Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ระวังภัยแสงสีฟ้าจากหน้าจอ

แสงสีฟ้าจากแท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ ส่งผลต่อต่อสุขภาพสายตาของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลควบคุมการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ค่ะ แสงสีฟ้าคืออะไร แสงที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน แบ่งออกได้ทั้งหมดเป็น 7 สี คือสีแดง ม่วง ส้ม เหลือง น้ำเงิน คราม และเขียว แสงสีฟ้าจะเป็นสีที่ให้ความสว่างมากที่สุด อันตรายของแสงสีฟ้า แสงสีฟ้าทำให้ดวงตาเป็นอันตรายมากที่สุด สามารถทะลุทะลวงถึงจอประสาทตา มีพลังทำลายกระจกตาหรือจอประสาทตาได้มากกว่าแสงสีอื่น ความสว่างมากทำให้ดวงตาล้าได้ง่าย ส่วนการหรี่แสงลงมาก ๆ ทำให้ต้องเพ่งมองหนักขึ้น การใช้อุปกรณ์ให้แสงสีฟ้าในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้ในที่มืด ปิดไฟ ก็เป็นอันตรายต่อดวงตา การจดจ่ออยู่หน้าจอนานเกิน 2-3 ชั่วโมงเป็นประจำ ทำให้ระคายเคืองเยื่อบุตาและกระจกตา และมีอาการปวดตา แสบตา ตาแห้ง ตามัว ปวดศีรษะ และมีปัญหาสายตา ดูแลลูกอย่างไรให้ปลอดภัยจากแสงสีฟ้า คุณพ่อคุณแม่ควรควบคุมการอยู่หน้าจอต่าง ๆ ของลูก ติดฟิล์มถนอมสายตาตัดแสงสีฟ้าในมือถือหรือแท็บเล็ต…

Read more

แก้ปัญหาพี่น้องแย่งของเล่นยังไงดี ?

Q : ลูกชอบแย่งของเล่นชิ้นเดียวกัน พอพี่หยิบของเล่นชิ้นไหนน้องก็จะแย่งชิ้นเดียวกัน มีวิธีแก้ปัญหายังไงไม่ให้ลูกทะเลาะกัน ? A : ความจริงแล้วมนุษย์เรามีความเคยชินอย่างหนึ่งนั่นก็คือการเปรียบเทียบฉันมีอันนี้เธอมีอันนี้ ของเธอใหญ่กว่า ของเธอสวยกว่า กรณีที่มีของเล่นชิ้นหนึ่งพี่หรือน้องได้ไป ก็เกิดการเปรียบเทียบชัดเจนเลยว่าทำไมเขามีชิ้นนี้แต่เราไม่มี ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ให้คำแนะนำ หรือใช้วิธีการแก้ปัญหาผิดจุด เช่น ลูกแย่งลูกบอลกันคุณพ่อคุณแม่บอกว่าให้น้องไปก่อน เดี๋ยวซื้ออันใหม่ให้พี่ นี่คือการแก้ปัญหาที่ผิดจุด เราห้ามเด็กไม่ให้เปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่วิธีที่จะแก้ไขสถานการณ์นั้นเรากำหนดได้ ต้องดูตามสถานการณ์ว่าของชิ้นนั้นเล่นร่วมกันได้หรือไม่ ถ้าของชิ้นนั้นเล่นร่วมกันได้อย่างเช่น ฟุตบอล ไม่น่าแก้ไขด้วยกันให้ใครคนใดคนหนึ่งก่อน อาจพูดคุยกับลูกว่าการเล่นคนเดียวแค่เดาะบอล แต่เล่นด้วยกันมีการรับส่งจะสนุกกว่าไหม แบบนี้พี่น้องก็จะไม่ทะเลาะกัน ถ้าเป็นของเล่นที่จะต้องเล่นคนเดียว เช่น รถแทรกเตอร์ น้องเล่นอยู่พี่มาแย่ง คุณแม่ลองชวนลูกสร้างเรื่องราวจินตนาการเช่น ชวนให้พี่เล่นเป็นเจ้าของบริษัท จ้างรถแทรกเตอร์ให้ไปขุดดิน ลูกก็จะเล่นด้วยกันได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนอารมณ์ลูก หรือเบี่ยงเบนความสนใจ และคิดหากิจกรรมเพื่อให้ลูกเล่นด้วยกันโดยไม่ต้องทะเลาะกันค่ะ เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook :…

