X

7 สาเหตุและทางแก้ ปัญหาเด็กทานยาก

คุณพ่อคุณแม่ เมื่อมีลูก แน่นอน ว่าอยากให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัย สมองแจ่มใส ก็พยายามที่จะหาแหล่งสารอาหารดีๆ เกิดจากสาเหตุไหน ใน 7 สาเหตุ และ วิธีแก้จะทำอย่างไร

ลูกไม่ยอมทานข้าว ! ลูกทานน้อย! ลูกอมข้าว แล้วบ้วนทิ้ง!  ทำไงดี

ปัญหาที่หลายๆ บ้าน เจอตลอด และ เป็น Topic ต้นๆ ที่มีคุณแม่ๆ เขียนถามมายัง Mother&Care ค่ะ

คุณพ่อคุณแม่ เมื่อมีลูก แน่นอน ว่าอยากให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัย สมองแจ่มใส  ก็พยายามที่จะหาแหล่งสารอาหารดีๆ มาทำอาหารให้เหล่าลูกๆ แต่ อุปสรรคใหญ่เลยคือ “ลูกกินยาก” ทำให้เกิดภาวะกลุ้มอกกลุ้มใจหวั่นว่า เจ้าตัวเล็กจะไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโต

ก่อนอื่นอยากชวนคุณพ่อคุณแม่ มาวิเคราะห์สาเหตุค่ะ ว่า ลูกทานยาก เกิดจากสาเหตุไหน ใน 7 สาเหตุ และ วิธีแก้จะทำอย่างไร

1. เกิดจากเด็กรู้สึกเหมือนโดนบังคับ

เด็กเล็กจะค่อนข้างอ่อนไหวและไวต่อความรู้สึกมากๆค่ะ  ถ้าถึงเวลาทานอาหาร ลูกเห็นพ่อแม่หน้าตาเคร่งเครียด เด็กจะรับรู้ถึงความกดดันมีปฏิกิริยาต่อต้านอัตโนมัติ โดยการไม่กินอาหารที่อยู่ตรงหน้า และจะยิ่งงอแงเข้าไปอีก ถ้าโดนป้อนข้าวตอนที่รู้สึกไม่อยากจะกิน หรือได้ยินคำสั่งหรือคำบ่นจากคุณพ่อคุณแม่ ยกตัวอย่างเช่น “กินเข้าไปเดี๋ยวนี้ !” และ “ทำไมถึงกินข้าวยากเย็นขนาดนี้นะ” แม้บางคนอาจจะยังฟังภาษาไม่รู้เรื่อง แต่อย่าลืมนะคะว่าเด็กนั้นรับรู้ถึงอารมณ์ของคนรอบข้างเสมอค่ะ

ทางแก้ : ทำเรื่องกินบนโต๊ะอาหารเป็นเรื่องสนุกไปเลยค่ะ  โดยการร่วมกินอาหารกับลูกเพื่อสร้างบรรยากาศสบาย ๆ อบอุ่นเหมือนเป็นมื้ออาหารของครอบครัว ในระหว่างนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็กินอาหารของตัวเองไปเลย ให้เป็นเหมือนตัวอย่างและบอกลูกอ้อมๆ ว่า  ทานอาหารได้แล้วจ้าลูก และสำหรับเด็กเล็กที่จับช้อนเองไม่ได้ ยิ่งสนุกใหญ่เลย ทำเรื่องกินเป็นเรื่องเล่น เช่น สมมติว่าช้อนป้อนเป็นเครื่องบิน รถไฟ หรือเรือ เดินทางเข้าปากลูกพร้อมทำเสียงประกอบปู๊น ๆ บรื้น ๆ เป็นต้นค่ะ

2. กำลังให้ความสนใจเรื่องอื่นมากกว่าเรื่องกิน

โทรศัพท์ หรือ TV อยู่ในมือลูกระหว่างทานอาหาร อาจดึงความสนใจลูกไปจดจ่อกับหน้าจอ

ทางแก้ : คุณพ่อคุณแม่ ร่วมกันสร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลาย ไม่เงียบจนดูเคร่งเครียด เช่น การเปิดเพลงเบาๆ จังหวะพอโยกๆ ได้นิดหน่อยพอค่ะ แบบนี้ก็ได้ค่ะ

3.  ปริมาณอาหารเยอะเกินไป

หลายบ้านเลยค่ะ ที่เข้าใจว่าการทานเยอะๆ ลูกจะได้เก่งๆ โตไวๆ โดยเฉพาะบ้านที่มีคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือ มีหลายๆ Gen อยู่ด้วยกัน ยิ่งบ้านที่มีเด็กเล็กเป็นเหมือนศูนย์รวมใจแล้วหล่ะก็ คุณพ่อคุณแม่ แม้เป็นคนรุ่นใหม่ ก็อาจจะปวดหัวกับจัดสรรอาหารที่เยอะเกินไปของสมาชิกในบ้าน เผื่อกระเพราน้อยๆ ของลูกค่ะ 

การจัดเต็มจัดหนักกับอาหาร ทำให้เด็กเกิดอาหารกดดัน เพราะต้องคิดว่า ต้องกินให้หมดชาม  

