การควบคุมการขับถ่ายเป็นความสามารถหนึ่งในพัฒนาการของเด็ก ซึ่งต้องอาศัยความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ การฝึกจากพ่อแม่ สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ของเด็กค่ะ เด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน ฉะนั้นถ้าจะฝึกลูกให้ขับถ่ายได้ดีคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำ 5 ข้อนี้นะคะ 1.Don’t : อย่าเร่งรัดหรือบังคับ อย่าใจร้อนเร่งรัดให้ลูกขับถ่ายเร็ว ๆ เพราะถ้ากล้ามเนื้อส่วนที่ถูกควบคุมการขับถ่ายยังไม่พร้อม ก็จะไม่ประสบความสำเร็จยิ่งมีท่าทีบังคับ ลูกก็จะยิ่งกลั้นไว้ ทำให้ลูกเป็นทุกข์ และมีปัญหาในการขับถ่ายตามมา 2.Don’t : อย่าลงโทษ เพราะการลงโทษ การดุว่าหรือตีลูก มีแต่จะทำให้เกิดการต่อต้าน ดื้อรั้น เกิดความกลัว ความโกรธ ไม่ยอมขับถ่าย ควรใช้การให้รางวัล การชมเชย และให้กำลังใจจะดีกว่า 3.Don’t : อย่าคาดหวัง อย่าคาดหวังจริงจังกับการฝึกขับถ่ายจนกว่าลูกจะครบ 2 ขวบ เมื่อถึงวัยนี้เด็กจะควบคุมการขับถ่ายได้ค่อนข้างดี ขับถ่ายเป็นเวลาในช่วงกลางวัน บอกหรือแสดงอาการให้รู้ว่าต้องการขับถ่ายได้ ส่วนการควบคุมการปัสสาวะมักทำได้ในภายหลัง 4.Don’t : อย่าลืมเข้าห้องน้ำ เมื่อลูกดื่มนมก่อนนอน ควรพาเข้าห้องน้ำให้เคยชินเป็นนิสัย หรือไม่ว่าจะเวลาใดก็ตามเมื่อลูกปัสสาวะไปได้สัก 2 ชม. ควรพาเข้าห้องน้ำ เพื่อลดปัญหาปัสสาวะรดกางเกงหรือที่นอน 5.Don’t : อย่าสนใจแต่น้อง…
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กค่ะ การสอนลูกให้รู้จักระวังจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด มาดูกันว่าเมื่อพาเด็ก ๆ ไปห้างต้องระวังในจุดไหนบ้าง 1. บันไดเลื่อน จูงมือลูกตลอดขณะอยู่บนบันได ให้ลูกยืนหันหน้าไปทิศเดียวกับการเลื่อนของบันได ดูความเรียบร้อยของเสื้อผ้า ชายเสื้อกางเกง กระโปรง เชือกผูกรองเท้าไม่ให้มีส่วนไหนเข้าไปติดในบันไดเลื่อน ไม่ให้ลูกนั่งหรือเล่นขณะที่อยู่บนบันไดเลื่อน แม้แต่การยืนหันหลังก็ไม่ควรทำ เลี่ยงใช้รถเข็นเด็กขึ้นบันไดเลื่อน ใช้ลิฟต์แทนเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุรถหลุดมือหรือลื่นไถล 2. ลิฟต์ ต่อคิวรอลิฟต์หากคนแน่นมาก รอรอบต่อไป สอนลูกไม่ให้ยืนพิงประตูลิฟต์ เมื่อเกิดเหตุขัดข้อง เช่น ลิฟต์ค้างต้องมีสติ สังเกตแผงวงจร (บริเวณที่กดปุ่มเลือกชั้น) จะมีปุ่ม Emergency Call บนแผงปุ่มกดภายในตัวลิฟต์ สอนลูกไม่ให้กระโดดโลดเต้น ไม่วิ่งเล่นในลิฟต์ หรือกดปุ่มขึ้นลงเล่น ไม่ยืนใกล้ประตูลิฟต์มากเกินขณะยืนรอ อาจถูกชนจากผู้โดยสารด้านในหกล้มได้ กฎเหล็กที่ต้องท่องจำคือ น้ำท่วม ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว และไฟไหม้ ห้ามใช้ลิฟต์ 3. ประตูและพื้น เวลาเดินเข้าออกให้ลูกอยู่ตรงกลางประตู พ่อแม่จับมือยืนอยู่ข้าง ๆ ลูก หรืออุ้มลูก ระวังทางเดินในห้างฯ หรือลานกว้าง อาจมีสิ่งกีดขวาง มีน้ำ ทำให้ลูกสะดุดลื่นล้ม ไม่ปล่อยให้ลูกวิ่งเล่นตามลำพัง…
เด็กไม่ชอบกินผักอาจมาจากเหตุผลหลายหลายประการค่ะ เช่น เหนียว เคี้ยวยาก รสชาติไม่อร่อย มีกลิ่นฉุน ฯลฯ แต่ผักก็อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียด้วยสิ คุณแม่จึงต้องหาวิธีปรุงและค่อย ๆ หัดให้ลูกเริ่มต้นจากผักที่กินง่าย มีข้อแนะนำสำหรับการให้ลูกหม่ำผักแต่ละประเภทมาฝากค่ะ 1.ผักมีใบ สำหรับเด็กเล็ก นำมาต้มหรือตุ๋นให้สุกแล้วบดละเอียด โตหน่อยอาจซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ โรยหน้าหรือทำเป็นข้าวผัดก็ได้ต้องเลือกผักที่มีรสหวานใบนิ่มเป็นหลักเลยนะคะ 2.ผักมีก้าน หรือแบบเนื้อแข็งต้องทำให้เหมาะสม เช่น ถ้าลูกโตพอมีฟันบดหรือเคี้ยวอาหารได้ ก็ใช้วิธีนึ่งหรือต้ม หั่นเป็นแท่งก็ช่วยให้เด็ก ๆ หยิบจับ กัด ง่ายต่อการชวนลูกกินผัก 3.ผักมีกลิ่นฉุน เด็กหลายคนร้องยี้ ทำหน้าเบ้กับผักที่มีกลิ่น เช่น ผักชี ต้นหอม หรือขึ้นฉ่าย อาจไม่ชื่นชอบผักประเภทนี้มากนัก แนะนำว่า ยังไม่ควรนำมาปรุงอาหารในช่วงเริ่มต้นอาหารเสริมสำหรับเบบี๋ เพราะจะทำเกิดความรู้สึกติดลบกับการกินผัก ลองทำดูนะคะคุณแม่เผื่อเปลี่ยนใจคุณลูกให้เป็นเด็กรักผักค่ะ
ในวัย 8-9 เดือนลูกเริ่มสนใจจับทุกอย่างเข้าปาก ! เป็นโอกาสดี ๆ ที่คุณแม่จะฝึกให้ลูกหยิบจับอาหารหม่ำเอง มีเทคนิคง่าย ๆ มาแนะนำค่ะ 1.เตรียมอาหารที่ดีต่อสุขภาพลูก อย่างผักหรือผลไม้รสอ่อน เริ่มต้นด้วยอาหารชิ้นเล็ก ๆ นิ่ม ๆ เพื่อป้องกันการสำลักหรือติดคอ 2.เตรียมอาหารไว้น้อย ๆ ก็พอ แล้วปล่อยให้ลูกตัดสินใจเองว่าจะกินหรือไม่ ลองปล่อยให้ลูกหยิบ จับ เล่นกับอาหารเพื่อทำความคุ้นเคย ต้องยอมให้เลอะเทอะบ้าง แรก ๆ คุณแม่ยังคงป้อนอยู่นะคะ เพื่อให้ลูกได้อาหารพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย 3.ถ้าลูกอยากถือช้อนเองปล่อยตามใจเขาค่ะ โดยคุณแม่สอนวิธีการกิน อาจการจับมือลูกให้แน่นแล้วค่อย ๆ ป้อนเข้าปากลูกช้า ๆ 4.