คุณแม่หลายคนเจอปัญหาลูกอมข้าว ส่วนใหญ่อมเสร็จคายทิ้ง ทำบ่อยอาจขาดอาหาร คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจปัญหานี้มีทางแก้ค่ะ 1.ปรับอาหารให้เหมาะกับวัย ช่วงเริ่มกินอาหารใหม่ ๆ นอกจากนมคุณแม่บดอาหารละเอียดก่อน ต่อมาค่อยปรับเป็นอาหารชิ้นใหญ่ขึ้น จากบดละเอียดเป็นสับหยาบและหั่นชิ้นเล็ก ลูกมีฟันขึ้นแล้วอย่าให้แต่อาหารบดละเอียดอีก ถ้าลูกไม่ได้ฝึกเคี้ยวก็จะเคยชินกับการกลืน และอาจติดเป็นิสัยเพราะกินง่าย 2.อย่าให้นมแทนข้าว เวลาลูกอมข้าวคุณแม่อาจกังวลว่าลูกจะไม่โต ให้กินนมแทนดีกว่าไม่ได้กินอะไร นั่นเท่ากับคุณแม่กำลังฝึกให้ลูกกินนมแทนข้าว อย่าเพิ่งใจอ่อนตามใจ ให้ได้บ้างนิดหน่อยแต่อย่ามากจนอิ่ม 3.ไม่เล่นระหว่างกินข้าว ให้ลูกมุ่งความสนใจไปที่การกินอาหาร กินไปเล่นไปเด็กจะสนใจการเล่น เวลาลูกกินทุกคำที่ป้อนโดยไม่รู้ตัวเหมือนจะดี แต่ก็จะลืมเคี้ยว 4.ไม่ให้ดูโทรทัศน์ใช้แทบเล็ตหรือมือถือระหว่างกินข้าว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะดึงดูดความสนใจของลูกออกไปจากการกิน 5.ชวนลูกให้สนใจการกิน อาจจะชวนคุยให้ลูกอารมณ์ดี หรือพูดคุยเกี่ยวกับอาหารเช่น อาจจะถามลูกว่าพรุ่งนี้ลูกอยากกินอะไร ชวนให้เขามีส่วนร่วมในการทำอาหารก็จะช่วยให้เขาสนใจการกิน 6.อย่าใช้เวลานานเกินไป ไม่เกินครึ่งชั่วโมง การพยายามให้ลูกกินหมดชามคุณแม่อาจเข้าใจว่าภารกิจประสบความสำเร็จ แต่ความจริงแล้วทำให้ลูกไม่มีวินัยในการกิน 7.จัดเวลามื้อของว่างให้เหมาะ ระหว่างมื้อ ลูกหิวขึ้นมาขอนมหรือขนมคุณแม่กลัวลูกหิวก็มักจะให้กิน ให้กินได้แต่ไม่ต้องมากจนอิ่มเกินไป และไม่ควรให้กินใกล้เวลาอาหาร ถ้าลูกอมข้าวน้อยลงอย่าลืมชมนะคะ เขาจะได้มีกำลังใจและรู้สึกภูมิใจค่ะ
ลูกไม่กินผักเป็นปัญหาคลาสสิคทุกบ้าน เวลาลูกไม่กินผักคุณแม่มักจะกังวล กลัวลูกขาดสารอาหารอย่างวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ที่มักจะมีอยู่ในผักและผลไม้ การบังคับ ติดสินบน หลอกล่อ หรือพูดซ้ำซาก ปัญหาที่ตามมาคือลูกต่อต้าน แล้วเราจะทำยังไงดี มีข้อแนะนำมาฝาก 6 ข้อค่ะ 1.อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อย่าให้ลูกรู้สึกว่าการไม่กินผักของเขาเป็นเรื่องซีเรียส การบังคับขู่เข็ญหรือการพยายามเชียร์ลูกมากเกินไป บ่อยไป อาจจะทำให้ลูกแอนตี้ผักไปเลย เพราะผักมาทีไรบรรยากาศเครียด 2.ฝึกตั้งแต่เล็ก ตั้งแต่ลูกยังไม่ถึงวัยปฏิเสธ พออายุลูกเลย 6 เดือนไปแล้ว เป็นเวลาที่คุณแม่จะเริ่มให้ลูกทำความรู้จักกับอาหารอย่างอื่นนอกเหนือจากการให้นมเพียงอย่างเดียว ระหว่างช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีแรก ค่อย ๆ ให้เขาเริ่มทำความรู้จักกับผักทีละชนิดเลือกที่รับประทานง่าย พอคุ้นเคยแล้วค่อยให้เขาได้รับประทานผักหลากหลายชนิด 3.สร้างบรรยากาศการกินผัก บนโต๊ะอาหารต้องมีผักที่ผู้ใหญ่และเด็กรับประทานง่ายด้วย ให้ลูกนั่งโต๊ะอาหารพร้อมคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เล็ก จัดเมนูผักต่าง ๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนให้เขาเห็นและทำความรู้จัก พอเขาโตหน่อยอาจให้เขาลองบ้างไม่บังคับ 4.เป็นตัวอย่างของคนรักผัก คุณพ่อคุณแม่ต้องกินผักด้วย ระหว่างมื้ออาหารคุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยกันเองถึงความอร่อยของผักเป็นการเชิญชวนเขาอย่างหนึ่งโดยไม่ต้องบังคับลูก 5.เมนูมัดใจ ทำอาหารหน้าตาน่ารักน่ารับประทาน ปรับเปลี่ยนเมนูหลาย ๆ…
วัย 4-5 ขวบวัยกำลังซนกำลังโต ช่วงนี้เด็กแต่ละคนอาจจะโตไม่เท่ากัน คุณแม่อาจไม่แน่ใจว่าควรให้ลูกกินอาหารในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ในหลักการทางการแพทย์ บอกไว้ว่าลูกน้อยในวัย 4 - 5 ปี ต้องการพลังงานและสารอาหารใน 1 วัน ประมาณ 1,450 กิโลแคลอรี่ แบ่งสัดส่วนดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 50-60%, โปรตีน 10-15% ไขมัน 25-30% ปริมาณอาหารที่ลูกวัยนี้ควรได้รับในแต่ละวัน คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง : 2 ½ – 3 ถ้วยตวง (ประมาณ 5 - 6 ทัพพีต่อวัน) เช่น ข้าวสวย ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น มะกะโรนี โปรตีน : 3 ½ – 4 ช้อนโต๊ะ…