“คุณหมอคะ ลูกดิฉันเป็นออทิสติก ตอนนี้อายุสิบปี รักษามาตั้งแต่เขายังเล็กๆ จนถึงตอนนี้ทั้งพ่อและแม่พยายามร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อจะทำให้ลูกดีขึ้น แต่บางครั้งลูกก็ยังมีพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสม
ลูกชายของคุณแม่ดูภายนอกก็เป็นเด็กน่ารักปกติ แต่มีการพูดจาที่ไม่ค่อยถูกกาลเทศะ เช่น บางครั้งก็จะพูดอะไรตรงๆ ตามที่คิด เมื่อวานคุณแม่พาเขาไปเที่ยวห้างแห่งหนึ่ง ตอนขึ้นลิฟท์ลูกชายก็พูดกับผู้หญิงคนหนึ่งว่า “อ้วนจัง กินขนมเยอะ ไม่ออกกำลังกายใช่ไหมเนี่ย”ลูกชายอาจจะจำที่แม่เคยสอนไว้ว่า ถ้าอยากแข็งแรงต้องไม่อ้วน ต้องออกกำลังกาย ไม่กินขนมเยอะ แม่ก็ตกใจมากแต่ห้ามลูกไม่ทันแล้ว ผู้หญิงคนนั้นดูไม่พอใจมาก พูดเสียงดังกับแม่ต่อหน้าทุกคนว่า ทำไมไม่รู้จักสั่งสอนลูกให้พูดจาดีๆ ให้มีมารยาทสังคม เรารู้สึกแย่มากไม่อยากเป็นแม่ที่ไม่ดี
เราคงเคยได้ยินวาทกรรมของใครสักคน เวลาที่คนหนึ่งแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ไม่ดี ทำความเดือดร้อนให้คนอื่น ก็จะมีพูดออกมาเป็นการตำหนิประมาณว่า ‘เป็นลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอน’ ซึ่งคงเป็นการสื่อว่า การที่คนคนหนึ่งมีพฤติกรรมเลวร้ายแบบนั้น น่าจะเกิดจาก ‘การอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ที่ไม่ดีและไม่เหมาะสม’ เป็นแน่แท้
ในความเป็นจริง การที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตมาเป็นคนแบบไหน คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูอย่างเดียวอย่างกรณีของลูกคุณแม่ ลูกชายมีโรคออทิสติกซึ่งเป็นความผิดปกติทางสมองอย่างหนึ่ง และถึงแม้จะเป็นเด็กทั่วไป ก็ไม่ใช่มีเฉพาะการเลี้ยงดูอย่างเดียวที่จะเป็นตัวกำหนดหลักว่าคนคนนั้นจะเป็นอย่างไร มีการทำวิจัยมากมายในสากลที่ต้องการพิสูจน์ความจริงข้อนี้
Nature VS Nurture ? หมายถึง ‘ธรรมชาติกำหนด’ หรือ ‘การอบรมดูแล’ อะไรจะมีผลมากกว่ากับการหล่อหลอมเด็กคนหนึ่งจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ งานวิจัยต่างๆ พบว่า คงไม่มีปัจจัยอย่างหนึ่งอย่างใดหรอกที่จะกำหนดว่า เด็กคนหนึ่งจะโตมาเป็นแบบไหน ทุกอย่างเป็น ‘ปัจจัยร่วมกัน’ ที่หล่อหลอมคนคนหนึ่งให้มาเป็นเช่นที่เห็นอยู่ในทุกวันนี้ แล้วปัจจัยอะไรบ้าง…
พ่อแม่ทุกคนย่อมปรารถนาให้ลูกมีความสุขและประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งสิ้น ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยก็คือการส่งเสริมให้ลูกมีความคิดเชิงบวก ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดอีกหลายคุณลักษณะในตัวเด็ก ทั้งความมั่นใจในตัวเอง ความรู้สึกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค สุขภาพจิตที่ดี รวมทั้งมนุษยสัมพันธ์และความมีเสน่ห์ในตนเอง แล้วพ่อแม่จะช่วยลูกได้อย่างไร
ใช้ภาษาเชิงบวก
บ่อยครั้งที่พ่อแม่ชินกับการใช้ คำสั่งห้าม หรือการพูดตำหนิ ต่อว่าลูก นั่นถือเป็นการตอกย้ำ กับความคิดหรือพฤติกรรมเชิงลบ เช่น “ทำไมถึงสะเพร่าอย่างนี้” “อย่าเกเร และดื้อกับคุณตาคุณยายนะลูก” “อย่ากระโดดเป็นลิงเป็นค่างอย่างนี้” “ทำไมถึงขี้เกียจกันจริง” ตัวอย่างเหล่านี้มักเกิดขึ้นจากความผิดหวังหรือไม่พอใจของพ่อแม่ แต่การพูดเชิงลบเช่นนั้น นอกจากโอกาสที่ลูกจะเชื่อฟังหรือ ทำตามน้อยแล้ว ยังอาจส่งผลในเชิงลบต่อตัวลูกคือลูกเชื่อว่าตนเองเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะพ่อแม่ ที่เขารัก บอกเขาหรือตอกย้ำเสมอว่าเขามีลักษณะเช่นนั้น นอกจากนั้นแล้วในเด็กบางคนที่พ่อแม่ไม่ใคร่ใส่ใจในเชิงบวกนัก ลูกอาจทำพฤติกรรมเชิงลบเพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือในเด็กบางราย อาจค่อย ๆ พัฒนาเป็นลักษณะการต่อต้านและทำในสิ่งที่พ่อแม่ไม่ประสงค์ในที่สุด
พ่อแม่คงต้องหันมาพิจารณาตนเองในแต่ละสถานการณ์ก่อนว่าเราต้องการอะไรจากลูก แล้วพูดในสิ่งที่อยากเห็นหรือต้องการจากลูกแทน เช่น จากตัวอย่างข้างต้นแทนที่จะพูดว่า “ทำไมถึงสะเพร่าอย่างนี้” พ่อแม่อาจพูดว่า “ตรวจทานหลังทำเสร็จด้วยนะลูก” และแทนที่จะพูดว่า “อย่าเกเร และดื้อกับคุณตาคุณยายนะลูก” พ่อแม่อาจพูดว่า “เชื่อฟังคุณตาคุณยายนะลูก” เป็นต้น อย่างไรก็ตามในบางโอกาสพ่อแม่อาจใช้การพูดโดยใช้ ‘I-message’ เมื่อพ่อแม่เกิดความรู้สึกเชิงลบ หรือเมื่อพิจารณาแล้วว่าลูกไม่เห็นว่าเป็นปัญหาอะไรของลูกเองแต่สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของพ่อแม่และเป็นปัญหาของพ่อแม่เองมากกว่า เช่น “แม่รู้สึกหงุดหงิดที่เห็นของเล่นทิ้งเกลื่อนบนพื้นเพราะแม่อาจสะดุดล้มลงได้” “แม่รู้สึกกังวลที่สี่ทุ่มแล้วลูกยังไม่นอน…