หน้าฝนแวะเวียนมาทีไร คุณแม่มักจะเป็นกังวลกับสุขภาพของลูกน้อยเป็นพิเศษ มีเรื่องใดต้องระวังบ้างมาดูกันเลยค่ะ 1.หวัด เด็กเล็กมีโอกาสเป็นหวัดง่าย ไอ มีน้ำมูก หายใจครืดคราดอยู่บ่อย ๆ การให้ลูกดื่มน้ำหรือนมมากขึ้นช่วยได้ ถ้าไม่ได้มีน้ำมูกมากควรหลีกเลี่ยงการกินยาค่ะ วิธีลดน้ำมูก แม้ว่าภายในรูจมูกของลูกเป็นส่วนที่บอบบาง ไม่ควรมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปสัมผัส แต่หากมีความจำเป็นควรดูแลอย่างถูกวิธี เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน อาจใช้ก้านสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดภายในรูจมูก แต่อย่าเข้าไปลึกเพราะอาจเป็นอันตรายได้ เด็กที่โตหน่อย ใช้ลูกยางดูดน้ำมูก โดยทำความสะอาดลูกยางด้วยน้ำและสบู่ บีบน้ำออกให้หมด เวลาใช้บีบกระเปาะยางให้แบนแล้วสอดเข้าไปในรูจมูกแล้วค่อย ๆ คลายมือที่บีบออกเบา ๆ เพื่อดูดน้ำมูก ใช้เสร็จแล้วควรทำความสะอาดและผึ่งลมให้แห้ง 2.ผดผื่นตอแย เชื้อโรคมักเติบโตได้ดีในอากาศอับชื้นนำมาสู่ปัญหาผดผื่นได้ ดูแลและป้องกัน ดูแลของใช้ลูก อย่างผ้าอ้อม เสื้อผ้า หรือผ้าห่มไม่ให้อับชื้น ก่อนเก็บผ้าให้จับดูว่าส่วนไหนยังชื้นอยู่ควรตากแดดให้แห้งหรือรีดให้หายชื้น ถ้าใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปต้องหมั่นเปลี่ยนเสมอ เพราะมีโอกาสทำให้เกิดผดผื่นได้มากกว่าผ้าอ้อมผ้า ถ้าลูกคันทาคาลามายน์เพื่อช่วยบรรเทา อย่าให้เกาเด็ดขาด ถ้ามีทีท่าว่าจะลามไม่หยุด ควรไปพบคุณหมอ 3. แมลง กัด ต่อย …
คุณแม่มักมีความสุขที่เห็นลูกกินได้ แต่ดีใจได้ไม่เท่าไหร่ก็มานั่งกลุ้มเพราะของที่ลูกกินมีแต่ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ช็อกโกแลต เยลลี่ คุกกี้ ขนมเค้ก ไอศกรีม ฯลฯ ที่มีแต่แป้ง ไขมัน น้ำตาล เกลือที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสารพัด แล้วจะทำอย่างไรดีลูกกินแต่ขนม เรามี 5 วิธีแก้ไขมาฝากค่ะ 1.จัดสรรเวลา ควรจัดสรรเวลาอาหารของลูก ไม่ควรให้ลูกกินขนมก่อนกินอาหารมื้อหลัก เพราะจะทำให้ลูกอิ่มจนไม่อยากกินข้าว 2.จัดปริมาณ ไม่ปล่อยให้ลูกกินขนมไปเรื่อย ๆ แม้ว่าจะอย่างละนิดอย่างละหน่อยก็ตาม ตกลงกับลูกว่าสามารถกินขนมในปริมาณมากน้อยแค่ไหน 3.จัดผลไม้แทนขนม ไม่ควรมีขนมเก็บไว้ในบ้านมากเกินไป เตรียมของว่างที่มีประโยชน์หรือผลไม้ไว้แทนขนมจะดีต่อสุขภาพของลูกมากกว่า 4.จัดให้นาน ๆ ครั้ง สำหรับเด็กที่เคยติดใจในรสชาติขนมไปแล้ว การห้ามกินขนมค่อนข้างทำร้ายจิตใจเด็ก ให้ลูกกินได้ในปริมาณที่เหมาะสม หรือกินบ้างนาน ๆ ครั้ง 5.จัดพฤติกรรมของพ่อแม่ คุณพ่อคุณแม่ควรทำตัวเป็นต้นแบบที่ดีในเรื่องการกิน ทั้งไม่กิน และไม่ซื้อแต่ขนม แต่เลือกกินของที่มีประโยชน์ พยายามสร้างความคุ้นเคยในการกินอาหารที่มีประโยชน์ตั้งแต่เล็ก ๆ เพื่อสุขภาพของลูกค่ะ
