Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ครอบครัวธรรมดาทั่วไปควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ดี ?

Q : ครอบครัวธรรมดาทั่วไปควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ดี ? A : สมมติว่าครอบครัวธรรมดาครอบครัวนึงคุณพ่อคุณแม่ต่างก็ทำงาน มีลูก 1 คน รายได้เท่าไหร่ก็ตามควรมีเงินเก็บไว้อย่างน้อย 6 เท่าของเงินเดือน ถ้าจะให้ดีก็ 12 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อบริหารความเสี่ยงในกรณีที่ 1 ตกงาน กรณีที่ 2 ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่อยู่ดี ๆ ต้องจ่าย เช่น ลูกได้รางวัลบินไปชิงทุนต่างประเทศ ถ้าต้องการสนับสนุนเขาเราก็ต้องมีเงินสำรองไว้ให้ลูกเรา "เงินนอกเหนือจากส่วนนี้ เอาไปลงทุนอยู่ในสินทรัพย์หรืออยู่ในเงินฝากที่ให้ผลงอกเงยมากกว่าฝากออมทรัพย์ธรรมดา" "เวลาวางแผนการเงิน คุณแม่อย่าวางแผนค่าใช้จ่ายครับเราต้องวางแผนรายได้ คุ้มครองรายได้เรา การวางแผนคุ้มครองรายได้เราทั้งหมดนั่นหมายความว่าเราคุมค่าใช้จ่ายได้ แต่ถ้าเราวางแผนค่าใช้จ่ายอย่างเดียวถ้าเกิดมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินขึ้นมา อาจไม่มีใครสามารถช่วยเหลือเราได้นอกจากตัวเราเอง" "สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือสุขภาพเรา อยากบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าทำงานเก็บเงินแล้วไม่อยากให้สุดท้ายแล้วเงินของเราต้องหมดไปกับการทุ่มเทรักษาตัวเองป่วย เพราะฉะนั้นต้องดูแลสุขภาพด้วย ต้องวางเพื่อตัวเองแล้วก็เพื่อลูกด้วย" "อาจจะแยกเก็บเงินเป็นส่วน ๆ สมมติให้เป็นขวดโหลจะได้เห็นภาพ เช่น ขวดโหลที่ 1 เป็นของลูก ขวดโหลที่ 2 เอาไว้เที่ยวหรือช้อปปิ้ง ขวดโหลที่ 3 เพื่อค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่างวดรถ ค่าบ้าน ขวดโหลที่ 4ใช้จ่ายปกติทั่วไป อาจจะเปิดไว้สัก 3-4 บัญชีแล้วเราโอนเงินเข้าไป ได้เงินมาปุ๊บโอนไปก่อนเลย เดี๋ยวนี้โอนไม่มีค่าธรรมเนียมแล้วสะดวกมากขึ้น ที่เหลือค่อยใช้จ่าย…

Read more

ปัญหาที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด

เมื่อแรกคลอดเด็กทารกมักมีปัญหาที่พบได้บ่อยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ศึกษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ไว้เพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลลูกรักค่ะ ภาวะตัวเหลือง พบได้มากที่สุดในเด็กทารกโดยประมาณ 60-70% ทั้งในทารกอายุครรภ์ครบกำหนดและคลอดก่อนกำหนดทุกราย ทั้งนี้จะเห็นสารตัวเหลืองที่ผิวหนังหรือเยื่อบุตาขาว สาเหตุ เกิดก่อนกำหนด <37 สัปดาห์ หมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน เหลืองจากเม็ดเลือดแดงแตกตัว เช่น พร่องเอนไซม์ G6PD ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกินไป มีรอยฟกช้ำจากการคลอด มีจุดจ้ำแดงที่ผิวหนัง หรือมีการติดเชื้อ มีภาวะลำไส้อุดตัน ท่อน้ำดีอุดตันแต่กำเนิด ฯลฯ การดูแล ควรป้อนนมบ่อยขึ้นทุก 3 ชั่วโมง ประมาณ (8 มื้อ/วัน) เพื่อให้ลูกน้อยได้ขับถ่ายสารตัวเหลืองออกจากร่างกาย ประเมินภาวะตัวเหลือง โดยสามารถใช้นิ้วกดดูสีผิวที่อยู่ใต้ผิวหนังหรือกดตรงปุ่มกระดูก ทำในห้องที่แสงสว่างเพียงพอ ถ้าพบว่า ลูกมีอาการตัวเหลืองมากหรือเพิ่มมากขึ้นให้มาพบหมอทันที เพื่อตรวจดูสารตัวเหลืองในร่างกาย การรักษาตัวเหลือง ในทารกแรกเกิดทำได้ 3 แบบคือ การส่องไฟ, การเปลี่ยนถ่ายเลือด และการใช้ยา อาการแหวะนม สาเหตุ ที่ลูกน้อยชอบแหวะนมบ่อย ๆ เนื่องจากระบบการย่อยยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจยังปิดไม่สนิท ประกอบกับการกินนมเยอะก็จะทำให้เกิดอาการได้มาก…

