นมแม่มีข้อดีนานัปการดังที่คุณแม่ทราบ มีโปรตีนย่อยง่าย สร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ เช่นดอทบวมโรคทางเดินอาหาร ป้องกันท้องเสีย ป้องกันภูมิแพ้ ต้านการอักเสบติดเชื้อ สุขภาพแข็งแรงโตเร็ว แล้วนมแม่ยังช่วยเสริมสร้างสติปัญญาความเฉลียวฉลาดให้ลูกได้ รายงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford University และ the Institute for Social and Economic Research, Essex University พบว่านมแม่ช่วยพัฒนาด้านความจำและยังช่วยเรื่องการเรียนของเด็กเมื่อถึงวัยเข้าเรียนอีกด้วย เมื่อได้กินนมทารกจะเติบโตเป็นเด็กที่มีความสุข สุขภาพจิตดีเพราะได้รับความอบอุ่นจากอ้อมกอดแม่ ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยและมีความสุขเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาสมองของเด็กเช่นกัน คุณแม่มือใหม่พยายามให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนหรือนานกว่านั้นก็ยิ่งดีนะคะ เพราะนมแม่เลอค่าสุด ๆ ค่ะ
งานวิจัยจาก Trieste and the University of Padua ที่ตีพิมพ์ใน Scientific Reports เผยว่า ทารกในครรภ์อายุตั้งแต่ 18 สัปดาห์ขึ้นไปจะเคลื่อนไหวโดยใช้มือข้างที่ถนัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมือขวา งานวิจัยรายงานว่าความถนัดซ้ายหรือขวาของลูกนั้นถูกกำหนดมาตั้งแต่ในครรภ์ นักจิตวิทยาพัฒนาการแนะนำว่า อย่าพยายาม “แก้ไข” ความถนัดซ้ายของลูก เพราะจะส่งผลให้สมองของลูกทำงานหนักขึ้น มีโอกาสเกิดปัญหาในการเขียน การใช้กรรไกร หรือมีด และเล่นกีฬาได้ไม่ดี รวมไปถึงเหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องมาจากความถนัดซ้ายหรือขวาของเด็ก ๆ เกี่ยวข้องกับการบริการจัดการและการทำหน้าที่ของสมอง สมองซีกซ้ายและซีกขวา นั้นมีหน้าที่ควบคุมการทำงานและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ข้อแนะนำ ถ้าลูกยังไม่แสดงให้เห็นการใช้มือข้างที่ถนัดภายในอายุ 2 ปี พยายามให้เขาหยิบจับสิ่งของโดยใช้มือทีละข้าง และอย่าสั่งให้ลูกใช้ช้อนหรือปากกาด้วยมือข้างใด แต่ปล่อยให้เขาได้เลือกข้างที่ถนัดด้วยตัวเอง เมื่อลูกแสดงให้เห็นว่าถนัดมือข้างไหน พยายามหากิจกรรมให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อมือข้างนั้นด้วยจะดีที่สุดค่ะ
หากคุณแม่กังวลว่าลูกนอนนานไม่ตื่นขึ้นมากินนมสักที คงต้องสังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกค่ะ ถ้าลูกนอนสบาย เป็นปกติดีไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องกังวลหรือปลุกให้ลุกขึ้นมากินนมทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง อาจยืดหยุ่นช่วงเวลาการกินกันได้ ตามความเหมาะสม การที่ลูกนอนนานถ้าไม่นานจนรู้สึกว่าผิดปกติมากก็ไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปค่ะ หรือถ้าคุณแม่ยังไม่คลายความกังวลอาจปรึกษาคุณหมอ ร่วมกับการสังเกตการเจริญเติบโต น้ำหนักตัวกับปริมาณการกินของลูก ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ หากมีปัญหาจะได้ดูแลแก้ไขทัน
