การเล่นซนมีความสำคัญกับเด็กมากกว่าที่คิดค่ะ เด็ก ๆ สมัยนี้อาจมีโอกาสออกกำลังกายหรือวิ่งเล่นซนน้อยลงเพราะอยู่หน้าจอมากขึ้น ถ้าลูกยังเล็กคุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งให้เขาเล่นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือดูโทรทัศน์ นอกจากจะดึงเขาออกมาจากหน้าจอยากแล้ว ลูกยังไม่ได้ทำกิจกรรมที่สร้างความแข็งแรงและเติบโตตามวัย เด็กเล็กโดยเฉพาะวัย 1- 3 ขวบความจริงแล้วเป็นวัยที่เขาจะต้องวิ่งเล่นสำรวจโลกและซน เพื่อเจริญเติบโต แขนขามีกล้ามเนื้อ เมื่อร่างกายแข็งแรงจะมีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยบ่อย การได้วิ่งเล่นภายใต้แสงแดดอ่อนยังช่วยให้รับวิตามินดีเพื่อดูแลกระดูกและกล้ามเนื้อ การที่เด็ก ๆ ได้เล่นซนจะช่วยให้เรียนรู้โลกรอบตัว เรียนรู้การป้องกันตัวว่าจะทำยังไงไม่ให้หกล้มแล้วก็แก้ปัญหาทักษะชีวิตเป็น เขาได้อยู่ในโลกจริงไม่ใช่อยู่ในโลกเสมือน เวลาลูกซนหรือป่วนคุณแม่อาจจะรู้สึกว่าไม่ไหวแล้วยื่นมือถือหรือแท็บเล็ตให้ลูกดีกว่าจะได้อยู่นิ่งบ้าง ลองหาตัวช่วยอื่นดีกว่าค่ะ ที่จะทำให้ลูกมีพัฒนาการทางร่างกายแและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ควรเลี่ยงให้ลูกอยู่กับมือถือแท็บเล็ตทีวีตั้งแต่ยังเล็ก เพราะจะทำให้ลูกขาดพัฒนาการหลายด้าน ทั้งด้านสังคม ภาษา การเจริญเติบโต ความแข็งแรง การอยู่นิ่งของลูกไม่คุ้มกับสิ่งที่เขาเสียไปค่ะ
เมื่อแรกคลอดเด็กทารกมักมีปัญหาที่พบได้บ่อยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ศึกษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ไว้เพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลลูกรักค่ะ
ภาวะตัวเหลือง
พบได้มากที่สุดในเด็กทารกโดยประมาณ 60-70% ทั้งในทารกอายุครรภ์ครบกำหนดและคลอดก่อนกำหนดทุกราย ทั้งนี้จะเห็นสารตัวเหลืองที่ผิวหนังหรือเยื่อบุตาขาว
สาเหตุ
เกิดก่อนกำหนด <37 สัปดาห์
หมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน
เหลืองจากเม็ดเลือดแดงแตกตัว เช่น พร่องเอนไซม์ G6PD
ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกินไป
มีรอยฟกช้ำจากการคลอด มีจุดจ้ำแดงที่ผิวหนัง หรือมีการติดเชื้อ
มีภาวะลำไส้อุดตัน ท่อน้ำดีอุดตันแต่กำเนิด ฯลฯ
การดูแล
ควรป้อนนมบ่อยขึ้นทุก 3 ชั่วโมง ประมาณ (8 มื้อ/วัน) เพื่อให้ลูกน้อยได้ขับถ่ายสารตัวเหลืองออกจากร่างกาย
ประเมินภาวะตัวเหลือง โดยสามารถใช้นิ้วกดดูสีผิวที่อยู่ใต้ผิวหนังหรือกดตรงปุ่มกระดูก ทำในห้องที่แสงสว่างเพียงพอ
ถ้าพบว่า ลูกมีอาการตัวเหลืองมากหรือเพิ่มมากขึ้นให้มาพบหมอทันที เพื่อตรวจดูสารตัวเหลืองในร่างกาย
