หน้าหนาวมาเยือนทีไรลูกน้อยมักจะมีปัญหาผิวแห้งแตกเนื่องจากผิวเด็กอ่อนบางมีโอกาสแห้งแตกง่ายหากผิวลูกแห้งมากเป็นขุยแตกและรู้สึกคัน เมื่อคันลูกก็จะเกา ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ mother&care มีเคล็ดลับดี ๆ ในการปกป้องผิวลูกน้อยมาฝากค่ะ ให้ลูกดื่มน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อคงความชุ่มชื้นของผิวหนังเอาไว้ การใช้น้ำอุ่นอาบน้ำให้ลูกไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดเกินไปเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้ผิวลูกแห้งมาก เลี่ยงการใช้ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตัวขัดถูผิวลูก หยดน้ำมันมะกอกลงในน้ำอาบให้ลูกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ทา Babyครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้ลูก หลังอาบน้ำ สวมเสื้อผ้าเพื่อความอบอุ่นและช่วยปกป้องผิวให้ลูก เลี่ยงการพาลูกออกไปสัมผัสกับแสงแดดจัดดูแลครบทุกข้อหนาวนี้ผิวลูกก็ไม่แห้งแตกแล้วค่ะ
ต้องยอมรับว่าบางครั้งลูกน้อยแสนน่ารักสามารถกลายเป็นลูกน้อยแสนป่วนได้ ทำให้คุณแม่ต้องแปลงร่างเป็นแม่มดกันบ้าง แต่บ่อยไปก็จะไม่ดีทั้งกับคุณแม่และคุณลูกแน่ ๆ มาดูวิธีบรรเทาอาการปี๊ดแตกใส่คุณลูกกันค่ะ ตั้งสติ ท่องไว้ในใจว่าตอนนี้กำลังโกรธลูกใจเย็นลงหน่อย หาสาเหตุที่แท้จริง ต้นเหตุอาจจะไม่ใช่ลูก แต่เป็นความเครียดจากที่ทำงาน ปัญหาการ พักผ่อนน้อยอดนอน 3.นับ 1-10 ก่อนอาละวาดใส่ลูก เมื่อรู้สึกโกรธสุดขีดให้เดินเลี่ยงออกไปจากห้องนั้นก่อน ฝากคุณพ่อดูสักครู่ค่อยกลับมาใหม่ พูดถึงความรู้สึกของคุณแม่ว่ารู้สึกแย่อย่างไรเมื่อลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้ แทนการชี้ข้อผิดของลูก อย่าเอาคดีเก่ามารวมรวบยอดพูดซ้ำซาก เวลาหายโกรธแล้ว ช่วงเวลาอารมณ์ดีอธิบายให้ลูกฟังด้วยท่าทีอบอุ่นอ่อนโยน เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันค่ะ
รับทราบมาบ่อย ๆ ว่าการกินเค็มหรือกินโซเดียมมากส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต กระดูกพรุน อัมพฤกษ์อัมพาต ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่อาจมั่นใจว่าลูกไม่ได้กินเค็มเกินไป ดูตัวเลขเหล่านี้แล้วอาจเปลี่ยนความคิดใหม่ มาดูปริมาณโซเดียมในอาหารจานเดียวกันก่อน สุกี้น้ำ 1,560 มิลลิกรัม บะหมี่น้ำหมูแดง 1,480 มิลลิกรัม เส้นใหญ่เย็นตาโฟ 1,417 มิลลิกรัม ผัดซีอิ๊ว 1,352 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 977 มิลลิกรัม กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่าผู้ใหญ่ไม่ควรกินเกลือเกินวันละ 1 ช้อนชา (เกลือ 1 ช้อนชา =โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม) แล้วเด็กล่ะ ? 6-11 เดือน 175-550 มิลลิกรัม/วัน (ประมาณ ¼ ช้อนชา) 1-3…
งานวิจัยจาก Trieste and the University of Padua ที่ตีพิมพ์ใน Scientific Reports เผยว่า ทารกในครรภ์อายุตั้งแต่ 18 สัปดาห์ขึ้นไปจะเคลื่อนไหวโดยใช้มือข้างที่ถนัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมือขวา งานวิจัยรายงานว่าความถนัดซ้ายหรือขวาของลูกนั้นถูกกำหนดมาตั้งแต่ในครรภ์ นักจิตวิทยาพัฒนาการแนะนำว่า อย่าพยายาม “แก้ไข” ความถนัดซ้ายของลูก เพราะจะส่งผลให้สมองของลูกทำงานหนักขึ้น มีโอกาสเกิดปัญหาในการเขียน การใช้กรรไกร หรือมีด และเล่นกีฬาได้ไม่ดี รวมไปถึงเหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องมาจากความถนัดซ้ายหรือขวาของเด็ก ๆ เกี่ยวข้องกับการบริการจัดการและการทำหน้าที่ของสมอง สมองซีกซ้ายและซีกขวา นั้นมีหน้าที่ควบคุมการทำงานและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ข้อแนะนำ ถ้าลูกยังไม่แสดงให้เห็นการใช้มือข้างที่ถนัดภายในอายุ 2 ปี พยายามให้เขาหยิบจับสิ่งของโดยใช้มือทีละข้าง และอย่าสั่งให้ลูกใช้ช้อนหรือปากกาด้วยมือข้างใด แต่ปล่อยให้เขาได้เลือกข้างที่ถนัดด้วยตัวเอง เมื่อลูกแสดงให้เห็นว่าถนัดมือข้างไหน พยายามหากิจกรรมให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อมือข้างนั้นด้วยจะดีที่สุดค่ะ
สถานการณ์ของหมอกควันฝุ่นพิษ PM 2.5 ดีขึ้นเป็นพัก ๆ แต่ก็ยังไม่หมดสิ้นไปซักที เดี๋ยวมีรายงานว่าจังหวัดโน้นจังหวัดนี้ประกันมีฝุ่นหนาตึ้บเด็กเล็ก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง ยิ่งน่าเป็นห่วงเพราะมีโอกาสได้รับอันตรายจากฝุ่นพิษได้มากที่สุด การให้ลูกสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น ไม่ออกไปอยู่กลางแจ้งในวันที่มีฝุ่นหนาแน่น การใช้เครื่องกรองอากาศ และปิดประตูหน้าต่างบ้านเป็นวิธีป้องกันเด็ก ๆ จากฝุ่นพิษที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนทำได้ แต่หมดที่ว่ามานี้เป็นการป้องกันจากภายนอกค่ะ การดูแลสุขภาพลูกให้แข็งแรงก็เป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างเกราะป้องกันอันแข็งแกร่งเพื่อต่อสู้กับฝุ่นพิษในอากาศ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลร่างกายของร่างกายของลูกให้แข็งแรงอย่างไรได้บ้างมาฟังกันค่ะ 1.กินอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน นอกจากการให้ลูกกินอาหารครบทั้ง 5 หมู่แล้ว เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารเหล่านี้ วิตามินซี : ผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น บร็อคโคลี คะน้า ปวยเล้ง ฝรั่ง ลิ้นจี่ สตรอว์เบอร์รี ส้ม กีวี มะละกอสุก ฯลฯ วิตามินอี : อาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น ผักโขม เมล็ดทานตะวัน น้ำมันคาโนล่า มะเขือเทศ มะม่วง…
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตเราทุกคนรวมทั้งเด็ก ๆ ด้วยค่ะ ในแต่ละวันคุณแม่ต้องดูแลลูกให้ดื่มน้ำอย่างพอเพียง เพราะเด็ก ๆ มักจะมีโอกาสดื่มน้ำน้อย เนื่องจากไม่ได้สนใจจะดื่ม หรือเพลิดเพลินกับการเล่น เด็กบางคนก็ไม่ชอบดื่มน้ำเอาเสียเลย ปัญหานี้อาจทำให้คุณแม่กังวลถึงสุขภาพลูกมิใช่น้อย แน่นอนว่าการดื่มน้ำน้อยจะส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกหลายด้าน ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายรวมทั้งเซลล์สมองไม่ได้น้ำไปหล่อเลี้ยงอย่างเต็มที่ ร่างกายระบายความร้อนไม่ได้ดี มีปัญหาท้องผูก ผิวหนังและริมฝีปากแห้งแตก สมองตื้อ อารมณ์ไม่แจ่มใส หากขาดน้ำมาก ๆ อาจทำให้หน้ามืดเป็นลม หรือช็อกได้ Motherandcare มีเคล็ดลับช่วยให้ลูกดื่มน้ำเพิ่มมาฝากคุณแม่ 1.หลังจากอายุเกิน 6 เดือนไปแล้วเริ่มฝึกให้ลูกจิบน้ำ และเมื่อโตขึ้นอีกหน่อยให้ลูกจิบน้ำบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย 2.อย่าบังคับให้ดื่มครั้งละมาก ๆ เพราะลูกจะรู้สึกไม่อยากดื่ม ให้จิบทีละน้อยแบ่งเป็นหลาย ๆ ครั้งตลอดวันจะดีกว่า 3.หาแก้วน้ำลายน่ารักที่ลูกชอบมาให้ใช้ 4.หากระติกน้ำขนาดพอเหมาะกับตัวลูกลายน่ารักให้เขาพวกเวลาพาเขาเดินทางไม่ว่าใกล้ไกล 5.วางขวดหรือแก้วน้ำไว้ใกล้ตัวลูก ทั้งในบ้าน และตอนออกไปวิ่งเล่นในสนาม 6.ให้ลูกดื่มน้ำผลไม้รสไม่หวานจัดจะหลับบ้างแก้เบื่อ 7.หากลูกเล่นซนเหงื่อออกมาก ท้องเสีย อาเจียน ร่างกายสูญเสียน้ำไปมาก คุณแม่ต้องช่วยชดเชยให้ลูกด้วยการให้เขาดื่มน้ำ เพียงแค่ 7 เคล็ดลับง่าย…
