Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

5 เรื่องน่ารู้การเก็บน้ำนมแม่

การทำสต๊อกน้ำนมแม่มีประโยชน์กับคุณแม่สายออฟฟิศ และบางครั้งก็จำเป็นสำหรับคุณแม่เลี้ยงลูกเต็มตัวค่ะ เนื่องจากคุณแม่อาจจำเป็นต้องออกไปธุระข้างนอกหลายชั่วโมงหรือต้องเดินทางไปต่างจังหวัด ก็จะมั่นใจได้ว่าลูกได้กินนมแม่ทุกมื้อ มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการจัดเก็บสต๊อกน้ำนมมาฝากคุณแม่ 5 ข้อค่ะ 1.คุณแม่สามารถเริ่มเก็บน้ำนมได้ตั้งแต่วันแรก ๆ หลังคลอด ช่วงนี้ลูกนอนมากกว่าตื่นมาดูดนมการปั๊มจะช่วยกระตุ้นน้ำนม 2.สำหรับตู้เย็นแยกประตูช่องแข็ง แช่ถุงเก็บน้ำนมไว้ภายในช่องแช่แข็งจะรักษาความเย็นได้ดีกว่าเก็บไว้ตรงประตูตู้ค่ะ 3.วิธีละลายน้ำนมแช่แข็งมาใช้ คือย้ายมาแช่ช่องธรรมดาให้ละลาย แช่ในภาชนะใส่น้ำอุณหภูมิห้อง หรือเปิดก๊อกให้น้ำไหลผ่านแล้วแช่ไว้ในภาชนะ แล้วเช็ดถุงให้สะอาดก่อนเปิดใช้ 4.ห้ามอุ่นโดยไมโครเวฟหรืออุ่นบนเตาโดยตรงเพราะจะทำลายคุณค่าสารอาหารในน้ำนม 5.นมที่นำออกมาละลายแล้วห้ามนำกลับไปแช่ช่องแข็งใหม่ ใช้สำหรับมือถัดไปก็พอ ถ้าเหลือทิ้งไปอย่าเสียดายค่ะ ทราบเคล็ดลับดี ๆ อย่างนี้แล้วคุณแม่สบายใจได้เลยค่ะว่าลูกไม่ขาดนมแม่แน่นอน

Read more

10 Super Food เพิ่มน้ำนมแม่

หัวปลีเป็นอาหารอย่างแรกที่คุณแม่นึกออกเมื่อต้องการเพิ่มน้ำนมลูกใช่มั้ยคะ ความจริงแล้วยังมีอาหารอีกหลายชนิดช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ได้ มาดูกันเลยค่ะว่า Super Food เพิ่มน้ำนมแม่มีอะไรบ้าง และนอกจากจะคุณสมบัติในการเพิ่มน้ำนมแม่แล้วยังมีคุณค่าสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ก่อนอื่นขอเล่าถึงหัวปลีซักนิดเพราะอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารชั้นเลิศ 1.หัวปลี ช่วยให้ฟันให้สะอาดแข็งแรง ดูแลกระเพาะอาหาร อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอและซี ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยการไหลเวียนของเลือด ดูแลผิวพรรณอกเต่งตึงไม่หย่อนคล้อย 2.ขิง สมุนไพรฤทธิ์ร้อน ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บรรเทาหวัด สมานแผล ทำให้ร่างกายอบอุ่น 3.ใบกะเพรา มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยย่อย แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ช่วยป้องกันหวัด แก้อาการอาเจียน ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร 4.ฟักทอง อุดมด้วยวิตามินเอ ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีน เส้นใยอาหาร ดีต่อระบบขับถ่าย บำรุงผิว บำรุงสายตา ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน 5.กุยช่าย มีฟอสฟอรัสสูง ช่วยบำรุงกระดูก บรรเทาอาการฟกช้ำ อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ทั้งต้นและใบช่วยบำรุงน้ำนม 6.อินทผลัม ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า ช่วยเพิ่มสารอาหารสำคัญในน้ำนม ช่วยย่อย…

Read more

จะเลือกเครื่องปั๊มนมยังไงดีนะ ?

แนะนำวิธีการเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมสำหรับคุณแม่สายตุน จะลือกแบบไหนและต้องดูอะไรบ้างก่อนตัดสินใจมีคำแนะนำดี ๆ มาฝากค่ะ แบบใช้มือปั๊ม ข้อดี - ราคาไม่แพง คุณแม่ที่คิดแล้วว่าน่าจะไม่ได้ใช้บ่อยแบบปั๊มมือก็เป็นตัวเลือกที่ดี ข้อด้อย - ต้องใช้มือช่วยบีบ กว่าจะได้น้ำนมในปริมาณพอเพียง อาจทำให้คุณแม่เหนื่อยและท้อกับการปั๊มได้ง่าย ไม่เหมาะกับคุณแม่ลูกแฝดที่ต้องการน้ำนมมากเป็น 2 เท่า แบบไฟฟ้า ข้อดี – สะดวกสบายกว่า ไม่ต้องเหนื่อยปั๊มเอง มีให้เลือกหลายรุ่น ต้องดูว่าแบบไหนเหมาะกับการใช้งานขนาดใหญ่เหมาะกับใช้ที่บ้านไม่สะดวกต่อการพกพารุ่นสองหัวปั๊มสะดวกรวดเร็วกว่าหัวเดียว และกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนโปรแลกตินได้มากกว่า แต่แพงกว่ารุ่นหัวเดียว ข้อด้อย - ราคาค่อนข้างสูง 12 ข้อแนะนำการเลือกเครื่องปั๊มนม ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ทำความสะอาดง่าย ส่วนประกอบไม่มากจนเกินไป แต่ละส่วนถอดล้างและประกอบกลับได้ง่าย มีโหมดให้เลือกหลากหลาย เวิร์กกิ้งมัมควรเลือกชนิดพกพาสะดวกน้ำหนักเบา ควรมีอะไหล่เปลี่ยน ในกรณีชำรุดจะได้ไม่ต้องซื้อใหม่ทั้งชุด ดูว่าใช้ได้ทั้งไฟฟ้าและแบตเตอรี่หรือต้องใช้ไฟฟ้าเท่านั้น เสียงดังหรือไม่เวลาใช้งาน ควรมีแรงดูดอย่างน้อย 200 มม.ปรอท จังหวะในการดูดอย่างน้อย 40-60 รอบต่อนาที จึงจะใกล้เคียงการดูดของทารก ถ้าประเมินดูว่าใช้น้อยอาจซื้อรุ่นเล็กหรือแบบปั๊มมือ…

Read more

น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน ?

คุณแม่ที่เพิ่งเริ่มให้นมลูกอาจสงสัยว่าน้ำนมแม่เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาหรือช่องแข็งได้นานแค่ไหน เพื่อความสะดวกเวลาใช้ ไม่จำเป็นต้องเก็บเข้าช่องแข็งเสมอไป มาดูกันเลยค่ะว่าแต่ละที่เก็บได้นานเท่าไหร่ 1.อุณหภูมิห้อง (อุณหภูมิต้องไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส) เก็บได้นานประมาณ 6 ชั่วโมง 2.ในตู้เย็นช่องธรรมดา (อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสขึ้นไป) เก็บได้นานประมาณ 5 วัน 3.ในช่องแข็งหรือฟรีซเซอร์ตู้เย็นประตูเดียว เก็บได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ 4.ในกล่องเก็บความเย็นใส่ ice pack ไว้ในกล่อง กะปริมาณว่าเย็นอยู่นานพอไม่หายเย็นเร็วเกินไปก็จะเก็บได้ประมาณ 24 ชั่วโมง เหมาะกับการเดินทางใกล้ ๆ ค่ะ น่ารู้ ถ้าคุณแม่จะใช้น้ำนมภายใน 2-3 วัน การแช่เย็นช่องธรรมดาเหมาะกว่าการแช่แข็งนอกจากนะดวกแล้วยังรักษาสารป้องกันการติดเชื้อในน้ำนมเอาไว้ได้ การละลายนมแช่แข็งควรวางไว้ในช่องแช่เย็นธรรมดา จะสามารถเก็บได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง นมที่นำมาละลายแล้วห้ามนำกลับไปแช่แข็งอีก

