อาหารว่าง คือ อาหารมื้อเล็กระหว่างมื้อแต่สำคัญนะคะ เด็ก ๆ ใช้พลังทำกิจกรรมสารพัด อาหารว่างช่วยเสริมการสร้างพลังงานให้ร่างกายและสมอง รวมทั้งเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้ลูกด้วย 1.ของหวาน เน้นผลไม้ให้มากกว่าขนม ถ้าเป็นขนมควรมีส่วนผสมของนม ไข่ หรือผลไม้ เลือกรสชาติที่ไม่หวานจัด ไม่ใช้แป้งหรือน้ำตาลมาก 2.เครื่องดื่ม น้ำผลไม้สด นม ให้ประโยชน์มากกว่าน้ำอัดลมหรือน้ำหวานที่ทำให้ลูกอ้วน 3.โปรตีน อาหารว่างที่กินง่าย เช่น สาคูไส้หมู ขนมปังหน้าหมู ขนมจีบ ซาลาเปา สลัด กระเพาะปลา แซนด์วิชอาจทำไส้ไก่ ไข่ ปลาทูน่า หมูหยอง สลับบ้างไม่ควรให้กินพวกไส้กรอกหรือแฮมมากเกินไป 4.ของว่างจากถั่ว เพื่อเพิ่มโปรตีน ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และถั่วก็เป็นอาหารที่เด็กกินได้ง่าย เช่น ถั่วลิสงเคลือบน้ำตาลเนยที่ไม่หวานมาก ขนมเม็ดขนุนหรือลูกชุบที่ทำจากถั่ว หรือถั่วต้มน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ขนมถั่วแปบ และเต้าส่วน ฯลฯ เวลาเหมาะสำหรับของว่าง เวลาที่เหมาะกับการกินของว่างโดยทั่วไปช่วงเช้าประมาณ 9.30 -…
เด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ
วันหยุดช่วงปิดเทอมเด็ก ๆ ได้เที่ยวหรือทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ บางครั้งลูกซุกซนไม่รู้ถึงภัยอันตรายใกล้ตัว คุณแม่ควรระวังเรื่องความปลอดภัยด้วยค่ะ จุดเสี่ยงมีอะไรบ้าง 1.คลอง บึง สระน้ำ เป็นสถานที่เกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตบ่อยในเด็กเล็กกและเด็กโตของบ้านเรา พบว่าเด็กอายุระหว่าง 5-6 ปี มักจมน้ำเสียชีวิตจากบ่อ หนอง คลอง บึง และสระว่ายน้ำในชุมชนหรือหมู่บ้าน และเกิดจากการไปวิ่งเล่นบริเวณใกล้แหล่งน้ำแล้วพลัดตกและจมน้ำ 2.ยานพาหนะ ข้อมูลเด็กที่เสียชีวิตจากการจราจรโดยเฉพาะช่วงปิดเทอมยอดพุ่งเพิ่มขึ้นกว่าปกติ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากการรถจักรยานยนต์ สาเหตุที่พบคือการให้เด็กนั่งซ้อนท้ายจักรยานยนต์ หรือแม้แต่การให้ขับขี่เอง 3.นอกบ้าน สถานที่ เช่น ห้างสรรพสินค้าฯ ร้านเกม คือสถานที่ที่มีเด็กพลัดหลงหรือหาย และถูกลักพาตัวเป็นอันดับต้น ๆ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ไม่ควรปล่อยลูกอยู่ตามลำพัง และสอนลูกเรียนรู้เรื่องคนแปลกหน้า การช่วยเหลือตัวเองในกรณีพลัดหลง เป็นต้น 4.ในบ้าน บ้านไหนมีเด็กวัยซนต้องใส่ใจให้มาก ในจุดเสี่ยงเหล่านี้ เช่น ระเบียงบ้าน บานหน้าต่างห้อง บันได ห้องครัว ควรกั้นไม่ให้เข้าถึง รวมทั้งปลั๊กไฟ อุปกรณ์อันตราย…