Read more

อย่าสั่งลูกว่าต้องทำ “เดี๋ยวนี้”

Q : ลูกกำลังเล่นเพลินจะถึงเวลากินข้าวอยู่แล้ว เรียกให้กินข้าวแต่ไม่ยอมมาจะทำยังไงดี ? A : ลูกกำลังนั่งเล่นอยู่แล้วคุณแม่พูดว่าเลิกเล่นได้แล้วเก็บของเล่นไปกินข้าว เขากำลังเพลินอยู่ดี ๆ ถูกตัดฉับ ให้หยุดทันทีเด็กจะปรับตัวไม่ทัน การที่ลูกกินข้าวช้าไปอีก 30 วินาทีไม่เป็นอะไรค่ะ เราเข้าไปหาเขาชวนคุย ไหนเล่นอะไรคะลูก เล่นกับเขาอีกซัก 30 วินาที แล้วพูดขึ้นว่าคุณแม่หิวข้าวแล้ว อาจจะแตะที่ท้องลูก แล้วหนูหิวแล้วหรือยัง เป็นการค่อย ๆ เปลี่ยนอารมณ์ลูก การให้เด็ก ๆ เก็บของเล่นให้ได้ผลอย่าสั่งว่าเก็บของเล่นเดี๋ยวนี้ ควรปลูกฝังเขาทีละน้อยเรื่องการเล่นแล้วเก็บ ส่วนใหญ่คนเป็นพ่อแม่มักจะใจร้อน สั่งแล้วต้องทำเดี๋ยวนี้ เรากำลังสร้างให้ลูกของเรากลายเป็นคนขี้โมโหหรือขี้หงุดหงิด การปลุกให้ลูกตื่นนอนตอนเช้าก็เช่นกัน ลูกกำลังฝันหวาน แม่สั่งให้ตื่นต้องไปโรงเรียน สภาวะจิตปรับไม่ทัน สังเกตดูว่าวันไหนรีบจะโดนต่อต้าน ลูกอาจไม่ยอมอาบน้ำ ไม่ยอมลุกจากที่นอน เพราะฉะนั้นเวลาปลุกลูกจึงควรปลุกเขาเบา ๆ บอกให้เวลาอีกสัก 2 นาทีนะ ให้รู้ตัวก่อน นาฬิกาปลุกเรายังมีปุ่ม snooze กับลูกก็เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าต้องตื่นเดี๋ยวนี้ ให้ลูกได้เตรียมตัวเตรียมใจสักนิด การสอนให้ลูกมีระเบียบวินัย ควรใช้ความสม่ำเสมอ…

Read more

ทำไมพูดแล้วลูกไม่ยอมเชื่อฟัง ?

Q เวลาห้ามลูกอย่างเช่น หยุดเล่นก่อนนะเดี๋ยวค่อยเล่นต่อ หรือน้องเล่นกับพี่แรงเกินไปแม่บอกให้หยุดก็ไม่หยุดยิ่งพูดเหมือนยิ่งยุ จะมีวิธีจัดการอย่างไร ? A : ประเด็นแรกก็คือถ้าพูดแล้วลูกไม่เชื่อฟัง เวลาตัวเราจะสั่งหรือบอกลูกให้ทำตามเรามีความสม่ำเสมอหรือเปล่า ถ้าแต่ละวันไม่เหมือนกัน ลูกก็จะรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าต้องการให้ลูกทำตามคำพูดพ่อแม่ต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา คุณพ่อคุณแม่ควรจะไปในทิศทางเดียวกันด้วย คุณแม่บอกไปซ้ายทั้งพ่อและแม่ควรจะต้องบอกไปซ้ายด้วยกัน จังหวะในการบอกก็สำคัญ ถ้าลูกกำลังสนุกสนานเพลินอยู่กับการเล่น กำลังมีความสุขอยู่ดี ๆ พ่อแม่มาขัด เด็กปรับสภาพจิตใจไม่ทัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องให้เวลาเขา เช่น ลูกกำลังเล่นกันเสียงดังสนุกสนาน คุณแม่อาจจะพูดด้วยเสียงอ่อนโยนกับลูกว่าไหนกำลังทำอะไรกันคะ ลูกก็จะค่อย ๆ ปรับจิตใจ ปรับอารมณ์ได้ ถ้าเราฝึกให้ลูกค่อย ๆ ปรับอารมณ์ลูกก็จะชินกับสภาวะที่ไม่ต้องดื้อชินกับสภาวะที่ไม่ต้องกระแทกอารมณ์ แสดงความ หงุดหงิดหรืออารมณ์รุนแรงออกมา คุณพ่อคุณแม่เองก็จะไม่ต้องกังวลใจว่าทำไมลูกเป็นคนขี้โมโหค่ะ เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook : Mother&Care : Raising…

Read more

1 ขวบแล้วไม่ยอมกินข้าวทำอย่างไรดี ?

