คุณแม่ลูกเล็กวัย 1 ถึง 3 ขวบ ต้องเจอกับวัยปฏิเสธของลูกค่ะ บางครั้งคุณแม่เผลอปี๊ดวันละหลายรอบ เริ่มสงสัยว่าคนละคนกันหรือเปล่า เพราะตอนยังเล็กกว่านี้น่ารักเชื่อฟังแม่มาก ทำไมลูกจึงปฏิเสธไปเสียทุกอย่าง การปฏิเสธของลูกเป็นพัฒนาการตามวัยของเขาค่ะ เพราะลูกกำลังมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง ค่อย ๆ สร้างความเป็นตัวของตัวเองขึ้นมา และอยากทำอะไรเอง จึงไม่ชอบฟังคำสั่งของใครมีข้อแนะนำดี ๆ ในการดูแลลูกวัยปฏิเสธมาฝากกันค่ะ 1.อย่าห้ามทุกเรื่อง ห้ามเฉพาะเรื่องที่สำคัญ หรือเรื่องที่เป็นอันตราย เช่น เล่นในสิ่งที่พ่อแม่ห้าม การเล่นปลั๊กไฟเล่นของแตกง่ายปีนป่ายที่สูง คุณแม่ลดการปฏิเสธของลูกได้ด้วยการดูแลความปลอดภัยในบ้าน กั้นบริเวณที่ไม่ให้ลูกเข้าถึง เก็บของที่ลูกไม่ควรเล่นหรือเอาเข้าปากให้พ้นมือ จัดโซนของเล่นและฝึกให้ลูกเก็บของเล่นเอง 2.อย่าซีเรียสกับคำว่าไม่ของลูก คุณแม่ลดความเหนื่อยลงได้ด้วยการทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ไม่สนใจบ้าง ถึงเวลากินแล้วไม่ยอมกิน คุณแม่แค่บอกว่าอีก 10 นาทีแม่เก็บนะคะ ถ้าลูกมากินไม่ทันเดี๋ยวจะหิวแย่ วันนี้มีของอร่อยเสียด้วยสิ แล้วคุณแม่ก็เก็บจริงค่ะ 3. เปลี่ยนคำถามใหม่ จาก อยากกินข้าวไหม อยากกลับบ้านไหมอยากนอนไหม ลูกมักจะตอบว่าไม่ เลี่ยงคำถามที่ลูกจะปฏิเสธได้ เปลี่ยนเป็น เดี๋ยวเรากำลังจะกลับบ้านแล้วค่ะ เดี๋ยวถึงเวลากินข้าวเตรียมตัวนะคะ…
เด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ
ทุกวันนี้เราพบว่าเด็กเล็กมีการแพ้อาหารกันมากขึ้น อาการแพ้มีตั้งแต่ระดับอ่อนไปจนถึงขั้นรุนแรง จึงควรดูแลให้ลูกหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ค่ะ มาดูกันว่าอาหารประเภทไหนบ้างที่ติดอันดับ Top 6 1.นมวัว เด็กเล็กมีโอกาสแพ้โปรตีนในนมวัวได้ง่าย พบว่าคุณแม่ที่ดื่มนมมาก ๆ ระหว่างท้องและให้นม ลูกจะมีโอกาสแพ้นมวัวง่าย 2.ไข่ พบบ่อยว่าแพ้ในช่วงขวบปีแรก และมักจะหายไปเมื่ออายุประมาณ 9 ปี โอกาสแพ้ไข่ขาวมีมากกว่าไข่แดง เด็กเล็กควรเริ่มกินไข่แดงก่อน อาจเริ่มไข่ขาวตอน 8 เดือนหรือ 1 ขวบ 3.อาหารทะเล ไม่ใช่แต่กุ้งและปูเท่านั้นที่แพ้ ยังมี หอย และปลาหมึก ปลาก็มีโอกาสแพ้ได้ทั้งปลาทะเลและปลาน้ำจืด 4.ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็งพวกลูกนัทต่าง ๆ และถั่วเหลือง รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยวทำจากถั่วเหลือง อาการแพ้ถั่วมักไม่หายไปเมื่อโต 5.ข้าวสาลี มีในอาหารและขนมหลายชนิด และเป็นส่วนผสมของซีอิ๊วหรือซอสบางอย่าง 6.อาหารแปรรูป ที่มีส่วนผสมของอาหารที่แพ้ เช่น ไข่ ถั่ว ข้าวสาลี อาหารทะเล อาจรับประทานเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เช่น ซอส เต้าหู้ กะปิ อาหารหรือขนมที่ผสมแป้งสาลี…
