วัย 1-3 ปีเป็นวัยที่ลูกกำลังพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง และพฤติกรรมหนึ่งที่คุณแม่ไม่ชอบใจเลยก็คือการกรี๊ดของลูกน้อย รวมทั้งอาการเอาแต่ใจลงไปร้องดิ้น พระคุณลูกกรี๊ดคุณแม่โกรธบรรยากาศก็จะตึงเครียด มาดูวิธีรับมือกับลูกวัยกรี๊ดกันค่ะ 1.เตรียมใจลูกก่อนเจอกับสถานการณ์ คุณแม่สังเกตดูว่าลูกมักจะกรี๊ดเมื่อไหร่ด้วยเหตุผลอะไร เช่น พาไปเที่ยวห้างแล้วไม่ซื้อของเล่นให้จะร้องดิ้น ควรทำความตกลงกันก่อน 2.เบี่ยงเบนความสนใจ หรือหาสิ่งที่สนุกกว่ามาหลอกล่อ เช่น พาลูกออกไปเล่นที่สนามเด็กเล่น แล้วลูกเล่นเพลินไม่ยอมเลิก อาจจะบอกเขาว่าน่าเสียดายจัง ถ้าไปช้าอดกินขนมร้านโปรด 3.ฝึกให้ลูกสื่อสารอย่างเหมาะสม อาการกรี๊ดเกิดจากไม่ได้ดั่งใจและยังเกิดจากการที่เด็กไม่รู้ว่าจะพูดหรือจะบอกอย่างไร คุณแม่ค่อย ๆ สอนเขาค่ะ ว่าถ้าต้องการอะไรให้พูดอย่างไร สอนให้เขาบอกความรู้สึกต่าง ๆ เสียใจ โกรธ ไม่ชอบ ไม่อยากทำ กลัว ฯลฯ 4.ทำใจให้สงบ ไม่โกรธ อาจจะนับ 1-10 หรือนับไปเรื่อย ๆ ค่ะคุณแม่ การที่คุณแม่ไม่โกรธ สถานการณ์จะดูคล้ายกับว่าคนหนึ่งโกรธและหาคนทะเลาะด้วยไม่ได้ก็จะสงบลงไปเองคุณแม่ยิ่งโกรธยิ่งบานปลายเพราะฉะนั้นสงบนิ่งเลยค่ะ 5.ปล่อยให้กรี๊ด ถ้าลูกร้องกรี๊ดหรือลงไปร้องดิ้นเพราะความเอาแต่ใจ คุณแม่ปล่อยเขาเต็มที่เลยค่ะ เมื่อลูกเห็นว่าวิธีนี้ไม่ได้ผลก็จะเลิกไปในที่สุด แต่คุณแม่ต้องคอยดูให้อยู่ในสายตาด้วยนะคะ นอกจากใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อลดอาการกรี๊ดของลูกแล้ว…
Knowledge
ความรู้ ทั้งอัพเดท และ How to การเลี้ยงดูลูก รวมถึงการดูแลตัวเอง ฉบับคุณแม่ คุณพ่อ ยุคใหม่ ที่ครบคลุมตั้งแต่ ช่วงตั้งครรภ์ จนถึง ลูกอยู่ในวัยประถม
Q เวลาห้ามลูกอย่างเช่น หยุดเล่นก่อนนะเดี๋ยวค่อยเล่นต่อ หรือน้องเล่นกับพี่แรงเกินไปแม่บอกให้หยุดก็ไม่หยุดยิ่งพูดเหมือนยิ่งยุ จะมีวิธีจัดการอย่างไร ? A : ประเด็นแรกก็คือถ้าพูดแล้วลูกไม่เชื่อฟัง เวลาตัวเราจะสั่งหรือบอกลูกให้ทำตามเรามีความสม่ำเสมอหรือเปล่า ถ้าแต่ละวันไม่เหมือนกัน ลูกก็จะรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าต้องการให้ลูกทำตามคำพูดพ่อแม่ต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา คุณพ่อคุณแม่ควรจะไปในทิศทางเดียวกันด้วย คุณแม่บอกไปซ้ายทั้งพ่อและแม่ควรจะต้องบอกไปซ้ายด้วยกัน จังหวะในการบอกก็สำคัญ ถ้าลูกกำลังสนุกสนานเพลินอยู่กับการเล่น กำลังมีความสุขอยู่ดี ๆ พ่อแม่มาขัด เด็กปรับสภาพจิตใจไม่ทัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องให้เวลาเขา เช่น ลูกกำลังเล่นกันเสียงดังสนุกสนาน คุณแม่อาจจะพูดด้วยเสียงอ่อนโยนกับลูกว่าไหนกำลังทำอะไรกันคะ ลูกก็จะค่อย ๆ ปรับจิตใจ ปรับอารมณ์ได้ ถ้าเราฝึกให้ลูกค่อย ๆ ปรับอารมณ์ลูกก็จะชินกับสภาวะที่ไม่ต้องดื้อชินกับสภาวะที่ไม่ต้องกระแทกอารมณ์ แสดงความ หงุดหงิดหรืออารมณ์รุนแรงออกมา คุณพ่อคุณแม่เองก็จะไม่ต้องกังวลใจว่าทำไมลูกเป็นคนขี้โมโหค่ะ เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook : Mother&Care : Raising…