การสร้างนิสัยให้ลูกกินข้าวหมดจาน เป็นการฝึกให้เด็ก ๆ ตักข้าวแต่พอดี ฝึกเรื่องวินัยการกิน การกินข้าวอย่างใส่ใจไม่เหลือทิ้ง ยังช่วยส่งเสริมให้ลูกเห็นคุณค่าของอาหารด้วยค่ะ การจะฝึกให้ลูกกินได้หมดจาน ทำอย่างไรเรามี 3 วิธีมาบอกต่อ รู้คุณข้าว….เราต้องสอนลูก คุณพ่อคุณแม่รู้จักคุณค่าของข้าวแล้วยังสามารถสอนลูกได้ค่ะ อธิบายให้ลูกฟังว่าข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย ทั้งมีประโยชน์และมีราคาสูงขึ้นทุกวัน การสอนให้ลูกกินข้าวหมดจานยังใช้เป็นแนวทางในการต่อยอดความคิดกินอยู่แบบพอเพียงให้กับเด็ก ๆ ลดการสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ ลดการกำจัดขยะลดมลพิษ ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อนอีกด้วย ฝึกคุณหนูหม่ำหมดจาน step 1 เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกกินเป็นเวลา โดยกำหนดเวลาอาหารให้ชัดเจน ใส่ใจในสัดส่วนอาหารที่เหมาะสม เปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลาย เตรียมอาหารให้มีขนาดชิ้นเล็กพอดีคำ เคี้ยวง่าย step 2 ฝึกให้ลูกตักอาหารเอง ฝึกให้ระบุปริมาณอาหารที่ต้องการ หรือรู้จักบอกว่ามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ขอเพิ่มหรือขอลดรู้จักความพอดีในการกิน เมื่อกินหมดลูกจะมีความภูมิใจ ไม่กินเหลือ คุณแม่ไม่ต้องบังคับให้กินจนหมดจาน step 3 พ่อแม่ต้องไม่กินอาหารแบบทิ้งขว้าง เป็นตัวอย่างที่ดี อย่าบังคับให้ลูกกินถ้าลูกไม่หิว เด็กมีความอยากอาหารในแต่ละวันแต่ละมื้อไม่เท่ากัน จึงไม่ควรคาดหวังให้ลูกกินได้หมดเหมือนกันทุกมื้อ Tips : ชื่นชมหรือให้กำลังใจลูกทุกครั้งที่ลูกกินจนหมด ช่วยให้ลูกมีแรงจูงใจสร้างนิสัยในการคิดก่อนจะกินก่อนจะใช้มากขึ้น
เพื่อให้ลูกเป็นเด็กรักผัก เรามีเคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะช่วยให้มื้อผักที่เด็ก ๆ เอาแต่ส่ายหน้า มาเป็นอ้าปากอ้ำแต่โดยดีกันค่ะ การกินของลูกจะสนุกหากคุณแม่ไม่เคร่งครัดเกินไป ทำให้เป็นเรื่องท้าทาย น่าลอง ทำด้วยความสุขจาก 4 วิธีนี้ค่ะ 1.สร้างความสนุกกับเรื่องผัก สมมติให้ลูกเป็นฮีโร่ เป็นสัตว์ตัวน้อยที่กินผัก เช่น กระต่ายน้อยชอบแครอต เป็นต้น 2.ดัดแปลงรูปแบบการปรุง นำผักที่คุณแม่อยากให้ลูกลิ้มลอง มาปั่นเป็นเนื้อเดียวกับผลไม้ เช่น แคนตาลูป, แอปเปิ้ล แล้วเติมความสดชื่นด้วยน้ำแข็งค่ะ 3.สลับสับเปลี่ยนให้ลูกลองเมนูผัก ที่ไม่จำเจกับชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อให้ลูกได้รู้จักกับผักหลากหลายชนิด 4.ให้คำชม แสดงความชื่นชม เป็นรางวัล ลูกจะยิ่งรู้สึกดีกับการกินและชื่นชอบเมนูผัก แรก ๆ ลูกอาจปฏิเสธเมนูที่คุณแม่ทำ อย่าเพิ่งท้อ ค่อย ๆ ให้ทีละนิดทีละหน่อย ทำบ่อยครั้ง สักพักลูกก็จะคุ้นเคยเริ่มถูกใจเมนูผักบ้างแล้วละค่ะ