เมื่อเด็กเล็ก ๆ เป็นหวัดอาการมักจะรุนแรงกว่าเด็กโต เพราะร่างกายยังอ่อนแอ สามารถเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น โรคหลอดลมอักเสบหรือปอดบวม และยังดูดนมไม่สะดวกจากอาการคัดจมูกมีน้ำมูก มีวิธีดูแลมาฝากค่ะ ให้วัดปรอทดูว่ามีไข้หรือไม่ ถ้าไม่มีคอยดูแลให้ร่างกายลูกอบอุ่น ไม่ต้องให้นอนก็ได้ถ้าลูกไม่อยากนอน ถ้าลูกมีไข้ขึ้นสูงประมาณ 38 องศาเซลเซียส และไข้ไม่ลดลงในเวลา 4-6 ชม. ควรให้ลูกนอนพัก เช็ดตัวและให้ยาลดไข้ หรือพาไปพบคุณหมอ สังเกตน้ำมูกลูก ถ้าน้ำมูกข้นมีสีเหลืองหรือสีเขียว อาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน แต่ถ้าน้ำมูกใสอาจเกิดจากโรคแพ้ฝุ่นละอองเกสรต่าง ๆ ลองปรึกษาคุณหมอค่ะ ไม่ควรซื้อยากแก้ไอให้ลูกกินเอง ควรพาลูกไปพบคุณหมอ ซึ่งคุณหมออาจให้ยาแก้ไอหรือยาขับเสมหะถ้าลูกไอมาก ควรพาลูกไปพบคุณหมอ ถ้าสงสัยว่าลูกมีอาการติดเชื้ออื่นร่วมด้วย หรือลูกมีอาการไม่ยอมกินข้าว หรือไอจนนอนไม่หลับ หรือมีอาการกระวนกระวายผิดปกติ เมื่อไปพบคุณหมอแล้วใช้ยาตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ยาเองติดต่อกันเป็นเวลานาน ยกศีรษะลูกให้สูงเวลานอนโดยใช้หมอนหนุนใต้ที่นอน เพื่อช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้น ให้ลูกจิบน้ำบ่อย ๆ อาจเป็นน้ำอุ่น น้ำมะนาวผสมเจือจาง ให้น้ำหวานที่ลูกชอบด้วยก็ได้ ให้ดื่มน้ำก่อนนอน เพราะเป็นไข้ร่างกายสูญเสียน้ำ สอนให้ลูกสั่งน้ำมูกอย่างถูกวิธี โดยให้สั่งน้ำมูกทีละข้าง ให้ลูกนอนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี ควรทำห้องให้ชื้น หรือตั้งอ่างไว้ใต้เครื่องปรับอากาศเพื่อให้น้ำระเหย จะทำให้ลูกหายใจได้คล่องขึ้น ใช้น้ำมันหอมระเหย เช่น ยูคาลิปตัส…
อากาศชื้น ๆ เย็น ๆ อย่างนี้โรคมือเท้าปากระบาดได้ง่าย พบได้บ่อยในเด็กเล็กช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปีค่ะ รับเชื้อโรคมาจากไหน มือเท้าปากเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ยังไม่มียาเฉพาะที่ฆ่าเชื้อโรคได้ มักติดต่อโดยการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นจากการกินอาหารที่มีเชื้อโรค สัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย รวมไปถึงอุจจาระแล้วนำมือเข้าปาก การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างตามโรงเรียน เนอสเซอรี่ เด็ก ๆ จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย สังเกตอาการลูกเล็กไม่ยอมกิน ลูกอาจมีอาการป่วยคล้ายกับหวัด มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อนอนไม่หลับหรือหลับมากกว่าปกติ ขอดื่มแต่น้ำเย็น นอกจากอาการตุ่มสีแดงขึ้นบริเวณมือ เท้า ปากแล้ว ในเด็กเล็กที่ยังบอกอาการไม่ได้ คุณแม่อาจไม่ทราบว่าลูกเจ็บปาก ลองสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร ไม่ดื่มน้ำ น้ำลายไหล อาการนี้ต้องพบคุณหมอ ถ้ามีไข้สูง หรือรับประทานอะไรไม่ได้ ดูซึมลง ปัสสาวะออกน้อยลง หรือสีเข้มขึ้น ควรรีบพาไปหาคุณหมอ คุณหมอจะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก…
