เมื่อมนุษย์โลกยังคงต้องเผชิญต่อเชื้อไวรัสร้ายอย่าง Covid-19 หรือฝุ่นละอองที่ล่องลอยทำร้ายสุขภาพอยู่ทุกวัน ผู้ใหญ่หลายๆ คนบางครั้งยังต้านทานไม่ได้ แล้วร่างกายบางๆ จิ๋วๆ อย่างเด็กเล็กๆ จะทนทานได้อย่างไร เป็นอีกเรื่องปวดใจของคุณพ่อคุณแม่ จริงไหมคะ เมื่อโลกต้องเผชิญกับโลก เมื่อเราต้องอยู่กับมัน แบบป้องกัน และระวัง มาฝึกลูกให้ใส่หน้ากากอนามัยให้เค้าเคยชินกันค่ะ ฝึกอย่างไร มีแนวทางทั้งสิ้น 6 แนวทางด้วยกัน บางบ้านอาจใช้เพียง 1-2 แนวทาง ลูกๆ ก็ติดนิสัยสวมหน้ากากแล้ว แต่หลายบ้านอาจใช้ทั้ง 6 ก็ได้ คุณพ่อคุณแม่ลองทดลองดูค่ะ แนวทางที่ 1 ใส่กันทั้งบ้านเผื่อไม่ให้เด็กรู้สึกโดดเดี่ยว แปลกแยก คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรสวมหน้ากากด้วย แบบร่วมด้วยช่วยกัน ไปไหนไปกัน แนวทางที่ 2 ฝึกให้ชินกับการพูดใต้หน้ากากอนามัย ขณะสวมหน้ากากลองให้เด็กส่องกระจกและพูดคุย ชวนคุยองศาหน้าที่ขยับ ทั้งนี้ เพื่อให้ชินและไม่รำคาญเมื่อต้องพูดภายใต้หน้ากาก แนวทางที่ 3 ลองสวมหน้ากากให้กับตุ๊กตา หรือ วาดรูปหน้ากากบนการ์ตูนที่เด็กชอบ แนวทางที่ 4 ให้เด็กๆ ดูรูปเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันที่สวมหน้ากาก อาจเป็นภาพแฟชั่นหน้ากากสำหรับเด็ก แนวทางที่ 5 เล่นตกแต่งหน้าการให้เป็นรูปต่างๆ…
เด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ
ตลอดปี 2020 มานี้ ประชากรทั้งโลกเผชิญกับไวรัสตัวร้าย Covid-19 ที่สถิติมีอันดับสูงขึ้นๆ ในขณะที่ทีมวิจัยก็เร่งในการสร้างวัคซีน ในระหว่างนี้ ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป ทั้งการดูแลตัวเองให้รอดปลอดภัยจากไวรัสร้ายนี้ ผู้ใหญ่ก็มีหลักป้องปันที่ปฎิบัติได้แบบเป็นกฎเกณฑ์ แต่สำหรับเด็กเล็กๆ พ่อแม่ต้องดูแลทุกสิ่งรอบตัว สร้างพื้นที่ปลอดภัย หาทางปกป้องลูกน้อยกันสุดฤทธิ์ค่ะ อาการของเด็กเล็กที่ติดเชื้อ Covid-19 กลุ่มเด็กที่เสี่ยง และหากติดเชื้อจะอันตรายมากคือ เด็กทารกจนถึงเด็กเล็กอายุไม่เกิน 5 ปี หากติดเชื้อลักษณะอาการจะเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 °C ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก หายใจเร็ว หรือหายใจหอบเหนื่อย ร่วมกับในช่วง 14 วันที่ผ่านมามีประวัติเดินทางไปหรือมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อนี้อย่างต่อเนื่อง หรือเด็ก ๆ อาจจะมีประวัติสัมผัสกับผู้ที่เข้าข่ายสงสัยหรือยืนยันว่ามีการติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในบ้านเดียวกัน หรือมีประวัติไปในที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด ที่ขนส่งสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น 5 แนวทางสร้างพื้นที่ปลอดภัย ป้องลูกจาก Covid-19 เผื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้ฝึกลูกน้อยให้เป็นนิสัย อย่างน้อยเพื่อความปลอดภัย เพื่อความมั่นใจในเวลาที่ลูกอยู่ที่โรงเรียน หรือ…
สาเหตุที่มักทำให้ลูกน้อยเกิดอาการท้องผูกในเด็กเล็กๆ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กอายุ 1 เดือน สาเหตุที่ทำให้ท้องผูกได้แก่ 1. ไม่ได้ทานนมแม่ หากลูกน้อยไม่ได้ทานนมแม่ แต่ได้รับนมผสมสูตรที่อาจไม่เหมาะกับสภาพลำไส้ ก็อาจท้องผูกได้ เพราะในนมแม่มีใยอาหารที่ช่วยเสริมสุขภาพลำไส้ ทำให้ขับถ่ายง่าย 2. ได้รับน้ำน้อยเกินไป เด็กเล็กก็คล้ายๆผู้ใหญ่ค่ะ เมื่อขาดน้ำหรือได้รับน้ำน้อยเกินไป ก็จะทำให้อุจจาระแห้งแข็ง เป็นสาเหตุให้ถ่ายยาก ถ่ายไม่คล่องและท้องผูกในที่สุด 3. มีการเปลี่ยนนมหรือชนิดของอาหารเสริม ในกรณีที่มีการเปลี่ยนอาหารทั้งนมผงสูตรใหม่ ยี่ห้อใหม่ ทารกจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวกับอาหารใหม่เนื่องจากระบบการย่อยของเด็กเล็ก ๆ ยังทำงานไม่สมบูรณ์อาจจะมีอาการท้องผูกได้ 3. เกิดจากอาการป่วยของลูก การเจ็บป่วย เช่น เป็นไข้หวัด ตัวร้อน บางครั้งก็อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เนื่องจากการขาดน้ำ เมื่อหายจากอาการป่วย อาการท้องผูกก็มักจะหายไป 4. เกิดจากกรรมพันธุ์ ในครอบครัวถ้าคุณพ่อคุณแม่มีประวัติถ่ายยากและท้องผูกบ่อย ทารกก็อาจจะท้องผูกได้ง่าย 5. เกิดความผิดปกติของระบบขับถ่ายหรือลำไส้ เกิดจากความผิดปกติของลำไส้หรือระบบขับถ่าย ภาวะลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด ในกรณีนี้ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ 6. ทารกคลอดก่อนกำหนด เมื่อทารกคลอดก่อนกำหนดระบบย่อยอาหารยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ก็อาจท้องผูกได้ 7. เกิดจากแพ้อาหารผ่านคุณแม่ คุณแม่ในช่วงให้นมบุตร รับประทานอาหารบางชนิด ก็จะอาจส่งผลผ่านไปถึงน้ำนมที่ลูกได้รับ ทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน วิธีสังเกตว่าลูกท้องผูกหรือไม่…
เด็กเล็กๆ ทารกตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 1 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษจริงๆค่ะ ด้วยเพราะภูมิคุ้มกันของเขายังต่ำมากๆ มีความเสี่ยงที่สูงมาก ต่อการติดเชื้อจากไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอันตรายหลายๆ โรค อย่างเช่น RSV ที่ตอนนี้ ระบาดหนักในเด็กเล็กค่ะ ไวรัส และ แบคทีเรียที่มีอยู่มากมาย นอกจากสร้างเชื้อเพาะร้ายแล้ว อาจรุกรามไปจนถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอันตรายมาก เนื่องจากอาจทำให้ลูกน้อยพิการ หรือรุนแรงถึงเสียชีวิต ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องตื่นตัวคอยสังเกตอาการ รวมถึงป้องกันลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้ลูกติดเชื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ค่ะ อาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด อาการของเด็กทารกที่ติดเชื้อในกระแสเลือดจะค่อนข้างหลากหลาย เช่น มีไข้สูง ตัวเย็น เซื่องซึม เบื่ออาหาร หอบเหนื่อย และอาเจียน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ หรือการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อลูกน้อยมีอาการข้างต้น คุณพ่อคุณแม่อย่าวินิจฉัยและรักษาด้วยตัวเอง ควรพามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการป่วย หากลูกน้อยเกิดการติดเชื้อแล้วต้องทำอย่างไร พบแพทย์ คือคำตอบที่ดีที่สุดค่ะ และปฎิบัติตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัดที่สุดค่ะ
ไม่มีอะไรจะกลุ้มใจเท่ากับที่ลูกท้องผูกอีกแล้วจริงไหมคะการขับถ่ายของลูกถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากนะคะ เพราะมีผลต่อพัฒนาการของลูกทั้งทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ ยิ่งช่วงไหนลูกท้องผูกมากก็จะรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ อาจส่งผลให้มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนด้านอารมณ์ก็อาจจะทำให้ลูกนั้นหงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ หรืออาจเป็นเด็กที่ขี้กังวล กลัวการเข้าห้องน้ำไปเลยก็ได้ ทางแก้อาการท้องผูกที่คุณแม่ช่วยแก้ได้ง่าย ๆ คือ การเช็คว่าลูกดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่ และทานอาหารที่มี Fiber เพียงพอจริงรึเปล่า โดยเด็กอายุ 7-12 เดือน ควรได้รับน้ำวันละ 800 มล., เด็กอายุ 1-3 ขวบ ควรได้รับน้ำวันละ 1.3 ลิตร และเด็กอายุ 4-8 ขวบ ควรได้รับน้ำวันละ 1.7 ลิตร ซึ่งจะเห็นว่าปริมาณน้ำต่อวันจะต้องเยอะจริงๆถึงจะช่วยให้ลูกขับถ่ายเป็นปกติได้ นอกจากนี้ ไฟเบอร์หรือใยอาหารจากผักก็สำคัญ โดยเด็กๆควรได้รับปริมาณไฟเบอร์เพิ่มมากขึ้นตามอายุ เช่น อายุ 1 ขวบ ควรได้รับไฟเบอร์อย่างน้อยวันละ 6 กรัม แต่ แต่ ... หลายๆ ครั้ง หรือ คุณพ่อคุณแม่ หลาย ๆ บ้าน…
เด็กเล็กๆ ทารกตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 1 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษจริงๆค่ะ ด้วยเพราะภูมิคุ้มกันของเขายังต่ำมากๆ มีความเสี่ยงที่สูงมาก ต่อการติดเชื้อจากไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอันตรายหลายๆ โรค อย่างเช่น RSV ที่ตอนนี้ ระบาดหนักในเด็กเล็กค่ะ ไวรัส และ แบคทีเรียที่มีอยู่มากมาย นอกจากสร้างเชื้อเพาะร้ายแล้ว อาจรุกรามไปจนถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอันตรายมาก เนื่องจากอาจทำให้ลูกน้อยพิการ หรือรุนแรงถึงเสียชีวิต ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องตื่นตัวคอยสังเกตอาการ รวมถึงป้องกันลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้ลูกติดเชื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ค่ะ อาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด อาการของเด็กทารกที่ติดเชื้อในกระแสเลือดจะค่อนข้างหลากหลาย เช่น มีไข้สูง ตัวเย็น เซื่องซึม เบื่ออาหาร หอบเหนื่อย และอาเจียน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ หรือการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อลูกน้อยมีอาการข้างต้น คุณพ่อคุณแม่อย่าวินิจฉัยและรักษาด้วยตัวเอง ควรพามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการป่วย หากลูกน้อยเกิดการติดเชื้อแล้วต้องทำอย่างไร พบแพทย์ คือคำตอบที่ดีที่สุดค่ะ และปฎิบัติตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัดที่สุดค่ะ
คุณพ่อคุณแม่คงจะเคยเจอเหตุการณ์ ลูกท้องผูกหลายวัน อึอึ๊แข็ง ลูกถ่ายยาก หรือ อึอึ๊ มีเลือดปนมาด้วย ต้องเคยเจอปัญหานี้แน่นอน ทำให้ลูกไม่สบายตัว ไม่สบายท้อง งอแง และ มีผลต่อพัฒนาการลูกอีกด้วยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ แล้วแบบไหน ที่จะเรียกว่า ลูกท้องผูกแบบไม่ควรนิ่งนอนใจ สังเกตในหนึ่งสัปดาห์ หากลูก อึอึ๊ต่ำกว่า 3 ครั้ง แบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบช่วยลูกๆแล้วค่ะ 7 สาเหตุ และ 7 วิธี แก้ปัญหาเด็กท้องผูก เกิดจากกินน้ำน้อยเกินไป คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นคอยให้ลูกดื่มน้ำเยอะๆ หากเด็กๆไม่ยอมดื่มน้ำจากแก้ว อาจใช้วิธีให้กัดเป็นน้ำแข็งก้อนเล็กๆ หรือจัดน้ำใสภาชนะเก๋ๆ น่ารักๆ ให้เค้าดื่มก็ได้ค่ะ กินอาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อยเกินไป แก้ได้ด้วยการเพิ่มอาหารเส้นใย เช่น ผัก ผลไม้ สำหรับเด็กที่ไม่ชอบทานผักเลย ผักหากเป็นสีเขียว ลูกอาจจะ ร้องยี้ ! แนะนำว่า เป็นผลไม้ที่เป็นสีๆ หากเป็นผลไม้ก็จำพวก องุ่น ส้ม มะละกอ เชอร์รี่ ลูกพรุน แก้วมังกร…
การดูแลลูก คุณพ่อคุณแม่ แทบจะไม่กระพริบตา แทบจะเฝ้าระวังทุกวินาที แต่ บางครั้งไวรัส และ แบคทีเรีย ที่เรามองไม่เห็นอยู่แล้ว อาจเล็ดลอด พ้นสายตา พุ่งเป้าไปยังลูกรักได้ฉันใด เหล่าแม่ๆ ก็ต้องหาทาง หากวิธี ในการป้องกันให้ได้มากที่สุดเช่นกัน นี่คือ 7 วิธีป้องกันลูกน้อยจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรียค่ะ เริ่มตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์เลยค่ะ 1) ดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ให้ดีที่สุด การดูแลลูกอย่างดีที่สุด คือ การที่คุณแม่ดูแลร่างกายตัวเองอย่างดีที่สุดค่ะ ลดความเสี่ยงทั้งหลายทั้งปวง สิ่งแรกที่ต้องทำเพื่อลูกน้อยเลยคือ การไปตามนัดฝากครรภ์สม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ และหากรู้สึกผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ที่สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อจากลูกสู่แม่ได้ 