Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

เด็ก 3 ขวบขึ้นไป

1 ขวบแล้วไม่ยอมกินข้าวทำอย่างไรดี ?

Q : ลูกอายุ 1 ปี 1 เดือน กินแต่นม เวลาป้อนข้าวก็ไม่กินเลยค่ะ เคยใช้วิธีให้กินนมน้อยลง แต่ก็จะร้องงอแงมากไม่ยอมกินข้าวอยู่ดี จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ A : ปัญหาลูกไม่กินข้าวเป็นปัญหาสำคัญที่พบในเด็กวัยตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3 – 4 ปี หรือช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมเด็ก ความอดทน และความร่วมมือของคุณพ่อ คุณแม่ในการแก้ปัญหา โดยการแก้ปัญหานั้นเริ่มต้นที่คุณแม่ไม่ควรเครียด กังวลกับการกินของลูกมากเกินไป ควรสร้างบรรยากาศการกินให้สบายๆ โดยให้นั่งกินร่วมโต๊ะกับสมาชิกในครอบครัว ไม่มีสิ่งใดมาดึงความสนใจ เช่น ทีวี ของเล่น ชวนลูกพูดคุยให้เพลิน ไม่บังคับขู่เข็ญ ไม่ยัดเยียด ไม่เดินตามป้อนอาหาร หรือติดสินบนลูกเพื่อให้กิน เพราะลูกจะต่อต้านไม่ยอมกิน หรือ ในบางรายจะจับจุดได้ว่า การที่เขาไม่กินข้าว จะได้รับความสนใจจากคุณแม่มากขึ้น แล้วนำมาเป็นข้อต่อรองในคราวหลังได้ ควรให้ลูกได้เลือก และ ควบคุมการกินของเขาเอง ตักกินเอง จะเลอะเทอะไปบ้างก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่อย่าใช้เวลากินบนโต๊ะอาหารนานเกินไป ไม่ควรเกิน 30 นาที เพราะจะทำให้ลูกมีความรู้สึกว่าช่วงเวลามื้ออาหารเป็นช่วงที่น่าเบื่อ และ มีความรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับอยู่ ในแต่ละมื้อนั้นควรจัดให้อาหารมีลักษณะสีสัน…

Read more

ไมอีลินคืออะไร สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการสมอง พร้อมเทคนิคกระตุ้นการสร้างไมอีลินตามช่วงวัยที่คุณแม่ยุคใหม่ห้ามพลาด