ก่อนลูก 3 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งเป้าค่ะ ต้องฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้นะคะ ทำไมต้องฝึกในวัยนี้ ? นั่นก็เพราะลูกกำลังจะถึงวัยเข้าเรียนอนุบาลแล้ว ถ้าเขาดูแลตัวเองได้ดีก็จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและเพื่อนใหม่ได้ง่าย มีความมั่นใจในตัวเอง ลูกจะมีความสุขเมื่อไปโรงเรียนค่ะ เรื่องง่าย ๆ ที่ใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องคอยฝึกให้ลูกมีอะไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมความพร้อมให้ลูก ก่อน 3 ขวบลูกต้องทำได้ 1.เลิกขวดนมได้แล้ว ยิ่งเร็วยิ่งดี ควรฝึกลูกดื่มนมจากแก้วหรือดูดจากหลอด การดูดขวดนมนานเกินไปฟันไม่สวย หรือนอนดูดขวดนมหลับคาปากโอกาสฟันผุมีสูงแน่นอน การดูดนมจากขวดอาจทำให้เด็กดื่มนมมากเกินไป นำไปสู่โรคอ้วนได้ กี่ขวบดี ? สามารถเลิกใช้ขวดนมได้ตั้งแต่ 1 ขวบค่ะ จะง่ายกว่าตอน 2 ขวบ ดูความพร้อมของลูกซักนิด ดูดหลอดได้ ลูกก็จะจับแก้วถนัด ยกแก้วดื่มเอง พยายามให้ลูกได้เล่นได้ใช้กล้ามเนื้อมือเพื่อให้เขามีพัฒนาการที่ดี 2.บอกลาผ้าอ้อม ฝึกให้เข้าห้องน้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกลูกให้ใช้ห้องน้ำเป็น เลิกให้ใช้กางเกงผ้าอ้อมสำเร็จรูป เริ่มฝึกจากช่วงกลางวันก่อน แล้วค่อยฝึกเลิกกางเกงผ้าอ้อมตอนกลางคืน ค่อย ๆ ฝึกกันไปค่ะจนฝึกสำเร็จ (ผ้าซับฉี่ รองฉี่ กันฉี่ ที่ลูกเคยใช้ตอนเป็นเบบี๋ นำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งตอนฝึกค่ะ)…
นมแม่ดีที่สุด นี่คือคีย์เวิร์ดสำหรับคุณแม่ค่ะ แล้วที่ได้ยินมาว่าควรให้นมแม่จนลูกอายุเท่าไหร่ข้อมูลจากคำบอกเล่าแต่ละคนไม่ตรงกันอาจทำให้คุณแม่สับสน นมแม่ให้ได้นานเท่าไหร่ แล้วคุณค่าทางอาหารจะลดลงไปหรือเปล่าถ้าให้ไปจนโต มาดูข้อเท็จจริงเหล่านี้กันค่ะ 1.คุณแม่สามารถให้นมลูกได้นานเท่าไหร่ก็ได้ จนลูกโตเลิกกินนมไปเองหรือจนกว่านมแม่หมดไป 2.นมแม่มีสารอาหารครบถ้วนสำหรับลูกมีภูมิคุ้มกันร่างกายและดีต่อสมองลูก ลูกวัยไหนกินนมแม่ก็ยังได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า สารอาหารไม่ได้หายไปเมื่อลูกโต 3.ควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างน้อยจนกระทั่งลูกอายุ 6 เดือน ย้ำ อย่างน้อยนะคะนานกว่านั้นยิ่งดีค่ะ 4.การมีน้ำนมแม่ให้ลูกกินได้นาน ๆ ควรกระตุ้นการสร้างน้ำนมด้วยการให้ลูกดูดสม่ำเสมอหรือปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมง 5.ลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไปเริ่มให้กินอาหารนอกจากนม และค่อย ๆ ปรับเพิ่มมื้อตามวัย 6 เดือนขึ้นไปให้อาหาร 1 มื้อเริ่มจากน้อยๆ ก่อน 9 เดือน 2 มื้อ 1 ปี 3 มื้อ เกิน 1 ปีให้กินอาหารเป็นหลัก
