อาการซึมเศร้าหลังคลอดมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ ร่วมกับปัจจัยอื่นมากระตุ้น เช่น ความเครียด ความกังวลในการเลี้ยงลูก พักผ่อนน้อย และการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อมีลูก คุณแม่มีสัญญาณเตือนเหล่านี้หรือเปล่าคะ 1.อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป จากเคยร่าเริงสนุกสนาน เปลี่ยนเป็นขี้กังวล หดหู่ รู้สึกเศร้า หรือเครียดมากขึ้น หรือจากคนใจเย็นกลายเป็นหงุดหงิดขี้โมโหได้ง่ายขึ้น 2.ขี้น้อยใจ ร้องไห้แบบไม่มีเหตุผล หรือกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ 3.ความคิดเปลี่ยน เช่น คิดช้าลง หรือคิดไปในทางลบ 4.ขี้หลงขี้ลืมบ่อยขึ้น เนื่องจากขาดสมาธิความจำจึงไม่ดีตามไปด้วย 5.ความสัมพันธ์กับคนอื่นถดถอยลง ไม่อยากพูดคุยกับใคร บางครั้งแยกตัว ไม่สนใจทำงานการอะไรก็ตาม ระยะเวลาของอาการซึมเศร้าหลังคลอดอาจแค่สัปดาห์เดียวหรือนานเป็นเดือน หากไม่รุนแรงมากอาการจะค่อย ๆ หายไป คุณแม่พยายามหาสิ่งผ่อนคลายจิตใจทำ และพักผ่อนนอนหลับให้พอเพียง คนรอบข้างเข้าใจและคอยเป็นกำลังใจ ก็จะช่วยให้ผ่านพ้นไปด้วยดี หรือถ้ารู้สึกว่าเป็นมากอาจปรึกษาคุณหมอค่ะ
คุณแม่มือใหม่
คุณแม่หลังคลอดรู้สึกหดหู่เศร้าใจ ขี้น้อยใจ ร้องไห้ง่ายแม้กับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ใช่มั้ยคะ นั่นอาจเป็นสัญญาของอาการซึมเศร้าหลังคลอดก็เป็นได้ ลองแก้ไขด้วยวิธีง่าย ๆ เหล่านี้ดูก่อนค่ะอาจช่วยได้ 1.พักผ่อนและนอนหลับให้พอ การผ่อนคลายด้วยกิจกรรมบันเทิง เช่น ฟังเพลง ดูหนัง ช่วยได้ ที่สำคัญควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ โอกาสนอนยาวอาจมีน้อยค่อย ๆ เก็บไประหว่างลูกหลับคุณแม่รีบหลับด้วยค่ะ 2 กินอาหารดีมีประโยชน์ สารอาหารที่ดีต่อร่างกายจะช่วยให้ระบบการทำงานในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างภูมิต้านทานและปรับสมดุลให้ร่างกายได้เป็นอย่างดี 3.ให้ลูกกินนมแม่ ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่สร้างน้ำนมแม่เพิ่มขึ้นหลังคลอด การให้ลูกดูดนมแม่จะทำให้สารแห่งความสุขเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณฮอร์โมนความเครียดค่อย ๆ ลดลงส่งผลให้คุณแม่อารมณ์ดี 4.มีผู้ช่วย การมีผู้ช่วยที่ดีไม่ว่าจะคุณสามี ญาติสนิท หรือพี่เลี้ยง จะช่วยผ่อนแรงคุณแม่ และช่วยให้คุณแม่ไม่รู้สึกเหนื่อยหนักจนเกินไปจนเกิดความเครียด 5.ออกกำลังกาย เหนื่อยแค่ไหนต้องหาเวลาออกกำลังกาย แล้วคุณแม่จะทราบว่านอกจากแรงเยอะขึ้นแล้วจิตใจก็จะสดใสขึ้น นี่คือวิธีการปรับสมดุลของร่างกายเรา ทำความสะอาดบ้านก็นับเป็นการออกกำลังกายได้ค่ะในขณะที่มีเวลาน้อย 6.คิดบวกมองบวก เป็นวิธีที่ดีและง่ายมากโดยไม่ต้องลงแรงทำอะไร ทำแล้วจะช่วยให้คุณแม่สามารถควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เป็นลบ ปรับสู่อารมณ์สดใสได้ เวลานี้มุ่งความสนใจไปกับเรื่องที่มีความสุขหรือสนุกสนานเพลิดเพลิน ตัดเรื่องจุกจิกกวนใจทิ้งไปค่ะ…
การดูแลลูกแรกเกิดมีเรื่องให้ทำหลายอย่างจนคุณแม่ยุ่งไปทั้งวันทั้งคืน จากเคยนอนยาว 8 ชั่วโมงรวดอาจต้องตื่นมาทุก 2 ชั่วโมงเพื่อให้นมลูก ถ้าไม่มีผู้ช่วยคุณแม่ต้องดูแลจัดการทุกเรื่องเกี่ยวกับลูกอยู่คนเดียว ทั้งให้นม อาบน้ำ ป้อนข้าว ล้างขวดนม ซักผ้า ตากผ้า เตรียมอาหาร ฯลฯ พอวิ่งไปทำอย่างนึงลูกร้องก็ต้องวิ่งกลับมาดูแล ตื่นขึ้นมาไม่เห็นแม่คุณลูกยิ่งร้องบ่อย หัวหมุนเลยใช่มั้ยคะ ขอแนะนำวิธีลดความยุ่งยากให้คุณแม่มือใหม่มีเวลาดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเวลาเขาตื่นเพิ่มขึ้นค่ะ 1.ย้ายออฟฟิศมานั่งทำงาน อย่างงานเอกสาร คิดบัญชีรายรับรายจ่าย ใกล้ ๆ ลูก 2.ทำงานบ้านบางอย่างใกล้กับลูก อาจจะนั่งพับผ้า เตรียมอาหารที่ไม่มีกลิ่นแรง เช่น หั่นผักหรือปอกเปลือกผักผลไม้ในห้องเดียวกับลูก แทนที่จะเข้าไปทำครัวเป็นเวลานาน ๆ 3.จัดวางของใช้ไว้เป็นเซ็ทเก็บให้อยู่ใกล้ ๆ กัน จะหยิบใช้อะไรไม่ต้องเดินไปมาหลายที่ เช่น เซ็ทเสื้อผ้าและอุปกรณ์อาบน้ำลูก เช็ทอาหารลูกอย่างขวดนมหรือจานชามลูก 4.ถ้าทำอาหารเองอาจเตรียมหั่นวัตถุดิบที่หั่นเก็บไว้ได้อย่างเนื้อสัตว์แยกใส่กล่องเข้าช่องแข็งในตู้เย็นไว้ หรือทำน้ำซุปใส่กล่องแยกเก็บไว้สำหรับใช้ในแต่ละครั้ง 5.จดรายการฝากคุณพ่อไปชอปปิง หรือฝากจ่ายค่าบัตรเครดิต ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ ไม่ต้องไปเอง แบบไหนเรียกว่าเวลาคุณภาพ ถ้าอยู่ใกล้…
คุณแม่ทราบไหมคะว่าตั้งแต่แรกคลอดสมองของลูกน้อยก็พร้อมรู้ทุกสิ่งรอบตัวเขาแล้วค่ะ อย่างที่คุณแม่เคยได้ยินบ่อย ๆ ค่ะว่าการเลี้ยงดูลูกให้เติบโตมาเป็นเด็กฉลาดเริ่มได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ แรกคลอดก็แช่นกัน ให้ลูกเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัย เติมประสบการณ์ดี ๆ ให้กับลูก ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กจะพัฒนาไปได้ไม่ดีถ้าขาดความรักความอบอุ่นจากคุณแม่ค่ะ อ้อมกอดอันอบอุ่น สัมผัสรักระหว่างคุณแม่กับลูกส่งผลต่อความเฉลียวฉลาดของลูกได้อย่างไร เส้นใยประสาทภายในสมองของลูกจะมีการแตกแขนงเป็นจำนวนมาก การส่งผ่านข้อมูลความรู้ทำได้รวดเร็วขึ้น การเรียนรู้จึงง่ายขึ้นค่ะ คำพูดการโอบกอดสัมผัสด้วยความรักความอ่อนโยน ลูกรับรู้ได้นะคะ พอเขารับรู้สิ่งนี้เขาจะรู้มั่นคงปลอดภัยและมีความสุข เมื่อมีความสุขสมองก็สามารถเรียนรู้ได้ดี ในอ้อมกอดคุณแม่นี้แหละที่จะทำให้ลูกวัยทารกเติบโตเป็นเด็กฉลาดค่ะ