การรักษาตัวเหลือง ในทารกแรกเกิดทำได้ 3 แบบคือ การส่องไฟ, การเปลี่ยนถ่ายเลือด และการใช้ยา
อาการแหวะนม
สาเหตุ ที่ลูกน้อยชอบแหวะนมบ่อย ๆ เนื่องจากระบบการย่อยยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจยังปิดไม่สนิท ประกอบกับการกินนมเยอะก็จะทำให้เกิดอาการได้มาก…
ของเล่นของลูกกระจัดกระจายทั่วบ้านราวกับระเบิดลงทุกวัน การเก็บของเล่นกลายเป็นอีกงานหนึ่งที่คุณแม่ต้องจัดการ
การสอนให้ลูกเก็บของเล่นเองเป็นการสอนให้เขาเรียนรู้หลายด้านค่ะ ทั้งระเบียบวินัย การดูแลรักษาของ ความรับผิดชอบ การทำอะไรเองเป็นยังช่วยให้ลูกพึ่งพาตัวเองได้ตอนโตการสอนลูกไม่ยากค่อย ๆ ฝึกเขาค่ะ
1.ช่วยกันเก็บก่อน เด็กเล็กอาจเก็บคนเดียวไม่ไหว เพราะยากเกินความสามารถ คุณแม่ชวนลูกเก็บก่อนค่ะ ทำให้การเก็บของเล่นเป็นเรื่องสนุก เป็นเกมอย่างหนึ่งที่ต้องเล่นปิดท้ายเสมอ
2.จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ไม่ต้องแยกหลายหมวดหมู่เกินไปลูกจะงง การแยกเก็บเป็นหมวดหมู่ทำให้ไม่ต้องเก็บของเล่นคราวละมาก ๆ เพราะลูกมักจะเลือกชิ้นที่ตัวเองชอบ นอกจากนี้ยังฝึกการแยกแยะให้ลูก คุณแม่ใช้ลิ้นชัก ลังพลาสติก หรือถังพลาสติกก็ได้ค่ะ แยกสีแต่ละลังให้ชัดเจนตกแต่งหรือแปะสติ๊กเกอร์ อาจสมมติแต่ละถังเป็นพี่ฮิปโป พี่ปลาวาฬ พี่จระเข้ ฯลฯ หิวข้าวแล้วต้องป้อนของเล่นให้หม่ำก่อน
3.เก็บของเล่นเป็นเวลา ตอนเย็นก่อนลูกอาบน้ำหม่ำข้าวเย็น พยายามให้ลูกเก็บในเวลาเดิมทุกวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคย และเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน ความเคยชินช่วยให้ลูกทำได้โดยอัตโนมัติ
4.หลอกล่อด้วยกิจกรรมสนุก ลูกกำลังสนุกกับการเล่น แต่คุณแม่มักจะให้เขาเก็บของเพื่อไปทำกิจกรรมน่าเบื่อ ไม่มีใครอยากทำหรอกค่ะ เพราะฉะนั้นกิจกรรมต่อจากการเก็บของเล่นควรมีความสนุกเพื่อกระตุ้นให้ลูกเก็บค่ะ
5.เล่านิทาน คุณแม่อาจจะหาซื้อหนังสือนิทานหรือแต่งนิทานเล่าให้ลูกฟัง มีตัวเอกเป็นตัวละครหรือสัตว์น่ารักที่ลูกชอบ เล่าถึงตัวละครตัวโปรดนิสัยดี มีระเบียบ เล่นของเล่นแล้วเก็บก็ได้ค่ะ
6. บ้านต้องเป็นระเบียบด้วย ลูกเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว มองไปทางไหนทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง คุณแม่ใช้ของแล้วเก็บเข้าที่ ลูกก็จะเรียนรู้สิ่งนี้ไปเอง
7.ให้รางวัลเมื่อลูกทำได้ดี บางครั้งใช้รางวัลล่อใจได้บ้างค่ะ ถ้าเขาทำได้ดี อาจจะเป็นการชมเชยหรือให้ตามข้อเรียกร้องบางอย่างเป็นพิเศษ เวลาเจอคนอื่นคุณแม่พูดชมเขาให้คนอื่นฟังด้วยนะคะ ลูกจะภูมิใจและพยายามทำดีต่อไป
อดทนใช้เวลาสักนิด ฝึกลูกอย่างสม่ำเสมอ เขาจะเรียนรู้การเก็บของเล่นให้เป็นระเบียบได้ในที่สุดค่ะ