เด็กอ้วนอาจดูน่ารักในสายตาผู้ใหญ่ แต่ความจริงแล้วเด็กที่น้ำหนักเกินหรืออ้วนท้วนสมบูรณ์จนมากเกินไปมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคซึ่งหลายโรคมีความอันตราย ทำร้ายสุขภาพลูกรักของเราค่ะ เด็กอ้วนเสี่ยงโรคอะไรบ้าง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตีบ นอนกรนมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ความผิดปกติของกระดูกและข้อ ตับและถุงน้ำดีอักเสบ โรคผิวหนัง จากเชื้อรา และผิวหนังอักเสบ ขาดความมั่นใจและปัญหาการเข้าสังคม ป้องกันโรคอ้วนมาเยือนลูก ควบคุมปริมาณอาหาร ไม่ปล่อยตามใจลูก เลี่ยงอาหารไขมันสูง แป้งแปรรูป เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง พาสต้น ฯลฯ เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวานจัด เลือกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน กินแป้งจากข้าว เพิ่มแป้งไม่ขัดขาว และธัญพืช ลดการนั่ง ๆ นอน ๆ ของลูก ชวนลูกให้เล่นสนุกกับการออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เล่นฟุตบอล บาสเกตบอล เทนนิส แบดมินตัน ว่ายน้ำ เต้นรำ ฯลฯ ให้ลูกฝึกความแข็งแรงของร่างกายและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อสม่ำเสมอ เช่น การยืดกล้ามเนื้อ การอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายเพื่อลดการบาดเจ็บขณะออกกำลังกาย ให้ลูกช่วยทำงานบ้าน เช่น ช่วยพ่อแม่ทำความสะอาดบ้าน…
ถึงแม้การออกกำลังกายจะดีกับลูกในทุกด้าน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโตตามวัย อารมณ์แจ่มใส แต่ก็มีข้อควรระวังดังนี้ค่ะ 1.ควรวอร์มหรืออบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง ก่อนและหลังออกกำลังกาย 2.ถ้าลูกเป็นไข้ มีอาการตัวร้อน ห้ามออกกำลังกาย ถึงแม้จะมีไข้เพียงเล็กน้อยก็ไม่ควรให้เด็กเล่นหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อมาก 3.ภาวะขาดน้ำในร่างกาย เด็กที่มีอาการถ่ายเหลว หรืออาเจียนมาก ๆ มีอาการอ่อนเพลีย ควรงดการเล่นที่ออกแรงเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไป 4.ให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ เพราะเด็กมักจะไม่ใสใจในความปลอดภัย 5.ออกกำลังกายในอากาศที่เหมาะสม ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในขณะที่อากาศร้อน มีแสงแดดจัด หรือถ้ามีการออกกำลังกายก็ควรมีน้ำดื่มให้เพียงพอสำหรับความต้องการของเด็ก
หน้าหนาวมาเยือนทีไรลูกน้อยมักจะมีปัญหาผิวแห้งแตกเนื่องจากผิวเด็กอ่อนบางมีโอกาสแห้งแตกง่ายหากผิวลูกแห้งมากเป็นขุยแตกและรู้สึกคัน เมื่อคันลูกก็จะเกา ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ mother&care มีเคล็ดลับดี ๆ ในการปกป้องผิวลูกน้อยมาฝากค่ะ ให้ลูกดื่มน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อคงความชุ่มชื้นของผิวหนังเอาไว้ การใช้น้ำอุ่นอาบน้ำให้ลูกไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดเกินไปเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้ผิวลูกแห้งมาก เลี่ยงการใช้ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตัวขัดถูผิวลูก หยดน้ำมันมะกอกลงในน้ำอาบให้ลูกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ทา Babyครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้ลูก หลังอาบน้ำ สวมเสื้อผ้าเพื่อความอบอุ่นและช่วยปกป้องผิวให้ลูก เลี่ยงการพาลูกออกไปสัมผัสกับแสงแดดจัดดูแลครบทุกข้อหนาวนี้ผิวลูกก็ไม่แห้งแตกแล้วค่ะ
นมแม่มีข้อดีนานัปการดังที่คุณแม่ทราบ มีโปรตีนย่อยง่าย สร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ เช่นดอทบวมโรคทางเดินอาหาร ป้องกันท้องเสีย ป้องกันภูมิแพ้ ต้านการอักเสบติดเชื้อ สุขภาพแข็งแรงโตเร็ว แล้วนมแม่ยังช่วยเสริมสร้างสติปัญญาความเฉลียวฉลาดให้ลูกได้ รายงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford University และ the Institute for Social and Economic Research, Essex University พบว่านมแม่ช่วยพัฒนาด้านความจำและยังช่วยเรื่องการเรียนของเด็กเมื่อถึงวัยเข้าเรียนอีกด้วย เมื่อได้กินนมทารกจะเติบโตเป็นเด็กที่มีความสุข สุขภาพจิตดีเพราะได้รับความอบอุ่นจากอ้อมกอดแม่ ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยและมีความสุขเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาสมองของเด็กเช่นกัน คุณแม่มือใหม่พยายามให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนหรือนานกว่านั้นก็ยิ่งดีนะคะ เพราะนมแม่เลอค่าสุด ๆ ค่ะ
ต้องยอมรับว่าบางครั้งลูกน้อยแสนน่ารักสามารถกลายเป็นลูกน้อยแสนป่วนได้ ทำให้คุณแม่ต้องแปลงร่างเป็นแม่มดกันบ้าง แต่บ่อยไปก็จะไม่ดีทั้งกับคุณแม่และคุณลูกแน่ ๆ มาดูวิธีบรรเทาอาการปี๊ดแตกใส่คุณลูกกันค่ะ ตั้งสติ ท่องไว้ในใจว่าตอนนี้กำลังโกรธลูกใจเย็นลงหน่อย หาสาเหตุที่แท้จริง ต้นเหตุอาจจะไม่ใช่ลูก แต่เป็นความเครียดจากที่ทำงาน ปัญหาการ พักผ่อนน้อยอดนอน 3.นับ 1-10 ก่อนอาละวาดใส่ลูก เมื่อรู้สึกโกรธสุดขีดให้เดินเลี่ยงออกไปจากห้องนั้นก่อน ฝากคุณพ่อดูสักครู่ค่อยกลับมาใหม่ พูดถึงความรู้สึกของคุณแม่ว่ารู้สึกแย่อย่างไรเมื่อลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้ แทนการชี้ข้อผิดของลูก อย่าเอาคดีเก่ามารวมรวบยอดพูดซ้ำซาก เวลาหายโกรธแล้ว ช่วงเวลาอารมณ์ดีอธิบายให้ลูกฟังด้วยท่าทีอบอุ่นอ่อนโยน เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันค่ะ
เด็ก ๆ มักจะชอบฟังนิทานก่อนนอน และบางครั้งยังชอบเป็นคนเล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง การฟังลูกเล่านิทานดีต่อพัฒนาการของลูกในหลายด้านค่ะ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง 1.พัฒนาทักษะด้านภาษา Dr. Frederick Zimmerman นักวิจัยจาก UCLA School of Public Health แห่ง California กล่าวว่าเด็กที่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้พ่อแม่ฟังจะมีพัฒนาการทางภาษาเร็วขึ้น 6 เท่า เมื่อเทียบกันการเป็นคนฟังนิทานเพียงอย่างเดียว 2.เสริมจินตนาการ การให้ลูกเล่านิทานด้วยตัวเขาเองจะช่วยเสริมทักษะด้านจินตนาการให้ลูก ให้ลูกเล่าอย่างอิสระ อาจจะแต่งเติมเนื้อหาตามใจชอบหรือแต่งเรื่องขึ้นเอง คุณแม่อาจจะกระตุ้นเขาด้วยกันซักถามระหว่างลูกเล่า 3.