คุณแม่รู้หรือไม่ว่า 1,000 วันแรกเป็นช่วงที่สมองของลูกสร้างไวที่สุด ซึ่งไมอีลินมีการสร้างมากตั้งแต่ทารกอยู่ในท้องแม่ช่วง 3 เดือนก่อนคลอดหรือในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย และสร้างต่อเนื่องในช่วงวัยเด็ก ดังนั้นการสร้างไมอีลินจึงสำคัญในวัยเด็ก เพราะเมื่อเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นแล้ว กระบวนการสร้างนี้ก็จะลดลงเป็นอย่างมาก เรามารู้จักสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างสมองของลูกเพื่อให้ลูกฉลาดสมวัยกันเลยค่ะ ไมอีลิน กับความสำคัญต่อพัฒนาการสมอง เนื่องจากไขมันเป็นส่วนประกอบหลักของไมอีลินในสมอง1 เส้นใยประสาทที่มีไมอีลิน จะมีการส่งสัญญาณประสาทเร็วกว่าที่ไม่มีไมอีลินถึง 60 เท่า2 แม่ ๆ พอจะเห็นความสำคัญของไขมันต่อการสร้างไมอีลินบ้างแล้วหรือยังคะ? คุณพ่อคุณแม่มีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นการสร้างไมอีลิน ด้วยการให้ลูกรับประทานอาหารครบ5 หมู่และหลากหลายควบคู่กับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด คอยฝึกฝนหรือกระตุ้นพัฒนาการทางประสาทสัมผัสทั้งห้าของลูกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ ร่วมกับการดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น อาหารหลัก 5 หมู่ โปรตีน คาร์โบไฮเดตและไขมัน สารอาหารกระตุ้นการสร้างไมอีลิน สารอาหาร เช่น DHA, AA, Choline, Lutein และสฟิงโกไมอีลิน ล้วนมีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลินทั้งสิ้น คุณแม่ควรให้ลูกได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย รวมถึงช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลินในสมองได้อย่างมีคุณภาพ กระตุ้นการสร้างไมอีลินด้วยการเลี้ยงดูที่เหมาะสมตามช่วงวัย4 การสร้างปลอกไมอีลินเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในสมองแต่ละตำแหน่ง ดังนั้นการจะกระตุ้นให้สมองมีการสร้างปลอกไมอีลินอย่างเต็มศักยภาพจึงแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ และควรจะกระตุ้นอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของลูก 
 พัฒนาการวัย 0 - 1 ปี ในช่วงขวบปีแรกของชีวิตเป็นวัยที่ลูกน้อยกำลังพัฒนาด้านการรับสัมผัส การมองเห็น การรับเสียง และเรียนรู้ด้านภาษา คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการลูกวัยนี้ได้โดยการกอดสัมผัสตัวลูกบ่อย ๆ ซึ่งก็คือการให้ความรักความอบอุ่นกับลูกนั่นเอง การเลือกของเล่นให้ลูกอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยอย่างของเล่นที่มีสีสันสดใสจะช่วยกระตุ้นวงจรประสาทการมองเห็น นอกจากนี้การพูดคุยกับลูกหรือใช้เสียงดนตรีเล่นกับลูกจะเป็นการกระตุ้นวงจรประสาทด้านการรับเสียงและภาษา พัฒนาการวัย 1 -…

Read more

5 คำตอบ พาลูกเที่ยวทำไมฉลาดขึ้น ?

การพาลูกเที่ยวอย่างไปทะเล ออกต่างจังหวัด หรือไปต่างประเทศ นอกจากจะสนุกสนานแล้วยังดีต่อสมองของเด็กมากทีเดียวค่ะศาสตราจารย์ Jaak Panksepp นักประสาทวิทยาชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน ผู้ค้นพบ Play System และ Seeking Sestem ในสมองแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกออกไปท่องเที่ยว และควรให้เด็กได้เล่นและสำรวจธรรมชาติป่าเขา ทะเล หรือได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการค้นหา จะช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับเด็ก เป็นการพัฒนาสมองในหลาย ๆ ด้าน เพราะเหตุใดการท่องเที่ยวดีต่อสมองลูก 1.อยู่บ้านไม่ได้ลับสมอง เวลาคุยกันก็จะคุยกันแต่เรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวันอันแสนจะจืดชืด คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจแต่เรื่องการเรียน อาหารการกิน สุขภาพของลูก คอยระวังเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ คุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยมีเวลาเล่นกับลูกจริง ๆ จัง ๆ คุณพ่อหลายท่านไม่รู้ว่าจะเล่นกับลูกอย่างไร ลูกไม่ค่อยได้เล่นสนุกตามวัยอย่างพอเพียงกับที่เด็กต้องการ 2.ไปเที่ยวได้สนุกหลากหลายรูปแบบ ได้สัมผัสกับบรรยากาศแปลกใหม่  ที่ใหม่ ๆ อาหาร อากาศที่ต่างจากตอนอยู่บ้าน สัมผัสกับผู้คนแปลกใหม่ ได้สำรวจธรรมชาติ เดินป่า มองเห็นทิวทัศน์สวยงามที่แตกต่างออกไป  ไปทะเลก็จะได้เล่นน้ำ เล่นก่อปราสาททราย  เล่นบอลชายหาด ตีแบต ล่องเรือ หรือเกมกีฬาทางน้ำอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งพ่อแม่ลูกได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน 3.ผลดีต่อจิตใจ ลูกรู้สึกว่าเขาได้รับความสนใจอย่างเต็มที่…

Read more

หยุดตะโกนใส่ลูกๆ ของคุณ

จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณตวาดลูกๆ แทนที่จะสอนดีๆ เมื่อคุณพบพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูกๆ หรือไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ในขณะนั้น การตวาดจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูก  งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย พิตส์เบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เผยว่า การตวาดลูกแทนที่จะสอนดีๆ จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเด็กๆ ที่ถูกตวาดมักจะแสดงออกถึงความโกรธ ความก้าวร้าว การเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ และมีแนวโน้มที่จะมีอาการซึมเศร้า การตวาดมีผลเทียบเท่าการลงโทษด้วยการตี การตวาด ตะโกนมีผลทางอารมณ์ไม่ต่างกับการลงโทษทางกายภาพเลย คุณไม่สามารถที่จะคาดหวังให้ลูกๆ ประพฤติตัวให้ดีขึ้น และเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเองก่อน ปล่อยเด็กๆ อยู่ตามลำพัง หากยังควบคุมอารมณ์ไม่ได้  แม้แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ตะโกน โดยหากคุณรู้สึกว่ากำลังควบคุมตัวเองไม่ได้ ให้ปล่อยเด็กๆ อยู่ตามลำพังสัก 2 - 3 นาที ให้อภัยตัวเองกับพฤติกรรมของลูก พฤติกรรมไม่ดีที่ลูกของคุณทำ อย่านำมาทำให้ตัวเองรู้สึกผิดพลาดไปซะทั้งหมด ให้คุณให้อภัยตัวเองบ้าง เรียนรู้จากความผิดพลาด อย่าลืมว่าความสัมพันธ์ของคุณกับลูก มีผลอย่างมากในการอบรมสั่งสอนลูก ถ้าเราอยากให้ลูกๆ เป็นเด็กที่ มีสุขภาพจิตที่ดี ให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

Read more

3 ที่ควรปลอดเทคโนโลยี

ปัจจุบันเด็ก ๆ เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายมาก ทำให้พ่อแม่ควบคุมระยะเวลาและความถี่ในการใช้ได้ยาก แล้วเราจะทำอย่างไรให้สามารถจำกัดเวลาใช้ของลูกได้ องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านสื่ออย่าง common sense media เสนอแนะว่า สถานที่ 3 แห่งนี้ควรปลอดเทคโนโลยีค่ะ 1.โต๊ะอาหาร ก่อนจะรับประทานอาหาร ทุกคนทั้งพ่อแม่และเด็ก ๆ ควรหยุดใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ปิดหรือเก็บให้เรียบร้อย บนโต๊ะอาหารเราจะพูดคุยกัน ใช้เวลาร่วมกัน แทนการหมกมุ่นอยู่กับหน้าจอ 2.ห้องนอน งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การนอนที่ดีต่อสุขภาพควรจะอยู่ในสภาวะที่ปลอดแสง สี เสียง การให้เด็ก ๆ นอนหลับสนิทจะส่งผลให้สมองปลอดโปร่ง พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นก่อนนอนก็ควรงดดูแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือ หันมาอ่านนิทานก่อนนอนกับลูกดีกว่าค่ะ 3.รถยนต์ การใช้โทรศัพท์ในรถสำหรับพ่อแม่ที่เป็นคนขับอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ส่สวนลูกก็ควรได้ใช้เวลาในรถไปกับการพูดคุยกับพ่อแม่ มากกว่าการเล่นเกมหรือดูการ์ตูน ข้อสำคัญประการหนึ่งก็คือ การเป็นตัวอย่างที่ดีจะช่วยให้ลูกปฏิบัติตามได้ง่ายกว่าการอบรมสั่งสอนเพียงอย่างเดียวค่ะ

Read more