2) ให้ลูกทานนมแม่ให้นานที่สุด นมแม่นี่แหละค่ะ คืออาหารที่มีภูมิคุ้มกันชั้นเลิศของลูก คุณแม่ควรให้ลูกทานนมต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ที่ไม่มีวัคซีนที่ไหนจะเทียบได้ค่ะ ย้ำค่ะ นมแม่ดีที่สุด 3) ดูแลความสะอาดของใช้อยู่เสมอ ของใช้ทุกชิ้น ตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องนอน ของใช้ต่างๆ ภาชนะจำพวกขวดนมควรใช้ต้องลวกนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ ของเล่นต้องทำความสะอาด ในกรณีที่คุณแม่ไม่มีเวลา หรืออยู่ระหว่างเดินทางคุณแม่อาจมีตัวช่วยแบบด่วนๆ เช่น…
เด็กๆ ส่วนใหญ่ มักห่วงเล่น ห่วงกิน และไม่ค่อยระวังเรื่องความสะอาด บางทีเด็กๆ อาจดูแลความสะอาดในตัวตามคำสั่งของผู้ใหญ่ แต่กิจกรรม หรือของเล่น แม้กระทั่งสถานที่เล่นอาจสกปรก เด็กๆ ไม่ระวัง ก็อาจทำให้เชื้อโรคแบคทีเรียต่างๆ เข้าสู่ร่างกายได้ ความรู้จักกับภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังในเด็กว่าเป็นอย่างไร คือโรคติดเชื้อที่ผิวหนังในบริเวณที่เป็นชั้นตื้นๆ ของหนังกำพร้า พบบริเวณใบหน้า แขน ขา ที่มีรอยแผลอย่างรอยแผลจากการเกา พบบ่อยในเด็กและมีการติดต่อได้ง่าย โดยส่วนใหญ่จะได้ยินว่า "น้ำเหลืองไม่ดี" แต่จริงๆแล้วไม่เกี่ยวกับน้ำเหลืองค่ะ ลักษณะของอาการเป็นอย่างไร? เริ่มด้วยมีตุ่มน้ำหรือหนองเล็กๆที่แตกออกง่ายจึงทำให้มีน้ำเหลืองและน้ำหนองแห้งกรังเป็นสะเก็ดสีเหลืองๆ มีอาการบวมแดง ตึง อักเสบ เจ็บ และอาจมีไข้สูง สาเหตุเกิดจาก เกิดจากความสกปรก ไม่รักษาความสะอาด ไปเล่นดิน น้ำ ทราย พงหญ้าแล้วไม่ล้างให้สะอาด ถูกแมลงกัด เช่น ยุงหรือมด แล้วเกาจนเป็นแผล วิธีการป้องกันทำยังไง รักษาความสะอาดทุกอย่างทั้งร่างกายและของใช้ ตัดเล็บมือเล็บเท้าลูกให้สั้น และหมั่นทำความสะอาด ทำความสะอาดหลังเล่นน้ำ ดิน ทราย งดล้วงแคะแกะเกา
เบบี๋เมื่อเข้าสู่วัยเลยสามเดือนเป็นต้นไป จะเริ่ม คันเหงือก หมั่นเขี้ยวเหงือก เห็นอะไรก็จะหยิบเข้าปาก อยากกันอะไรแข็งๆ เข่นขอบโต๊ะ ของเล่น มือ ทุกอย่างๆ เรียกกว่า อยากกัดทุกอย่างที่ขวางหน้าค่ะ คุณแม่หลายๆ บ้านเลย ก็จะเตรียมยางกัด เพื่อให้ลูกใช้กัด เพื่อว่าจะแน่ใจว่าสะอาด ทำความสะอาดง่าย ประโยชน์ทางตรง นวดเหงือก ทำให้เหงือกของลูกนิ่ม เพื่อฟันที่จะขึ้นมา ขึ้นได้ง่ายขึ้น ลดอาการคัน เนื่องจากเหงือกมีการขยายตัวนั่นเอง แก้อาการหมั่นเขี้ยว ป้องกันลูกดูดนิ้วตัวเอง เพราะอาจมีเชื้อโรคใดๆ เข้าสู่ร่างกายได้ ช่วยทำให้ลูกไมเจ็บเหงือก ทำให้ไม่ต้องไปกัดสิ่งอื่น ประโยชน์ทางอ้อม บริหารกล้ามเนื้อมือ ฝึกพัฒนาการการจับสิ่งของ โดยเฉพาะกล้าวเนื้อมัดเล็กของลูก ฝึกพัฒนาการด้านสมอง ประสาทสัมพัส ฝึกลูกเรียนรู้รูปทรง สีสันที่แตกต่าง พัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกได้ จัดเป็นของเล่นหนึ่งของลูกได้