สถานการณ์ของหมอกควันฝุ่นพิษ PM 2.5 ดีขึ้นเป็นพัก ๆ แต่ก็ยังไม่หมดสิ้นไปซักที เดี๋ยวมีรายงานว่าจังหวัดโน้นจังหวัดนี้ประกันมีฝุ่นหนาตึ้บเด็กเล็ก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง ยิ่งน่าเป็นห่วงเพราะมีโอกาสได้รับอันตรายจากฝุ่นพิษได้มากที่สุด
การให้ลูกสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น ไม่ออกไปอยู่กลางแจ้งในวันที่มีฝุ่นหนาแน่น การใช้เครื่องกรองอากาศ และปิดประตูหน้าต่างบ้านเป็นวิธีป้องกันเด็ก ๆ จากฝุ่นพิษที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนทำได้ แต่หมดที่ว่ามานี้เป็นการป้องกันจากภายนอกค่ะ
การดูแลสุขภาพลูกให้แข็งแรงก็เป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างเกราะป้องกันอันแข็งแกร่งเพื่อต่อสู้กับฝุ่นพิษในอากาศ
คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลร่างกายของร่างกายของลูกให้แข็งแรงอย่างไรได้บ้างมาฟังกันค่ะ
1.กินอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน
นอกจากการให้ลูกกินอาหารครบทั้ง 5 หมู่แล้ว เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารเหล่านี้
วิตามินซี : ผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น บร็อคโคลี คะน้า ปวยเล้ง ฝรั่ง ลิ้นจี่ สตรอว์เบอร์รี ส้ม กีวี มะละกอสุก ฯลฯ
วิตามินอี : อาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น ผักโขม เมล็ดทานตะวัน น้ำมันคาโนล่า มะเขือเทศ มะม่วง ขนุน ทับทิม อะโวคาโด ฯลฯ
กรดไขมันโอเมก้า 3 : มีมากใน ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน กุ้ง หอยนางรม ถั่ว ลูกนัทต่าง ๆ เมล็ดฟักทอง น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่า น้ำมันมะกอก ผักโขม สาหร่ายทะเล ฯลฯ
2.ดื่มน้ำให้พอเพียง
น้ำเป็นตัวช่วยขับของเสียและสารพิษออกจากร่างกายได้ดี โดยจะขับของเสียออกมาทางปัสสาวะและเหงื่อ เด็ก ๆ ควรดื่มน้ำให้พอเพียงในแต่ละวัน โดยเฉลี่ยให้ดื่มตลอดวันยกเว้นใกล้เวลานอน อาจจะ ½ ถึง 1 แก้วบ้าง เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถขับของเสียและสารพิษออกมาอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ
สำหรับผู้ใหญ่แล้วเราแนะนำกันว่าให้ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน ส่วนเด็ก ๆ เรามีสูตรการคำนวณจากองค์การอนามัยโลกมาฝากค่ะ
*ถ้าลูกออกกำลังกาย เล่นซนมาก หรือเล่นกีฬา อย่าลืมให้ดื่มน้ำเพิ่มเพื่อชดเชยส่วนที่เสียไปกับเหงื่อด้วยนะคะ
น้ำหนักตัว (ก.ก.)/2 x 2.2 x30 = … C.C. (1000 C.C. = 1 ลิตร, 1 ลิตร = 5 แก้ว)
สมมติว่ามีน้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม คำนวณดังนี้ 55/2 x 2.2 x 30 = 330 C.C. C.C. = 0.33 ลิตร 1.8 ลิตร = 9 แก้ว
หรือคลิกเข้าไปที่นี่ใส่น้ำหนักตัวเข้าไป จะคำนวณบอกปริมาณเป็นลิตรให้เลย
สถานการณ์ของหมอกควันฝุ่นพิษ PM 2.5 ดีขึ้นเป็นพัก ๆ แต่ก็ยังไม่หมดสิ้นไปซักที เดี๋ยวมีรายงานว่าจังหวัดโน้นจังหวัดนี้ประกันมีฝุ่นหนาตึ้บ เด็กเล็ก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง ยิ่งน่าเป็นห่วงเพราะมีโอกาสได้รับอันตรายจากฝุ่นพิษได้มากที่สุด
การให้ลูกสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น ไม่ออกไปอยู่กลางแจ้งในวันที่มีฝุ่นหนาแน่น การใช้เครื่องกรองอากาศ และปิดประตูหน้าต่างบ้านเป็นวิธีป้องกันเด็ก ๆ จากฝุ่นพิษที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนทำได้ แต่หมดที่ว่ามานี้เป็นการป้องกันจากภายนอกค่ะ
การดูแลสุขภาพลูกให้แข็งแรงก็เป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างเกราะป้องกันอันแข็งแกร่งเพื่อต่อสู้กับฝุ่นพิษในอากาศ
3.ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายของลูกได้ดีทีเดียวค่ะ คุณแม่ดูแลให้ลูกได้ออกกำลังกายเป็นประจำนะคะ ให้เขาได้วิ่ง ซน หรือเล่นกีฬาที่เขาชอบ ช่วงไหนฝุ่นหนาให้ลูกออกกำลังอยู่ในบ้านหรือในอาคาร อย่าเพิ่งออกไปเผชิญฝุ่นจัง ๆ กลางแจ้งค่ะ ให้ช่วยถูบ้านบ้างก็ได้คุณลูกจะได้มีกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวและใช้แรง นอกจากจะเป็นการสร้างกล้ามเนื้อแล้ว ยังช่วยลดปัญหาสุขภาพเช่นภูมิแพ้ลงได้
4.ดูแลความสะอาด
อย่าลืมดูแลความสะอาดร่างกายของลูกด้วย กำจัดฝุ่นไม่ให้ติดตัวเขาเป็นเวลานานเพราะฉะนั้นหลังจากการออกไปนอกบ้านหรือไปโรงเรียนก็ตาม โดยเฉพาะในวันที่มีฝุ่นมาก กลับมาถึงบ้านให้ลูกอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า สระผม รวมทั้งการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
เมื่อดูแลลูกให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เท่ากับว่าคุณแม่ช่วยเสริมเกราะป้องกันฝุ่นพิษให้เขาอีกชั้นหนึ่งค่ะ