วัย 1-3 ปีเป็นวัยที่ลูกกำลังพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง และพฤติกรรมหนึ่งที่คุณแม่ไม่ชอบใจเลยก็คือการกรี๊ดของลูกน้อย รวมทั้งอาการเอาแต่ใจลงไปร้องดิ้น พระคุณลูกกรี๊ดคุณแม่โกรธบรรยากาศก็จะตึงเครียด มาดูวิธีรับมือกับลูกวัยกรี๊ดกันค่ะ 1.เตรียมใจลูกก่อนเจอกับสถานการณ์ คุณแม่สังเกตดูว่าลูกมักจะกรี๊ดเมื่อไหร่ด้วยเหตุผลอะไร เช่น พาไปเที่ยวห้างแล้วไม่ซื้อของเล่นให้จะร้องดิ้น ควรทำความตกลงกันก่อน 2.เบี่ยงเบนความสนใจ หรือหาสิ่งที่สนุกกว่ามาหลอกล่อ เช่น พาลูกออกไปเล่นที่สนามเด็กเล่น แล้วลูกเล่นเพลินไม่ยอมเลิก อาจจะบอกเขาว่าน่าเสียดายจัง ถ้าไปช้าอดกินขนมร้านโปรด 3.ฝึกให้ลูกสื่อสารอย่างเหมาะสม อาการกรี๊ดเกิดจากไม่ได้ดั่งใจและยังเกิดจากการที่เด็กไม่รู้ว่าจะพูดหรือจะบอกอย่างไร คุณแม่ค่อย ๆ สอนเขาค่ะ ว่าถ้าต้องการอะไรให้พูดอย่างไร สอนให้เขาบอกความรู้สึกต่าง ๆ เสียใจ โกรธ ไม่ชอบ ไม่อยากทำ กลัว ฯลฯ 4.ทำใจให้สงบ ไม่โกรธ อาจจะนับ 1-10 หรือนับไปเรื่อย ๆ ค่ะคุณแม่ การที่คุณแม่ไม่โกรธ สถานการณ์จะดูคล้ายกับว่าคนหนึ่งโกรธและหาคนทะเลาะด้วยไม่ได้ก็จะสงบลงไปเองคุณแม่ยิ่งโกรธยิ่งบานปลายเพราะฉะนั้นสงบนิ่งเลยค่ะ 5.ปล่อยให้กรี๊ด ถ้าลูกร้องกรี๊ดหรือลงไปร้องดิ้นเพราะความเอาแต่ใจ คุณแม่ปล่อยเขาเต็มที่เลยค่ะ เมื่อลูกเห็นว่าวิธีนี้ไม่ได้ผลก็จะเลิกไปในที่สุด แต่คุณแม่ต้องคอยดูให้อยู่ในสายตาด้วยนะคะ นอกจากใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อลดอาการกรี๊ดของลูกแล้ว…
พ่อแม่ทุกคนมักจะบอกและสอนลูก ๆ เสมอว่าให้พูดความจริง แต่บ่อยครั้งพ่อแม่เองก็เผลอที่จะพูดไม่จริงกับลูก แต่พ่อแม่ก็จะอธิบายว่า ที่โกหกไปก็เพราะความจำเป็น แสดงว่าบางครั้งคนเราก็โกหกโดยที่ไม่ได้ตั้งใจและจำเป็น เพราะฉะนั้นถ้าวันหนึ่งพ่อแม่พบว่าลูกโกหก ก็คงต้องทำความเข้าใจ มีสติในการจัดการ
พ่อแม่หลายคนโกรธมากเมื่อรู้ว่าลูกโกหก ความโกรธไม่พอใจเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็ไม่ควรให้ความโกรธนั้นมากเกินไป พยายามทำความเข้าใจและใช้เหตุผลในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ถ้าเป็นเด็กเล็ก ๆ เราสามารถพบเรื่องการพูดไม่จริงได้โดยเป็นปกติของพัฒนาการ เพราะยังมีพัฒนาการทางภาษาไม่ดีไม่สมบูรณ์ หมอเคยเจอว่า เด็กบางคนชอบพูดว่า "ไม่" หรือ "เปล่า" เวลาที่พ่อแม่บอกว่า "หนูทำ...นี้ใช่มั้ย" ที่เด็กพูดว่า "ไม่" หรือว่า "เปล่า" อาจไม่ได้หมายความว่าจะโกหก แต่อาจต้องการบอกเป็นนัยๆกับพ่อแม่ว่า "อย่าดุหนูนะ" หรือ "หนูจะไม่ทำอีกแล้ว"
นอกจากนั้นเด็กเล็กบางทีแยกแยะความจริงกับจินตนาการไม่ได้ เช่น เด็กอาจจะมีจินตนาการว่าการที่ใบกล้วยพัดไหวตอนกลางคืนเป็น ผี หรือ สัตว์ร้าย เวลาที่เด็กเล็กพูดสิ่งที่ไม่เป็นความจริง ไม่ควรดุแต่ค่อย ๆ อธิบายความเป็นจริง การรับรู้ของเด็กเล็กบางทีไม่ละเอียดหรือตรงกับความจริงเหมือนเด็กโตหรือผู้ใหญ่
เด็กเล็กจะคิดไม่ซับซ้อน มีความคิดจินตนาการ มีแฟนตาซีสูง คิดว่าสิ่งของมีชีวิตจิตใจ เช่น พ่อเผลอไปเดินเหยียบตุ๊กตาของลูก ลูกก็ร้องไห้ใหญ่บอกว่า พ่อทำตุ๊กตาเจ็บ เป็นต้น
ดังนั้นผู้ใหญ่ก็ควรทำความเข้าใจ ไม่ต้องกังวลเกินไป ถ้าเด็กเล็กๆ เหมือนจะพูดไม่จริงบ้าง แต่ถ้าเด็กที่โตหน่อย บางทีการโกหกมักจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ…