คุณแม่มือใหม่ต่างคนมีความกังวลกับเสียงหายใจของลูกค่ะ เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นเสียงหายใจปกติหรือเปล่า เสียงหายใจของทารกแรกเกิดจะผิดแผกแตกต่างไปจากผู้ใหญ่ มักจะดูเหมือนว่าเป็นเสียงไม่ปกติเช่นลูกอาจจะหายใจเร็ว หายใจแรง หยุดเป็นช่วงยาว และอาจจะมีเสียงครืดคราด ทำไมทารกช่วงแรกเกิดจึงหายใจแปลก ๆ ทางเดินหายใจเล็ก แล้วถูกปิดกั้นได้ง่าย กระดูกบริเวณผนังหน้าอกยังอ่อนอยู่ ปอดยังทำงานไม่ได้เต็มที่ ยังมีน้ำคร่ำตกค้างอยู่ในทางเดินหายใจ สังเกตอาการผิดปกติ หายใจเสียงวี้ด ๆ ร้องเสียงแหบหรือไอเสียงก้อง หายใจเร็วผิดปกติ กรน หายใจเสียงดังครุป หายใจเสียงคำราม ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรพาลูกไปพบคุณหมอค่ะ
เด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ
สารกันบูดมีอยู่ในอาหารหลายประเภท คุณแม่อาจนึกไม่ถึงหรือลืมนึกไปว่าอาหารประเภทนี้ก็ใส่สารกันบูดกับเขาด้วย สารกันบูดหรือสารกันเสียมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ค้าขายอาหาร เพราะช่วยยืดอายุอาหารให้อยู่นาน บูดเสียช้า ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อกำหนดเอาไว้ว่าไม่ให้ใส่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มีการใส่สารกันบูดในอะไรบ้าง อาหาร : เช่น ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ผักดอง หมูยอ อาหารประเภทแฮม ไส้กรอก น้ำพริก ฯลฯ ขนม : เช่น ขนมปัง โดนัท เยลลี่ แยม ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้อบแห้ง ข้าวเกรียบกุ้ง ขนมเปี๊ยะ โรตีสายไหม ขนมแบบแห้ง ฯลฯ เครื่องดื่ม : น้ำอัดลม น้ำหวาน *อาหารบางอย่างก็ใส่สารกันบูดมากกว่า 1 ชนิด รวมแล้วอาจจะเกินกำหนด
*ถ้ารอบตัวลูกมีแต่อาหารที่ใส่สารกันบูดให้เลือกรับประทาน ก็เท่ากับว่ามีโอกาสรับปริมาณสารกันบูดเกิน อันตรายถ้ากินสารกันบูดเกิน เกิดอาการแพ้…
งานวิจัยจาก Trieste and the University of Padua ที่ตีพิมพ์ใน Scientific Reports เผยว่า ทารกในครรภ์อายุตั้งแต่ 18 สัปดาห์ขึ้นไปจะเคลื่อนไหวโดยใช้มือข้างที่ถนัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมือขวา งานวิจัยรายงานว่าความถนัดซ้ายหรือขวาของลูกนั้นถูกกำหนดมาตั้งแต่ในครรภ์ นักจิตวิทยาพัฒนาการแนะนำว่า อย่าพยายาม “แก้ไข” ความถนัดซ้ายของลูก เพราะจะส่งผลให้สมองของลูกทำงานหนักขึ้น มีโอกาสเกิดปัญหาในการเขียน การใช้กรรไกร หรือมีด และเล่นกีฬาได้ไม่ดี รวมไปถึงเหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องมาจากความถนัดซ้ายหรือขวาของเด็ก ๆ เกี่ยวข้องกับการบริการจัดการและการทำหน้าที่ของสมอง สมองซีกซ้ายและซีกขวา นั้นมีหน้าที่ควบคุมการทำงานและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ข้อแนะนำ ถ้าลูกยังไม่แสดงให้เห็นการใช้มือข้างที่ถนัดภายในอายุ 2 ปี พยายามให้เขาหยิบจับสิ่งของโดยใช้มือทีละข้าง และอย่าสั่งให้ลูกใช้ช้อนหรือปากกาด้วยมือข้างใด แต่ปล่อยให้เขาได้เลือกข้างที่ถนัดด้วยตัวเอง เมื่อลูกแสดงให้เห็นว่าถนัดมือข้างไหน พยายามหากิจกรรมให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อมือข้างนั้นด้วยจะดีที่สุดค่ะ
การนอนสะดุ้งเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยอัตโนมัติ (Reflex) ของเด็กทารกทุกคนเป็นปกติ แค่มีเสียงดังหรือบริเวณที่นอนอยู่มีการสั่นสะเทือนเบาๆ ลูกจะมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วยการขยับแขนขาในทันที ดังนั้นเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น เช่น เสียงพูดคุยหรือเปิดประตู ก็อาจทำให้ลูกสะดุ้งตกใจได้ เมื่อลูกโตขึ้นปฏิกิริยาเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ หายไปเองค่ะ
