Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์

6 ข้อควรรู้คลอดเองและผ่าคลอด

คุณแม่มีคำถามอยู่ในใจใช่มั้ยคะว่าจะคลอดเองหรือจะผ่าคลอดดี มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการคลอดมาฝากค่ะ 1.ความปลอดภัย - ถ้าคุณหมอบอกว่าร่างกายคุณแม่ปกติดีไม่มีปัญหา การเลือกคลอดเองจะปลอดภัยกว่าทั้งกับแม่และลูกมากกว่า 2.ฟื้นตัวเร็วกว่า – การคลอดเองฟื้นตัวเร็วกว่าผ่าตัดคลอด 1-2 วันก็เริ่มลุกเดินได้แล้ว มดลูกไม่มีแผลผ่าตัด การผ่าคลอดใช้เวลาประมาณ 1 เดือนกว่าจะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ 3.ความเจ็บปวด – การคลอดเองจะเจ็บปวดช่วงใกล้คลอดและขณะคลอด ซึ่งให้ยาลดอาการปวดได้ พอผ่านพ้นการคลอดไปแล้วก็จะไม่เจ็บนานอย่างการเจ็บแผลผ่าตัดคลอด แผลผ่าคลอดใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงจะหาย 4.ดีต่อลูกมากกว่า – การคลอดเองปอดลูกจะถูกบีบออกเมื่อตัวเด็กผ่านทางช่องคลอดลดปัญหาน้ำคร่ำคั่งค้างในปอด และ ได้รับแบคทีเรียชนิดดีที่เป็นprobioticระหว่างการคลอดกระตุ้นภูมิคุ้มกัน 5.รู้เวลาคลอดแน่นอน – การผ่าคลอดจะรู้วันเวลาแน่นอนเพราะกำหนดได้ การคลอดเองใช้เวลารอนานกว่าจะถึงช่วงการคลอดและกำหนดวันแน่นอนไม่ได้ 6.ความเสี่ยง – คลอดเองอาจเสี่ยงกับภาวะบางอย่าง เช่น ปากมดลูกไม่เปิด หรือเปิดช้า หัวใจเด็กเต้นช้า ฯลฯ ผ่าคลอดเสี่ยงจากดมยาสลบหรือบล็อกหลัง การเลือกคลอดเองหรือผ่าคลอด น่าจะเป็นการเลือกตามความเหมาะสมและความจำเป็น ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย น่าจะเป็นเหตุผลที่ช่วยแม่ตัดสินใจได้ดีค่ะ

Read more

ควรเลือกผ่าคลอดเมื่อจำเป็นจริงหรือ ?

คุณแม่ตั้งครรภ์กำลังจะเลือกใช่มั้ยคะว่าจะคลอดเองหรือผ่าคลอดดี ความจริงแล้วการเลือกวิธีไหนน่าจะคำนึงถึงความเหมาะสมและความปลอดภัยเป็นหลักค่ะ ถ้าร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ฝากครรภ์พบคุณหมอตามนัดคุณหมอบอกว่าคลอดเองได้ การคลอดเองจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าและยังเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าค่ะ การคลอดเองจะดีกับตัวคุณแม่เพราะฟื้นตัวเร็ว ลดโอกาสเสี่ยงอันตรายจากการดมยาและผ่าตัดลงไป และ ยังดีต่อการทำงานของปอดและภูมิคุ้มกันระบบทางเดินอาหารและสำไส้ของลูก WHO หรือองค์การอนามัยโลกรายงานว่าแม่ที่คลอดโดยการผ่าตัดทำคลอดมีความเสี่ยงอันตรายสูงกว่าการคลอดปกติถึง 3 เท่า การผ่าคลอดควรเกิดขึ้นเมื่อไหร่ คุณหมอแนะนำให้ผ่าเพราะภาวะร่างกายคุณแม่มีความจำเป็นต้องผ่าคลอดค่ะ เช่น เด็กตัวโตเกินไป เด็กไม่อยู่ในท่าปกติ แม่อุ้งเชิงกรานเล็ก ปากมดลูกเปิดไม่มากพอ ท้องลูกแฝด รกเกาะต่ำขวางการคลอด แม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ครรภ์เป็นพิษ รกลอกตัวก่อนกำหนด ติดเชื้อในมดลูก ฯลฯ แม่มีโรคบริเวณช่องคลอด เช่น เริม หูดหงอนไก่ มะเร็งปาดมดลูก ฯลฯ แม่ตกเลือดก่อนคลอด เสียงหัวใจลูกเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติ ปากมดลูกเปิดน้อยหรือเปิดช้า เคยผ่าตัดมดลูกแล้วคุณหมอลงความเห็นว่าควรผ่าคลอด ฯลฯ การผ่าคลอดมีความเสี่ยงหลายประการ การฟื้นตัวและแผลผ่าตัดกว่าจะหายใช้เวลานานกว่ากัน คุณแม่ควรหาข้อมูลรอบด้าน ปรึกษาคุณหมอ เลือกผ่าคลอดเพราะเหตุผลทางการแพทย์และความปลอดภัยเป็นหลักค่ะ