เรียบเรียงความคิด การที่เด็กคนนึงจะเล่าเรื่องราวออกมาเขาจะต้องเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบ ตั้งแต่การวางเรื่องว่าจะให้ดำเนินไปอย่างไร มีตัวละครกี่ตัว แต่ละตัวมีบทบาทอะไรบ้าง ฯลฯ 4.ฝึกความจำ การพูดออกมาจะช่วยกระตุ้นความจำได้มากขึ้น ในการเล่านิทานลูกจะได้ฝึกการจดจำเรื่องราวและคำศัพท์ต่าง ๆ 5.สร้างความมั่นใจ เมื่อคุณพ่อคุณแม่สนใจในสิ่งที่ลูกเล่าและชื่นชมเขา ลูกจะรู้สึกค่อย ๆ พัฒนาความมั่นใจในตัวเองขึ้นมา การเล่านิทานของเด็กอาจเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่มีประโยชน์เกินความคาดหมายทีเดียวค่ะ
เทศกาลวันลอยกระทงเป็นช่วงเวลาที่เด็กต่ำกว่าอายุ 15 ปีมักเกิดอุบัติจมน้ำเสียชีวิตบ่อยครั้ง และเกิดขึ้นทุกปี นอกจากการจมน้ำแล้วคุณพ่อคุณแม่ยังต้องระวังอุบัติเหตุและการพลัดหลงค่ะ ป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ดูแลเด็กไม่ให้คลาดสายตา อุ้มหรือจูงมือไว้ตลอดเวลา เมื่อพาลูกไปยังจุดใกล้แม่น้ำ คลอง บึง ฯลฯ เพิ่มความระวังให้มากขึ้น ลูกโตแล้วก็ไม่ควรปล่อยให้เด็ก ๆ ไปลอยกระทงกันตามลำพัง ป้องกันลูกพลัดหลง เขียนชื่อที่อยู่เบอร์โทรศัพท์ให้ลูกติดตัวไว้ สอนว่าถ้าพลัดหลงอย่าเดินหายไปไหนให้อยู่กับที่ ให้ลูกจำเบอร์โทรศัพท์ของพ่อแม่ ถึงแม้จะถึงวัยที่คุณแม่ให้พกโทรศัพท์มือถือได้แล้วอาจมีโอกาสทำหายได้ จูงมือลูกอุ้มไว้ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในบริเวณที่คนหนาแน่น ไม่ปล่อยลูกไว้กับพี่ที่ยังเป็นเด็กด้วยกัน ให้ลูกพกนกหวีดและสอนให้ใช้เพื่อขอความช่วยเหลือ ป้องกันอันตรายจากพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ห้ามลูกเล่นพลุ ประทัด และดอกไม้ไฟ ผู้ใหญ่ก็ไม่ควรซื้อมาเล่นเองเพราะจะเป็นตัวอย่างให้เด็กทำตาม ห้ามลูกแอบเก็บพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ไว้ในกระเป๋าเสื้อ กางเกง หรือที่มีอากาศร้อน แสงแดดส่องเพราะอาจเกิดการเสียดสีและระเบิดขึ้นได้
รับทราบมาบ่อย ๆ ว่าการกินเค็มหรือกินโซเดียมมากส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต กระดูกพรุน อัมพฤกษ์อัมพาต ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่อาจมั่นใจว่าลูกไม่ได้กินเค็มเกินไป ดูตัวเลขเหล่านี้แล้วอาจเปลี่ยนความคิดใหม่ มาดูปริมาณโซเดียมในอาหารจานเดียวกันก่อน สุกี้น้ำ 1,560 มิลลิกรัม บะหมี่น้ำหมูแดง 1,480 มิลลิกรัม เส้นใหญ่เย็นตาโฟ 1,417 มิลลิกรัม ผัดซีอิ๊ว 1,352 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 977 มิลลิกรัม กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่าผู้ใหญ่ไม่ควรกินเกลือเกินวันละ 1 ช้อนชา (เกลือ 1 ช้อนชา =โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม) แล้วเด็กล่ะ ? 6-11 เดือน 175-550 มิลลิกรัม/วัน (ประมาณ ¼ ช้อนชา) 1-3…