Q : ทำไมต้องวางแผนการเงินเพื่อการศึกษาลูก ? A : เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาลูกตั้งแต่แรกเข้าเรียนจนกระทั่งจบปริญญาตรีหรือปริญญาโทเป็นเงินมิใช่น้อย ค่าเล่าเรียนที่จะแพงขึ้นในอนาคต นอกจากค่าเล่าเรียนในโรงเรียนแล้วยังมีค่าเรียนพิเศษ เสริมทักษะ ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้พอส่งเสียให้ลูกตลอดรอดฝั่ง ลูกก็จะสามารถมีอนาคตสดใสได้เดินตามความฝันของตัวเอง จำนวนเงินที่เก็บออมแนะนำให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ควรจะเก็บประมาณ 10-20 % ของรายได้ สมมติคุณพ่อคุณแม่รายได้รวมกันเดือนละ 70,000 บาท ควรเก็บเงินเพื่อลูกเดือนละ 7,000-14,000 บาท และที่สำคัญต้องเก็บก่อนหักค่าใช้จ่าย ! ซึ่งค่าใช้จ่ายในครอบครัวจะแบ่งออกเป็น ค่าใช้จ่ายคงที่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องจ่ายเป็นประจำมีจำนวนเงินแน่นอน เช่น ค่าเล่าเรียน ค่าขนม ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าแม่บ้าน ค่าจ้างซักเสื้อผ้า บวกเผื่อค่าเจ็บป่วยด้วย และค่าใช้จ่ายผันแปร เช่น ค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต ซื้อเสื้อผ้า หรือซื้อของประเภทที่ซื้อก็ได้ไม่ซื้อก็ได้ ถ้าแบ่งสัดส่วนตามนี้ย่างมีระเบียบวินัยก็จะใช้ชีวิตได้อย่างสบาย เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ คุณโจ้-ปฐมภัสร์ รชตะอนันต์ชัย ที่ปรึกษาด้านการเงินและผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook : Mother&Care Live…
Q : ค่าเล่าเรียนลูกหลักล้านหรือ 10 ล้านจริงหรือ ? A : ต้องลองคำนวณกันดูนะครับคุณแม่ ตอนนี้ลูกยังเล็กอาจจะประมาณ 4-5 ขวบ เราจะต้องวางแผนการเงินให้เขาจบปริญญาโท เงินขั้นต่ำใช้ 2-3 ล้านบาท ถ้าเงินสดยังไม่มีเราต้องวางแผนบริหารการเงิน มีลูกสมัยนี้แพงครับถ้าจะเลี้ยงให้เขาดี ถ้าบอกว่าจะทุ่มให้กับการศึกษาลูกเต็มที่ มีสตางค์ขอระดับแพงสุดส่งเรียนจนจบปริญญาโทเกรดพรีเมียมกันไปเลยก็จะอยู่ที่ราว ๆ 50 ล้านบาท เรียนระดับปานกลางประมาณ 10 ล้าน ส่งเรียนแบบประหยัดอยู่ที่ประมาณล้านกว่าบาท คุณแม่บางคนเห็นตัวเลขตกใจใช่มั้ยครับ ถ้าเราไม่ได้วางแผนกันเอาไว้ทำให้เขาไม่สามารถไปถึงความฝันของเขาได้ ถึงจะพูดว่าเงินไม่สำคัญแต่ต้องใช้เงินในการเลี้ยงลูก ในการเดินหน้าต่อไปของครอบครัว การเลี้ยงดูเด็กต้องใช้เงิน การวางแผนการออมเงินไว้จะมากหรือน้อยวางแผนไว้ดีที่สุดครับ ถ้าเรามีเป้าหมายที่แน่นอนแน่ชัด เราก็จะพยายามไปถึงเป้าหมาย อาจจะตั้งเป้าว่าเก็บเงินเพื่อการศึกษาลูกเดือนละเท่าไหร่ จำนวนที่ได้พอกับการส่งเสียเขาเรียนหรือเปล่า แล้วค่อย ๆ เก็บไป ตัวเลขอาจดูมากฟังแล้วคุณแม่กังวล ไม่ต้องกังวลว่าจะเกินความสามารถของเรานะครับ วิธีเก็บก็คือต้องมีวินัย แล้วเก็บแบ่งเป็นเฟส เฟสที่ 1 เฟสที่ 2 เฟสที่ 3…
Q : ครอบครัวธรรมดาทั่วไปควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ดี ?
A : สมมติว่าครอบครัวธรรมดาครอบครัวนึงคุณพ่อคุณแม่ต่างก็ทำงาน มีลูก 1 คน รายได้เท่าไหร่ก็ตามควรมีเงินเก็บไว้อย่างน้อย 6 เท่าของเงินเดือน ถ้าจะให้ดีก็ 12 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อบริหารความเสี่ยงในกรณีที่ 1 ตกงาน กรณีที่ 2 ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่อยู่ดี ๆ ต้องจ่าย เช่น ลูกได้รางวัลบินไปชิงทุนต่างประเทศ ถ้าต้องการสนับสนุนเขาเราก็ต้องมีเงินสำรองไว้ให้ลูกเรา
"เงินนอกเหนือจากส่วนนี้ เอาไปลงทุนอยู่ในสินทรัพย์หรืออยู่ในเงินฝากที่ให้ผลงอกเงยมากกว่าฝากออมทรัพย์ธรรมดา"
"เวลาวางแผนการเงิน คุณแม่อย่าวางแผนค่าใช้จ่ายครับเราต้องวางแผนรายได้ คุ้มครองรายได้เรา การวางแผนคุ้มครองรายได้เราทั้งหมดนั่นหมายความว่าเราคุมค่าใช้จ่ายได้ แต่ถ้าเราวางแผนค่าใช้จ่ายอย่างเดียวถ้าเกิดมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินขึ้นมา อาจไม่มีใครสามารถช่วยเหลือเราได้นอกจากตัวเราเอง"
"สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือสุขภาพเรา อยากบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าทำงานเก็บเงินแล้วไม่อยากให้สุดท้ายแล้วเงินของเราต้องหมดไปกับการทุ่มเทรักษาตัวเองป่วย เพราะฉะนั้นต้องดูแลสุขภาพด้วย ต้องวางเพื่อตัวเองแล้วก็เพื่อลูกด้วย"
"อาจจะแยกเก็บเงินเป็นส่วน ๆ สมมติให้เป็นขวดโหลจะได้เห็นภาพ เช่น
ขวดโหลที่ 1 เป็นของลูก
ขวดโหลที่ 2 เอาไว้เที่ยวหรือช้อปปิ้ง
ขวดโหลที่ 3 เพื่อค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่างวดรถ ค่าบ้าน
ขวดโหลที่ 4ใช้จ่ายปกติทั่วไป
อาจจะเปิดไว้สัก 3-4 บัญชีแล้วเราโอนเงินเข้าไป ได้เงินมาปุ๊บโอนไปก่อนเลย เดี๋ยวนี้โอนไม่มีค่าธรรมเนียมแล้วสะดวกมากขึ้น ที่เหลือค่อยใช้จ่าย…