ถ้าลูกเริ่มเล่นอาหาร ให้ลูกหยุดกิน โดยคุณแม่ทำสีหน้าปกติ ไม่ดุหรือแสดงอาการตื่นเต้นร้อนรนให้ลูกเห็น เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเล่นอาหารไม่เลิก และจะทำเช่นนี้อีกในครั้งต่อไป พยายามควบคุมเวลากินของลูกแต่ละมื้อให้อยู่ในราว ๆ 30 นาทีค่ะ 5.ใช้ชามพลาสติกก้นกว้างที่หกยากไม่แตกง่าย และช้อนขอบมน ขนาดเหมาะกับปากของลูก ด้ามช้อนให้จับได้ง่าย เพื่อให้ลูกตักอาหารป้อนตัวเองได้ มีการศึกษาพบว่าในช่วงอายุ 11 เดือน…
พอลูกครบ 1 ขวบหรือขวบครึ่งก็ถึงเวลาให้บอกลาขวดนมที่รักได้แล้ว การดูดนมจากขวดนานเกินไปมีข้อเสียหลายประการ ตั้งแต่ฟันผุ ฟันยื่น หรือลดโอกาสพัฒนาทักษะการพูดและการใช้มือ รบกวนเวลานอนตอนกลางคืน เพราะยังตื่นมาดูดนมกลางดึก และหูชั้นกลางมีโอกาสอักเสบเนื่องจากนมไหลย้อนเข้าไป โอกาสดีก็วัยนี้ ในวัย 1ขวบถึง 1 ขวบครึ่งลูกเริ่มมีฟันหลายซี่ให้ดูแล และเริ่มจิบน้ำจากแก้วได้คล่อง ที่สำคัญคือเป็นช่วงที่ยอมทำตามคำสั่งได้ง่าย ถ้ายืดเยื้อไปจนใกล้ 2 ขวบ เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น การบอกให้เลิกขวดนมยากกว่าวัยนี้ค่ะ ทีละขั้นทีละตอน การตั้งเป้าให้เลิกขวดนมควรเตรียมพร้อมให้ลูกสามารถจิบน้ำจากแก้วได้ สามารถเริ่มฝึกได้ตั้งแต่วัย 6 - 9 เดือน โดยเริ่มจิบน้ำเปล่าก่อน หากทำได้ไม่สำลัก ค่อยลองให้จิบน้ำผลไม้และนมตามลำดับ เมื่อดูแล้วว่าเด็กสามารถดื่มนมจากแก้วโดยไม่สำลัก ค่อยเริ่มกระบวนการเลิกขวดนม ดูว่าลูกยอมรับความเปลี่ยนแปลงยากหรือง่ายและติดขวดนมมากน้อยแค่ไหน เลือกวิธีที่เหมาะกับเขาค่ะ How to : บ๊ายบายแบบหักดิบ เหมาะกับเด็กว่าง่าย ยังดูดนมจากขวดอยู่แต่ไม่ติดมากนัก เช่น ไม่ถือขวดเดินไปมา นอนหลับได้เองโดยไม่ต้องดูดนม เป็นต้น บอกล่วงหน้าไว้บ้าง เช่น “หนูโตแล้วนะ อีกไม่นานน่าจะได้เวลางดขวดนมแล้ว” บอกซ้ำ…
ก่อนลูก 3 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งเป้าค่ะ ต้องฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้นะคะ ทำไมต้องฝึกในวัยนี้ ? นั่นก็เพราะลูกกำลังจะถึงวัยเข้าเรียนอนุบาลแล้ว ถ้าเขาดูแลตัวเองได้ดีก็จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและเพื่อนใหม่ได้ง่าย มีความมั่นใจในตัวเอง ลูกจะมีความสุขเมื่อไปโรงเรียนค่ะ เรื่องง่าย ๆ ที่ใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องคอยฝึกให้ลูกมีอะไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมความพร้อมให้ลูก ก่อน 3 ขวบลูกต้องทำได้ 1.