ข่าวคราวเด็กทารกมีอาการป่วยอย่างรุนแรงบางรายถึงขั้นเสียชีวิตเพราะติดเชื้อจากการหอมหรือจูบจากผู้ใหญ่เกิดขึ้นเป็นระยะ ล่าสุดคุณแม่ชาวอเมริกันอบิเกล โรสผู้สูญเสียลูกสาวอายุพียง 8 วันไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 หลังจากผ่านการทำใจเป็นเวลาหลายเดือน เธอจึงเผยแพร่เรื่องราวลงเฟซบุ๊กเพื่อเป็นข้อเตือนใจคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยทารก ตามข่าวเด็กหญิงรับเชื้อจากคนที่มีเชื้อเริมมาจูบ เชื้อโรคจึงเข้าไปทำลายกระดูกสันหลัง ปอด และสมอง เรื่องน่าเป็นห่วงก็คือคนที่เป็นโรคเริมอาจไม่แสดงอาการของโรคแต่สามารถแพร่เชื้อได้ เพราะฉะนั้นการแสดงความเอ็นดูจึงต้องอดใจไม่หอมไม่จูบเด็กทารกค่ะ สาเหตุที่เชื้อไวรัส HSV-1 สาเหตุของโรคเริมดูเหมือนจะไม่ใช่โรคร้ายแรงสำหรับผู้ใหญ่ แต่กลับอันตรายต่อทารกช่วงวัยแรกเกิดเนื่องจากภูมิคุ้มกันในวัยนี้ยังไม่แข็งแรงเพียงพอ เมื่อรับเชื้อโรคนี้เข้าไปอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต นอกจากเริมแล้ว การหอม จูบ หรืออุ้มเด็กโดยได้ไม่ล้างมือยังทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อได้หลายชนิด เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก RSV และอีกหลายต่อหลายโรค เพื่อความปลอดภัยของลูกวัยทารก 1.ก่อนอุ้มเด็กควรล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด 2.ไม่ควรจับใบหน้าเด็ก 3.ไม่ควรหอมแก้มหรือจูบทารก แม้ตัวคุณแม่เองก็ตาม โดยทั่วไปเรามักเข้าใจว่าเด็กทารกไม่ได้อ่อนแอขนาดนั้น แค่หอมแค่จูบจะเป็นอะไรไปได้ เด็กอื่นอีกตั้งมากมายไม่เห็นจะเป็นอะไร ข่าวนี้คือคำตอบค่ะ คุณแม่ที่ไม่ให้ใครมาหอมจูบลูกวัยทารก อาจจะเว่อร์เกินไป ดูน่าหมั่นไส้อนามัยจ๋า แต่คุณแม่ทำถูกแล้วค่ะ ป้องกันไว้ก่อน ไม่มีอะไรเว่อร์ไปสำหรับความปลอดภัยของลูกน้อย
สะดือของเด็กแรกเกิดเป็นสิ่งที่ต้องดูแลอย่างพิถีพิถัน ต้องหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลง และทำความสะอาดอย่างถูกวิธีค่ะ สะดือแฉะ : สะดือไม่แห้งหรือมีน้ำหยดจากสะดือเวลาทารกร้องหรือเบ่ง เป็นน้ำสีเหลืองหรือเขียวและอาจมีเลือดออกซิบ ๆ สะดืออักเสบ : บริเวณรอบๆ ขั้วสะดือบวมแดงและร้อนและเด็กร้องกวน เมื่อดมดูจะได้กลิ่นเหม็นผิดปกติ เลือดออกทางสะดือ : เมื่อเอาสำลีซับจะมีเลือดติดออกมา