Read more

ท้องวัย 35 ต้องดูแลตัวเองอย่างไร ?

คุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 35 ปีมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองเพื่อแม่และลูก และยังต้องพบคุณหมอตามนัดด้วยนะคะ คุณแม่อาจได้รับการตรวจพิเศษตามคำแนะนำของคุณหมอ เช่น ตรวจอัลตร้าซาวด์ เจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ตรวจชิ้นเนื้อรก เป็นต้น การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแม่ทุกวัยรวมทั้งแม่ท้องในวัย 35 ปีขึ้นไป ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้ไม่ยากเลยค่ะ 1.พบคุณหมอตามนัดสม่ำเสมอ นอกจากตรวจสุขภาพครรภ์คุณหมอจะให้คำแนะนำรวมทั้งให้วิตามินเสริมที่จำเป็น เช่น กรดโฟลิก 2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เหมาะสมทั้งปริมาณและสารอาหารครบ 5 หมู่ 3.เลี่ยงชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาแฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ เลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่สูบบุหรี่ 4.พยายามควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 5.ปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยา หรือใช้ยาอยู่ก่อนตั้งครรภ์ก็ควรปรึกษาคุณหมอค่ะ 6.ปรึกษาคุณหมอเรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะกับแม่ท้องและออกกำลังกายเป็นประจำ 7.พักผ่อนนอนหลับให้พอเพียง หลีกเลี่ยงความเครียด ถ้าเครียดให้ผ่อนคลายในแบบที่คุณแม่ชอบแต่ต้องไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ การเอาใจใส่สุขภาพตัวเองจะช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์คุณภาพอย่างมีความสุขและลดโอกาสเกิดปัญหาด้วยค่ะ

Read more

ธาราบำบัดดีต่อแม่และลูกจริงหรือ ?

น้ำมีคุณประโยชน์หลากหลายรวมทั้งการบำบัดรักษาค่ะ เรามาดูกันว่าในแนวทางของธรรมชาติบำบัดนั้นใช้น้ำเป็นตัวช่วยคุณแม่และลูกอย่างไรกันบ้าง แม่ท้องและหลังคลอด การออกกำลังกายในน้ำช่วยให้จิตใจสดชื่น ลดความวิตกกังวล และอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว เช่น เหนื่อยง่าย แน่นอึดอัด นอนหลับไม่ค่อยสนิท เท้าบวม ปวดหลัง เป็นตะคริว น้ำจะช่วยพยุงน้ำหนักตัวลดแรงกดของข้อต่อ ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง คลอดง่ายขึ้น และยังช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดให้กลับสู่สภาพเดิมได้เร็วขึ้น เด็กและทารก เด็กทุกวัยสามารถออกกำลังกายในน้ำได้ การเคลื่อนไหวในน้ำได้อย่างอิสระเด็กจะรู้สึกผ่อนคลาย สบาย เด็กทารกจะรู้สึกคุ้นเคยเพราะสภาพคล้ายอยู่ในท้องแม่  การออกกำลังกายในน้ำยังช่วยเพิ่มพัฒนาการของสมอง ระบบหายใจ ระบบย่อย ช่วยขับลม และยังช่วยเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเพราะเวลาเดินในน้ำจะต้องออกแรงมากกว่าปกติถึง 5 เท่า เด็กพิเศษ เด็กที่มีพัฒนาการช้า เด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดม ธาราบำบัดจะช่วยเพิ่มพัฒนาการและสติปัญญาของเด็กได้เป็นอย่างดี ส่วนเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว ลดอาการเกร็งของแขนและขาได้ การออกกำลังกายในน้ำเด็กสามารถเคลื่อนไหวข้อพร้อม ๆ กันได้หลายทิศทาง ช่วยให้เด็กรู้สึกมั่นใจ การผ่อนคลาย และสร้างความภูมิใจให้แก่ผู้ป่วยเด็กที่สามารถขยับตัวโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร มีกำลังใจในการพัฒนาความสามารถให้ดีขึ้น ข้อควรรู้ก่อนการออกกำลังกายในน้ำ ควรอบอุ่นร่างกายประมาณ 5-10 นาทีร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนลงน้ำเสมอ ควรใช้เวลาในการออกกำลังกายต่อเนื่องประมาณ 20-30 นาที โดยอาจเริ่มจากการเดินในน้ำตื้น เมื่อชำนาญแล้วจึงออกกำลังกายในน้ำลึกโดยใช้อุปกรณ์พยุงตัวและวิ่งในน้ำลึกได้ ควรออกกำลังกายต่อเนื่องให้ได้เวลารวมมากกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์…

