น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตเราทุกคนรวมทั้งเด็ก ๆ ด้วยค่ะ ในแต่ละวันคุณแม่ต้องดูแลลูกให้ดื่มน้ำอย่างพอเพียง เพราะเด็ก ๆ มักจะมีโอกาสดื่มน้ำน้อย เนื่องจากไม่ได้สนใจจะดื่ม หรือเพลิดเพลินกับการเล่น เด็กบางคนก็ไม่ชอบดื่มน้ำเอาเสียเลย ปัญหานี้อาจทำให้คุณแม่กังวลถึงสุขภาพลูกมิใช่น้อย แน่นอนว่าการดื่มน้ำน้อยจะส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกหลายด้าน ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายรวมทั้งเซลล์สมองไม่ได้น้ำไปหล่อเลี้ยงอย่างเต็มที่ ร่างกายระบายความร้อนไม่ได้ดี มีปัญหาท้องผูก ผิวหนังและริมฝีปากแห้งแตก สมองตื้อ อารมณ์ไม่แจ่มใส หากขาดน้ำมาก ๆ อาจทำให้หน้ามืดเป็นลม หรือช็อกได้ Motherandcare มีเคล็ดลับช่วยให้ลูกดื่มน้ำเพิ่มมาฝากคุณแม่ 1.หลังจากอายุเกิน 6 เดือนไปแล้วเริ่มฝึกให้ลูกจิบน้ำ และเมื่อโตขึ้นอีกหน่อยให้ลูกจิบน้ำบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย 2.อย่าบังคับให้ดื่มครั้งละมาก ๆ เพราะลูกจะรู้สึกไม่อยากดื่ม ให้จิบทีละน้อยแบ่งเป็นหลาย ๆ ครั้งตลอดวันจะดีกว่า 3.หาแก้วน้ำลายน่ารักที่ลูกชอบมาให้ใช้ 4.หากระติกน้ำขนาดพอเหมาะกับตัวลูกลายน่ารักให้เขาพวกเวลาพาเขาเดินทางไม่ว่าใกล้ไกล 5.วางขวดหรือแก้วน้ำไว้ใกล้ตัวลูก ทั้งในบ้าน และตอนออกไปวิ่งเล่นในสนาม 6.ให้ลูกดื่มน้ำผลไม้รสไม่หวานจัดจะหลับบ้างแก้เบื่อ 7.หากลูกเล่นซนเหงื่อออกมาก ท้องเสีย อาเจียน ร่างกายสูญเสียน้ำไปมาก คุณแม่ต้องช่วยชดเชยให้ลูกด้วยการให้เขาดื่มน้ำ เพียงแค่ 7 เคล็ดลับง่าย…
คุณแม่บางท่านอาจสงสัยว่า การดื่มน้ำมีวิธีที่ถูกและผิดด้วยหรือ จะเรียกว่าผิดเสียทีเดียวก็อาจจะไม่ใช่เพียงแต่ว่าบางวิธีที่ใช้อยู่ยังไม่เหมาะสมเท่าใดนัก เช่น บังคับให้ลูกดื่มน้ำครั้งละมาก ๆ ให้ลูกดื่มน้ำหวานตามใจชอบโดยไม่กำหนดปริมาณที่เหมาะสม ให้ลูกดื่มน้ำอัดลม น้ำแร่ หรือชากาแฟ 3 วิธีฝึกลูกให้ได้ประโยชน์จากการดื่มน้ำ 1.ให้จิบบ่อย ๆ ระหว่างวัน อาจจะครึ่งแก้วบ้าง 1 แก้วบ้าง เฉลี่ยไปทั้งวันยกเว้นใกล้เวลานอนเพราะจะทำให้ปัสสาวะตอนกลางคืน การให้ลูกได้รับน้ำตลอดทั้งวันจะดีต่อร่างกายมากกว่าการให้ดื่มน้ำครั้งละมาก ๆ 2.ฝึกให้ดื่มน้ำเปล่าเป็นหลัก อนุญาตให้ดื่มน้ำหวานได้บ้างแต่ต้องไม่มาก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกได้รับน้ำตาลเกินและฟันไม่ผุ 3.ฝึกให้ดื่มน้ำในอุณหภูมิห้อง เวลาเป็นไข้ไม่สบายจะไม่ต้องเรียกร้องขอดื่มน้ำเย็น แต่ก็ไม่ควรเคร่งครัดถึงกับห้ามดื่มน้ำเย็นเลย เด็กบางคนชอบน้ำเย็นเพราะดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น ดูแลลูกแล้วคุณแม่เองก็อย่าลืมดื่มน้ำนะคะ