อาจจะมีก้อนเนื้อแดงเรื่อขนาดเท่าถั่วแดงอยู่ในสะดือ สะดือโป่ง สะดือจุ่น : เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไป อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน 2-3 เดือน แต่บางคนอาจถึง 1 ปี สะดือโป่ง สะดือจุ่น : เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไป อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน…
บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่พูดหรือการแสดงออก เป็นการทำร้ายจิตใจลูก เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็ส่งผลต่อบุคลิกภาพของลูกน้อย มาสำรวจกันค่ะว่าพฤติกรรมไหนเข้าข่ายบ้าง
1.ไม่ให้ทำอะไรเอง
พ่อแม่คือผู้จัดการ บริหารทุกสิ่งอย่าง โดยที่ลูกไม่ได้มีส่วนร่วมหรือได้ลงมือทำอะไรเลย การทำแบบนี้เท่ากับเป็นการตัดโอกาสการเรียนรู้ของเด็ก ทำให้โรคขาดทั้งทักษะการช่วยเหลือตัวเอง และความมั่นใจในตัวเอง
2. ไม่ปกป้อง
เรื่องความปลอดภัย มีสถิติตัวเลขอุบัติเหตุสูงเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการไม่ทันระมัดระวัง เช่น ลืมปิดประตูบ้าน ไม่ได้เก็บสิ่งของเป็นอันตรายพ้นมือเด็ก คุยโทรศัพท์หรือใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพลินจนลืมดูลูก
3. ไม่ยืดหยุ่น
เพราะต้องการให้ทุกอย่างเป๊ะเว่อร์ตลอด ลูกทำไม่ได้ดังใจก็โกรธ ตำหนิ เรื่องเล็ก ๆ ทำให้เป็นเรื่องใหญ่ ลูกจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่มีอะไรดี ไม่มีความสามารถ เพราะทำอะไรไม่เคยถูกใจพ่อแม่
4.เลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน
การที่แม่ ๆ ปกป้องมากเกินไป วิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ห่วงเรื่องอุบัติเหตุ กลัวจะถูกหลอก กลัวลูกไม่สบาย ลูกจึงไม่ค่อยได้ทำอะไร ลูกมักจะเป็นเด็กวิตกกังวลได้ง่าย หวาดกลัวจนไม่มีความสุข และขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
5. ไม่มีขอบเขต
ตามใจลูกทุกอย่าง โดยลืมนึกถึงอะไรควรไม่ควร ด้วยความคิดที่ว่าลูกยังเด็ก ผลคือ เมื่อลูกออกสู่สังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่น ก็กลายเป็นเด็กปรับตัวยาก เอาแต่ใจตัวเอง ขาดความอดทน ความสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ราบรื่น
6. ไม่ชื่นชม
ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีแต่คำตำหนิติเตียน ไม่เชื่อว่าลูกจะทำสำเร็จ นอกจากทำร้ายจิตใจลูกแล้วยังทำลายความคิดดี ๆ ของลูก ทำให้ขาดความมั่นใจ ความภูมิใจในตัวเอง
7. ไม่เข้าใจลูก
ถ้าคิดว่าทำไมลูกไม่เก่งควรเปลี่ยนวิธีคิดค่ะ ความจริงแล้วเด็กแต่ละคนมีบุคลิก…
Q : ครอบครัวธรรมดาทั่วไปควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ดี ?
