ปัญหาสุขภาพช่องปากก็เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ อย่ากังวลใจ มาดูว่าปัญหาตรงกับเราไหม และแก้ไขอย่างไรกันดีกว่าค่ะ
คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
บ่อยครั้งที่พบว่า ผู้หญิงเรารู้สึกกังวลใจกับความเปลี่ยนแปลงเมื่อเป็นคุณแม่พุงโต แล้วอะไรล่ะที่ทำให้เป็นเช่นนั้น จะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไรมาดูกันค่ะ
เมื่อคุณตั้งใจและพยายามเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่แต่กลับประสบปัญหา ทั้งเรื่องความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ และความไม่กล้าในบางอย่าง คุณเพียงคิดไปเองหรือเปล่า มีคำตอบดีๆ เรื่องนมแม่มาบอกค่ะ 1) เคสน้ำนมมีน้อย หากเต้านมของคุณแม่ได้รับการกระตุ้น คือลูกดูดมากเท่าใดก็มีปริมาณน้ำนมมากเท่านั้น เพราะการดูด เป็นการกระตุ้นกลไกการผลิตน้ำนมให้ทำงาน ดังนั้น การเพิ่มปริมาณน้ำนมของคุณ ต้องให้ลูกดูดให้บ่อยขึ้น ถ้ามีปัญหาที่ลูกดูดนมจากเต้าแม่ไม่ได้ หรือดูดได้ไม่ดีพอ คุณแม่ต้องใช้ เครื่องปั๊มนมที่มีประสิทธิภาพดีพอ (หรือบีบนมด้วยตัวเองก็ได้ แต่ต้องบีบให้ถูกวิธี บีบให้หมดเต้า) จะช่วยกระตุ้นการผลิตนมของคุณแม่ได้มาก 2) เคสน้ำนมไม่ออก เมื่อน้ำนมไม่ออก กลัวลูกไม่อิ่มท้อง แม่ๆ ก็ใช้นมผสมให้ลูกกิน พอลูกได้รับนมผสม เขาอาจไม่กลับมาดูดหัวนมแม่อีก เหตุนี้จึงทำให้น้ำนมนั้นหายไปจริงๆ และการดื่มน้ำน้อยหรือใส่ยกทรงที่รัดแน่นไป ก็ทำให้น้ำนมไม่มาเท่าที่ควรได้ ฉะนั้น คุณแม่ต้องทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด ดื่มน้ำ ให้มากพอ ทำความสะอาดเตรียมหัวนม เต้านม ให้พร้อมที่จะให้ลูกอยู่เสมอ ถ้าลูกยังดูดไม่ออก ต้องดูว่าหัวน้ำนมตันหรือไม่ ก็ต้องหาวิธีรักษาแบบถูกต้องต่อไปค่ะ 3) เคสลูกไม่ยอมดูด ต้องสังเกตค่ะ ว่าลูกคุณแม่ดูดถูกวิธีหรือไม่ เพราะสาเหตุของปัญหาส่วนใหญ่ คือท่าทางการดูดไม่ถูก ทำให้ดูดแล้วไม่ได้น้ำนม เมื่อไม่ได้น้ำนมลูกก็หงุดหงิดและปฏิเสธเต้าแม่ ทำให้แม่เข้าใจผิดว่าไม่มีน้ำนม ทั้งที่แม่มีนมอยู่เต็มเต้า…
ช่วงใกล้คลอด รู้สึกว่าตัวเองนอนไม่ค่อยหลับ เพราะรู้สึกอึดอัดตัวเอง มีวิธีไหนช่วยได้ไหมคะ สตรีขณะตั้งครรภ์ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากตามอายุครรภ์ เฉลี่ยตลอดการตั้งครรภ์ น้ำหนักจะขึ้นประมาณ 11-16 กิโลกรัม ดังนั้นขณะตั้งครรภ์ ควรควบคุมอาหารเพื่อไม่ให้น้ำหนักมากผิดปกติ เพราะยิ่งน้ำหนักเพิ่มมากเกินไปขณะ ใกล้คลอด คุณแม่อาจจะมีอาการอึดอัดมากกว่าคุณแม่ที่น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ แต่ถึงแม้มีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์แล้วคุณแม่ยังมีอาการอึดอัดตัวเองและนอนไม่ค่อยหลับนั้น มีเทคนิคช่วยคุณแม่ให้หลับสบายดังนี้ค่ะ คุณแม่ควรเลือกชุดนอนที่สวมใส่แล้วสบายตัว 2 รับประทานอาหารเย็นตั้งแต่หัวค่ำ เลือกอาหารอ่อน ย่อยง่าย เพื่อให้อาหารย่อยก่อนนอน นอนตะแคง มีหมอนหนุนหลัง หรืออาจจะนอนหมอนสูงเล็กน้อยเพื่อให้สบายตัวค่ะ แต่ถ้าคุณแม่รู้สึกอึดอัดมาก หายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ควรมาปรึกษาหมอเพื่อค้นหาโรคที่อาจจะเป็นอันตราย เช่น โรคปอด หรือโรคหัวใจ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้นอนราบไม่ได้ หรือหายใจไม่สะดวก เป็นต้น