ถ้าพูดถึงการบำรุงสมองแล้ว คุณพ่อคุณแม่มักจะนึกถึงเรื่องอาหารการกินของลูกเป็นอันดับแรกใช่ไหมคะ จะคอยดูแลให้เขาได้รับอาหารดี ๆ มีประโยชน์ครบถ้วน แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมากเรียกได้ว่าถ้าขาดแล้วสมองแย่แน่ นั่นก็คือ “น้ำ” ค่ะ หากในแต่ละวันลูกดื่มน้ำน้อยเกินไป จะส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ ได้รับน้ำไม่เพียงพอ นอกจากจะก่อปัญหากับการทำงานของร่างกายแล้ว ยังมีผลต่อสมองอย่างยิ่งผลเสียเมื่อสมองลูกขาดน้ำ 1.ขาดสมาธิ บทความหนึ่งที่ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ Psychology Today กล่าวว่ามีรายงานการวิจัยหลายชิ้นพบว่า ถ้าร่างกายขาดน้ำ สมองของเราจะไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 2.ความจำไม่ดี สมองของคนเราบันทึกทั้งความจำระยะสั้นและความจำระยะยาวค่ะ ความจำระยะสั้นก็คือการจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดเมื่อไม่นานมานี้ได้ การขาดน้ำจะทำให้ลืมเรื่องราวที่เพิ่งรับรู้มาเมื่อไม่นาน เช่น จำสิ่งที่เพิ่งบอกไปเมื่อครู่หรือเมื่อเร็ว ๆ นี้ไม่ได้ ส่วนความจำระยะยาวคือเรื่องราวที่สมองบันทึกไว้นานมาแล้ว หากขาดน้ำจะทำให้นึกย้อนไปหาข้อมูลเก่า ๆ ได้ช้าลง 3.เรียนรู้ช้า เมื่อขาดสมาธิและความจำไม่ดี จึงส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งการเรียนรู้โลกรอบตัวและการเรียนหนังสือ เนื่องจากการเรียนรู้และการคิดต้องอาศัยข้อมูลเก่ากับข้อมูลใหม่ร่วมกันเพื่อประมวลผล ลูกต้องจำคำศัพท์ได้ก่อนถึงจะเรียบเรียงประโยคได้ ลูกต้องจดจำตัวเลขและจำวิธีบวกลบคูณหารได้ก่อนจึงจะตอบโจทย์คำนวณได้ 4.ขาดพลัง สมองมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 85% ถ้าสมองขาดน้ำจะรู้สึก ว่าสมองตื้อคิดอะไรไม่ออกและขาดพลังความคิด การได้ดื่มน้ำอย่างพอเพียงจะทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองรวดเร็วขึ้น 5.อารมณ์ไม่สดชื่น การดื่มน้ำไม่เพียงพอจะส่งผลต่ออารมณ์ทำให้รู้สึกไม่สดชื่น…
มาดูกันว่ามีไอเทมใดจำเป็นบ้างเมื่อต้องพาลูกไปเที่ยวไกล ๆ ไม่ว่าจะเป็นต่างจังหวัดหรือต่างประเทศค่ะ 1.คาร์ซีท เพื่อความปลอดภัยของลูกยามเดินทาง เด็กควรจะนั่งอยู่บนเบาะนิรภัยเสมอ การอุ้มเด็กนั่งเบาะหลังก็ไม่ปลอดภัยนะคะหากเกิดอุบัติเหตุเด็กมีโอกาสกระเด็นออกนอกรถได้ *แนะนำ : คาร์ซีทขนาดพกพา mifold เป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยม ด้วยขนาดเล็กนิดเดียวแต่คุณภาพมาตรฐานยุโรปและยังราคาเบา ๆ 2.ทิชชู่เปียกทิชชู่แห้ง ทิชชู่โดยเฉพาะทิชชู่เปียกเป็นตัวช่วยที่ดีของแม่ ๆ ค่ะ เพราะมันช่างสารพัดประโยชน์ เช็ดทำความสะอาดได้ตั้งแต่ใบหน้าปากมือลูก มือแม่ เช็ดโต๊ะ เช็ดกระเป๋า ไม่มีน้ำก็ทำความสะอาดได้ อย่าลืมเลือกยี่ห้อที่ปราศจากน้ำหอมและสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองสำหรับเด็กนะคะ 3.ผ้าอ้อมสำเร็จรูป พกไปให้พอค่ะ มีประโยชน์มากสำหรับการเดินทางไกล ตอนจัดกระเป๋าทำ checklist เอาไว้ก็ดีค่ะกันลืม ของสำคัญอย่างนี้ขาดไม่ได้ ถ้าไม่ค่อยได้ใช้พยายามเลือกที่ขอบขากระชับ ซึมซับดี ไม่อับชื้น และลูกเคลื่อนไหวสบาย 4.เสื้อผ้า จัดเสื้อผ้าพกติดกระเป๋าสะพายติดตัวไว้ด้วยค่ะ เผื่อเจ้าตัวเล็กทำเสื้อผ้าเพื่อนจะได้มีเปลี่ยน เสื้อผ้าคุณแม่ด้วยนะคะบางทีคุณลูกเผื่อแผ่ความเลอะเทอะมาถึงคุณแม่ด้วย 5.กระติกน้ำ ระหว่างเดินทางเด็กไม่ควรขาดน้ำเพราะอาจเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะถ้าอาการร้อนจัด การให้เขาพกกะติกน้ำเป็นการฝึกให้เขารู้จักดูแลตัวเอง *แนะนำ : Gululu…
