การนอน เป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเบบี๋ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสมอง ค่ะ การนอนกรนดูเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่บางกรณีอาจเป็นอันตรายได้ค่ะ
แล้วลูกเรานอนกรนหรือเปล่า
ถ้ายังไม่แน่ใจ ควรสังเกตการนอนของลูก ดูว่านอนกรนหรือไม่ เพราะจากการศึกษาพบว่า 20 % ของเด็กมีอาการนอนกรน โดย 7 – 10 % มีอาการนอนกรนทุกคืน เด็กหลายคนนอนกรนแต่ก็มีสุขภาพดี แต่พบว่าราว 2% มีปัญหาขณะหลับ คือ มีปัญหาหายใจลำบาก อาจเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น
รู้จักภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea Syndrome : OSAS)
ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นมักเกิดจากช่องคอที่แคบลงและปิดในระหว่างหลับ ทำให้เด็กมีอาการหายใจเสียงดัง หายใจหอบ สะดุ้ง สำลัก เวลาหายใจเข้าหน้าอกจะบุ๋มปกติขณะหลับ
โดยปกติขณะหลับกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกายจะหย่อนตัวลง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจด้วย เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นกล้ามเนื้อคอจะหย่อนตัวมาก ทำให้ช่องคอแคบกว่าปกติจนกระทั่งช่องคอปิด ทำให้เด็กพยายามหายใจเพิ่มขึ้น อาจได้ยินเสียงหายใจดังเฮือกเมื่อเริ่มกลับมาหายใจอีกครั้ง การหายใจเช่นนี้อาจกระตุ้นให้ตื่นเป็นช่วงสั้น ๆ และอาจทำให้หัวใจมีภาวะขาดออกซิเจน
อาการโดยทั่วไป
เด็กจะนอนหลับในท่าทางที่ผิดปกติ กรนเสียงดังและกรนเป็นประจำ จะหยุดหายใจขณะหลับในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วตามด้วยเสียงกรน หายใจหอบ หรือตื่นกลางคืน เหงื่อออกมากขณะหลับ นอนกระสับกระส่าย ปลุกตื่นยาก หลังตื่นนอนอยากจะนอนหลับต่อ ปวดศีรษะระหว่างวันหรือหลังตื่นนอน หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย
ด็กจะนอนหลับในท่าทางที่ผิดปกติ กรนเสียงดังและกรนเป็นประจำ จะหยุดหายใจขณะหลับในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วตามด้วยเสียงกรน หายใจหอบ หรือตื่นกลางคืน เหงื่อออกมากขณะหลับ นอนกระสับกระส่าย ปลุกตื่นยาก หลังตื่นนอนอยากจะนอนหลับต่อ ปวดศีรษะระหว่างวันหรือหลังตื่นนอน หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย
เมื่อโตขึ้นจะมีปัญหานอนหลับยาก มักหลับขณะเรียนหนังสือ ส่งผลต่อการเรียน การเจริญเติบโต มีปัญหาพฤติกรรม ปัสสาวะรดที่นอน อาจมีปัญหาสมาธิสั้นและซนกว่าปกติ เป็นต้น
การรักษา
- ถ้าหากสังเกตว่าลูกมีอาการดังกล่าว ควรปรึกษากุมารแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยว่าลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือไม่
- ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ ซึ่งเป็นวิธีที่บอกได้ว่ามีภาวะนี้หรือไม่ หรือเป็นเพียงนอนกรนธรรมดา ซึ่งการตรวจการนอนหลับจะช่วยให้แพทย์สามารถพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ขอบคุณข้อมูล : ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ www.sleepcenterchula.org