ในยุคปัจจุบันดูเหมือนว่าเด็กกับสมาร์ทโฟนจะกลายเป็นของคู่กันอย่างหลักเลี่ยงได้ยาก พ่อแม่หลายบ้านที่อดใจไม่ไหวหยิบยื่นโทรศัพท์มือถือให้ลูกเพื่อแลกกับความสุขสงบ แลกกับการที่ลูกยอมทานอาหาร หรือแลกกับการทาภารกิจอื่นๆในชีวิตประจาวัน การปล่อยเด็กไว้กับจอทีวีหรือจอมือถือนั้นจะส่งผลเสียทั้งในด้านพัฒนาการของสมองและร่างกาย เหล่ากุมารแพทย์จึงต่างพากันออกมาเตือนถึงภัยของการใช้สมาร์ทโฟนที่มากเกินไปสาหรับวัยเด็ก โดยสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาประกาศไว้ว่า เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีไม่ควรใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคทุกชนิด เพราะเด็กจะขาดโอกาสพัฒนาทักษะการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
สร้างคุณค่า ในตัวเอง หรือ Self Esteem มีความสำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิต โดยเราสามารถเสริมสร้างให้ลูกของเราสามารถมองเห็นคุณค่าในตัวเองได้ตั้งแต่เล็กๆเลยค่ะ เมื่อเขาเติบโตจะได้เป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพ มีความคิดที่ดี มองโลกในแง่บวก และสามารถดำเนินชีวิตผ่านไปได้ในแต่วันด้วยดีค่ะ
สร้างคุณค่า แค่ “ลด & เพิ่ม” เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ลูก
เราสามารถสร้างคุณค่าให้แก่ลูกน้อยได้ง่ายๆเลยค่ะ แค่… “ลดการช่วยเหลือ” โดยเริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆที่ใกล้ตัวเราและลูกได้เลยค่ะ เช่น
- ปล่อยให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าเอง โดยที่ไม่ต้องมีคนช่วย
แบบนี้พอลูกทำสำเร็จเราก็ชมเขาค่ะ ว่าเก่งมากเลยใส่เสื้อผ้าเองได้แล้ว จะช่วยให้ลูกมองตัวเองค่ะว่าเขาก็สามารถทำอะไรได้ประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน
- การให้ลูกแสดงความคิดเห็น
การที่คุณพ่อคุณแม่ถามความคิดเห็นของลูกเป็นสิ่งที่ดีมากเลยค่ะ เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เขาสามารถเสนอความคิดเห็น อีกเป็นความคิดเห็นที่ต่างจากมุมมองของผู้ใหญ่แล้วยิ่งดี จะช่วยให้เขาสามารถแก้ไขปัญหาได้เอง ตัดสินใจอะไรต่างๆได้เอง โดยที่ไม่ต้องพึ่งคนอื่นเลยค่ะ
ข้อดีของการสร้างคุณค่าให้แก่ลูก
- ทำให้ลูกๆสามารถแก้ไขอุปสรรคได้ดี ในยามที่มีปัญหา
- มีทัศนคติที่ดี มีความนับถือและเคารพตนเอง ทำให้ชีวิตมีความสุข
- มีความกล้าแสดงออกต่อหน้าผู้คน
- เป็นมิตรกับผู้คนรอบข้าง และเป็นที่รักของผู้คน
- รักในศักดิ์ศรีของตนเอง มีความเสียสละเพื่อส่วนร่วม มีจิตใจดี
สรุป
การสร้างคุณค่าให้แก่ลูกแต่เด็กๆ เราว่าเป็นสิ่งที่หลายบ้านละเลยอย่างมากเลยค่ะ จริงๆแล้วถือเป็นเรื่องใหญ่เลยนะ เพราะ ถ้าหากลูกของเราเติบโตไปจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหามากมายด้วยตนเอง หากภูมิคุ้มกันในเรื่องนี้ต่ำแล้วละก็ กลัวลูกๆจะไม่มีความมั่นใจในตนเองและปัญหาสุขภาพจิตตามมาจนพ่อแม่เป็นห่วงน่ะสิคะ เนื่องจากเราไม่สามารถเลี้ยงดูเขาไปได้ตลอดหรอกค่ะ เหมือนถึงเวลาจริงๆก็ต้องปล่อย เรื่องนี้จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่พ่อแม่ต้องดูแลและใส่ใจลูกๆของตนเอง