ลูกไม่กินผักเป็นปัญหาคลาสสิคทุกบ้าน เวลาลูกไม่กินผักคุณแม่มักจะกังวล กลัวลูกขาดสารอาหารอย่างวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ที่มักจะมีอยู่ในผักและผลไม้ การบังคับ ติดสินบน หลอกล่อ หรือพูดซ้ำซาก ปัญหาที่ตามมาคือลูกต่อต้าน แล้วเราจะทำยังไงดี มีข้อแนะนำมาฝาก 6 ข้อค่ะ 1.อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อย่าให้ลูกรู้สึกว่าการไม่กินผักของเขาเป็นเรื่องซีเรียส การบังคับขู่เข็ญหรือการพยายามเชียร์ลูกมากเกินไป บ่อยไป อาจจะทำให้ลูกแอนตี้ผักไปเลย เพราะผักมาทีไรบรรยากาศเครียด 2.ฝึกตั้งแต่เล็ก ตั้งแต่ลูกยังไม่ถึงวัยปฏิเสธ พออายุลูกเลย 6 เดือนไปแล้ว เป็นเวลาที่คุณแม่จะเริ่มให้ลูกทำความรู้จักกับอาหารอย่างอื่นนอกเหนือจากการให้นมเพียงอย่างเดียว ระหว่างช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีแรก ค่อย ๆ ให้เขาเริ่มทำความรู้จักกับผักทีละชนิดเลือกที่รับประทานง่าย พอคุ้นเคยแล้วค่อยให้เขาได้รับประทานผักหลากหลายชนิด 3.สร้างบรรยากาศการกินผัก บนโต๊ะอาหารต้องมีผักที่ผู้ใหญ่และเด็กรับประทานง่ายด้วย ให้ลูกนั่งโต๊ะอาหารพร้อมคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เล็ก จัดเมนูผักต่าง ๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนให้เขาเห็นและทำความรู้จัก พอเขาโตหน่อยอาจให้เขาลองบ้างไม่บังคับ 4.เป็นตัวอย่างของคนรักผัก คุณพ่อคุณแม่ต้องกินผักด้วย ระหว่างมื้ออาหารคุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยกันเองถึงความอร่อยของผักเป็นการเชิญชวนเขาอย่างหนึ่งโดยไม่ต้องบังคับลูก 5.เมนูมัดใจ ทำอาหารหน้าตาน่ารักน่ารับประทาน ปรับเปลี่ยนเมนูหลาย ๆ…
เส้นใยอาหารมีมากในผักและผลไม้ ทำอย่างไรจึงจะให้ลูกได้รับอย่างเพียงพอ มาฟังข้อแนะนำค่ะ ใยอาหาร คือ อะไร เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ มีทั้งชนิดละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ พบมากในผัก ผลไม้ และธัญพืช ใยอาหารจะไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร แต่จะเดินทางไปจนถึงลำไส้ ทำหน้าที่กวาดสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการขับถ่ายออกมา เพื่อไม่ให้มีสิ่งตกค้างในลำไส้ เส้นใยอาหารมีประโยชน์สูง ร่างกายคนเราต้องการใยอาหาร ที่มีในผัก ผลไม้ ธัญพืช ถ้าได้รับพอเพียงสิ่งที่ได้แถมมาก็คือวิตามินเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
การกินอาหารที่มีเส้นใยในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นการขับถ่าย ช่วยกำจัดของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย เส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์นี้ยังช่วยป้องกันปัญหาท้องผูก โดยเฉพาะในเด็กที่กินผักผลไม้และน้ำน้อย กินเส้นใยเท่าไหร่ดี โดยทั่วไปใน 1 วัน เด็กควรได้รับอาหารหลัก 3 มื้อ โดย 1 มื้อควรประกอบด้วย ข้าวกล้อง หรือข้าวสวยนิ่ม ๆ 1 - 1.5 ทัพพี เนื้อสัตว์ต่างๆ สลับกับไข่หรืออาหารทะเล 1 ช้อนโต๊ะใยอาหารจากผักใบเขียว…