คุณแม่บางท่านอาจสงสัยว่า การดื่มน้ำมีวิธีที่ถูกและผิดด้วยหรือ จะเรียกว่าผิดเสียทีเดียวก็อาจจะไม่ใช่เพียงแต่ว่าบางวิธีที่ใช้อยู่ยังไม่เหมาะสมเท่าใดนัก เช่น บังคับให้ลูกดื่มน้ำครั้งละมาก ๆ ให้ลูกดื่มน้ำหวานตามใจชอบโดยไม่กำหนดปริมาณที่เหมาะสม ให้ลูกดื่มน้ำอัดลม น้ำแร่ หรือชากาแฟ 3 วิธีฝึกลูกให้ได้ประโยชน์จากการดื่มน้ำ 1.ให้จิบบ่อย ๆ ระหว่างวัน อาจจะครึ่งแก้วบ้าง 1 แก้วบ้าง เฉลี่ยไปทั้งวันยกเว้นใกล้เวลานอนเพราะจะทำให้ปัสสาวะตอนกลางคืน การให้ลูกได้รับน้ำตลอดทั้งวันจะดีต่อร่างกายมากกว่าการให้ดื่มน้ำครั้งละมาก ๆ 2.ฝึกให้ดื่มน้ำเปล่าเป็นหลัก อนุญาตให้ดื่มน้ำหวานได้บ้างแต่ต้องไม่มาก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกได้รับน้ำตาลเกินและฟันไม่ผุ 3.ฝึกให้ดื่มน้ำในอุณหภูมิห้อง เวลาเป็นไข้ไม่สบายจะไม่ต้องเรียกร้องขอดื่มน้ำเย็น แต่ก็ไม่ควรเคร่งครัดถึงกับห้ามดื่มน้ำเย็นเลย เด็กบางคนชอบน้ำเย็นเพราะดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น ดูแลลูกแล้วคุณแม่เองก็อย่าลืมดื่มน้ำนะคะ
ลูกไม่กินผักเป็นปัญหาคลาสสิคทุกบ้าน เวลาลูกไม่กินผักคุณแม่มักจะกังวล กลัวลูกขาดสารอาหารอย่างวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ที่มักจะมีอยู่ในผักและผลไม้ การบังคับ ติดสินบน หลอกล่อ หรือพูดซ้ำซาก ปัญหาที่ตามมาคือลูกต่อต้าน แล้วเราจะทำยังไงดี มีข้อแนะนำมาฝาก 6 ข้อค่ะ 1.อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อย่าให้ลูกรู้สึกว่าการไม่กินผักของเขาเป็นเรื่องซีเรียส การบังคับขู่เข็ญหรือการพยายามเชียร์ลูกมากเกินไป บ่อยไป อาจจะทำให้ลูกแอนตี้ผักไปเลย เพราะผักมาทีไรบรรยากาศเครียด 2.ฝึกตั้งแต่เล็ก ตั้งแต่ลูกยังไม่ถึงวัยปฏิเสธ พออายุลูกเลย 6 เดือนไปแล้ว เป็นเวลาที่คุณแม่จะเริ่มให้ลูกทำความรู้จักกับอาหารอย่างอื่นนอกเหนือจากการให้นมเพียงอย่างเดียว ระหว่างช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีแรก ค่อย ๆ ให้เขาเริ่มทำความรู้จักกับผักทีละชนิดเลือกที่รับประทานง่าย พอคุ้นเคยแล้วค่อยให้เขาได้รับประทานผักหลากหลายชนิด 3.สร้างบรรยากาศการกินผัก บนโต๊ะอาหารต้องมีผักที่ผู้ใหญ่และเด็กรับประทานง่ายด้วย ให้ลูกนั่งโต๊ะอาหารพร้อมคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เล็ก จัดเมนูผักต่าง ๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนให้เขาเห็นและทำความรู้จัก พอเขาโตหน่อยอาจให้เขาลองบ้างไม่บังคับ 4.เป็นตัวอย่างของคนรักผัก คุณพ่อคุณแม่ต้องกินผักด้วย ระหว่างมื้ออาหารคุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยกันเองถึงความอร่อยของผักเป็นการเชิญชวนเขาอย่างหนึ่งโดยไม่ต้องบังคับลูก 5.เมนูมัดใจ ทำอาหารหน้าตาน่ารักน่ารับประทาน ปรับเปลี่ยนเมนูหลาย ๆ…
พ่อแม่รักลูกทุกวันทุกเวลา รักแบบไร้เงื่อนไขด้วยใช่มั้ยคะ ในวันวาเลนไทน์นี้ก็เป็นโอกาสอันดีที่เราจะย้ำเตือนถึงความรักความผูกพันที่มีต่อลูก คุณพ่อคุณแม่ที่แสดงออกน้อยหรือไม่ค่อยพูดตรง ๆ เรามีตั้ง 14 วิธีในการบอกรักลูกเอามาฝากกันค่ะ 1.กอด การกอดเป็นพลังมหัศจรรย์แทนคำบอกรัก เป็นการสื่อสารบอกรักไร้คำพูดจากคุณแม่ การกอดเพียงอย่างเดียวให้ทั้งความรัก ความอบอุ่น ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ช่วยปลอบโยนให้สงบ และให้กำลังใจลูก การกอดสร้างความผูกพันระหว่างกัน งานวิจัยหลายชิ้นบอกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการกอดจะขาดความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่มั่นใจปรับตัวเข้ากับสังคมยาก และมีพัฒนาการช้า กอดลูกบ่อย ๆ นะคะ 2.เล่นกับลูก ไม่ว่าเขาจะเป็นเบบี๋หรือโตแค่ไหนก็ตาม คุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูกได้ตั้งแต่วัยแรกเกิด ดูตามพัฒนาการของเขา การเล่นกับลูกสร้างความรักความผูกพันและสร้างบรรยากาศดี ๆ ต่อกัน ลูกยังเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีผ่านการเล่นด้วยค่ะ อาจจะไม่ต้องอบรมสั่งสอนเขามากนัก ใช้สอนด้วยกิจกรรมสนุกสนานนี่แหละเวิร์ค 3.คุยกับลูก การคุยกันเป็นการสื่อสารสองทาง คุณพ่อคุณแม่พูดกับเขาเขาโต้ตอบหรือเขาเล่าเรื่องให้คุณแม่ฟัง จริง ๆ แล้วผู้ใหญ่คุยกับเด็กได้หลายเรื่องนะคะ เล่าให้เขาฟังถึงเรื่องการทำงานเรื่องความรู้รอบตัวข่าวคราวความเคลื่อนไหวความเป็นไปของโลก เรื่องใกล้ไกลตัวแค่ไหนก็คุยได้ค่ะ เพียงแต่เราเลือกเรื่องที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย เลือกวิธีการพูดคุยให้เป็นเรื่องง่าย ๆ สบาย ๆ ไม่ซีเรียสว่าจะต้องให้องค์ความรู้สาระกันอยู่ตลอดเวลา ลูกจะเบื่อแล้วไม่อยากฟัง 4.ฟังลูกให้มาก การฟังและรับฟังลูกจะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่เข้าใจเขา ให้โอกาสลูกได้พูดหรือเล่าในสิ่งที่ตัวเองอยากจะเล่า เล่าถึงเรื่องที่โรงเรียน…
อาหารมีส่วนช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงได้แม้ในยามเจ็บป่วย ขอแนะนำ 4 เมนูช่วยบำบัดอาการ ไอ เจ็บคอ และมีเสมหะค่ะ 1.ซุปฟักทอง หรือผัดฟักทอง สีเหลืองนวลของเนื้อฟักทองนั้นมีสารเบต้าแคโรทีนที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยทำให้เนื้อเยื่อของเมือกบุในลำคอและทางเดินหายใจมีความแข็งแรง และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย 2.ปลาแซลมอนอบผักรวม วิตามินดีจากไขมันปลาแซลมอนจะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อในลำคอ นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยผักสารพัด คุณแม่อาจปรุงด้วยซูกินี สควอชเหลือง และมะเขือเทศ เพิ่มความเปรี้ยวด้วยน้ำเลมอนก็จะทำให้ไม่เลี่ยนได้ 3.สลัดกรีกอะโวคาโด วิตามินอีในผลอะโวคาโดและอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่ถูกเชื้อโรคทำลายให้แข็งแรง 4.ผลไม้อุดมวิตามินซี ช่วยลดอาการเจ็บคอ เช่น ส้ม สับปะรด เสาวรส มะละกอ แคนตาลูป เงาะ แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี ลิ้นจี่ พุทรา ส่วนเครื่องดื่ม เช่น น้ำมะตูมแก้ร้อนใน ดับกระหาย ชุ่มคอ น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้งบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ ช่วยขับเสมหะ อาหารควรเลี่ยงอาหารประเภททอด หรือของหวาน เช่น กะทิ โค้ก โดนัท ช็อกโกแลต จะกระตุ้นให้ยิ่งมีเสมหะและอาการไอเพิ่มขึ้น