X

ช่วยด้วย…!!! หนูเป็นหวัดลงกระเพาะ

ช่วงนี้ต้องระวังไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดให้ดี ถ้าลูกเกิดการติดเชื้อจนแพร่กระจายไปสู่ทางเดินอาหารหรือทางกระแสเลือด ก็จะทำให้อาเจียน อุจจาระร่วง หรือที่เรียกกันว่า หวัดลงกระเพาะ อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอันตรายมากๆ ค่ะ

ช่วงนี้ต้องระวังไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดให้ดี ถ้าลูกเกิดการติดเชื้อจนแพร่กระจายไปสู่ทางเดินอาหารหรือทางกระแสเลือด ก็จะทำให้อาเจียน อุจจาระร่วง หรือที่เรียกกันว่า หวัดลงกระเพาะ อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอันตรายมากๆ ค่ะ

รู้จักโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบก่อน
หวัดลงกระเพาะ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ที่ทำให้เกิดอาการอาเจียน คลื่นไส้ อุจจาระร่วง ปวดท้อง เบื่ออาหาร และเป็นไข้

สาเหตุที่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ได้แก่
• ส่วนใหญ่มักเกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสโรตา ซึ่งติดต่อทางการหายใจและมักแพร่ระบาดได้เร็วในที่ชุมชน
• เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งปนเปื้อนในอาหาร หรือที่เรียกกันว่า อาหารเป็นพิษ
• เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบที่ลำไส้โดยตรง เช่น เชื้อบิดชิเกลลาและซาลโมเนลลา
• เกิดจากเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นก่อน เช่น ไข้หวัดใหญ่ แล้วเชื้อจากโรคไข้หวัดใหญ่แพร่กระจายไปสู่ทางเดินอาหารหรือทางกระแสเลือด ซึ่งจะทำให้เกิดการอาเจียน และอุจจาระร่วงร่วมกับอาการของไข้หวัดใหญ่ หรือที่เรียกกันว่าหวัดลงกระเพาะนั่นเองค่ะ

ทำไมต้องรีบรักษา
• โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ มักเกิดกับทารกที่กินนมขวด เพราะ นมขวดและอุปกรณ์สำหรับเตรียมนม ไม่ได้รับการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง ถือเป็น โรคที่อันตรายรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อ เกิดกับเด็กทารก เพราะการอาเจียนและอุจจาระร่วงจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำได้อย่างรวดเร็ว

ดูแลอย่างไรได้บ้าง
• งดอาหารและนมในวัยเบบี๋ แล้วให้ลูกดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ ปริมาณน้อยๆ ทุก 15 นาที ถ้าเป็นเด็กโตอาจให้เป็นน้ำอัดลม ผสมเกลือป่นเล็กน้อย
• ให้ลูกนอนพักและเตรียมหากระโถนมาไว้ใกล้ๆ เผื่อลูกอาเจียน
• ให้ลูกล้างมือทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำแล้วเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
• รีบพาลูกไปพบคุณหมอทันทีถ้าลูกมี อาการอุจจาระร่วงและอาเจียนมาก และ เกิน 6 ชั่วโมงยังไม่ดีขึ้น ซึ่งคุณหมอจะให้ลูก นอนพักในโรงพยาบาลถ้ามีอาการมาก อาจต้องมีการ ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปอย่างรวดเร็ว

คำแนะนำ
• ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่ ควรอยู่เฝ้าลูก พร้อมดูแลสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด เช่น ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อขวดนม อุปกรณ์ชงนมทุกชนิด ล้างมือก่อนเตรียมอาหารให้ลูกและหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อม
ทุกครั้ง งดเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำส้ม น้ำสับปะรด เพราะอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อกระเพาะได้อีก เมื่อลูกเริ่มกินได้ควรเตรียมอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ซุป โจ๊ก ข้าวต้มเละๆ และอาหารที่ไม่มีไขมันให้ลูก เป็นต้น

Mother&Care:
Related Post