ผิวเบบี๋ทั้งอ่อนบางและมีโอกาสแพ้ง่าย คุณแม่จึงต้องทะนุถนอมผิวของลูกน้อยในวัยนี้เป็นพิเศษโดยเฉพาะเบบี๋ในช่วงแรกเกิดปัญหาผิวที่มักกวนใจเป็นประจำก็คือผื่นผ้าอ้อมค่ะ เเมื่อมีผื่นผ้าอ้อมลูกน้อยอาจร้องโยเยเนื่องจากไม่สบายเนื้อสบายตัวสร้างความกังวลใจให้คุณแม่ปัญหานี้แก้ไข้ได้ไม่ยากค่ะเรามาทำความรู้จักกับสาเหตุกันก่อนสักนิด สาเหตุที่พบได้บ่อย 1.เกิดจากความเปียกชื้น ทั้งจากความชื้นเกิดจากการใส่ผ้าอ้อมในขณะที่ตัวยังไม่แห้งสนิท 2.การแช่อยู่ในผ้าอ้อมที่เปียกฉี่หรืออึนานเกินไป 3.การติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์อาจทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมได้ ทารกที่รับประทานยาปฏิชีวนะมักจะไวต่อการเกิดผื่นผ้าอ้อมจากเชื้อยีสต์ แนะนำ 5 วิธีปกป้องผิวอันบอบบางของลูกจากผื่นผ้าอ้อม 1.หมั่นดูผ้าอ้อมลูกบ่อย ๆ ดูว่าเปียกชื้น ลูกอึฉี่หรือยัง อย่าปล่อยให้นอนแช่ผ้าอ้อมเปื้อนอยู่นาน ๆ ให้รีบเปลี่ยน 2.ล้างทำความสะอาดผิวลูกบริเวณที่อยู่ในผ้าอ้อมไม่จำเป็นต้องใช้สบู่ทุกครั้งอาจใช้น้ำเปล่าบ้าง หรือใช้สบู่เด็กที่อ่อนโยนต่อผิวเด็ก ปราศจากน้ำหอมหรือสารเคมีที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง อาจเลือกผลิตภัณฑ์ประเภทออแกนิกเพื่อความปลอดภัยต่อลูกกน้อย 3.ใช้ผ้าสะอาดนุ่ม ๆ เช็ดผิวลูกอย่างอ่อนโยน เลี่ยงการใช้ทิชชู่เปียกที่ผสมน้ำหอมหรือแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันการระคายเคือง 4.ปล่อยให้บริเวณผ้าอ้อมแห้งสนิทก่อนใส่ผ้าอ้อม 5.ทาปิโตรเลียมเจลลี่ หรือครีมป้องกันผื่นผ้าอ้อมก่อนให้ลูกใส่ผ้าอ้อม หากผื่นยังไม่หายไปภายใน 2-3 วัน หรือเป็นผื่นแดงมากขึ้นควรพาไปพบคุณหมอเพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์ค่ะ
ทุกวันนี้แดดแรงทุกฤดู หรือในช่วงวันฟ้าครึ้มแดดไม่แรงจัดก็ตามแต่รังสียูวีก็ยังสามารถทำร้ายผิวได้ แม่ ๆ มักจะทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านเพื่อปกป้องผิวสวย แต่ทราบไหมคะว่าเด็ก ๆ ก็ต้องการการปกป้องผิวเช่นกัน เพราะหากไม่ปกป้องผิวลูกจากอันตรายของรังสียูวี ผิวของลูกอาจมีโอกาสถูกทำร้าย โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับแสงแดดแรงกล้ายามเที่ยงวันมีโอกาสที่ผิวจะแสบแดงและร้อนได้ 6 เดือนขึ้นไป Dr. Lawrence Gibson แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเมือง Rochester รัฐ Minnesota ประเทศสหรัฐฯ เขียนบทความหนึ่งลงเว็บไซต์ Mayoclinic.org ว่า เด็กวัยตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปจึงจะสามารถใช้ครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิว คุณแม่จำเป็นต้องอ่านฉลากบนครีมกันแดดด้วยค่ะ เนื่องจากบางแบรนด์อาจมีคำแนะนำในการใช้ว่าเหมาะกับเด็กในวัยต่างกันไป เช่น 6 เดือน หรือ 12 เดือน เป็นต้น วิธีเลือกครีมกันแดดให้ลูกน้อย การเลือกครีมกันแดด (Sunscreen) สำหรับลูกน้อยวัย 6 เดือนขึ้นไป จำเป็นต้องมีความละเอียดอ่อนสักนิด เนื่องจากผิวเด็กยังอ่อนบางกว่าผู้ใหญ่ แนะนำวิธีเลือกดังนี้ค่ะ 1.มี SPF อย่างน้อยตั้งแต่ 30 ขึ้นไป 2.ปราศจากน้ำหอม สี แอลกอฮอล์ และสารเคมีต่าง ๆ 3.ผ่านการทดสอบค่า SPF…
คุณแม่ที่มีลูกคนแรกอาจกังวลใจในสีอึของลูกได้ค่ะ มีทั้งเหลือง เขียว น้ำตาล ดำ ฯลฯ สงสัยใช่มั้ยคะว่าสีแบบไหนปกติและแบบไหนไม่ปกติจะได้ดูแลแก้ไขทันท่วงที มาดูสีต่าง ๆ กันค่ะว่าหมายถึงอ ะไรบ้าง ดำหรือเขียวเข้ม หรือขี้เทา ในช่วง 1-3 วันแรกของทารกแรกเกิดอึจะมีลักษณะเหนียวหนืด สีเข้ม แต่ถ้าหลังจาก 3 วันไปแล้วยังเป็นสีนี้อยู่หรือกลับมาเป็นสีนี้อีกแสดงว่าไม่ปกติ น้ำตาลสีเขียวอมน้ำตาล เป็นสีอึปกติของลูก ถ้าลูกกินนมผสมอึจะเป็นสีเข้มและเหนียวกว่ากินนมแม่ เขียว หรือสีเขียวปนน้ำตาล ในช่วงวันที่ 4-7 หลังคลอดลูกจะมีสีนี้ได้ และอาจจะเป็นสีนี้ได้จากอาหารที่คุณแม่รับประทาน เช่น คุณแม่รับประทานผักสีเขียวมาก หรือลูกถึงวัยเริ่มอาหารเสริมนอกจากนม เหลือง สีเหลืองคล้ายฟักทอง หรือมัสตาร์ด เนื้อนุ่มเนียนมีลักษณะเหลว เป็นสีอึปกติของทารก เด็กที่ดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียวจะมีอึสีนี้ ขาว สีขาวซีดคล้ายสีชอล์กเป็นสีที่ไม่ปกติแสดงถึงว่าตับและถุงน้ำดีของลูกอาจผิดปกติก็เป็นได้ ควรรีบพาไปพบแพทย์ แดง อาจเกิดจากท้องผูก หรือระคายเคืองในลำไส้ มีเลือดปนมากับอึหรือเกิดจากสาเหตุอื่น ควรรีบพาไปพบแพทย์ นอกจากสีแล้วคุณแม่สังเกตลักษณะของอึที่ไม่ปกติได้อีกค่ะ…
ข่าวคราวเด็กทารกมีอาการป่วยอย่างรุนแรงบางรายถึงขั้นเสียชีวิตเพราะติดเชื้อจากการหอมหรือจูบจากผู้ใหญ่เกิดขึ้นเป็นระยะ ล่าสุดคุณแม่ชาวอเมริกันอบิเกล โรสผู้สูญเสียลูกสาวอายุพียง 8 วันไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 หลังจากผ่านการทำใจเป็นเวลาหลายเดือน เธอจึงเผยแพร่เรื่องราวลงเฟซบุ๊กเพื่อเป็นข้อเตือนใจคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยทารก ตามข่าวเด็กหญิงรับเชื้อจากคนที่มีเชื้อเริมมาจูบ เชื้อโรคจึงเข้าไปทำลายกระดูกสันหลัง ปอด และสมอง เรื่องน่าเป็นห่วงก็คือคนที่เป็นโรคเริมอาจไม่แสดงอาการของโรคแต่สามารถแพร่เชื้อได้ เพราะฉะนั้นการแสดงความเอ็นดูจึงต้องอดใจไม่หอมไม่จูบเด็กทารกค่ะ สาเหตุที่เชื้อไวรัส HSV-1 สาเหตุของโรคเริมดูเหมือนจะไม่ใช่โรคร้ายแรงสำหรับผู้ใหญ่ แต่กลับอันตรายต่อทารกช่วงวัยแรกเกิดเนื่องจากภูมิคุ้มกันในวัยนี้ยังไม่แข็งแรงเพียงพอ เมื่อรับเชื้อโรคนี้เข้าไปอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต นอกจากเริมแล้ว การหอม จูบ หรืออุ้มเด็กโดยได้ไม่ล้างมือยังทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อได้หลายชนิด เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก RSV และอีกหลายต่อหลายโรค เพื่อความปลอดภัยของลูกวัยทารก 1.ก่อนอุ้มเด็กควรล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด 2.ไม่ควรจับใบหน้าเด็ก 3.ไม่ควรหอมแก้มหรือจูบทารก แม้ตัวคุณแม่เองก็ตาม โดยทั่วไปเรามักเข้าใจว่าเด็กทารกไม่ได้อ่อนแอขนาดนั้น แค่หอมแค่จูบจะเป็นอะไรไปได้ เด็กอื่นอีกตั้งมากมายไม่เห็นจะเป็นอะไร ข่าวนี้คือคำตอบค่ะ คุณแม่ที่ไม่ให้ใครมาหอมจูบลูกวัยทารก อาจจะเว่อร์เกินไป ดูน่าหมั่นไส้อนามัยจ๋า แต่คุณแม่ทำถูกแล้วค่ะ ป้องกันไว้ก่อน ไม่มีอะไรเว่อร์ไปสำหรับความปลอดภัยของลูกน้อย
สะดือของเด็กแรกเกิดเป็นสิ่งที่ต้องดูแลอย่างพิถีพิถัน ต้องหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลง และทำความสะอาดอย่างถูกวิธีค่ะ สะดือแฉะ : สะดือไม่แห้งหรือมีน้ำหยดจากสะดือเวลาทารกร้องหรือเบ่ง เป็นน้ำสีเหลืองหรือเขียวและอาจมีเลือดออกซิบ ๆ สะดืออักเสบ : บริเวณรอบๆ ขั้วสะดือบวมแดงและร้อนและเด็กร้องกวน เมื่อดมดูจะได้กลิ่นเหม็นผิดปกติ เลือดออกทางสะดือ : เมื่อเอาสำลีซับจะมีเลือดติดออกมา อาจจะมีก้อนเนื้อแดงเรื่อขนาดเท่าถั่วแดงอยู่ในสะดือ สะดือโป่ง สะดือจุ่น : เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไป อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน 2-3 เดือน แต่บางคนอาจถึง 1 ปี สะดือโป่ง สะดือจุ่น : เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไป อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน…