X

Child Seatใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

จากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตของเด็กที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และแต่ละปีมีเด็กกว่า 140 คนที่เสียชีวิตจากรถยนต์ส่วนบุคคลโดยเฉพาะช่วงเทศกาลมีอัตราสูงขึ้นทุกปี การติดตั้งที่นั่งนิรภัย อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกน้อยของคุณ

จากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตของเด็กที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และแต่ละปีมีเด็กกว่า 140 คนที่เสียชีวิตจากรถยนต์ส่วนบุคคลโดยเฉพาะช่วงเทศกาลมีอัตราสูงขึ้นทุกปี การติดตั้งที่นั่งนิรภัย อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกน้อยของคุณ

Child Seat แต่ละแบบ

หันหลัง เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด เพราะพบว่า พ่อแม่มักอุ้มเด็กนั่งบนตักของผู้ใหญ่หรือวางที่นั่งนิรภัยบนเบาะของตัวรถ ที่จริงที่นั่งนิรภัยของเด็กเล็ก ตั้งแต่แรกเกิด – 2 ปี หรือน้ำหนักไม่เกิน 12 กิโลกรัม ควรวางไว้ที่เบาะหลังค่อนไปทางด้านใดด้านหนึ่ง (ซ้ายหรือขวา) และให้เด็กนั่งหันหลังให้รถเสมอ

หันหน้า เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2-6 ปี น้ำหนักระหว่าง 9-18 กิโลกรัม โดยให้นั่งเบาะหลังและหันหน้าไปทางด้านหน้ารถตามปกติได้

ที่นั่งเสริม เหมาะกับเด็กอายุ 4-11 ปี น้ำหนักระหว่าง 15-25 กิโลกรัม ที่นั่งประเภทนี้จะช่วยให้การคาดเข็มขัดนิรภัยของรถพอดีกับตัวเด็กยิ่งขึ้นและควรคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา

ความปลอดภัย

• เมื่อลูกนั่งอยู่บนเบาะอย่างถูกต้อง ต้องล็อกประตูที่ป้องกันไม่ให้เด็ก เปิดประตูรถเองจากด้านใน

• ของเล่นพลาสติกชิ้นเล็กหรือวัตถุขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้ควรเก็บให้ห่างมือลูก เพราะอาจเป็นอันตรายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

• ไม่ทิ้งลูกไว้ในรถเพียงลำพังแม้แต่นาทีเดียว

• เตรียมของเล่นที่อ่อนนุ่ม เช่น ตุ๊กตาหรือหนังสือปกอ่อน เปิดเพลง อาจช่วย ให้ลูกนั่งอยู่บนเบาะหลังได้ดี ไม่รบกวนสมาธิในการขับรถของคุณ

• ถ้ามีเด็กโดยสารในรถมากกว่าหนึ่งคน คุณควรแน่ใจว่าเตรียมอุปกรณ์และความปลอดภัยไว้ดีแล้ว

• การใช้โทรศัพท์หรือส่งข้อความขณะขับขี่ อาจทำให้ เสียสมาธิ และอุบัติเหตุที่ คาดไม่ถึงได้ หากคุณต้องใช้โทรศัพท์ หรือใช้งาน ควรจอดรถในที่ปลอดภัยหรือรอให้ถึง จุดหมายก่อน

• ใช้โทรศัพท์แบบแฮนด์ฟรี เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่

แม่ท้อง

ควรใช้เข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา ไม่ว่าจะนั่งอยู่บนเบาะหน้าหรือเบาะหลัง และควรคาดสายเข็มขัดนิรภัยไว้ต่ำโดยพาดบนสะโพกและ กระดูกเชิงกราน อยู่ด้านล่างหน้าท้อง ไม่พาดสายเข็มขัดนิรภัยเหนือหน้าท้อง ขณะที่สายเข็มขัดช่วงไหล่ควรพาด บนหน้าอกและไม่ควรอยู่ด้านหลังโดยเด็ดขาด

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า

“เด็กเป็นผู้โดยสารที่ต้องการความปลอดภัยมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะพวกเขาไม่สามารถปกป้องตนเองได้ การรณรงค์ให้ความรู้พ่อแม่และผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญและวิธีการติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กทุกช่วงอายุอย่างถูกต้อง จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยสำหรับเด็กในการโดยสารรถ และการติดตั้งที่นั่งนิรภัยในรถจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารเด็กให้สูงขึ้นถึง 70 เปอร์เซ็นต์ แนะนำว่า ควรให้เด็กนั่งเบาะนิรภัยที่นั่งด้านหลัง เนื่องจากมีความปลอดภัยมากกว่าการนั่งเบาะที่นั่งด้านหน้าถึง 5 เท่า”

Mother&Care:
Related Post