Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
ทำไม “นมแม่” ถึงดีต่อสมองลูก?
X

ทำไม “นมแม่” ถึงดีต่อสมองลูก?

ใครๆ ก็รู้ว่านมแม่เป็นแหล่งอาหารชั้นยอด เพราะมีสารอาหารต่างๆ ที่ให้ประโยชน์ต่อลูกตั้งแต่วัยแรกเกิด โดยในนมแม่มีสารอาหารหลากหลายที่ใช้พัฒนาทั้งร่างกายและสมอง คือ ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสารอาหารสำคัญอื่นๆ1 แล้วรู้มั้ย ไขมันชนิดฟอสโฟไลปิดที่พบมากในนมแม่ ก็คือ สฟิงโกไมอีลิน นั่นเอง2

แม่ๆ รู้มั้ย สมองประกอบด้วยไขมันถึง 60% และหนึ่งในนั้น คือ สฟิงโกไมอีลิน
ทราบหรือไม่ สมองประกอบด้วยไขมันถึง 60% โดยไขมันเป็นส่วนประกอบหลักของไมอีลินในสมอง3 ซึ่งเส้นใยประสาทที่มีไมอีลินจะมีการส่งสัญญาณประสาทเร็วกว่าที่ไม่มีไมอีลินถึง 60 เท่า4

สมองไวหรือไม่ อยู่ที่… การสร้างไมอีลินจริงหรือ5-8

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ส่งสัญญาณประสาทได้ดี คือ “การสร้างไมอีลิน” (Myelination) ซึ่งช่วยส่งสัญญาณประสาทแบบก้าวกระโดดแทนการส่งสัญญาณต่อกันในระยะใกล้ ซึ่งจะพบในกรณีที่แขนงประสาทนำออกไม่มีปลอกไมอีลินมาห่อหุ้ม เปรียบได้กับกระโดด 1 ครั้งก็จะไปได้ไกลกว่าเดิน 1 ก้าว

การสร้างไมอีลินจึงช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาสมองลูกน้อย

ความฉลาดของลูกขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง 9-10

ความฉลาดของลูก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทำงานของสมองส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่ต้องอาศัยการติดต่อเชื่อมโยงวงจรประสาทระหว่างสมองหลายส่วน จึงจะช่วยให้ลูกสามารถคิด วิเคราะห์ วางแผน ยับยั้ง ควบคุมตนเองได้

ดังนั้นการกระตุ้นการส่งสัญญาณประสาทผ่านวงจรประสาทสามารถทำได้ โดยฝึกหรือกระตุ้นพัฒนาการลูกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ ควบคู่กับการให้ลูกได้รับสารอาหารที่เหมาะสม เพื่อช่วยสร้างเซลล์ในระบบประสาท สร้างสารสื่อประสาทและสารเคมีอื่น ๆ รวมทั้งสร้างไมอีลิน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการส่งสัญญาณประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยใดมีผลต่อการสร้างไมอีลิน

นอกเหนือจากพันธุกรรม ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างไมอีลิน คือ การเลี้ยงดู และอาหาร

* การเลี้ยงดู

การเลี้ยงดูเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการสร้างไมอีลิน โดยจัดหาสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของสมองลูกในช่วงนั้น เช่น วัยขวบปีแรก ก็ควรเน้นการฟังเสียงที่หลากหลาย การฟังเสียงดนตรี เป็นต้น

* สารอาหาร

แม่ๆ รู้หรือไม่ … ??? การได้รับสารอาหารที่พอเพียงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะไมอีลินมีองค์ประกอบเป็นไขมันถึงร้อยละ 70 ดังนั้นไขมันที่ได้รับจากอาหาร โดยเฉพาะไขมันจากนมแม่จะเป็นแหล่งสำคัญของ

การสร้างไมอีลินในสมอง

สฟิงโกไมอีลีน พบได้ในอาหารประเภทใดบ้าง

เด็กๆ สามารถได้รับสารอาหาร สฟิงโกไมอีลินจากแหล่งต่างๆ เช่น ไข่ ครีม ชีส นม รวมถึงผลิตภัณฑ์นม11 เป็นต้น

ข้อมูลโดย นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์

Reference

  1. Olivia Ballard, JD, et al. Human Milk Composition: Nutrients and Bioactive Factors. Pediatr Clin North Am. 2013 February ; 60(1): 49–74. doi:10.1016/j.pcl.2012.10.002
  2. Francesca Giuffrida, Cristina Cruz-Hernandez, et al. Quantification of Phospholipids Classes in Human Milk. Lipids (2013) 48:1051–1058
  3. Chang CY, KE DS, Chen JY. Essential Fatty Acids and Human Brain. Acta Neurol Taiwan. 2009 Dec; 18(4): 231–41.
  4. Susuki k.Nature Education 2010, 3(9):59
  5. Mind’s Machine, 2e, Figure 2.1 The Major Parts of the Neuron. https://2e.mindsmachine.com/figures/02/02.01.html. Textbook Reference: The Nervous System Is Composed of Cells, p. 22
  6. Hiroaki Asou, et al. Development of Oligodendrocyte and Myelination in the Central Nervous System. Keio J Med 44(2), 47-52 (1995)
  7. Otwin Linderkamp, Ludwig Janus, et al. Time Table of Normal Foetal Brain Development. Int. J. Prenatal and Perinatal Psychology and Medicine Vol. 21 (2009) No. 1/2, pp. 4–16
  8. Purves D, Augustine GJ, Fitzpatrick D, et al., editors. Increased Conduction Velocity as a Result of Myelination Neuroscience. 2nd edition. Sunderland (MA): Sinauer Associates; 2001
  9. C. Moloney et al. Sphingomyelin content of dairy protein ingredients and infant formula powders, and identification of bovine sphingomyelin species. International Dairy Journal 78 (2018) 138e144
  10. K. Tanaka et al. The pilot study: Sphingomyelin-fortified milk has a positive association with the neurobehavioural development of very low birth weight infants during infancy, randomized control trial. Brain & Development 35 (2013) 45–52
  11. Vesper et al., Sphingolipids in Food and the Emerging Importance of Sphingolipids to Nutrition. 1999
motherandcare:
Related Post