การนอน เป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเบบี๋ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสมอง ค่ะ การนอนกรนดูเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่บางกรณีอาจเป็นอันตรายได้ค่ะ แล้วลูกเรานอนกรนหรือเปล่า ถ้ายังไม่แน่ใจ ควรสังเกตการนอนของลูก ดูว่านอนกรนหรือไม่ เพราะจากการศึกษาพบว่า 20 % ของเด็กมีอาการนอนกรน โดย 7 - 10 % มีอาการนอนกรนทุกคืน เด็กหลายคนนอนกรนแต่ก็มีสุขภาพดี แต่พบว่าราว 2% มีปัญหาขณะหลับ คือ มีปัญหาหายใจลำบาก อาจเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น รู้จักภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea Syndrome : OSAS) ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นมักเกิดจากช่องคอที่แคบลงและปิดในระหว่างหลับ ทำให้เด็กมีอาการหายใจเสียงดัง หายใจหอบ สะดุ้ง สำลัก เวลาหายใจเข้าหน้าอกจะบุ๋มปกติขณะหลับ โดยปกติขณะหลับกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกายจะหย่อนตัวลง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจด้วย เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นกล้ามเนื้อคอจะหย่อนตัวมาก ทำให้ช่องคอแคบกว่าปกติจนกระทั่งช่องคอปิด ทำให้เด็กพยายามหายใจเพิ่มขึ้น อาจได้ยินเสียงหายใจดังเฮือกเมื่อเริ่มกลับมาหายใจอีกครั้ง การหายใจเช่นนี้อาจกระตุ้นให้ตื่นเป็นช่วงสั้น ๆ และอาจทำให้หัวใจมีภาวะขาดออกซิเจน…
ใคร ๆ ก็อยากให้ลูกอยู่สุขใจสบายเนื้อสบายตัว ไม่มีปัญหารบกวนผิว แต่ลูกกลับมีปัญหาผดผื่นขึ้นจนได้ ยิ่งอากาศบ้านเราเปลี่ยนแปลงง่าย เริ่มอบอ้าวทีไรผดผื่นลูกก็ผุดขึ้นมาให้แม่ ๆ กลุ้มใจได้ตลอด ไม่เป็นไรค่ะเรามีวิธีจัดการ รู้ทันผดผื่น ทราบไหมคะว่าผดของลูกเกิดจากมีเหงื่อออกมาก เนื่องจากร่างกายมีความร้อนมากเกินไปค่ะ ไม่ได้เกิดจากการสัมผัสกับแสงแดด ผดจะมีลักษณะเป็นผื่นสีแดง ๆ มักขึ้นตามร่างกายในบริเวณที่มีต่อมเหงื่อมาก เช่น ใบหน้า ซอกคอ ไหล่ ตามข้อพับ ขาหนีบ ตัวลูกก็จะแดง ๆ และผิวหนังจะร้อน สาเหตุที่วัยเบบี๋เป็นผดบ่อย เพราะต่อมเหงื่อยังพัฒนาไม่เต็มที่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงแต่อย่างใด วิธีดูแล หาเสื้อผ้าเนื้อบางเบา เหมาะสมกับอากาศมาสวมใส่ให้ลูกเล็กอย่างผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นผ้าที่ซับเหงื่อได้ดี และไม่ทำให้ร่างกายของลูกร้อน จึงเหมาะสมสำหรับการให้เด็กสวมใส่มากที่สุด งดเสื้อผ้าที่เป็นขนสัตว์มุ้งมิ้ง หรือเส้นใยสังเคราะห์ อย่าสวมเสื้อหนาเกินไป หรือใส่ให้ลูกหลาย ๆ ชั้น ยิ่งอากาศร้อน ห้ามใส่ หมั่นอาบน้ำชำระร่างกายให้ลูกบ่อย ๆ ด้วยน้ำธรรมดาในอุณหภูมิห้อง แล้วเช็ดตัวให้แห้ง การอาบน้ำบ่อย ๆ จะช่วยให้ผิวหนังลูกเย็นลง ลูกก็จะสบายตัวมากขึ้น จัดห้องลูกไม่ให้ร้อนอบอ้าว อากาศถ่ายเทได้ดี มีลมพัดเข้าออกเบา…
เมื่อแรกคลอดเด็กทารกอาจมีภาวะตัวเหลืองได้ค่ะ ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้มากที่สุดในเด็กทารกโดยประมาณ 60-70% ทั้งในทารกอายุครรภ์ครบกำหนดและคลอดก่อนกำหนด ทั้งนี้จะสังเกตเห็นได้จากการมีสารตัวเหลืองที่ผิวหนังหรือเยื่อบุตาขาว สาเหตุของอาการตัวเหลือง เกิดก่อนกำหนด <37 สัปดาห์ หมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน เหลืองจากเม็ดเลือดแดงแตกตัว เช่น พร่องเอนไซม์ G6PD ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกินไป มีรอยฟกช้ำจากการคลอด มีจุดจ้ำแดงที่ผิวหนัง หรือมีการติดเชื้อ มีภาวะลำไส้อุดตัน ท่อน้ำดีอุดตันแต่กำเนิด ฯลฯ การดูแลลูกเมื่อตัวเหลือง ควรป้อนนมบ่อยขึ้นทุก 3 ชั่วโมง ประมาณ (8 มื้อ/วัน) เพื่อให้ลูกน้อยได้ขับถ่ายสารตัวเหลืองออกจากร่างกาย ประเมินภาวะตัวเหลือง โดยสามารถใช้นิ้วกดดูสีผิวที่อยู่ใต้ผิวหนังหรือกดตรงปุ่มกระดูก ทำในห้องที่แสงสว่างเพียงพอ ถ้าพบว่าลูกมีอาการตัวเหลืองมากหรือเพิ่มมากขึ้นให้รีบพาไปหาคุณหมอทันที เพื่อตรวจดูสารตัวเหลืองในร่างกายค่ะ ซึ่งวิธีการรักษาจะมี 3 แบบด้วยกันคือ การส่องไฟ การเปลี่ยนถ่ายเลือด และการใช้ยาค่ะ ข้อมูลอ้างอิง : บทความ “ปัญหาที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด” โดย พญ.นภาไพลิน เศรษฐพานิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชกรรมทั่วไป ประจำแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ Mother & Care Free…