การเยี่ยมคุณแม่คนใหม่และทารกแรกเกิด ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่าย ก่อนไปเยี่ยมควรทราบสักนิดว่าต้องใส่ใจในเรื่องใดบ้าง นอกจากเป็นมารยาทอันดีงามแล้วควรป้องกันการนำเชื้อโรคไปสู่ทารกด้วยค่ะ 1.ดูความพร้อมคุณแม่ แม่หลังคลอดมักจะอ่อนเพลีย และยุ่งอยู่กับการเลี้ยงเบบี๋ คุณแม่บางคนจนตาเป็นแพนด้า ก่อนไปเยี่ยมควร ส่ง Message หรือโทรถามแม่ก่อนหรือว่าพร้อมให้ไปเยี่ยมหรือเปล่า นัดวันและเวลา เพราะแม่อาจกำลังให้นมลูก หรืองีบหลับอยู่ โอกาสพักผ่อนมีน้อยพยายามอย่ากวนแม่ ถ้าแม่บ่นว่าอยากเม้าใจจะขาด อย่ารอช้ารีบไปให้กำลังใจแม่ค่ะ 2.อย่านำเชื้อโรคไปฝาก เชื้อโรคธรรมดา ๆ อาจเป็นอันตรายต่อทารกและคลอดเพราะภูมิต้านทานยังไม่แข็งแรง ถ้าป่วยให้หายก่อนค่อยไปเยี่ยม ไม่ป่วย แต่คนรอบข้างป่วย อย่าเพิ่งไปเยี่ยม เลี่ยงการพาเด็กไปเยี่ยมทารกช่วงแรกคลอด เมื่อไปถึงขอล้างมือฟอกสบู่ก่อน 3.ห้ามหอมทารก การหอมหรือจูบทารก อาจเกิดอันตรายได้ เชื้อโรคธรรมดาที่เกิดกับผู้ใหญ่หรือเด็กทั่วไปเป็นแล้วหายง่ายไม่รุนแรง แต่เมื่อทารกรับเชื้อโรคอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง ทารกมีอาการป่วยหนักหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้ มีรายงานข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นระยะจากหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งบ้านเราด้วย 4.อย่าทำให้แม่เครียด คุณแม่บางคนมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด บางคำพูดกอาจทำให้แม่จิตตก ละเอียดอ่อนซักนิดค่ะ ถามถึงสุขภาพแม่ลูกพอสมควร ชวนคุยเรื่องดี ๆ เลี่ยงหัวข้อชวนเครียด เช่น รูปร่างแม่…
ช่วงหลังคลอด เชื่อว่า แม่ ๆ คงมุ่งความสนใจไปที่ลูก จนลืมว่าคุณเองก็มีเรื่องที่ต้องดูแลใส่ใจเช่นกัน อย่าลืมตรวจสุขภาพและดูแลตัวเองด้วยนะคะ 1.ตรวจเต้านม เพื่อดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ตรวจมะเร็งเต้านมหรือก้อนน้ำเหลือง โดยวิธีการคลำที่หน้าอก คุณแม่อาจคลำด้วยตัวเองจากที่บ้านก่อนได้ หากพบก้อนเล็กๆ ที่เต้านม มีลักษณะแข็งหรือปวด อาจขอคำแนะนำจากคุณหมอได้ 2.ตรวจหน้าท้อง เพื่อดูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งหลังคลอด 1 เดือนคุณสามารถบริหารหน้าท้องเพิ่มความแข็งแรง และกล้ามเนื้อหน้าท้องได้ หากไม่ได้ออกกำลังกายหลังคลอดจะทำให้หน้าท้องยังหย่อนและป่อง ส่วนคุณแม่ที่ผ่าคลอด ก็ต้องตรวจแผลผ่าตัดว่าหายดีหรือยังด้วย 3.ตรวจมดลูก ช่วงตั้งครรภ์มดลูกขยายตัวขึ้นมาก ต้องตรวจมดลูกว่าหดตัวหรือที่เรียกว่าเข้าอู่แล้วหรือยัง และอยู่ในตำแหน่งเดิมภายในอุ้งเชิงกราน ช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอดหรือยัง ถ้าอยากให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ก็อย่าพลาดการให้ลูกดูดนมแม่นะคะ ดูแลสุขภาพตัวเองก็สำคัญเช่นกันค่ะคุณแม่
ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่ควรพักผ่อนอย่างไรบ้าง อย่างน้อยควรนอนพักผ่อนช่วงกลางคืนให้ได้ 6-8 ชั่วโมง ไม่ควรหยิบจับหรือยกสิ่งของหนัก เพราะเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อและมดลูกกลับคืนสู่สภาพปกติ หากคุณแม่ยกของหนัก อาจกระทบกระเทือนถึงอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานมดลูกได้ เคล็ดลับเพิ่มเวลาพัก 1.ช่วง 2 สัปดาห์แรกให้คุณพ่อหรือคนในครอบครัวช่วยดูแลลูกตอนกลางคืนแม่ได้นอนพักเต็ม ๆ ก็จะฟื้นตัวเร็วขึ้น 2.หลังอาหารกลางวันอาจหาเวลาพักผ่อนให้ได้ประมาณ 30 นาที 3.เมื่อลูกหลับคุณแม่หลับด้วย แม้บางครั้งจะเป็นช่วงสั้น ๆ แต่ก็ช่วยให้แม่สดชื่นได้ 4.อย่ากังวลถึงงานการคั่งค้างมากเกินไป เลือกทำเฉพาะที่จำเป็นก่อน ขอให้แม่ ๆ ทุกท่านฟื้นตัวเร็ว ๆ นะคะ
การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างยิ่ง คุณแม่อย่าผัดวันกระกันพรุ่งนะคะ คุณแม่คนใหม่ควรเน้นการออกกำลังกายเบา ๆ ช่วงแรก อาจเป็นการเดินหรือทำงานบ้านที่ไม่ต้องใช้แรงมากนัก เพื่อช่วยในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในให้กลับสู่สภาพปกติได้เร็ว การบริหารยืดเหยียดร่างกาย การเดิน โยคะ หรือออกกำลังกายในแบบที่ชอบแต่ไม่ใช่แบบที่หนักหน่วงเกินไป หากทำเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น คุณแม่คลอดเองสามารถเริ่มออกกำลังกายเบา ๆ ได้ตั้งแต่ 2-3 วันหลังคลอด ส่วนคุณแม่ที่ผ่าคลอดควรเริ่มต้นออกกำลังหลังคลอดไปประมาณ 20 วันแล้วหรือตามคำแนะนำของคุณหมอ หากปล่อยทิ้งไว้นานหลายเดือนกว่าจะเริ่มออกกำลังกาย แม่ ๆ มักจะลดน้ำหนักยากค่ะ การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้น้ำหนักลด รูปร่างของแม่กลับคืนมา และยังป้องกันช่องคลอดหย่อนกระบังลมเคลื่อนอีกด้วย
การดูแลแผลหลังคลอดทั้งแผลคลอดเองและผ่าคลอด คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องความสะอาดค่ะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แผลคลอดธรรมชาติ จะมีอาการปวดแผล 3-4 วัน หรืออย่างมาก 1 สัปดาห์ และจะค่อย ๆ ทุเลาลง มักหายเองภายใน1 สัปดาห์หลังคลอด หากปวดมากสามารถกินยาแก้ปวดลดได้ แต่ถ้าปวดแผลฝีเย็บมาก มีอาการบวมแดง กดแล้วเจ็บอาจเป็นเพราะฝีเย็บอักเสบควรรีบพบคุณหมอทันที ต้องหมั่นดูแลความสะอาดไม่ให้เกิดการติดเชื้อ การทำความสะอาดโดยทั่วไปคือ ทำความสะอาดแผลทุกวัน วันละ 1-2 ครั้งด้วยสบู่หรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออย่างอ่อนล้างกับน้ำสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพราะการล้างจากก้นมาด้านหน้า จะนำเชื้อโรคจากทวารหนักมาสู่แผลและช่องคลอด แผลผ่าคลอด ตรวจดูแผลว่า มีการปริแตกไหม ซึ่งคุณหมอจะปิดพลาสเตอร์กันน้ำมาให้ เมื่อครบกำหนดที่คุณหมอนัดก็ควรไปตามนัดเพื่อให้ตรวจแผลว่าเรียบร้อยดีหรือไม่ คำแนะนำ ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดด้วยวิธีธรรมชาติหรือผ่าคลอด การดูแลแผลหลังคลอดเป็นสิ่งสำคัญ เน้นเรื่องความสะอาด เพราะหากแผลติดเชื้อจากสิ่งสกปรกจะยิ่งทำให้แผลหายช้ามากขึ้น t