Q : ลูกอายุ 1 ปี 1 เดือน กินแต่นม เวลาป้อนข้าวก็ไม่กินเลยค่ะ เคยใช้วิธีให้กินนมน้อยลง แต่ก็จะร้องงอแงมากไม่ยอมกินข้าวอยู่ดี จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ A : ปัญหาลูกไม่กินข้าวเป็นปัญหาสำคัญที่พบในเด็กวัยตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3 – 4 ปี หรือช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมเด็ก ความอดทน และความร่วมมือของคุณพ่อ คุณแม่ในการแก้ปัญหา โดยการแก้ปัญหานั้นเริ่มต้นที่คุณแม่ไม่ควรเครียด กังวลกับการกินของลูกมากเกินไป ควรสร้างบรรยากาศการกินให้สบายๆ โดยให้นั่งกินร่วมโต๊ะกับสมาชิกในครอบครัว ไม่มีสิ่งใดมาดึงความสนใจ เช่น ทีวี ของเล่น ชวนลูกพูดคุยให้เพลิน ไม่บังคับขู่เข็ญ ไม่ยัดเยียด ไม่เดินตามป้อนอาหาร หรือติดสินบนลูกเพื่อให้กิน เพราะลูกจะต่อต้านไม่ยอมกิน หรือ ในบางรายจะจับจุดได้ว่า การที่เขาไม่กินข้าว จะได้รับความสนใจจากคุณแม่มากขึ้น แล้วนำมาเป็นข้อต่อรองในคราวหลังได้ ควรให้ลูกได้เลือก และ ควบคุมการกินของเขาเอง ตักกินเอง จะเลอะเทอะไปบ้างก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่อย่าใช้เวลากินบนโต๊ะอาหารนานเกินไป ไม่ควรเกิน 30 นาที เพราะจะทำให้ลูกมีความรู้สึกว่าช่วงเวลามื้ออาหารเป็นช่วงที่น่าเบื่อ และ มีความรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับอยู่ ในแต่ละมื้อนั้นควรจัดให้อาหารมีลักษณะสีสัน…

Read more

3 ที่ควรปลอดเทคโนโลยี

ปัจจุบันเด็ก ๆ เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายมาก ทำให้พ่อแม่ควบคุมระยะเวลาและความถี่ในการใช้ได้ยาก แล้วเราจะทำอย่างไรให้สามารถจำกัดเวลาใช้ของลูกได้ องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านสื่ออย่าง common sense media เสนอแนะว่า สถานที่ 3 แห่งนี้ควรปลอดเทคโนโลยีค่ะ 1.โต๊ะอาหาร ก่อนจะรับประทานอาหาร ทุกคนทั้งพ่อแม่และเด็ก ๆ ควรหยุดใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ปิดหรือเก็บให้เรียบร้อย บนโต๊ะอาหารเราจะพูดคุยกัน ใช้เวลาร่วมกัน แทนการหมกมุ่นอยู่กับหน้าจอ 2.ห้องนอน งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การนอนที่ดีต่อสุขภาพควรจะอยู่ในสภาวะที่ปลอดแสง สี เสียง การให้เด็ก ๆ นอนหลับสนิทจะส่งผลให้สมองปลอดโปร่ง พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นก่อนนอนก็ควรงดดูแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือ หันมาอ่านนิทานก่อนนอนกับลูกดีกว่าค่ะ 3.รถยนต์ การใช้โทรศัพท์ในรถสำหรับพ่อแม่ที่เป็นคนขับอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ส่สวนลูกก็ควรได้ใช้เวลาในรถไปกับการพูดคุยกับพ่อแม่ มากกว่าการเล่นเกมหรือดูการ์ตูน ข้อสำคัญประการหนึ่งก็คือ การเป็นตัวอย่างที่ดีจะช่วยให้ลูกปฏิบัติตามได้ง่ายกว่าการอบรมสั่งสอนเพียงอย่างเดียวค่ะ

Read more