เวลามีใครถามถึงสิ่งที่แม่ๆ เคยรู้ เคยได้ยิน แต่กลับนึกชื่อ นึกคำตอบนึกสิ่งที่ควรจำได้ไม่ออกสักที เหมือนติดอยู่ที่ปาก จนรู้สึกเคืองตัวเองบ้างไหม ถ้าเคย ลองหันมาบริหารสมองให้จดจำดีแบบที่ รอน ไวท์ แนะนำกับ Einstein Memory สิคะ 1. Focus ชี้เฉพาะเจาะจงในสิ่งที่คิด ต้องโฟกัสเฉพาะสิ่งที่ต้องการจะรู้ โดยใช้สติ ตั้งใจ จดจ่อกับสิ่งนั้น เช่น อยากจะจำชื่อคนนี้ ก็ต้องถามตัวเองเสมอว่าเขาชื่ออะไร พอเขาบอกชื่อมาก็ให้จดจ่อกับชื่อนั้นมากกว่าจะไปทำอย่างอื่น เช่น ขอนามบัตร ขอเบอร์ หรือถ้าอยากจะอ่านหนังสือให้จำแม่นๆ ก็ต้องใช้นิ้วชี้ไล่ไปตามตัวอักษรทีละประโยค ทีละบรรทัดเป็นรูปตัวเอส สมองก็จะจำได้ดี 2. Files จัดระเบียบสมองอย่างเป็นระบบ จัดระเบียบสมองให้จดจำข้อมูลเป็นระบบ โดยเขียนแบบแผนที่ Mind Map เริ่มจากตรงกลาง แล้วแตกแขนงออกไปในแต่ละสาขา จากนั้นให้แตกกิ่งก้านออกไปเรื่อยๆ ตามแนวความคิดในทิศทางเดียวกัน ตอนเขียนก็ให้ใช้สีคนละสีนะคะ จะได้ช่วยจัดระเบียบความจำของสมองได้ดี 3. Glues ใส่อารมณ์ความรู้สึกร่วมเข้าไป ขอตั้งชื่อ ‘กาวแห่งความจำ’ เพราะสิ่งที่ทำให้จดจำได้ดี คือ อารมณ์ ความรู้สึก…
ความผูกพันของแม่ลูก มีตั้งแต่ลูกเริ่มมีชีวิตตอนอยู่ในท้อง ยิ่งนานวัน ความรักความผูกพัน สายใยความแม่ลูก ยิ่งแน่นขึ้น นอกจากจิตใจที่ผูกพันกันแล้ว เรื่องของกลไกร่างกาย ก็มีผลต่อความสัมพันธ์ และพัฒนาการของลูกด้วยค่ะ 1) ถุงน้ำคร่ำ สิ่งแวดล้อมในถุงน้ำคร่ำ คือการเคลื่อนไหวของน้ำคร่ำรอบตัวลูก จากการที่ลูกกลืนเข้าไป และถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะตลอด เหมือนมือแม่ลูบไล้เล่นกับลูกในท้อง ช่วยพัฒนาระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมลูกให้ใช้ระบบประสาทสัมผัสเมื่อออกมาสู่โลกภายนอกได้ 2) น้ำหนักตัวลูก เมื่อน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นลูกก็จมลงสู่ฐานมดลูก ผิวลูกกับผิวด้านในของมดลูกจะสัมผัสกัน จึงช่วยกระตุ้นพัฒนาการระบบประสาทสัมผัส เพิ่มเส้นใยประสาทด้านรับความรู้สึก และช่วงท้อง 18 สัปดาห์ขึ้นไปลูกก็รับรู้ได้ จึงเล่นกับลูกในท้องได้ เพราะเซลล์สมองเติบโตขยายตัว เส้นใยประสาทก็แผ่ขยาย 3) การเคลื่อนไหวของแม่ ขณะเคลื่อนไหว ลูกจะเอนไป-มาตามจังหวะของแม่ ผิวลูกจะสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก จึงพัฒนาระบบประสาทรับความรู้สึกด้วยการเล่นกับลูกในท้อง ส่วนนี้ แม่ๆ สามารถสร้างความเคลื่อนไหวร่างกาย เล่นกับเบบี๋ได้ค่ะ ลูกสนุกและชอบใจแน่นอน :)
ด้วยเป็นแม่มือใหม่ เพิ่งตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ ทว่าที่บ้านจะมีเรื่องความเชื่อที่ห้ามทำนู่นนี่นั่น รู้สึกว่ากดดัน เครียดเล็กน้อย และทำตัวไม่ถูก เพราะไม่แน่ใจว่าจะมีผลกับลูกมากน้อยแค่ไหน อยากปรึกษาคุณหมอค่ะ ว่าจะพูดคุยกับคนในครอบครัวอย่างไร และต้องทำอย่างไรดี ขอเริ่มต้นจากการนับจำนวนเดือนของการตั้งครรภ์ และวันกำหนดคลอด คือนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย เช่น วันที่ 15 กรกฎาคม เมื่อถึงวันที่ 15 สิงหาคม คือตั้งครรภ์ครบ 1 เดือน และกำหนดคลอดก็จะนับไปอีก 9 เดือน แล้วบวก 7 วัน คือวันที่ 22 เมษายน ในปีถัดไป ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ และส่วนใหญ่ในท้องแรกมักจะเจ็บท้องประมาณ 39 สัปดาห์กว่าๆ ส่วนความเชื่อโบราณนั้น บางอย่างยังพอสามารถนำมาปรับใช้ได้ บางอย่างก็อาจไม่ควรนำมาใช้ เช่น 3 ความเชื่อดังนี้ 1) ห้ามผู้หญิงตั้งครรภ์เอื้อมหยิบสิ่งของที่อยู่ห่างออกไป ตั้งแต่โบราณมา อาจมีส่วนถูกต้องในคนตั้งครรภ์ท้องใหญ่ เพราะเวลาเอื้อมหยิบของ ศูนย์ถ่วงบริเวณท้องได้เปลี่ยนไป อาจทำให้หกล้มได้ง่าย 2) ห้ามหญิงตั้งครรภ์ดื่มโอเลี้ยงหรือกาแฟดำไม่เช่นนั้นลูกจะคลอดออกมามีผิวสีดำ…
หัวใจน้อยๆ ที่อยู่ในท้องคุณแม่ รับรู้ทุกๆ อิริยาบทของคุณแม่ ความรู้สึกของแม่ก็มีผลต่อความรู้สึกของลูกเช่นกันค่ะ เช่นแม่เศร้า ลูกก็เศร้า แม่มีความสุข ลูกก็มีความสุข เรียกว่า เป็นเลือดเนื้อเดียวกันเลยทีเดียว การเคลื่อนไหวของแม่ ลูกน้อยก็จะเอนไปมา ตามจังหวะของแม่ ผิวลูกจะสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก จึงพัฒนาระบบประสาทรับความรู้สึกด้วยการเล่นกับลูกในท้อง จึงเป็นกิจกรรมที่น่าลอง ขอยกตัวอย่างการเล่น เช่น 1) การเล่นเก้าอี้โยกเยก วิธีเล่น เลือกเก้าอี้โยกที่แข็งแรง แล้วนั่งโยกตัวไป-มาช้าๆ ขณะโยกเก้าอี้ ลูกจะถูกโยกตัวเอนไปตามทิศทางของการโยก การเล่นกับลูกในท้องนี้จะช่วยให้สมองลูกเกิดการเรียนรู้ว่าเมื่อโยกไปข้างหน้า แล้วต้องกลับมาข้างหลังเสมอ ลูกจะเริ่มปรับตัวได้ แล้วตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมนั้นในเวลาต่อมา โดยเมื่อโยกเก้าอี้ไปข้างหน้า ลูกจะเริ่มรู้จักเกร็งตัวต้านแรงโยกไปข้างหลัง เพื่อพยุงตัวให้ลอยอยู่ตรงกลาง น้ำคร่ำจะเป็นตัวช่วยให้ลูกลอยตัวเล่นสนุกได้ง่ายๆ แถมการได้เคลื่อนไหวบ่อยๆ ยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ และการทรงตัวของลูกให้พลิกคว่ำพลิกหงายได้เร็วช่วงหลังคลอด 2) อ่านหนังสือ ร้องเพลง ฟังเพลง วิธีเล่น เลือกเวลาสบาย ก่อนนอนก็ได้ อ่านหนังสือนิทาน ร้องเพลง คุยกับลูก หรือจะเปิดเพลงสบายๆ ให้ลูกฟัง ให้ลูกได้ฟังเสียงคุณแม่ คุณพ่อ คุ้นชินกับเสียงไปเรื่อยๆ ลูกจะได้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย มีผลต่อลูกยามเมื่อคลอดออกมาด้วยนะคะ เพราะลูกจะจำเสียงที่เขาได้ยินอยู่ทุกวันได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณแม่อายุครรภ์…