สิ่งสำคัญหนึ่งที่ช่วยให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดเชื้อในช่วงหลังคลอดได้ คือ การฉีดวัคซีนให้แม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งช่วยลดการเกิดโรคหลายชนิดที่เป็นในคุณแม่ได้ และยังสามารถส่งผ่านภูมิคุ้มกันไปถึงลูกในท้อง ส่งต่อภูมิคุ้มกันจนกระทั่งลูกเกิดมาลืมตาดูโลก แต่อย่างไรก็ตามจะต้องไม่ลืมพาลูกรักไปรับการฉีดวัคซีนอย่างตอ่ เนอื่งใหครบตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ จึงจะช่วยป้องกันโรคอย่างได้ผลที่สุด รู้จัก 6 โรคสำาคัญ ที่ต้องป้องกันด้วยวัคซีน ลูกรักวัยแรกเกิดจนถึง 1 ขวบ การฉีดวัคซีนทุกชนิดให้ครบกำหนดจะต้องฉีดวัคซีนอย่างน้อย 16-20 ครั้ง ทำให้ลูกรักเจ็บตัวหลายหน จึงทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนรวมที่มีประสิทธิภำพ ครอบคลุมโรคต่ำงๆ ที่เด็กจะต้องฉีดป้องกันตำมเกณฑ์ 6 โรคได้แก่ คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ ตับอักเสบบี ไอกรน และเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ ซึ่งไม่เพียงช่วยให้เจ็บตัวน้อยลง แต่ยังช่วยลดควำมยุ่งยำก ลดค่าใช้จ่าย มีความปลอดภัย ช่วยให้ได้รับวัคซีนครบทุกชนิดมากกว่าการแยกฉีด เพราะวัคซีนรวม 6 โรคสามารถฉีดพร้อมกับวัคซีนอื่นๆ ที่ต้องฉีดในช่วงอายุนั้น และทำให้มีไข้น้อย เช่น วัคซีนไอกรนจะใช้ชนิดที่ไม่มีตัวเชื้อ หลังฉีดทำให้ร้องกวนหรือเป็นไข้น้อยลง
Q : ลูกกำลังเล่นเพลินจะถึงเวลากินข้าวอยู่แล้ว เรียกให้กินข้าวแต่ไม่ยอมมาจะทำยังไงดี ? A : ลูกกำลังนั่งเล่นอยู่แล้วคุณแม่พูดว่าเลิกเล่นได้แล้วเก็บของเล่นไปกินข้าว เขากำลังเพลินอยู่ดี ๆ ถูกตัดฉับ ให้หยุดทันทีเด็กจะปรับตัวไม่ทัน การที่ลูกกินข้าวช้าไปอีก 30 วินาทีไม่เป็นอะไรค่ะ เราเข้าไปหาเขาชวนคุย ไหนเล่นอะไรคะลูก เล่นกับเขาอีกซัก 30 วินาที แล้วพูดขึ้นว่าคุณแม่หิวข้าวแล้ว อาจจะแตะที่ท้องลูก แล้วหนูหิวแล้วหรือยัง เป็นการค่อย ๆ เปลี่ยนอารมณ์ลูก การให้เด็ก ๆ เก็บของเล่นให้ได้ผลอย่าสั่งว่าเก็บของเล่นเดี๋ยวนี้ ควรปลูกฝังเขาทีละน้อยเรื่องการเล่นแล้วเก็บ ส่วนใหญ่คนเป็นพ่อแม่มักจะใจร้อน สั่งแล้วต้องทำเดี๋ยวนี้ เรากำลังสร้างให้ลูกของเรากลายเป็นคนขี้โมโหหรือขี้หงุดหงิด การปลุกให้ลูกตื่นนอนตอนเช้าก็เช่นกัน ลูกกำลังฝันหวาน แม่สั่งให้ตื่นต้องไปโรงเรียน สภาวะจิตปรับไม่ทัน สังเกตดูว่าวันไหนรีบจะโดนต่อต้าน ลูกอาจไม่ยอมอาบน้ำ ไม่ยอมลุกจากที่นอน เพราะฉะนั้นเวลาปลุกลูกจึงควรปลุกเขาเบา ๆ บอกให้เวลาอีกสัก 2 นาทีนะ ให้รู้ตัวก่อน นาฬิกาปลุกเรายังมีปุ่ม snooze กับลูกก็เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าต้องตื่นเดี๋ยวนี้ ให้ลูกได้เตรียมตัวเตรียมใจสักนิด การสอนให้ลูกมีระเบียบวินัย ควรใช้ความสม่ำเสมอ…