Read more

7 วิธีฝึกให้ลูกเก็บของเล่นเอง

ของเล่นของลูกกระจัดกระจายทั่วบ้านราวกับระเบิดลงทุกวัน การเก็บของเล่นกลายเป็นอีกงานหนึ่งที่คุณแม่ต้องจัดการ การสอนให้ลูกเก็บของเล่นเองเป็นการสอนให้เขาเรียนรู้หลายด้านค่ะ ทั้งระเบียบวินัย การดูแลรักษาของ ความรับผิดชอบ การทำอะไรเองเป็นยังช่วยให้ลูกพึ่งพาตัวเองได้ตอนโตการสอนลูกไม่ยากค่อย ๆ ฝึกเขาค่ะ 1.ช่วยกันเก็บก่อน เด็กเล็กอาจเก็บคนเดียวไม่ไหว เพราะยากเกินความสามารถ คุณแม่ชวนลูกเก็บก่อนค่ะ ทำให้การเก็บของเล่นเป็นเรื่องสนุก เป็นเกมอย่างหนึ่งที่ต้องเล่นปิดท้ายเสมอ 2.จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ไม่ต้องแยกหลายหมวดหมู่เกินไปลูกจะงง การแยกเก็บเป็นหมวดหมู่ทำให้ไม่ต้องเก็บของเล่นคราวละมาก ๆ เพราะลูกมักจะเลือกชิ้นที่ตัวเองชอบ นอกจากนี้ยังฝึกการแยกแยะให้ลูก คุณแม่ใช้ลิ้นชัก ลังพลาสติก หรือถังพลาสติกก็ได้ค่ะ แยกสีแต่ละลังให้ชัดเจนตกแต่งหรือแปะสติ๊กเกอร์ อาจสมมติแต่ละถังเป็นพี่ฮิปโป พี่ปลาวาฬ พี่จระเข้ ฯลฯ หิวข้าวแล้วต้องป้อนของเล่นให้หม่ำก่อน 3.เก็บของเล่นเป็นเวลา ตอนเย็นก่อนลูกอาบน้ำหม่ำข้าวเย็น พยายามให้ลูกเก็บในเวลาเดิมทุกวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคย และเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน ความเคยชินช่วยให้ลูกทำได้โดยอัตโนมัติ 4.หลอกล่อด้วยกิจกรรมสนุก ลูกกำลังสนุกกับการเล่น แต่คุณแม่มักจะให้เขาเก็บของเพื่อไปทำกิจกรรมน่าเบื่อ ไม่มีใครอยากทำหรอกค่ะ เพราะฉะนั้นกิจกรรมต่อจากการเก็บของเล่นควรมีความสนุกเพื่อกระตุ้นให้ลูกเก็บค่ะ 5.เล่านิทาน คุณแม่อาจจะหาซื้อหนังสือนิทานหรือแต่งนิทานเล่าให้ลูกฟัง มีตัวเอกเป็นตัวละครหรือสัตว์น่ารักที่ลูกชอบ เล่าถึงตัวละครตัวโปรดนิสัยดี มีระเบียบ เล่นของเล่นแล้วเก็บก็ได้ค่ะ 6. บ้านต้องเป็นระเบียบด้วย ลูกเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว มองไปทางไหนทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง คุณแม่ใช้ของแล้วเก็บเข้าที่ ลูกก็จะเรียนรู้สิ่งนี้ไปเอง 7.ให้รางวัลเมื่อลูกทำได้ดี บางครั้งใช้รางวัลล่อใจได้บ้างค่ะ ถ้าเขาทำได้ดี อาจจะเป็นการชมเชยหรือให้ตามข้อเรียกร้องบางอย่างเป็นพิเศษ เวลาเจอคนอื่นคุณแม่พูดชมเขาให้คนอื่นฟังด้วยนะคะ ลูกจะภูมิใจและพยายามทำดีต่อไป อดทนใช้เวลาสักนิด ฝึกลูกอย่างสม่ำเสมอ เขาจะเรียนรู้การเก็บของเล่นให้เป็นระเบียบได้ในที่สุดค่ะ

Read more

1 ขวบแล้วไม่ยอมกินข้าวทำอย่างไรดี ?

Q : ลูกอายุ 1 ปี 1 เดือน กินแต่นม เวลาป้อนข้าวก็ไม่กินเลยค่ะ เคยใช้วิธีให้กินนมน้อยลง แต่ก็จะร้องงอแงมากไม่ยอมกินข้าวอยู่ดี จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ A : ปัญหาลูกไม่กินข้าวเป็นปัญหาสำคัญที่พบในเด็กวัยตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3 – 4 ปี หรือช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมเด็ก ความอดทน และความร่วมมือของคุณพ่อ คุณแม่ในการแก้ปัญหา โดยการแก้ปัญหานั้นเริ่มต้นที่คุณแม่ไม่ควรเครียด กังวลกับการกินของลูกมากเกินไป ควรสร้างบรรยากาศการกินให้สบายๆ โดยให้นั่งกินร่วมโต๊ะกับสมาชิกในครอบครัว ไม่มีสิ่งใดมาดึงความสนใจ เช่น ทีวี ของเล่น ชวนลูกพูดคุยให้เพลิน ไม่บังคับขู่เข็ญ ไม่ยัดเยียด ไม่เดินตามป้อนอาหาร หรือติดสินบนลูกเพื่อให้กิน เพราะลูกจะต่อต้านไม่ยอมกิน หรือ ในบางรายจะจับจุดได้ว่า การที่เขาไม่กินข้าว จะได้รับความสนใจจากคุณแม่มากขึ้น แล้วนำมาเป็นข้อต่อรองในคราวหลังได้ ควรให้ลูกได้เลือก และ ควบคุมการกินของเขาเอง ตักกินเอง จะเลอะเทอะไปบ้างก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่อย่าใช้เวลากินบนโต๊ะอาหารนานเกินไป ไม่ควรเกิน 30 นาที เพราะจะทำให้ลูกมีความรู้สึกว่าช่วงเวลามื้ออาหารเป็นช่วงที่น่าเบื่อ และ มีความรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับอยู่ ในแต่ละมื้อนั้นควรจัดให้อาหารมีลักษณะสีสัน…