หากคุณแม่กังวลว่าลูกนอนนานไม่ตื่นขึ้นมากินนมสักที คงต้องสังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกค่ะ ถ้าลูกนอนสบาย เป็นปกติดีไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องกังวลหรือปลุกให้ลุกขึ้นมากินนมทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง อาจยืดหยุ่นช่วงเวลาการกินกันได้ ตามความเหมาะสม การที่ลูกนอนนานถ้าไม่นานจนรู้สึกว่าผิดปกติมากก็ไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปค่ะ หรือถ้าคุณแม่ยังไม่คลายความกังวลอาจปรึกษาคุณหมอ ร่วมกับการสังเกตการเจริญเติบโต น้ำหนักตัวกับปริมาณการกินของลูก ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ หากมีปัญหาจะได้ดูแลแก้ไขทัน
ช่วงแรกเกิดวงจรการนอนของเด็กจะสั้นกว่าผู้ใหญ่ ทำให้ทารกตื่นบ่อย ทำให้ลูกหลับได้นาน รวมทั้งกระเพาะของลูกก็ยังเล็ก ทำให้ย่อยเร็ว ตื่นมากินนมทุก 2-3 ชั่วโมงในช่วง 3 เดือนแรก อีกทั้งเด็กแต่ละคน ก็มีรูปแบบการนอนที่แตกต่างกัน บางคนนอนทั้งวันไม่ตื่น หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ ทั้งวันทั้งคืนก็เป็นไปได้ แต่เมื่อลูกโตขึ้นวงจรการนอนจะนานขึ้น ทำให้เห็นได้ว่าลูกหลับลึกโดยไม่แสดงท่าทีว่ารู้สึกตัวตื่นด้วยการขยับหรือบิดตัวได้นานมากขึ้น สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือ ให้ลูกเรียนรู้เรื่องเวลากลางวันและกลางคืนตั้งแต่หลังคลอด ด้วยการสร้างบรรยากาศการนอน เช่น กลางวัน ควรให้ห้องนอนหรือห้องที่ลูกอยู่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่ปิดทึบหรือมืด ส่วนกลางคืน แสงไฟในห้องไม่ควรสว่างจ้า จนไปรบกวนการนอนของลูก
สังเกตไม่ยาก วันไหนคุณแม่รู้สึกร้อนอึดอัด ไม่สบายตัว ทารกก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ถ้ามีเหงื่อออกแสดงว่าร้อน อาจลองแตะที่ซอกคอดู ถ้ามือเท้าเย็น ผิวตัวลูกลายเป็นตาข่ายแสดงว่าหนาว เมื่อโตขึ้น เบบี๋จะแสดงท่าทางสื่อสารได้ว่าต้องการอะไร ควรสังเกตว่าลูกต้องการจะบอกอะไรกับคุณแม่ ปัญหาการไม่ยอมนอนของลูกนั้นคุณแม่ลองสังเกตดูว่ามาจากสาเหตุใด ส่วนใหญ่มาจากคุณแม่ยังไม่ได้จัดการเรื่องเวลานอนของลูกค่ะ มีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก ควรให้ลูกนอนกลางวันเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะช่วงแรกเกิด หากลูกนอนเกิน 3 ชั่วโมงควรปลุกให้ตื่น ถ้าลูกไม่หิวไม่เป็นไร อาจหากิจกรรมเรื่องเล่นให้ลูก เพื่อให้ลูกนอนกลางวันน้อยลง สามารถหลับในตอนกลางคืนได้มากขึ้น ในเวลากลางคืนควรสร้างบรรยากาศการก่อนนอน เช่น ทำให้ห้องนอนสงบ เปิดเพลงเบาๆ และลดกิจกรรมที่ตื่นเต้นก่อนนอน หรือเปิดไฟน้อยดวงเท่าที่จำเป็นหากต้องลุกขึ้นมาดูแลลูกในตอนกลางคืน เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยเปลี่ยนมานอนตอนกลางคืนได้ดีขึ้นค่ะ
ถ้าลูกร้องตื่น ควรดูแลแก้ไขตามสาเหตุนั้น ๆ เช่น ลูกเจ็บป่วย ชื้นแฉะ ไม่สบายตัว ทำให้ลูกต้องงอแงร้องไห้ ตื่นขึ้น แต่หากการร้องของลูกเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ในตอนกลางคืน รอดูสักพัก การรีบเข้าไปอุ้ม เปิดไฟให้สว่าง หรือให้นมมื้อดึก จะทำให้ทารกร้องให้อุ้มทุกครั้ง ลองให้ลูกได้หลับต่อเอง หรือปลอบโยนด้วยการแตะหรือตบก้นเบา ๆ เพื่อให้ลูกรู้ว่าคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ
ในบางเวลาอากาศเอาแน่เอานอนไม่ได้คุณแม่อาจสงสัยว่าตอนนี้ลูกน้อยสวมเสื้อผ้าอบอุ่นพอหรือยังหรือว่าเขาจะร้อนเกินไปนะ จะสังเกตอย่างไรดี ทารกเกิดใหม่ ร่างกายเคยชินกับความอบอุ่นในท้องแม่มาโดยตลอด เมื่อออกมาลืมตาดูโลกควรจัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับของเดิมเป็นดีที่สุด อยู่ในบ้านหรือนอกบ้าน ก็จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นเข้าไว้ ทารกที่โตหน่อย เริ่มชินกับสภาวะแวดล้อมแล้ว เมื่ออยู่ในบ้านก็ไม่ต้องสวมเสื้อผ้าหลายชั้นเหมือนเวลาออกไปนอกบ้าน อย่าลืมสวมหมวกให้ลูกทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน เพราะศีรษะเป็นอวัยวะที่บอบบาง รับรู้ร้อนหนาวได้เร็ว และอาจทำให้ไม่สบายได้ ช่วงปลายรู้สึกหนาว เบบี๋อาจร้องงอแง แต่ถ้าลูกรู้สึกร้อนเกินไปจะง่วงและนอนทั้งวัน เพราะไม่กวน คุณพ่อคุณแม่จึงไม่รู้ว่า เขากำลังไม่สบายตัวอยู่ สังเกตไม่ยาก วันไหนคุณแม่รู้สึกร้อนอึดอัด ไม่สบายตัว ทารกก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ถ้ามีเหงื่อออกแสดงว่าร้อน อาจลองแตะที่ซอกคอดู ถ้ามือเท้าเย็น ผิวตัวลูกลายเป็นตาข่ายแสดงว่าหนาว เมื่อโตขึ้น เบบี๋จะแสดงท่าทางสื่อสารได้ว่าต้องการอะไร ควรสังเกตว่าลูกต้องการจะบอกอะไรกับคุณแม่
โรคสมาธิสั้นมีสาเหตุและวิธีดูแลรักษาอย่างไรมาดูกันค่ะ สาเหตุของสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้นเกิดจากความผิดปกติของสมอง คือ มีปริมาณสารเคมีบางตัวในสมอง (Dopamine, Noradrenaline) น้อยกว่าเด็กปกติ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ การได้รับพิษสารตะกั่ว การสูบบุหรี่ของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนอื่นระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น ส่วนการเลี้ยงดู การดูทีวี การเล่นเกมส์ไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงของโรคสมาธิสั้น แต่อาจส่งผลให้อาการสมาธิสั้นมากขึ้นได้ การดูแลรักษาเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น เป้าหมายของการรักษาโรคสมาธิสั้นคือการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตัวเองให้มีความตั้งใจเรียนและทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งอาจต้องได้รับการรักษาหลายด้านร่วมกัน 1.การรักษาด้วยยา 2.การปรับพฤติกรรมและการช่วยเหลือด้านจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว เช่น จัดทำตารางเวลากิจกรรมในแต่ละวัน สั่งงานทีละขึ้นตอน ให้เด็กพูดทวนคำสั่ง จัดหาสถานที่ที่เหมาะสมในการทำการบ้านโดยไม่มีสิ่งรบกวน ลดการลงโทษหากพฤติกรรมที่ไม่ดีเกิดจากอาการของโรค และเพิ่มการชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมดี เป็นต้น 3.การดูแลจากทางโรงเรียน เช่น จัดที่นั่งใกล้โต๊ะครู ห่างจากประตู หน้าต่าง เขียนการบ้านบนกระดานให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการสั่งงานด้วยวาจา ตรวจสมุดจดงานว่าทำงานได้ครบถ้วนหรือไม่ หากเด็กหมดสมาธิอาจจัดกิจกรรมเพื่อเปลี่ยนอิริยาบท เช่น ช่วยลบกระดานดำ หรือแจกหนังสือ เป็นต้น หากสงสัยว่าเด็กมีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมค่ะ ข้อมูลจาก : พญ.กุลนิดา เต็มชวาลา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น…