การฝึกลูกขับถ่ายต้องอาศัยเวลา ความเข้าใจ ความอดทนของคุณแม่เป็นหลัก มีเทคนิคดี ๆ ที่คุณแม่ควรทำมาฝาก 5 ข้อค่ะ 1.Do : เข้าใจพัฒนาการ การควบคุมการขับถ่าย ขึ้นอยู่กับความพร้อมของกล้ามเนื้อหูรูดและสมองส่วนที่ควบคุมประสาทสัมผัส นักจิตวิทยาเด็กพบว่าช่วงที่ประสบความสำเร็จ คือ ช่วงที่ลูกเริ่มให้ความสนใจในการขับถ่าย จึงจะสามารถฝึกได้ดี 2.Do : ชมเชยและให้กำลังใจ เมื่อลูกบอกความต้องการขับถ่าย ควรชมและให้กำลังใจลูกทุกครั้งที่ลูกบอกได้ก่อน หรือแม้แต่เมื่อลูกบอกหลังจากฉี่หรืออึไปแล้วก็ควรชม เพราะอย่างน้อยเหล่านี้ก็แสดงถึงความรับผิดชอบต่อตนเองของลูก 3.Do : ใส่ชุดถอดง่าย ใช้ผ้าอ้อมกับลูกให้น้อยที่สุด แล้วหันมาใส่กางเกงเอวยางยืดให้ลูกถอดได้ง่าย ลูกจะได้ถอดเองทันเวลา หรือจัดการเปลี่ยนได้เร็วขึ้น การหากางเกงที่ถอดใส่ได้ง่าย จะทำให้ลูกภูมิใจที่ช่วยเหลือตัวเองได้ในเรื่องนี้ค่ะ 4.Do : สังเกตอาการ คอยสังเกตอาการเวลาลูกต้องการขับถ่าย ลูกอาจแสดงสีหน้าท่าทางหรือคำพูด ส่วนใหญ่ลูกจะบอกว่าฉี่ไม่ค่อยทัน ปัสสาวะออกมาแล้วถึงค่อยบอกให้รู้ แต่ถ้าปวดอุจจาระจะบอกทัน 5.Do : ฝึกลูกพึ่งตัวเอง การฝึกให้ลูกเข้าห้องน้ำเอง กดชักโครกเอง ตักราดเอง ถอดเสื้อผ้ากางเกงเอง โดยเตรียมเสื้อผ้ากางเกงที่ใส่ได้ง่ายๆ ให้ลูกด้วย…
เด็กไม่ชอบกินผักอาจมาจากเหตุผลหลายหลายประการค่ะ เช่น เหนียว เคี้ยวยาก รสชาติไม่อร่อย มีกลิ่นฉุน ฯลฯ แต่ผักก็อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียด้วยสิ คุณแม่จึงต้องหาวิธีปรุงและค่อย ๆ หัดให้ลูกเริ่มต้นจากผักที่กินง่าย มีข้อแนะนำสำหรับการให้ลูกหม่ำผักแต่ละประเภทมาฝากค่ะ 1.ผักมีใบ สำหรับเด็กเล็ก นำมาต้มหรือตุ๋นให้สุกแล้วบดละเอียด โตหน่อยอาจซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ โรยหน้าหรือทำเป็นข้าวผัดก็ได้ต้องเลือกผักที่มีรสหวานใบนิ่มเป็นหลักเลยนะคะ 2.ผักมีก้าน หรือแบบเนื้อแข็งต้องทำให้เหมาะสม เช่น ถ้าลูกโตพอมีฟันบดหรือเคี้ยวอาหารได้ ก็ใช้วิธีนึ่งหรือต้ม หั่นเป็นแท่งก็ช่วยให้เด็ก ๆ หยิบจับ กัด ง่ายต่อการชวนลูกกินผัก 3.ผักมีกลิ่นฉุน เด็กหลายคนร้องยี้ ทำหน้าเบ้กับผักที่มีกลิ่น เช่น ผักชี ต้นหอม หรือขึ้นฉ่าย อาจไม่ชื่นชอบผักประเภทนี้มากนัก แนะนำว่า ยังไม่ควรนำมาปรุงอาหารในช่วงเริ่มต้นอาหารเสริมสำหรับเบบี๋ เพราะจะทำเกิดความรู้สึกติดลบกับการกินผัก ลองทำดูนะคะคุณแม่เผื่อเปลี่ยนใจคุณลูกให้เป็นเด็กรักผักค่ะ