ทางแก้ : จัดอาหารให้พอดี หรือ ให้น้อยลง เพื่อเวลาเค้าทานหมด หรือไม่พอ เค้าจะร้องขอเพิ่ม จะได้เปิดหัวเรื่องสำหรับผู้ใหญในบ้านชื่นชมเค้า เช่น เย่ เก่งจังเลย ลูกทานหมดชาม  เป็นต้น 

4. เด็กเหนื่อยล้าจากการทำกิจกรรมระหว่างวันเยอะเกินไป

การที่เด็กไม่กินข้าว อีกสาเหตุคือ เด็ก อาจรู้สึกไม่สบายตัว ไม่สบายท้อง เหนื่อยล้าจากกิจกรรม เด็กต้องการพักผ่อนมากกว่าการนั่งกินข้าว

ทางแก้ : หาเมนูที่ย่อยง่าย เคี้ยวง่าย หรือไม่ต้องเคี้ยว เช่น ของเหลว หรือ อาหารไฟเบอร์สูงบดละเอียดแบบนี้ก้ได้ค่ะ และ หรือ คุณพ่อ คุณแม่กังวล อยากให้กินอะไรหนักท้องสักหน่อย อาจจะหาผลไม้รสเปรี้ยว (ที่ลูกรับได้) มาทาน เพื่อกระตุ้นความยากกินอาหารของลูกได้ค่ะ

5. เด็กไม่รู้สึกหิว

ระหว่างวัน เด็กทานของว่าง ขนม ต่างๆ มากเกินไป ทำให้ระบบย่อยยังย่อยไม่หมด เมื่อถือมืออาหาร ก็เลยทำให้เด็กๆ ไม่รู้สึกหิวได้

ทางแก้ : กะปริมาณอาหารทั้งอาหารหลัก และ อาหารทานเล่น (รวมพวกขนม นม เหล่านี้ด้วยค่ะ) ให้พอดีๆ ค่ะ อย่าให้อาหารว่างมากเกินไป จนอาหารหลักลูกอิ่มจนไม่สามารถกินได้ค่ะ

6. เด็กเคี้ยวอาหารไม่เป็นหรือขึ้เกียจเคี้ยว

โดยปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้ลูกเคี้ยวและกลืนอาหารได้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่ก็มีหลายคนที่ยังเริ่มต้นด้วยวิธีที่ผิด ไม่ว่าจะบดอาหารให้ลูกไม่ละเอียดพอ หรือป้อนอาหารที่มีลักษณะต่างกันในช้อนเดียว เช่นหมูก้อนแข็ง ๆ กับเต้าหู้นิ่ม ๆ ทำให้ลูกเผลอกลืนโดยไม่เคี้ยว เพราะคิดว่าเป็นอาหารเหลวที่สามารถกลืนลงคอได้เลย ทำให้เกิดการสำลัก อาหารติดคอ หรือกลืนอาหารไม่ลง จนกลายเป็นเรื่องฝังใจ ทำให้ลูกปฏิเสธการกินอาหารจากช้อนได้เช่นกัน

ทางแก้ : คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหารอย่างค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป โดยเริ่มจากอาหารที่ไม่ละเอียดมาก เช่น ข้าวต้มที่บดข้าวเกือบละเอียด หรือโจ๊ก หากอยากเพิ่มสารอาหารอื่น ๆ ควรเป็นอาหารเคี้ยวง่าย ไม่มีเส้นใย มีสัมผัสเรียบ ๆ ไม่ให้บาดคอ เช่น เนื้อปลา ไข่ เต้าหู้ แครอตต้ม ฟักทองต้ม  นอกจากนี้ ควรฝึกลูกกินอาหารแต่ละเภท เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ข้าว เพื่อเด็กจะได้แยกแยะออกว่า อะไรแข็ง อะไรนิ่ม เพราะด้วยสัญชาตญาณเมื่อเจออาหารนิ่มแล้วเด็กจะกลืนลงคอเองอัตโนมัติ หากเราป้อนทุกอย่างพร้อมกัน อาจทำให้เด็กลืมเคี้ยวแล้วเนื้อสัตว์หรือผักติดคอจนเป็นอันตรายได้ค่ะ

7. อาหารซ้ำจำเจ

ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ยังเบื่อเลย จริงไหมคะ เวลาที่ต้องกินอะไรซ้ำๆ จำเจ ทุกวันๆ ยิ่งเด็กแล้ว อาหารของเค้ามักจะเป็นอาหารเหลวเพื่อทานง่าย ย่อยง่าย รสชาติจืดๆ แน่นอน เค้าอาจมีอาการเบื่อได้

ทางแก้ :  คุณพ่อคุณแม่ ลองเปลี่ยนชนิดอาหารเหลวของลูกให้มีรสชาติแตกต่างในแต่ละมื้อ เช่น ข้าวโอ๊ดผสมฝักทอง มื้อหนึ่ง , ข้าวต้มผสมไข่แดง เป็นต้น  หากเด็กโตหน่อยอาจประยุกต์เมนู หรือทำหน้าตาอาหารเป็นการูตูนที่ลูกชอบ หรือ เข้าครัวด้วยกัน

Categories: Knowledge
motherandcare:
Related Post