คุณแม่คงเคยเห็นเด็กบางคนเพลิดเพลินกับการกินผักโดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่คอยกำกับเลยแม้แต่น้อย เห็นแล้วปลื้ม แต่พอย้อนกลับมามองลูกเราเอง คุณแม่หลายคนรู้สึกว่าการจะทำให้ลูกกินผักนั้นเป็นโจทย์ยากและโจทย์ใหญ่ในใจของคุณแม่มาตลอด อย่าเพิ่งท้อใจไปค่ะ ลองหลาย ๆ วิธีค่อย ๆ ทำทีละน้อยก็จะช่วยให้ลูกกินผักได้ มีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากค่ะ 1.คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีภายในบ้าน ให้ลูกนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เด็กๆให้เขาเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่เองก็กินผักเป็นเรื่องปกติและเอร็ดอร่อยไปกับผักต่าง ๆ 2.เมื่อลูกถึงวัยเริ่มต้นกินอาหารเสริม ไม่มีกลิ่นฉุนรถไม่ขมก่อน เพื่อสร้างความประทับใจในรสชาติของผัก ผักที่รับประทานง่ายอย่าง เช่น แคร์รอต ฟักทอง ตำลึง ผักกาดขาว ฯลฯ 3.ตกแต่งเมนูผักให้น่ารับประทาน ใช้สีเขียว แดง ส้ม เหลือง หรือม่วง ในอาหารเพื่อดึงดูดความสนใจของลูก เพราะเด็ก ๆ ชอบสีสันสดใสค่ะ 4.เด็ก ๆ มักจะชอบกินอาหารที่มีรสสัมผัสกรอบ คุณแม่ลองคิดค้นเมนูผักกรอบ อาจจะชุบแป้งทอด อบกรอบ หรือหั่นผักและผลไม้สดที่มีความกรอบแช่เย็นไว้ให้ลูกรับประทาน 5.ชวนลูกปลูกผักในกระถางน่ารัก ๆ เลือกผักที่โตง่าย จะเพาะเมล็ดหรือซื้อมาทั้งกระถางเลยก็ได้ ให้เขามีส่วนร่วมดูแล รดน้ำต้นไม้ และตัดมารับประทาน สู้ ๆ…
ในสายตาของแม่ ๆ และหลายคน ขนมกรุบกรอบมักจะเป็นผู้ร้ายทำลายสุขภาพลูก ความจริงแล้วขนมกรุบกรอบไม่ได้เป็นผู้ร้ายไปเสียทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการเลือกด้วยค่ะและทุกวันนี้ก็มีขนมที่ดีกับเด็กให้เลือกอยู่มิใช่น้อย เพียงแค่คุณแม่มองหาเท่านั้นเองค่ะ ทำไมถึงแนะนำขนมกรุบกรอบ นั่นก็เพราะเมื่อเด็ก ๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ก็ตามถ้าได้กินอะไรกรอบ ๆ บ้างก็จะรู้สึกมีความสุข และความสุขนั้นก็ต้องมาพร้อมกับสุขภาพที่ดีด้วยค่ะ กรุบกรอบแบบนี้ควรเลี่ยง ไขมันสูง รสหวานจัดมีน้ำเป็นส่วนผสมมาก รสเค็มจัด มีแต่แป้งล้วน ๆ ใส่ผงชูรส ปรุงแต่งสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นสีกลิ่นรสชาติสารกันบูด กรุบกรอบแบบนี้ OK ไขมันและน้ำตาลน้อย ใช้ผักหรือผลไม้แท้ ๆ หรือมีส่วนผสมของผักและผลไม้ไม่ใช่แป้งไม่ใช่แป้งผัดขาวล้วน ๆ ทำให้กรอบด้วยการอบแห้งหรือทอดกรอบด้วยน้ำมันน้อยหรือกำจัดน้ำมันออกไปแล้ว ธัญพืชต่าง ๆ เช่นถั่ว ลูกนัทต่าง ๆ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ฯลฯ ไม่ปรุงแต่งสีกลิ่นรส หรือสารเคมีต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ให้ลูกกินขนมกรุบกรอบแล้วต้องควบคุมปริมาณการกินให้เหมาะสม และอย่าให้ใกล้มื้ออาหารเพราะลูกจะอิ่มไม่ยอมหม่ำข้าวค่ะ