เลิกขวดนมได้แล้ว ยิ่งเร็วยิ่งดี ควรฝึกลูกดื่มนมจากแก้วหรือดูดจากหลอด การดูดขวดนมนานเกินไปฟันไม่สวย หรือนอนดูดขวดนมหลับคาปากโอกาสฟันผุมีสูงแน่นอน การดูดนมจากขวดอาจทำให้เด็กดื่มนมมากเกินไป นำไปสู่โรคอ้วนได้ กี่ขวบดี ? สามารถเลิกใช้ขวดนมได้ตั้งแต่ 1 ขวบค่ะ จะง่ายกว่าตอน 2 ขวบ ดูความพร้อมของลูกซักนิด ดูดหลอดได้ ลูกก็จะจับแก้วถนัด ยกแก้วดื่มเอง พยายามให้ลูกได้เล่นได้ใช้กล้ามเนื้อมือเพื่อให้เขามีพัฒนาการที่ดี 2.บอกลาผ้าอ้อม ฝึกให้เข้าห้องน้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกลูกให้ใช้ห้องน้ำเป็น เลิกให้ใช้กางเกงผ้าอ้อมสำเร็จรูป เริ่มฝึกจากช่วงกลางวันก่อน แล้วค่อยฝึกเลิกกางเกงผ้าอ้อมตอนกลางคืน ค่อย ๆ ฝึกกันไปค่ะจนฝึกสำเร็จ (ผ้าซับฉี่ รองฉี่ กันฉี่ ที่ลูกเคยใช้ตอนเป็นเบบี๋ นำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งตอนฝึกค่ะ)…
Q : ลูกอายุ 1 ปี 1 เดือน กินแต่นม เวลาป้อนข้าวก็ไม่กินเลยค่ะ เคยใช้วิธีให้กินนมน้อยลง แต่ก็จะร้องงอแงมากไม่ยอมกินข้าวอยู่ดี จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ
A : ปัญหาลูกไม่กินข้าวเป็นปัญหาสำคัญที่พบในเด็กวัยตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3 – 4 ปี หรือช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมเด็ก ความอดทน และความร่วมมือของคุณพ่อ คุณแม่ในการแก้ปัญหา
โดยการแก้ปัญหานั้นเริ่มต้นที่คุณแม่ไม่ควรเครียด กังวลกับการกินของลูกมากเกินไป ควรสร้างบรรยากาศการกินให้สบายๆ โดยให้นั่งกินร่วมโต๊ะกับสมาชิกในครอบครัว ไม่มีสิ่งใดมาดึงความสนใจ เช่น ทีวี ของเล่น
ชวนลูกพูดคุยให้เพลิน ไม่บังคับขู่เข็ญ ไม่ยัดเยียด ไม่เดินตามป้อนอาหาร หรือติดสินบนลูกเพื่อให้กิน เพราะลูกจะต่อต้านไม่ยอมกิน หรือ ในบางรายจะจับจุดได้ว่า การที่เขาไม่กินข้าว จะได้รับความสนใจจากคุณแม่มากขึ้น แล้วนำมาเป็นข้อต่อรองในคราวหลังได้
ควรให้ลูกได้เลือก และ ควบคุมการกินของเขาเอง ตักกินเอง จะเลอะเทอะไปบ้างก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่อย่าใช้เวลากินบนโต๊ะอาหารนานเกินไป ไม่ควรเกิน 30 นาที เพราะจะทำให้ลูกมีความรู้สึกว่าช่วงเวลามื้ออาหารเป็นช่วงที่น่าเบื่อ และ มีความรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับอยู่
ในแต่ละมื้อนั้นควรจัดให้อาหารมีลักษณะสีสัน…