วัย 1-3 ปีเป็นวัยที่ลูกกำลังพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง และพฤติกรรมหนึ่งที่คุณแม่ไม่ชอบใจเลยก็คือการกรี๊ดของลูกน้อย รวมทั้งอาการเอาแต่ใจลงไปร้องดิ้น พระคุณลูกกรี๊ดคุณแม่โกรธบรรยากาศก็จะตึงเครียด มาดูวิธีรับมือกับลูกวัยกรี๊ดกันค่ะ 1.เตรียมใจลูกก่อนเจอกับสถานการณ์ คุณแม่สังเกตดูว่าลูกมักจะกรี๊ดเมื่อไหร่ด้วยเหตุผลอะไร เช่น พาไปเที่ยวห้างแล้วไม่ซื้อของเล่นให้จะร้องดิ้น ควรทำความตกลงกันก่อน 2.เบี่ยงเบนความสนใจ หรือหาสิ่งที่สนุกกว่ามาหลอกล่อ เช่น พาลูกออกไปเล่นที่สนามเด็กเล่น แล้วลูกเล่นเพลินไม่ยอมเลิก อาจจะบอกเขาว่าน่าเสียดายจัง ถ้าไปช้าอดกินขนมร้านโปรด 3.ฝึกให้ลูกสื่อสารอย่างเหมาะสม อาการกรี๊ดเกิดจากไม่ได้ดั่งใจและยังเกิดจากการที่เด็กไม่รู้ว่าจะพูดหรือจะบอกอย่างไร คุณแม่ค่อย ๆ สอนเขาค่ะ ว่าถ้าต้องการอะไรให้พูดอย่างไร สอนให้เขาบอกความรู้สึกต่าง ๆ เสียใจ โกรธ ไม่ชอบ ไม่อยากทำ กลัว ฯลฯ 4.ทำใจให้สงบ ไม่โกรธ อาจจะนับ 1-10 หรือนับไปเรื่อย ๆ ค่ะคุณแม่ การที่คุณแม่ไม่โกรธ สถานการณ์จะดูคล้ายกับว่าคนหนึ่งโกรธและหาคนทะเลาะด้วยไม่ได้ก็จะสงบลงไปเองคุณแม่ยิ่งโกรธยิ่งบานปลายเพราะฉะนั้นสงบนิ่งเลยค่ะ 5.ปล่อยให้กรี๊ด ถ้าลูกร้องกรี๊ดหรือลงไปร้องดิ้นเพราะความเอาแต่ใจ คุณแม่ปล่อยเขาเต็มที่เลยค่ะ เมื่อลูกเห็นว่าวิธีนี้ไม่ได้ผลก็จะเลิกไปในที่สุด แต่คุณแม่ต้องคอยดูให้อยู่ในสายตาด้วยนะคะ นอกจากใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อลดอาการกรี๊ดของลูกแล้ว…
Q เวลาห้ามลูกอย่างเช่น หยุดเล่นก่อนนะเดี๋ยวค่อยเล่นต่อ หรือน้องเล่นกับพี่แรงเกินไปแม่บอกให้หยุดก็ไม่หยุดยิ่งพูดเหมือนยิ่งยุ จะมีวิธีจัดการอย่างไร ? A : ประเด็นแรกก็คือถ้าพูดแล้วลูกไม่เชื่อฟัง เวลาตัวเราจะสั่งหรือบอกลูกให้ทำตามเรามีความสม่ำเสมอหรือเปล่า ถ้าแต่ละวันไม่เหมือนกัน ลูกก็จะรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าต้องการให้ลูกทำตามคำพูดพ่อแม่ต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา คุณพ่อคุณแม่ควรจะไปในทิศทางเดียวกันด้วย คุณแม่บอกไปซ้ายทั้งพ่อและแม่ควรจะต้องบอกไปซ้ายด้วยกัน จังหวะในการบอกก็สำคัญ ถ้าลูกกำลังสนุกสนานเพลินอยู่กับการเล่น กำลังมีความสุขอยู่ดี ๆ พ่อแม่มาขัด เด็กปรับสภาพจิตใจไม่ทัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องให้เวลาเขา เช่น ลูกกำลังเล่นกันเสียงดังสนุกสนาน คุณแม่อาจจะพูดด้วยเสียงอ่อนโยนกับลูกว่าไหนกำลังทำอะไรกันคะ ลูกก็จะค่อย ๆ ปรับจิตใจ ปรับอารมณ์ได้ ถ้าเราฝึกให้ลูกค่อย ๆ ปรับอารมณ์ลูกก็จะชินกับสภาวะที่ไม่ต้องดื้อชินกับสภาวะที่ไม่ต้องกระแทกอารมณ์ แสดงความ หงุดหงิดหรืออารมณ์รุนแรงออกมา คุณพ่อคุณแม่เองก็จะไม่ต้องกังวลใจว่าทำไมลูกเป็นคนขี้โมโหค่ะ เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook : Mother&Care : Raising…