Read more

5 คำตอบ พาลูกเที่ยวทำไมฉลาดขึ้น ?

การพาลูกเที่ยวอย่างไปทะเล ออกต่างจังหวัด หรือไปต่างประเทศ นอกจากจะสนุกสนานแล้วยังดีต่อสมองของเด็กมากทีเดียวค่ะศาสตราจารย์ Jaak Panksepp นักประสาทวิทยาชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน ผู้ค้นพบ Play System และ Seeking Sestem ในสมองแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกออกไปท่องเที่ยว และควรให้เด็กได้เล่นและสำรวจธรรมชาติป่าเขา ทะเล หรือได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการค้นหา จะช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับเด็ก เป็นการพัฒนาสมองในหลาย ๆ ด้าน เพราะเหตุใดการท่องเที่ยวดีต่อสมองลูก 1.อยู่บ้านไม่ได้ลับสมอง เวลาคุยกันก็จะคุยกันแต่เรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวันอันแสนจะจืดชืด คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจแต่เรื่องการเรียน อาหารการกิน สุขภาพของลูก คอยระวังเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ คุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยมีเวลาเล่นกับลูกจริง ๆ จัง ๆ คุณพ่อหลายท่านไม่รู้ว่าจะเล่นกับลูกอย่างไร ลูกไม่ค่อยได้เล่นสนุกตามวัยอย่างพอเพียงกับที่เด็กต้องการ 2.ไปเที่ยวได้สนุกหลากหลายรูปแบบ ได้สัมผัสกับบรรยากาศแปลกใหม่  ที่ใหม่ ๆ อาหาร อากาศที่ต่างจากตอนอยู่บ้าน สัมผัสกับผู้คนแปลกใหม่ ได้สำรวจธรรมชาติ เดินป่า มองเห็นทิวทัศน์สวยงามที่แตกต่างออกไป  ไปทะเลก็จะได้เล่นน้ำ เล่นก่อปราสาททราย  เล่นบอลชายหาด ตีแบต ล่องเรือ หรือเกมกีฬาทางน้ำอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งพ่อแม่ลูกได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน 3.ผลดีต่อจิตใจ ลูกรู้สึกว่าเขาได้รับความสนใจอย่างเต็มที่…

Read more

3 ที่ควรปลอดเทคโนโลยี

ปัจจุบันเด็ก ๆ เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายมาก ทำให้พ่อแม่ควบคุมระยะเวลาและความถี่ในการใช้ได้ยาก แล้วเราจะทำอย่างไรให้สามารถจำกัดเวลาใช้ของลูกได้ องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านสื่ออย่าง common sense media เสนอแนะว่า สถานที่ 3 แห่งนี้ควรปลอดเทคโนโลยีค่ะ 1.โต๊ะอาหาร ก่อนจะรับประทานอาหาร ทุกคนทั้งพ่อแม่และเด็ก ๆ ควรหยุดใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ปิดหรือเก็บให้เรียบร้อย บนโต๊ะอาหารเราจะพูดคุยกัน ใช้เวลาร่วมกัน แทนการหมกมุ่นอยู่กับหน้าจอ 2.ห้องนอน งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การนอนที่ดีต่อสุขภาพควรจะอยู่ในสภาวะที่ปลอดแสง สี เสียง การให้เด็ก ๆ นอนหลับสนิทจะส่งผลให้สมองปลอดโปร่ง พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นก่อนนอนก็ควรงดดูแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือ หันมาอ่านนิทานก่อนนอนกับลูกดีกว่าค่ะ 3.รถยนต์ การใช้โทรศัพท์ในรถสำหรับพ่อแม่ที่เป็นคนขับอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ส่สวนลูกก็ควรได้ใช้เวลาในรถไปกับการพูดคุยกับพ่อแม่ มากกว่าการเล่นเกมหรือดูการ์ตูน ข้อสำคัญประการหนึ่งก็คือ การเป็นตัวอย่างที่ดีจะช่วยให้ลูกปฏิบัติตามได้ง่ายกว่าการอบรมสั่งสอนเพียงอย่างเดียวค่ะ

Read more