ในวัย 8-9 เดือนลูกเริ่มสนใจจับทุกอย่างเข้าปาก ! เป็นโอกาสดี ๆ ที่คุณแม่จะฝึกให้ลูกหยิบจับอาหารหม่ำเอง มีเทคนิคง่าย ๆ มาแนะนำค่ะ 1.เตรียมอาหารที่ดีต่อสุขภาพลูก อย่างผักหรือผลไม้รสอ่อน เริ่มต้นด้วยอาหารชิ้นเล็ก ๆ นิ่ม ๆ เพื่อป้องกันการสำลักหรือติดคอ 2.เตรียมอาหารไว้น้อย ๆ ก็พอ แล้วปล่อยให้ลูกตัดสินใจเองว่าจะกินหรือไม่ ลองปล่อยให้ลูกหยิบ จับ เล่นกับอาหารเพื่อทำความคุ้นเคย ต้องยอมให้เลอะเทอะบ้าง แรก ๆ คุณแม่ยังคงป้อนอยู่นะคะ เพื่อให้ลูกได้อาหารพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย 3.ถ้าลูกอยากถือช้อนเองปล่อยตามใจเขาค่ะ โดยคุณแม่สอนวิธีการกิน อาจการจับมือลูกให้แน่นแล้วค่อย ๆ ป้อนเข้าปากลูกช้า ๆ 4.ถ้าลูกเริ่มเล่นอาหาร ให้ลูกหยุดกิน โดยคุณแม่ทำสีหน้าปกติ ไม่ดุหรือแสดงอาการตื่นเต้นร้อนรนให้ลูกเห็น เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเล่นอาหารไม่เลิก และจะทำเช่นนี้อีกในครั้งต่อไป พยายามควบคุมเวลากินของลูกแต่ละมื้อให้อยู่ในราว ๆ 30 นาทีค่ะ 5.ใช้ชามพลาสติกก้นกว้างที่หกยากไม่แตกง่าย และช้อนขอบมน ขนาดเหมาะกับปากของลูก ด้ามช้อนให้จับได้ง่าย เพื่อให้ลูกตักอาหารป้อนตัวเองได้ มีการศึกษาพบว่าในช่วงอายุ 11 เดือน…
พอลูกครบ 1 ขวบหรือขวบครึ่งก็ถึงเวลาให้บอกลาขวดนมที่รักได้แล้ว การดูดนมจากขวดนานเกินไปมีข้อเสียหลายประการ ตั้งแต่ฟันผุ ฟันยื่น หรือลดโอกาสพัฒนาทักษะการพูดและการใช้มือ รบกวนเวลานอนตอนกลางคืน เพราะยังตื่นมาดูดนมกลางดึก และหูชั้นกลางมีโอกาสอักเสบเนื่องจากนมไหลย้อนเข้าไป โอกาสดีก็วัยนี้ ในวัย 1ขวบถึง 1 ขวบครึ่งลูกเริ่มมีฟันหลายซี่ให้ดูแล และเริ่มจิบน้ำจากแก้วได้คล่อง ที่สำคัญคือเป็นช่วงที่ยอมทำตามคำสั่งได้ง่าย ถ้ายืดเยื้อไปจนใกล้ 2 ขวบ เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น การบอกให้เลิกขวดนมยากกว่าวัยนี้ค่ะ ทีละขั้นทีละตอน การตั้งเป้าให้เลิกขวดนมควรเตรียมพร้อมให้ลูกสามารถจิบน้ำจากแก้วได้ สามารถเริ่มฝึกได้ตั้งแต่วัย 6 - 9 เดือน โดยเริ่มจิบน้ำเปล่าก่อน หากทำได้ไม่สำลัก ค่อยลองให้จิบน้ำผลไม้และนมตามลำดับ เมื่อดูแล้วว่าเด็กสามารถดื่มนมจากแก้วโดยไม่สำลัก ค่อยเริ่มกระบวนการเลิกขวดนม ดูว่าลูกยอมรับความเปลี่ยนแปลงยากหรือง่ายและติดขวดนมมากน้อยแค่ไหน เลือกวิธีที่เหมาะกับเขาค่ะ How to : บ๊ายบายแบบหักดิบ เหมาะกับเด็กว่าง่าย ยังดูดนมจากขวดอยู่แต่ไม่ติดมากนัก เช่น ไม่ถือขวดเดินไปมา นอนหลับได้เองโดยไม่ต้องดูดนม เป็นต้น บอกล่วงหน้าไว้บ้าง เช่น “หนูโตแล้วนะ อีกไม่นานน่าจะได้เวลางดขวดนมแล้ว” บอกซ้ำ…