A : สมมติว่าครอบครัวธรรมดาครอบครัวนึงคุณพ่อคุณแม่ต่างก็ทำงาน มีลูก 1 คน รายได้เท่าไหร่ก็ตามควรมีเงินเก็บไว้อย่างน้อย 6 เท่าของเงินเดือน ถ้าจะให้ดีก็ 12 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อบริหารความเสี่ยงในกรณีที่ 1 ตกงาน กรณีที่ 2 ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่อยู่ดี ๆ ต้องจ่าย เช่น ลูกได้รางวัลบินไปชิงทุนต่างประเทศ ถ้าต้องการสนับสนุนเขาเราก็ต้องมีเงินสำรองไว้ให้ลูกเรา
"เงินนอกเหนือจากส่วนนี้ เอาไปลงทุนอยู่ในสินทรัพย์หรืออยู่ในเงินฝากที่ให้ผลงอกเงยมากกว่าฝากออมทรัพย์ธรรมดา"
"เวลาวางแผนการเงิน คุณแม่อย่าวางแผนค่าใช้จ่ายครับเราต้องวางแผนรายได้ คุ้มครองรายได้เรา การวางแผนคุ้มครองรายได้เราทั้งหมดนั่นหมายความว่าเราคุมค่าใช้จ่ายได้ แต่ถ้าเราวางแผนค่าใช้จ่ายอย่างเดียวถ้าเกิดมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินขึ้นมา อาจไม่มีใครสามารถช่วยเหลือเราได้นอกจากตัวเราเอง"
"สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือสุขภาพเรา อยากบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าทำงานเก็บเงินแล้วไม่อยากให้สุดท้ายแล้วเงินของเราต้องหมดไปกับการทุ่มเทรักษาตัวเองป่วย เพราะฉะนั้นต้องดูแลสุขภาพด้วย ต้องวางเพื่อตัวเองแล้วก็เพื่อลูกด้วย"
"อาจจะแยกเก็บเงินเป็นส่วน ๆ สมมติให้เป็นขวดโหลจะได้เห็นภาพ เช่น
ขวดโหลที่ 1 เป็นของลูก
ขวดโหลที่ 2 เอาไว้เที่ยวหรือช้อปปิ้ง
ขวดโหลที่ 3 เพื่อค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่างวดรถ ค่าบ้าน
ขวดโหลที่ 4ใช้จ่ายปกติทั่วไป
อาจจะเปิดไว้สัก 3-4 บัญชีแล้วเราโอนเงินเข้าไป ได้เงินมาปุ๊บโอนไปก่อนเลย เดี๋ยวนี้โอนไม่มีค่าธรรมเนียมแล้วสะดวกมากขึ้น ที่เหลือค่อยใช้จ่าย…
เมื่อแรกคลอดเด็กทารกมักมีปัญหาที่พบได้บ่อยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ศึกษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ไว้เพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลลูกรักค่ะ
ภาวะตัวเหลือง
พบได้มากที่สุดในเด็กทารกโดยประมาณ 60-70% ทั้งในทารกอายุครรภ์ครบกำหนดและคลอดก่อนกำหนดทุกราย ทั้งนี้จะเห็นสารตัวเหลืองที่ผิวหนังหรือเยื่อบุตาขาว
สาเหตุ
เกิดก่อนกำหนด <37 สัปดาห์
หมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน
เหลืองจากเม็ดเลือดแดงแตกตัว เช่น พร่องเอนไซม์ G6PD
ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกินไป
มีรอยฟกช้ำจากการคลอด มีจุดจ้ำแดงที่ผิวหนัง หรือมีการติดเชื้อ
มีภาวะลำไส้อุดตัน ท่อน้ำดีอุดตันแต่กำเนิด ฯลฯ
การดูแล
ควรป้อนนมบ่อยขึ้นทุก 3 ชั่วโมง ประมาณ (8 มื้อ/วัน) เพื่อให้ลูกน้อยได้ขับถ่ายสารตัวเหลืองออกจากร่างกาย
ประเมินภาวะตัวเหลือง โดยสามารถใช้นิ้วกดดูสีผิวที่อยู่ใต้ผิวหนังหรือกดตรงปุ่มกระดูก ทำในห้องที่แสงสว่างเพียงพอ