คุณแม่มือใหม่มีหลายสิ่งหลายอย่างต้องเรียนรู้ แม้กระทั่งของที่ต้องเตรียมซื้อให้ลูกอย่างรถเข็นเด็กก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในท้องตลาดมีรถเข็นเด็กหลายแบบหลายชนิด รูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไปเพื่อจะให้โดนใจคุณแม่ที่มีความชอบแตกต่างกัน ทีนี้คุณแม่ก็ต้องมาคำนึงถึงอะไรบ้าง เลือกคุณภาพระดับไหน น้ำหนักเบาดีมั้ย ขนาดใหญ่หรือเล็กดีล่ะ แล้วยังมีแบบที่นั่งเดียวหรือหลายที่นั่งอีก มีลูกคนเดียวแต่ข้าวของเยอะรถเข็นขนาดใหญ่ก็อาจเป็นตัวเลือกที่ใช่ ไหนยังประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ก็ยังมาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจเลือกได้ มือใหม่น่าจะมึนกับตัวเลือกอันล้นหลามเหล่านี้ เรามีข้อแนะนำดี ๆ เป็นตัวช่วยให้คุณแม่ตัดสินใจค่ะ 1.ตั้งงบประมาณ รถเข็นเด็กมีราคาตั้งแต่ประมาณหลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ลองดูงบประมาณค่ะว่าถ้าจะซื้อรถเข็นให้ลูกสักคันคิดว่าจะจ่ายในราคาไม่เกินเท่าไหร่ แล้วค่อยมองหารถเข็นที่ใกล้เคียงกับงบประมาณในใจของคุณแม่จะได้ตีกรอบเป้าหมายในการเลือก 2.ดูคุณภาพ คุณภาพกับราคามักจะไปด้วยกันค่ะ คุณแม่ต้องถามตัวเองว่าต้องการคุณภาพระดับไหน ความทนทาน ความประณีต วัสดุที่ใช้ ความสะดวกในการใช้งาน อาจจะถามจากคุณแม่ผู้มีประสบการณ์ค่ะ 3.จะใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง เหตุผลในการเลือกรถเข็นที่เหมาะสมของแต่ละคนแตกต่างกันค่ะ คุณแม่ดูว่าต้องการประโยชน์ใช้สอยอย่างไร เช่น คุณแม่นักชอปฯ อาจมองหารถเข็นขนาดใหญ่มีที่วางของใต้รถ มีที่แขวน หรือมีช่องใส่ของใช้ของลูกหยิบสะดวก มีไลฟ์สไตล์ออกนอกบ้านบ่อย พาลูกเดินเล่นในสวนสาธารณะเป็นประจำ หรือจะมีลูกอีกคนภายใน 1 ถึง 3 ปีมั้ยจะได้เน้นที่ความทนทาน ถ้าเดินทางต่างประเทศบ่อยก็อาจเลือกแบบน้ำหนักเบา ถ้าขับรถคันเล็กที่เก็บของน้อยก็อาจพิจารณารถเข็นเด็กที่มีขนาดเล็กค่ะ 4.ดูความปลอดภัย ตัวรถมีความมั่นคงแข็งแรง น้ำหนักไม่เบาเกินไปเพื่อจะได้ไม่ล้มคว่ำง่าย หรือไม่หนักมาก เมื่อถึงเวลาลงเนินคุณแม่มีแรงจับรถเข็นไว้ได้ ตัวล้อไม่ลื่นจนเกินไป ไม่มีส่วนใดเป็นอันตรายต่อลูก เช่น มีส่วนที่แข็งหรือแหลมคม มีช่องที่มือหรือเท้าจะเข้าไปติดได้ สายรัดตัวเด็กแน่นหนาแต่ไม่ทำให้อึดอัดปลดล็อคง่าย…