แล้วเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปีล่ะ จะใช้เวลาอยู่หน้าจอได้นานเท่าไหร่ถึงไม่อันตราย
ในทางทฤษฎีนั้นเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี สามารถดูสมาร์ทโฟนหรือสื่ออิเลคทรอนิคก์ได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง/วัน แต่ถ้าพบว่าเด็กมีปัญหาด้านการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ควรงดการอยู่กับสื่อทันที และสาหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กาลังไม่มั่นใจว่า การอนุญาตให้ลูกดูทีวีหรือสมาร์ทโฟน 1-2 ชั่วโมงต่อวันนั้น ควรพิจารณาจากสิ่งใด อันที่จริงแล้วไม่มีข้อกาหนดที่ตายตัวในเรื่องนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถพิจารณาได้จากตัวของเด็กๆเอง อาทิ หากเด็กในการดูแลของคุณสามารถทาตามกติกาหรือข้อตกลงของครอบครัวได้ดี มีสมาธิตามวัยและไม่พบปัญหาด้านการปฏิสัมพันธ์ คุณอาจจะอนุญาตให้เด็กๆดูทีวี หรือดูการ์ตูนได้ ครั้งละ 1 ชั่วโมง จานวน 2 ครั้ง /ต่อวัน หรือ 1 ชั่วโมง เพียง 1 ครั้ง/วัน โดยกาหนดวันที่เด็กสามารถดูทีวีหรืออยู่กับสมาร์ทโฟนได้ เช่น ทุกวันอาทิตย์ ทั้งนี้ไม่ควรให้เด็กๆอยู่กับหน้าจอเกินกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งสุขภาพตา และสภาพร่างกาย
สร้างข้อตกลงอย่างไรให้เด็กๆอยู่หน้าจอ อย่างมีวินัย
สิ่งที่สาคัญยิ่งกว่าจานวนเวลาที่อนุญาตให้เด็กๆอยู่หน้าจอ คือข้อตกลงของครอบครัวที่กาหนดให้เด็กๆปฏิบัติตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้สิทธิ์เด็กๆในการใช้สมาร์ทโฟนหรือดูทีวีตามใจชอบ แต่ควรกาหนดกติกา เวลา ที่ชัดเจนในการดูทีวีหรือสมาร์ทโฟน เช่น อนุญาตให้ดูในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ จานวน 1 ชั่วโมงหลังทาการบ้านเสร็จ เมื่อกาหนดกติกาแล้วให้บังคับใช้กติกาอย่างจริงจัง เพื่อสร้างวินัยให้กับเด็กๆ จนเกิดเป็น
นิสัย เมื่อเค้าคุ้นชินแล้ว เด็กๆจะปิดทีวี หรือส่งคืนโทรศัพท์มือถือให้คุณพ่อคุณแม่เองเมื่อหมดเวลา ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ควรชมเชยให้กาลังใจหากเด็กๆปฏิบัติตามข้อตกลงได้ดี แต่ในกรณีที่พบว่าเด็กๆมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ใจร้อน ไม่รู้จักรอหรือเกิดปัญหาในด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ควรงดการให้ดูทีวีหรืออยู่หน้าจอทันที แต่ให้หันมาพูดคุยชักชวนเด็กๆทากิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเขา
สิ่งสาคัญในประเด็นนี้ก็คือ คุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวเอง ก็ควรต้องงดใช้สมาร์ทโฟนหรืองดการดูทีวีทั้งวันเช่นกัน และควรหันมาสร้างกิจกรรมหรือทากิจกรรมร่วมกับเด็กๆ อาทิ การไปสวนสาธารณะเพื่อออกกาลังกายหรือเดินเล่น การทางานศิลปะ เช่น วาดรูป ประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ การทาอาหารร่วมกัน เป็นต้น การได้ทากิจกรรมในยามว่างที่มุ่งเน้นการใช้ศักยภาพด้านต่างๆ จะทาให้เด็กๆเพลิดเพลิน จนลืมเรื่องมือถือไปเลยล่ะ