ถ้าพบว่า ลูกมีอาการตัวเหลืองมากหรือเพิ่มมากขึ้นให้มาพบหมอทันที เพื่อตรวจดูสารตัวเหลืองในร่างกาย
การรักษาตัวเหลือง ในทารกแรกเกิดทำได้ 3 แบบคือ การส่องไฟ, การเปลี่ยนถ่ายเลือด และการใช้ยา
อาการแหวะนม
สาเหตุ ที่ลูกน้อยชอบแหวะนมบ่อย ๆ เนื่องจากระบบการย่อยยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจยังปิดไม่สนิท ประกอบกับการกินนมเยอะก็จะทำให้เกิดอาการได้มาก…
ของเล่นของลูกกระจัดกระจายทั่วบ้านราวกับระเบิดลงทุกวัน การเก็บของเล่นกลายเป็นอีกงานหนึ่งที่คุณแม่ต้องจัดการ
การสอนให้ลูกเก็บของเล่นเองเป็นการสอนให้เขาเรียนรู้หลายด้านค่ะ ทั้งระเบียบวินัย การดูแลรักษาของ ความรับผิดชอบ การทำอะไรเองเป็นยังช่วยให้ลูกพึ่งพาตัวเองได้ตอนโตการสอนลูกไม่ยากค่อย ๆ ฝึกเขาค่ะ
1.ช่วยกันเก็บก่อน เด็กเล็กอาจเก็บคนเดียวไม่ไหว เพราะยากเกินความสามารถ คุณแม่ชวนลูกเก็บก่อนค่ะ ทำให้การเก็บของเล่นเป็นเรื่องสนุก เป็นเกมอย่างหนึ่งที่ต้องเล่นปิดท้ายเสมอ
2.จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ไม่ต้องแยกหลายหมวดหมู่เกินไปลูกจะงง การแยกเก็บเป็นหมวดหมู่ทำให้ไม่ต้องเก็บของเล่นคราวละมาก ๆ เพราะลูกมักจะเลือกชิ้นที่ตัวเองชอบ นอกจากนี้ยังฝึกการแยกแยะให้ลูก คุณแม่ใช้ลิ้นชัก ลังพลาสติก หรือถังพลาสติกก็ได้ค่ะ แยกสีแต่ละลังให้ชัดเจนตกแต่งหรือแปะสติ๊กเกอร์ อาจสมมติแต่ละถังเป็นพี่ฮิปโป พี่ปลาวาฬ พี่จระเข้ ฯลฯ หิวข้าวแล้วต้องป้อนของเล่นให้หม่ำก่อน
3.เก็บของเล่นเป็นเวลา ตอนเย็นก่อนลูกอาบน้ำหม่ำข้าวเย็น พยายามให้ลูกเก็บในเวลาเดิมทุกวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคย และเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน ความเคยชินช่วยให้ลูกทำได้โดยอัตโนมัติ
4.หลอกล่อด้วยกิจกรรมสนุก ลูกกำลังสนุกกับการเล่น แต่คุณแม่มักจะให้เขาเก็บของเพื่อไปทำกิจกรรมน่าเบื่อ ไม่มีใครอยากทำหรอกค่ะ เพราะฉะนั้นกิจกรรมต่อจากการเก็บของเล่นควรมีความสนุกเพื่อกระตุ้นให้ลูกเก็บค่ะ
5.เล่านิทาน คุณแม่อาจจะหาซื้อหนังสือนิทานหรือแต่งนิทานเล่าให้ลูกฟัง มีตัวเอกเป็นตัวละครหรือสัตว์น่ารักที่ลูกชอบ เล่าถึงตัวละครตัวโปรดนิสัยดี มีระเบียบ เล่นของเล่นแล้วเก็บก็ได้ค่ะ
6. บ้านต้องเป็นระเบียบด้วย ลูกเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว มองไปทางไหนทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง คุณแม่ใช้ของแล้วเก็บเข้าที่ ลูกก็จะเรียนรู้สิ่งนี้ไปเอง
7.ให้รางวัลเมื่อลูกทำได้ดี บางครั้งใช้รางวัลล่อใจได้บ้างค่ะ ถ้าเขาทำได้ดี อาจจะเป็นการชมเชยหรือให้ตามข้อเรียกร้องบางอย่างเป็นพิเศษ เวลาเจอคนอื่นคุณแม่พูดชมเขาให้คนอื่นฟังด้วยนะคะ ลูกจะภูมิใจและพยายามทำดีต่อไป
อดทนใช้เวลาสักนิด ฝึกลูกอย่างสม่ำเสมอ เขาจะเรียนรู้การเก็บของเล่นให้เป็นระเบียบได้ในที่สุดค่ะ