สำหรับการเป็นแม่แล้ว ย่อมมีคำถามมากมาย ทั้งเรื่องตัวเองและลูกเสมอ โดยเฉพาะแม่มือใหม่กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มักจะระวังเป็นพิเศษ เรามีข้อมูลน่ารู้เรื่องอาหารการกินที่ผ่านทางน้ำนมของคุณแม่มาบอกต่อค่ะ กลไกการย่อยอาหาร เมื่อแม่กินอะไรลูกก็ได้รับสารอาหารแบบนั้นเช่นกัน เป็นคำกล่าวที่เราเข้าใจเสมอมา คุณแม่อยากรู้ไหมคะว่า กลไกการทำงาน การลำเลียงอาหารจากแม่ไปสู่ลูกเป็นเช่นไร คำตอบของ เรื่องนี้คือ อาหารที่แม่กินเข้าไปจะส่งถึงลูกก็ต่อเมื่อย่อยเสร็จแล้ว และร่างกายก็ดูดซึม เข้าสู่ร่างกายไปตามอวัยวะต่างๆ อาหารแต่ละชนิดมีเวลาในการย่อยและ ดูดซึมต่างกัน อาหารที่ย่อยยาก หมายถึงอาหารที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยนาน กว่าร่างกาย จะเริ่มนำอาหารไปใช้ได้ ก็ประมาณ 4-6 ชั่วโมงแรก หลังจากการกิน ถ้าเป็นอาหารที่ย่อยง่าย หรืออาหารหวานๆ บางประเภท ร่างกายจะ ดูดซึมนำไปใช้ได้เร็วสำหรับอาหารที่เข้ามาในร่างกายแล้ว สามารถอยู่ในร่างกายเราได้นานเกิน 24 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าคุณแม่สงสัยว่าลูกอาจจะเกิดอาการ แพ้อาหาร (เช่น นมวัว) ก็ควรจะงดอาหาร ชนิดนั้น และสังเกตอาการลูกน้อย อย่างน้อย 2 สัปดาห์ค่ะ ระวัง…อาหารที่ส่งต่อลูก เพราะพบว่า การที่คุณแม่อมข้าว เป่าข้าว หรือเคี้ยวอาหารให้ลูกนั้น เป็นการส่งผ่านเชื้อแบคทีเรียให้เด็กๆ ได้ เพราะในน้ำลายของผู้ใหญ่มีแบคทีเรีย ทั้งชนิดดีและชนิดก่อโรคอยู่แล้ว นอกจากเชื้อแบคทีเรียยังมี เชื้อไวรัสต่างๆ อีกมาก เช่น…
สังเกตว่า พอแปรงฟันแล้วบ้วนปากเลือดออกตามไรฟัน ควรเช็กสุขภาพไหมคะ ไม่ทราบว่าจะมีผลกับการตั้งครรภ์หรือไม่อย่างไร การตั้งครรภ์นั้นจะทำให้มีฮอร์โมนเพศหญิงสูงขึ้น และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายต่างๆ ตามมา ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุของช่องปาก ฮอร์โมนที่มากขึ้นนั้นจะทำให้เส้นเลือดที่อยู่ใต้เหงือกมีการขยายตัว ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเลือดออกจากเหงือก, เหงือกบวม-แดง-ปวด, เหงือกอักเสบ, หรือเกิดเป็นแผลได้ ส่วนการอักเสบที่เหงือกอยู่ก่อนแล้ว การตั้งครรภ์มักจะทำให้มีการอักเสบมากขึ้น และจะดีขึ้นหลังคลอด สาเหตุอื่นๆ ที่อาจเป็นปัจจัยร่วมของอาการข้างต้นนั้นไม่แน่ชัด แต่อาจเป็นไปได้ว่าฮอร์โมนเพศหญิงที่สูงขึ้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมในช่องปากอันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของค่ากรด-ด่าง ใน ช่องปาก และการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นด้วยซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจนำไปสู่การอักเสบใน ช่องปาก และการเกิดฟันผุได้ ดังนั้นการที่มีภาวะเลือดออกจากเหงือกในระหว่างตั้งครรภ์ หรือหากมีเหงือกอักเสบและได้รับการรักษานั้นจะไม่มีผลกับการตั้งครรภ์ สำหรับคำแนะนำผู้ที่มีอาการเลือดออกจากเหงือก หรือเหงือกอักเสบระหว่างตั้งครรภ์นั้น คือให้รักษาสุขภาพและความสะอาดในช่องปากให้เป็นอย่างดี แปรงฟันบ่อยขึ้น และการใช้ไหมขัดฟันมีความสำคัญมาก หากอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นมากควรปรึกษาทันตแพทย์ให้ช่วยดูแล