Read more

4 สัญญาณฟ้องแม่เครียด

ความเครียดอาจมาเยือนทุกคนรวมทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์ บางครั้งคุณแม่อาจเครียดโดยไม่รู้ตัว ถ้าคุณแม่มีความเครียดมากและเครียดเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งแม่และลูกในท้อง การรู้ตัวจะช่วยให้คุณแม่หาทางแก้ไขได้เร็วก่อนจะเกิดปัญหาค่ะ มาดูกันว่า 4 สัญญาณเตือนว่าคุณแม่เครียดนั้นมีอะไรบ้าง 1.ตัวร้อน ตัวสั่น เหงื่อออก หัวใจเต้นแรง หายใจถี่ อาการตัวร้อนที่ไม่ได้มีสาเหตุจากไข้ จะเกิดขึ้นเมื่อพบเจอกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด โดยอุณหภูมิในร่างกายจะเพิ่มขึ้น มีเหงื่อออก ร่างกายสั่นเทา ปากแห้ง กระวนกระวายใจ หัวใจเต้นแรง หายใจถี่ บางท่านอาจปัสสาวะบ่อย ท้องเสีย แน่นหน้าอกค่ะ 2.ผมร่วง น้ำหนักลด นอนไม่หลับ เป็นผลมาจากข้อแรก ที่ร่างกายส่งสัญญาณว่ากำลังเกิดอาการเครียด ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะสะสมไปเรื่อยๆ จนส่งผลต่อร่างกายมากขึ้น ทำให้เกิดอาการผมร่วง น้ำหนักลด และนอนไม่หลับตามมา ไม่ควรเพิกเฉยนะคะ 3.ไม่มีสมาธิและขี้ลืม สมองที่มีความเครียดอยู่นั้นจะส่งผลให้ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับการทำงาน หรือโฟกัสกับการทำสิ่งต่าง ๆ ตรงหน้า รวมทั้งไม่เปิดรับข้อมูลเพราะกำลังหมกมุ่นอยู่กับความเครียด มักลืมโน่นลืมนี่ แต่ความจริงแล้วไม่ได้เก็บข้อมูลเข้าสมองค่ะ 4.โรคเก่ากำเริบใหม่ แม่ ๆ ที่เคยป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด…

Read more

แม่ตั้งครรภ์ทำฟันได้มั้ย ?