Read more

8 วิธีเก็บน้ำนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

การเก็บน้ำนมแม่ให้ครบทั้งคุณค่าอาหารจากนมแม่มากที่สุดและปลอดภัยปราศจากเชื้อโรค เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ที่ต้องการปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกค่ะ มีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก 8 ข้อค่ะ 1.ใช้ภาชนะที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว แนะนำว่าควรใช้ขวดพลาสติกหรือถุงเก็บน้ำนมโดยเฉพาะ 2.ติดฉลากที่ขวดหรือที่ถุงเก็บน้ำนมทุกชิ้น บนฉลากเขียนวันที่ที่ปั๊มน้ำนมเก็บ 3.เวลาใช้ให้เรียงตามลำดับ ใช้ถุงที่เก็บไว้เก่าที่สุดก่อนค่อยใช้ถุงที่ใหม่กว่า 4.หลังจากปั๊มน้ำนมเสร็จทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้งด้วยน้ำอุ่นกับน้ำยาทำความสะอาดโดยเฉพาะ แยกอ่างล้างไม่ใช้อ่างล้างจาน ก่อนนำไปนึ่งหรือต้มฆ่าเชื้อ 5.ล้างมือให้สะอาดก่อนปั๊มน้ำนม ดูแลอุปกรณ์ให้สะอาดอยู่เสมอ ป้องกันเชื้อโรคเติบโตในน้ำนมแม่ที่เก็บ 6.สำหรับน้ำนมที่จะแช่แข็ง ควรแช่ทันทีหลังปั๊มเสร็จ อย่าใส่จนเต็ม ควรเหลือที่ว่างเผื่อการขยายตัวตอนกลายเป็นน้ำแข็ง 7.เช็คดูว่าถุงเก็บน้ำนมมีรอยรั่วก่อนเก็บ 8.ตอนแช่ละลายถุงน้ำนมระวังถุงล้ม ป้องกันน้ำนมสัมผัสกับเชื้อโรค ไม่ยากเลยใช่มั้ยคะในการดูแลความสะอาดในการเก็บน้ำนมแม่ เท่านี้ก็มีน้ำนมแม่คุณภาพเยี่ยมตุนไว้ให้ลูกน้อยแล้วค่ะ

Read more

ให้ลูกกินนมแม่ได้ถึงกี่ขวบ ?

นมแม่ดีที่สุด นี่คือคีย์เวิร์ดสำหรับคุณแม่ค่ะ แล้วที่ได้ยินมาว่าควรให้นมแม่จนลูกอายุเท่าไหร่ข้อมูลจากคำบอกเล่าแต่ละคนไม่ตรงกันอาจทำให้คุณแม่สับสน นมแม่ให้ได้นานเท่าไหร่ แล้วคุณค่าทางอาหารจะลดลงไปหรือเปล่าถ้าให้ไปจนโต มาดูข้อเท็จจริงเหล่านี้กันค่ะ 1.คุณแม่สามารถให้นมลูกได้นานเท่าไหร่ก็ได้ จนลูกโตเลิกกินนมไปเองหรือจนกว่านมแม่หมดไป 2.นมแม่มีสารอาหารครบถ้วนสำหรับลูกมีภูมิคุ้มกันร่างกายและดีต่อสมองลูก ลูกวัยไหนกินนมแม่ก็ยังได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า สารอาหารไม่ได้หายไปเมื่อลูกโต 3.ควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างน้อยจนกระทั่งลูกอายุ 6 เดือน ย้ำ อย่างน้อยนะคะนานกว่านั้นยิ่งดีค่ะ 4.การมีน้ำนมแม่ให้ลูกกินได้นาน ๆ ควรกระตุ้นการสร้างน้ำนมด้วยการให้ลูกดูดสม่ำเสมอหรือปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมง 5.ลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไปเริ่มให้กินอาหารนอกจากนม และค่อย ๆ ปรับเพิ่มมื้อตามวัย 6 เดือนขึ้นไปให้อาหาร 1 มื้อเริ่มจากน้อยๆ ก่อน 9 เดือน 2 มื้อ 1 ปี 3 มื้อ เกิน 1 ปีให้กินอาหารเป็นหลัก

Read more