ก่อนลูก 3 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งเป้าค่ะ ต้องฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้นะคะ ทำไมต้องฝึกในวัยนี้ ? นั่นก็เพราะลูกกำลังจะถึงวัยเข้าเรียนอนุบาลแล้ว ถ้าเขาดูแลตัวเองได้ดีก็จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและเพื่อนใหม่ได้ง่าย มีความมั่นใจในตัวเอง ลูกจะมีความสุขเมื่อไปโรงเรียนค่ะ เรื่องง่าย ๆ ที่ใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องคอยฝึกให้ลูกมีอะไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมความพร้อมให้ลูก ก่อน 3 ขวบลูกต้องทำได้ 1.เลิกขวดนมได้แล้ว ยิ่งเร็วยิ่งดี ควรฝึกลูกดื่มนมจากแก้วหรือดูดจากหลอด การดูดขวดนมนานเกินไปฟันไม่สวย หรือนอนดูดขวดนมหลับคาปากโอกาสฟันผุมีสูงแน่นอน การดูดนมจากขวดอาจทำให้เด็กดื่มนมมากเกินไป นำไปสู่โรคอ้วนได้ กี่ขวบดี ? สามารถเลิกใช้ขวดนมได้ตั้งแต่ 1 ขวบค่ะ จะง่ายกว่าตอน 2 ขวบ ดูความพร้อมของลูกซักนิด ดูดหลอดได้ ลูกก็จะจับแก้วถนัด ยกแก้วดื่มเอง พยายามให้ลูกได้เล่นได้ใช้กล้ามเนื้อมือเพื่อให้เขามีพัฒนาการที่ดี 2.บอกลาผ้าอ้อม ฝึกให้เข้าห้องน้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกลูกให้ใช้ห้องน้ำเป็น เลิกให้ใช้กางเกงผ้าอ้อมสำเร็จรูป เริ่มฝึกจากช่วงกลางวันก่อน แล้วค่อยฝึกเลิกกางเกงผ้าอ้อมตอนกลางคืน ค่อย ๆ ฝึกกันไปค่ะจนฝึกสำเร็จ (ผ้าซับฉี่ รองฉี่ กันฉี่ ที่ลูกเคยใช้ตอนเป็นเบบี๋ นำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งตอนฝึกค่ะ)…
Q : ลูกอายุ 1 ปี 1 เดือน กินแต่นม เวลาป้อนข้าวก็ไม่กินเลยค่ะ เคยใช้วิธีให้กินนมน้อยลง แต่ก็จะร้องงอแงมากไม่ยอมกินข้าวอยู่ดี จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ
A : ปัญหาลูกไม่กินข้าวเป็นปัญหาสำคัญที่พบในเด็กวัยตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3 – 4 ปี หรือช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมเด็ก ความอดทน และความร่วมมือของคุณพ่อ คุณแม่ในการแก้ปัญหา
โดยการแก้ปัญหานั้นเริ่มต้นที่คุณแม่ไม่ควรเครียด กังวลกับการกินของลูกมากเกินไป ควรสร้างบรรยากาศการกินให้สบายๆ โดยให้นั่งกินร่วมโต๊ะกับสมาชิกในครอบครัว ไม่มีสิ่งใดมาดึงความสนใจ เช่น ทีวี ของเล่น
ชวนลูกพูดคุยให้เพลิน ไม่บังคับขู่เข็ญ ไม่ยัดเยียด ไม่เดินตามป้อนอาหาร หรือติดสินบนลูกเพื่อให้กิน เพราะลูกจะต่อต้านไม่ยอมกิน หรือ ในบางรายจะจับจุดได้ว่า การที่เขาไม่กินข้าว จะได้รับความสนใจจากคุณแม่มากขึ้น แล้วนำมาเป็นข้อต่อรองในคราวหลังได้
ควรให้ลูกได้เลือก และ ควบคุมการกินของเขาเอง ตักกินเอง จะเลอะเทอะไปบ้างก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่อย่าใช้เวลากินบนโต๊ะอาหารนานเกินไป ไม่ควรเกิน 30 นาที เพราะจะทำให้ลูกมีความรู้สึกว่าช่วงเวลามื้ออาหารเป็นช่วงที่น่าเบื่อ และ มีความรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับอยู่
ในแต่ละมื้อนั้นควรจัดให้อาหารมีลักษณะสีสัน…