เพราะแม่ท้องมีสิ่งต้องระวังและข้อห้ามหลายข้อ คุณแม่จึงอดสงสัยไม่ได้ว่าจะทำฟันได้มั้ยระหว่างตั้งครรภ์ เรามีคำตอบค่ะ ช่วงตั้งครรภ์ร่างกายคุณแม่เป็นอย่างไรระดับฮอร์โมนในร่างกายที่สูงกว่าปกติ ส่งผลให้เหงือกอักเสบ บวมแดง เลือดออกง่าย เป็นที่สะสมของเศษอาหาร และคราบจุลินทรีย์ แม่ตั้งครรภ์จึงควรได้รับการขูดหินปูนและขัดฟันจากทันตแพทย์เป็นระยะ เพื่อลดการเกิดเหงือกอักเสบ และส่งเสริมสุขภาพของเหงือกและฟันที่ดี ถ้ามีฟันผุล่ะ ต้องได้รับการรักษาค่ะไม่ว่าจะเป็นการอุดฟัน รักษารากฟัน หรือถอนฟัน เรวมทั้งทำฟันปลอม พื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยให้การย่อยเป็นไปด้วยดี ช่วงที่เหมาะสมคือช่วงตั้งครรภ์ 4 - 6 เดือน การใช้ยาระหว่างทำฟัน ปัจจุบันไม่มีรายงานว่ายาที่ใช้ในการรักษาทางทันตกรรม รวมทั้งการใช้ยาเฉพาะที่มีผลต่อทารกในครรภ์ค่ะ อย่างไรก็ตาม ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ในปริมาณที่น้อยที่สุดที่จะทำให้ไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการรักษา เอ็กซเรย์ฟันปลอดภัยหรือเปล่า การถ่ายภาพรังสีเอ็กซเรย์ระหว่างตั้งครรภ์ โดยปกติมีผลกระทบจากรังสีมีน้อยอยู่แล้ว และการถ่ายภาพรังสีทุกครั้งจะมีเสื้อตะกั่วช่วยป้องกันอวัยวะอื่น ๆ ด้วย สรุปก็คือคุณแม่สามารถเอ็กซเรย์ฟันได้แต่ควรทำให้น้อยที่สุด ร่างกายไม่ได้สูญเสียแคลเซียมจากการทำฟัน แคลเซียมที่ร่างกายต้องการ ได้มาจากสารอาหารที่ร่างกายรับเข้าไปไม่ใช่จากฟัน ถึงแม้ว่าร่างกายได้รับแคลเซียมจากสารอาหารไม่เพียงพอ ก็จะนำแคลเซียมที่สะสมไว้ในกระดูกมาทดแทน ดังนั้นการได้รับสารอาหารที่เพียงพอเหมาะสมจึงจะทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมเพียงพอ คุณหมออาจพิจารณาให้แคลเซียมเสริมเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับแคลเซียมเพียงพอเป็นราย ๆ ไปค่ะ คำแนะนำสำหรับแม่ท้อง แจ้งทันตแพทย์ให้ทราบว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ ควรกินอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ แปรงฟันอย่างถูกวิธี…

Read more

พร้อมมั้ย ! มีลูกคนที่ 2

การมีลูกคนเดียวเมื่อโตขึ้น นอกจากห่วงว่าเขาจะโดดเดี่ยวไม่มีพี่มีน้องแล้ว แน่นอนว่าลูกจะต้องรับภาระหนักดูแลทั้งพ่อและแม่ นี่คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัวเป็นห่วงลูกโทน จึงอยากมีลูกอีกซัก 1 คน แต่การมีลูกมากกว่า 1 คนในยุคนี้มีเรื่องให้คิดเยอะ จำเป็นคิดให้รอบคอบซะก่อน มองในแง่ของการเรียนรู้ มีพี่น้องอยู่ด้วยกัน ลูกจะได้ฝึกทักษะทางสังคม การแบ่งปัน การเสียสละ และด้านอื่น ๆ แต่ก็ยังต้องดูความพร้อมของคุณพ่อคุณแม่ด้วยค่ะ ควรมีความพร้อมด้านไหนบ้าง ร่างกาย แนะนำว่าควรปรึกษาคุณหมอค่ะ เพราะอายุแม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น หากอายุเลย 35 ปีไปแล้ว การตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงพบเจอภาวะต่าง ๆ ได้ เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม ความผิดปกติอื่น ๆ หรือปัญหาเรื่องสุขภาพ ที่อาจไม่เอื้อให้ดูแลทั้งลูกคนแรกและลูกคนใหม่ที่กำลังจะเกิดมา เวลา คุณพ่อคุณแม่อาจชิล ๆ กับการดูแลเด็ก 1 คน แต่เมื่อต้องดูแลถึง 2 คน ที่ช่วงวัยต่างกัน เช่น คนโตอยู่วัยเรียนรู้ ช่างซัก ช่างถาม ย่อมต้องการให้คุณเป็นผู้ช่วยในการเรียนรู้ของเขา ขณะเดียวกันก็ต้องดูแลคนเล็กที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ งานนี้ต้องบริหารจัดการเวลาหรือหาผู้ช่วย เพื่อไม่ให้คนโตรู้สึกว่าน้องมาแย่งความรักแย่งเวลาของเขาไป…

Read more

มีลูกคนที่ 2 เมื่อไหร่ดีนะ ?

