X

5 วิธีดูแลสะดือเบบี๋ง่ายมาก ๆ

สะดือของเด็กแรกเกิดเป็นสิ่งที่ต้องดูแลอย่างพิถีพิถัน ต้องหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลง และทำความสะอาดอย่างถูกวิธีค่ะ

สะดือแฉะ : สะดือไม่แห้งหรือมีน้ำหยดจากสะดือเวลาทารกร้องหรือเบ่ง เป็นน้ำสีเหลืองหรือเขียวและอาจมีเลือดออกซิบ ๆ
สะดืออักเสบ : บริเวณรอบๆ ขั้วสะดือบวมแดงและร้อนและเด็กร้องกวน เมื่อดมดูจะได้กลิ่นเหม็นผิดปกติ
เลือดออกทางสะดือ : เมื่อเอาสำลีซับจะมีเลือดติดออกมา อาจจะมีก้อนเนื้อแดงเรื่อขนาดเท่าถั่วแดงอยู่ในสะดือ สะดือโป่ง สะดือจุ่น : เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไป อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน 2-3 เดือน แต่บางคนอาจถึง 1 ปี

สะดือโป่ง สะดือจุ่น : เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไป อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน 2-3 เดือน แต่บางคนอาจถึง 1 ปี

คุณแม่ควรดูแลสะดือลูกน้อยดังนี้ค่ะ
1.ควรตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาดก่อนการทำความสะอาดสะดือลูก
2.เช็ดทำความสะอาดสะดือให้หมดทุกส่วน โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อระหว่างสายสะดือกับบริเวณผิวหนังทารก ควรทำทุกครั้งหลังอาบน้ำหรืออย่างน้อยวันละสองครั้ง
3เมื่ออาบเสร็จแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ 70% แอลกอฮอล์ เบตาดีน หรือตามที่โรงพยาบาลจัดให้
4.ใช้สำลีเพียง 1 ก้อน ต่อการเช็ด 1 ครั้ง ห้ามใช้สำลีถูวนไปมา และต้องเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่ทุกครั้ง
5.ถ้าสังเกตพบว่าสะดือมีกลิ่นเหม็น และผิวหนังรอบสะดือบวมแดง หรือสะดือยังแฉะอยู่หลายวัน หลังจากสะดือหลุดแล้วควรพาไปพบแพทย์

ไม่ควรทำ

  • กลัวการเช็ดสะดือลูก เพราะการเช็ดไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ ทั้งสิ้น
  • เมื่อสะดือใกล้จะหลุดอาจมีน้ำเหลืองหรือเลือดออก ห้ามใช้แป้งหรือยาโรยสะดือ
  • ห้ามใช้ยาโรยสะดือทุกชนิดเพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อ อาจติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือดอันตรายถึงชีวิตได้
  • อย่าปล่อยให้ลูกใส่เสื้อผ้าไม่สะอาดหรือนอนแช่ปัสสาวะ

motherandcare:
Related Post