ความผูกพันของแม่ลูก มีตั้งแต่ลูกเริ่มมีชีวิตตอนอยู่ในท้อง ยิ่งนานวัน ความรักความผูกพัน สายใยความแม่ลูก ยิ่งแน่นขึ้น นอกจากจิตใจที่ผูกพันกันแล้ว เรื่องของกลไกร่างกาย ก็มีผลต่อความสัมพันธ์ และพัฒนาการของลูกด้วยค่ะ
1) ถุงน้ำคร่ำ
สิ่งแวดล้อมในถุงน้ำคร่ำ คือการเคลื่อนไหวของน้ำคร่ำรอบตัวลูก จากการที่ลูกกลืนเข้าไป และถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะตลอด เหมือนมือแม่ลูบไล้เล่นกับลูกในท้อง ช่วยพัฒนาระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมลูกให้ใช้ระบบประสาทสัมผัสเมื่อออกมาสู่โลกภายนอกได้
2) น้ำหนักตัวลูก
เมื่อน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นลูกก็จมลงสู่ฐานมดลูก ผิวลูกกับผิวด้านในของมดลูกจะสัมผัสกัน จึงช่วยกระตุ้นพัฒนาการระบบประสาทสัมผัส เพิ่มเส้นใยประสาทด้านรับความรู้สึก และช่วงท้อง 18 สัปดาห์ขึ้นไปลูกก็รับรู้ได้ จึงเล่นกับลูกในท้องได้ เพราะเซลล์สมองเติบโตขยายตัว เส้นใยประสาทก็แผ่ขยาย
3) การเคลื่อนไหวของแม่
ขณะเคลื่อนไหว ลูกจะเอนไป-มาตามจังหวะของแม่ ผิวลูกจะสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก จึงพัฒนาระบบประสาทรับความรู้สึกด้วยการเล่นกับลูกในท้อง ส่วนนี้ แม่ๆ สามารถสร้างความเคลื่อนไหวร่างกาย เล่นกับเบบี๋ได้ค่ะ ลูกสนุกและชอบใจแน่นอน :)