยเริ่มกระบวนการเลิกขวดนม ดูว่าลูกยอมรับความเปลี่ยนแปลงยากหรือง่ายและติดขวดนมมากน้อยแค่ไหน เลือกวิธีที่เหมาะกับเขาค่ะ How to : บ๊ายบายแบบหักดิบ เหมาะกับเด็กว่าง่าย ยังดูดนมจากขวดอยู่แต่ไม่ติดมากนัก เช่น ไม่ถือขวดเดินไปมา นอนหลับได้เองโดยไม่ต้องดูดนม เป็นต้น บอกล่วงหน้าไว้บ้าง เช่น “หนูโตแล้วนะ อีกไม่นานน่าจะได้เวลางดขวดนมแล้ว” บอกซ้ำ…