เมื่อคิดว่า 'พร้อม' กับการมีลูกคนที่ 2 แต่ไม่รู้ว่า จะทิ้งระยะห่างอย่างไรดี คุณแม่ลองดูข้อแตกต่างเหล่านี้ประกอบการตัดสินใจค่ะ หัวปีท้ายปี เรียกว่าปั๊มต่อเลยดีกว่า คุณแม่จะได้เลี้ยงลูกพร้อม ๆ กัน เหนื่อยแบบม้วนเดียวจบ ทั้งคนโตและอีกคนที่อยู่ในท้อง ถ้าเลือกแบบนี้ควรมีผู้ช่วยหรือไม่ก็รีบเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับภารกิจ เพื่อที่คุณแม่จะได้ไม่รู้สึกเครียดหรือเหนื่อยเกินไปกับการเลี้ยงลูกแบบหัวปีท้ายปี ห่างกัน 2 - 3 ปี น่าจะเป็นช่วงเวลาที่กำลังพอเหมาะ เนื่องจากช่วงวัยประมาณ 2 - 3 ปี พัฒนาการและทักษะต่าง ๆ ของลูกดีขึ้น เช่น การช่วยเหลือตัวเอง คุณแม่ก็จะไม่ต้องเหนื่อยมาก เท่ากับผ่อนแรงไปได้ระดับหนึ่งในการดูลูก ทว่าก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมพร้อมรับมือที่จะเลี้ยงลูก 2 คนด้วยนะคะ ห่างกัน 3 - 4 ปี ขึ้นไป ลูกคนโตพอรู้เรื่องแล้ว ช่วยเหลือตัวเองได้ดี อยู่กับคนอื่นได้ หรือคอยช่วยเหลือดูแลน้องได้ด้วย แต่คุณแม่ต้องไม่ลืมให้ความสำคัญกับลูกคนโตเหมือนเดิมอย่าละเลยการเอาใจใส่ สำหรับลูกที่วัยห่างกันราว 6 - 7 ปี อาจมีปัญหาอยู่บ้าง…

Read more

สัญญาณเตือนริดสีดวงแม่ท้อง

เมื่อเป็นริดสีดวงคุณแม่ส่วนใหญ่อาจไม่กล้าบอกใครหรือแม้กระทั่งพบคุณหมอ จนทำให้ระบบขับถ่ายไม่ปกติเป็นริดสีดวง ฉะนั้น อย่านิ่งนอนใจกับปัญหานี้ สังเกตอาการด้วยค่ะ เวลาเบ่งถ่ายมีมูกหรือเลือดออกมาด้วย มีอาการคันหรือเจ็บมากบริเวณทวารหนัก มีก้อนเนื้อยื่นออกมา ระหว่างถ่ายหรือหลังจากการขับถ่าย ฉะนั้น เมื่อคุณแม่ควรตรวจสุขภาพ ดูว่าเป็นริดสีดวงหรือไม่ เมื่อไปฝากครรภ์ เพราะหากพบในระยะเริ่มต้น จะช่วยให้รักษาได้ทัน หากมีอายุครรภ์มากขึ้น การรักษาอาจเป็นไปด้วยความลำบาก เพราะต้องระวังหลายเรื่อง เช่น การกินยา หรือการผ่าตัดรักษาค่ะ

Read more

บรรเทาอาการริดสีดวง

คุณแม่ที่เป็นริดสีดวงไม่ว่าจะช่วงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดก็ตาม มักจะเกิดความรำคาญใจจากอาการปวดหรือบวมเรามีวิธีบรรเทาอาการมาฝากค่ะ แช่น้ำอุ่น โดยนั่งแช่ในอ่างน้ำอุ่นประมาณ 10-15 นาที วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อลดอาการเจ็บปวด ประคบเย็น โดยนำผ้าหนา ๆ ห่อน้ำแข็งหรือแผ่นเจลสำเร็จรูปแช่ให้เย็น นำมาประคบก็ช่วยลดความเจ็บปวดและอาการบวม ดูแลการขับถ่าย คุณแม่ควรขับถ่ายให้เป็นปกติอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และเข้าห้องน้ำทันทีที่รู้สึกปวดท้อง ไม่ควรกลั้นไว้นานเพราะจะทำให้ท้องผูกถ่ายลำบาก พยายามหลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายและการนั่งในห้องน้ำเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนาน ๆ การนั่งหรือยืนเป็นเวลานานและการยกของหนัก อาจทำให้ริดสีดวงแตกหรือเลือดออกได้ง่าย นอนตะแคงซ้ายทุก 2-3 ชั่วโมง การนอนตะแคงซ้ายช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี คุณแม่อาจยกขาพาดกับเก้าอี้ประมาณ 15 นาที ก็สามารถช่วยลดแรงดันในช่องท้องบรรเทาอาการปวดบวมได้ค่ะ การดื่มน้ำให้พอเพียง และกินผักผลไม้และอาหารที่มีเส้นใยก็จะเป็นการช่วยป้องกันปัญหาริดสีดวงได้ค่ะ

Read more