ข่าวคราวเด็กรังแกกันในโรงเรียนมีออกมาเป็นระยะ อย่างล่าสุดรุ่นพี่ม.2 รุมแกล้งน้อง ป.4 นอกจากเล็กกว่ากันหลายชั้นปีแล้วน้องยังเป็นออทิสติก ควรจะได้รับความเห็นอกเห็นใจและการดูแลจากคนรอบข้างด้วยซ้ำค่ะ ภาพความโหดร้ายของรุ่นพี่ซึ่งเป็นเพียงเด็ก ช็อกความรู้สึกคนทั่วไปก็จริง แต่ขณะเดียวกันคนส่วนหนึ่งมองว่าการรังแกกันเป็นเรื่องธรรมดา แค่ชดใช้เงินเพียงเล็กน้อยก็แล้วกันไป อาจต้องตั้งคำถามว่าโรงเรียนแก้ไขปัญหาจริงจังแค่ไหน มองเห็นปัญหาหรือเปล่า และสุดท้ายพ่อแม่มีโอกาสรับรู้บ้างไหมว่าลูกเราถูกรังแก หรือเป็นเด็กที่รังแกเด็กคนอื่นเสียเอง ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตรายงานว่าเด็กไทยถูกรังแกติดอันดับ 2 ของโลก หรือข่าวที่ออกมาว่าหนึ่งในเด็กที่รุมแกล้งเป็นเด็กกตัญญู อาจเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องตั้งคำถามตัวโต ๆ ค่ะว่าสังคมไทยของเราเป็นอย่างไรไปแล้ว เด็กไทยรังแกกันในโรงเรียนติดอันดับ 2 ของโลก รองจากญี่ปุ่น ! สถิติเด็กไทยถูกรังแกถึงปีละกว่า 6 แสนคน ! แม้ยังเป็นเด็กแต่ก็มีรูปแบบการรังแกกันด้วยวิธีรุนแรง โหดร้าย และทารุณ ! เด็กที่รังแกเพื่อนมีตั้งแต่ชั้นอนุบาล ! คนทั่วไปมองว่าการรังแกกันเป็นเรื่องปกติ ! โรงเรียนบางแห่งละเลยปัญหาพยายามปกปิดเพราะห่วงชื่อเสียง ! เด็กที่ถูกรังแกไม่กล้าบอกพ่อแม่หรือครู ! ถ้าพ่อแม่ ครู และสังคมละเลยการรังแกกันของเด็ก เท่ากับเราอาจกำลังสร้างเด็กที่มีปัญหาปีละ 6 แสนคน X 2 ซึ่งเด็กเหล่านี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่สร้างปัญหาให้กับตัวเองและสังคมในอนาคต ผลร้ายเกิดกับเหยื่อเท่านั้นหรือ…
อาหารมีส่วนช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงได้แม้ในยามเจ็บป่วย ขอแนะนำ 4 เมนูช่วยบำบัดอาการ ไอ เจ็บคอ และมีเสมหะค่ะ 1.ซุปฟักทอง หรือผัดฟักทอง สีเหลืองนวลของเนื้อฟักทองนั้นมีสารเบต้าแคโรทีนที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยทำให้เนื้อเยื่อของเมือกบุในลำคอและทางเดินหายใจมีความแข็งแรง และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย 2.ปลาแซลมอนอบผักรวม วิตามินดีจากไขมันปลาแซลมอนจะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อในลำคอ นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยผักสารพัด คุณแม่อาจปรุงด้วยซูกินี สควอชเหลือง และมะเขือเทศ เพิ่มความเปรี้ยวด้วยน้ำเลมอนก็จะทำให้ไม่เลี่ยนได้ 3.สลัดกรีกอะโวคาโด วิตามินอีในผลอะโวคาโดและอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่ถูกเชื้อโรคทำลายให้แข็งแรง 4.ผลไม้อุดมวิตามินซี ช่วยลดอาการเจ็บคอ เช่น ส้ม สับปะรด เสาวรส มะละกอ แคนตาลูป เงาะ แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี ลิ้นจี่ พุทรา ส่วนเครื่องดื่ม เช่น น้ำมะตูมแก้ร้อนใน ดับกระหาย ชุ่มคอ น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้งบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ ช่วยขับเสมหะ อาหารควรเลี่ยงอาหารประเภททอด หรือของหวาน เช่น กะทิ โค้ก โดนัท ช็อกโกแลต จะกระตุ้นให้ยิ่งมีเสมหะและอาการไอเพิ่มขึ้น