ข่าวคราวเด็กทารกมีอาการป่วยอย่างรุนแรงบางรายถึงขั้นเสียชีวิตเพราะติดเชื้อจากการหอมหรือจูบจากผู้ใหญ่เกิดขึ้นเป็นระยะ ล่าสุดคุณแม่ชาวอเมริกันอบิเกล โรสผู้สูญเสียลูกสาวอายุพียง 8 วันไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 หลังจากผ่านการทำใจเป็นเวลาหลายเดือน เธอจึงเผยแพร่เรื่องราวลงเฟซบุ๊กเพื่อเป็นข้อเตือนใจคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยทารก ตามข่าวเด็กหญิงรับเชื้อจากคนที่มีเชื้อเริมมาจูบ เชื้อโรคจึงเข้าไปทำลายกระดูกสันหลัง ปอด และสมอง เรื่องน่าเป็นห่วงก็คือคนที่เป็นโรคเริมอาจไม่แสดงอาการของโรคแต่สามารถแพร่เชื้อได้ เพราะฉะนั้นการแสดงความเอ็นดูจึงต้องอดใจไม่หอมไม่จูบเด็กทารกค่ะ สาเหตุที่เชื้อไวรัส HSV-1 สาเหตุของโรคเริมดูเหมือนจะไม่ใช่โรคร้ายแรงสำหรับผู้ใหญ่ แต่กลับอันตรายต่อทารกช่วงวัยแรกเกิดเนื่องจากภูมิคุ้มกันในวัยนี้ยังไม่แข็งแรงเพียงพอ เมื่อรับเชื้อโรคนี้เข้าไปอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต นอกจากเริมแล้ว การหอม จูบ หรืออุ้มเด็กโดยได้ไม่ล้างมือยังทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อได้หลายชนิด เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก RSV และอีกหลายต่อหลายโรค เพื่อความปลอดภัยของลูกวัยทารก 1.ก่อนอุ้มเด็กควรล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด 2.ไม่ควรจับใบหน้าเด็ก 3.ไม่ควรหอมแก้มหรือจูบทารก แม้ตัวคุณแม่เองก็ตาม โดยทั่วไปเรามักเข้าใจว่าเด็กทารกไม่ได้อ่อนแอขนาดนั้น แค่หอมแค่จูบจะเป็นอะไรไปได้ เด็กอื่นอีกตั้งมากมายไม่เห็นจะเป็นอะไร ข่าวนี้คือคำตอบค่ะ คุณแม่ที่ไม่ให้ใครมาหอมจูบลูกวัยทารก อาจจะเว่อร์เกินไป ดูน่าหมั่นไส้อนามัยจ๋า แต่คุณแม่ทำถูกแล้วค่ะ ป้องกันไว้ก่อน ไม่มีอะไรเว่อร์ไปสำหรับความปลอดภัยของลูกน้อย
สะดือของเด็กแรกเกิดเป็นสิ่งที่ต้องดูแลอย่างพิถีพิถัน ต้องหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลง และทำความสะอาดอย่างถูกวิธีค่ะ สะดือแฉะ : สะดือไม่แห้งหรือมีน้ำหยดจากสะดือเวลาทารกร้องหรือเบ่ง เป็นน้ำสีเหลืองหรือเขียวและอาจมีเลือดออกซิบ ๆ สะดืออักเสบ : บริเวณรอบๆ ขั้วสะดือบวมแดงและร้อนและเด็กร้องกวน เมื่อดมดูจะได้กลิ่นเหม็นผิดปกติ เลือดออกทางสะดือ : เมื่อเอาสำลีซับจะมีเลือดติดออกมา อาจจะมีก้อนเนื้อแดงเรื่อขนาดเท่าถั่วแดงอยู่ในสะดือ สะดือโป่ง สะดือจุ่น : เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไป อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน 2-3 เดือน แต่บางคนอาจถึง 1 ปี สะดือโป่ง สะดือจุ่น : เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไป อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน…