คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนจะมีลูก คุณหมอมณีรัตน์ พิชิตรณชัย สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ แนะนำให้ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ เพราะจะได้ประโยชน์มากทีเดียว ได้ประโยชน์อะไรบ้าง 1.คุณแม่จะได้ทราบว่าร่างกายพร้อมกับการตั้งครรภ์หรือไม่ และรับคำแนะนำจากคุณหมอ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป 2.ทราบจากการตรวจเลือดว่ามีความเสี่ยงต่อการส่งผ่านโรคต่าง ๆ ไปยังลูกหรือเปล่า เช่นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ธาลัสซีเมีย 3.การตรวจเลือดช่วยให้ทราบด้วยว่าคุณแม่มีภูมิคุ้มกันแล้วหรือยัง จะได้รับวัคซีนให้เรียบร้อยก่อนตั้งครรภ์ 4.คุณหมอสามารถเตรียมดูแลสุขภาพคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์ได้ เช่น การให้วิตามิน การเตรียมพร้อมดีทั้งกับลูกและตัวคุณแม่เองด้วยค่ะ
Knowledge
ความรู้ ทั้งอัพเดท และ How to การเลี้ยงดูลูก รวมถึงการดูแลตัวเอง ฉบับคุณแม่ คุณพ่อ ยุคใหม่ ที่ครบคลุมตั้งแต่ ช่วงตั้งครรภ์ จนถึง ลูกอยู่ในวัยประถม
ควันบุหรี่มือสองที่ผู้สูบสร้างพิษภัยในอากาศ และทำร้ายผู้สูดดมที่อยู่ใกล้ไปด้วยโดยเฉพาะลูกวัยเบบี๋และแม่ท้อง เมื่อได้รับสารพิษจากควันบุหรี่มือสองนาน ๆ จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ง่ายขึ้น พบว่าผู้ไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิต เนื่องจากได้รับควันบุหรี่มือสอง แม่ท้อง หากได้รับควันบุหรี่มือสองก็จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์และการคลอดได้สูง อาจเกิดครรภ์เป็นพิษ แท้ง คลอดก่อนกำหนด เด็กที่เกิดมาก็จะมีความเสี่ยง มีน้ำหนักตัวน้อย ตัวเล็ก มีความยาวน้อยกว่าเด็กปกติ พัฒนาการทางสมองล่าช้า อาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท ความจำ เป็นต้น เด็กเล็ก อาจป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม และมีอัตราการเป็นโรคหืดเพิ่มขึ้น เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลาง และในระยะยาวก็จะมีพัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ด้รับควันบุหรี่ ป้องกันแม่ท้องและลูกน้อยจากควันบุหรี่มือสอง อยู่ให้ห่างหรือเดินเลี่ยงไปไม่อยู่ใกล้คนที่สูบบุหรี่ พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ บอกคนที่บ้านหรือคนที่สูบบุหรี่ใกล้ตัวให้เลิกสูบบุหรี่ พยายามทำให้บ้าน รถยนต์ส่วนตัว และที่ทำงานปลอดบุหรี่ ดูว่าสถานที่รับเลี้ยงเด็กที่นำลูกไปฝาก หรือโรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่หรือไม่ ถ้าไม่ควรเปลี่ยนสถานที่ สอนให้ลูกอยู่ห่างจากควันบุหรี่มือสอง และไม่อยู่ใกล้ชิดกับคนสูบบุหรี่ ในระยะยาว คนที่ได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นเวลานาน ๆ มีโอกาสเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งคล้ายกับคนที่สูบบุหรี่เอง เด็ก แม่ท้อง และทุกคนจึงควรหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ค่ะ ข้อมูลอ้างอิง…
ช่วงท้องคุณแม่อาจมีโอกาสได้ไปพักผ่อนต่างจังหวัด การเดินทางไกลในช่วงตั้งท้องเป็นสิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้ เพียงแค่ระมัดระวังและดูแลสุขภาพมากกว่าปกติ ไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 3 ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไกล ไตรมาสที่ 2 เป็นระยะที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่ค่ะ เดินทางปลอดภัย 1.ตรวจสุขภาพก่อนการเดินทาง หากเจ็บป่วยควรพักผ่อนและรักษาให้หายก่อน และเตรียมยาไปด้วย 2.จดบันทึกเกี่ยวกับสุขภาพระหว่างตั้งท้อง ยาที่ใช้ และปัญหาที่มีอยู่ 3.วางแผนท่องเที่ยวแบบสบาย ๆ ควรไปที่ใดเพียงแห่งเดียว ใช้เวลาสบาย ๆ เที่ยว 2-3 ชั่วโมง สลับกับนั่งหรือนอนพัก ไม่ใช้เวลาเดินทางตลอดวัน 4.เตรียมของกินและของใช้ที่จำเป็นไปด้วย ควรเตรียมยา นมที่ดื่มเป็นประจำ รวมถึงน้ำดื่มติดไปด้วย 5.เปลี่ยนท่านั่งหรือยืนบ้าง อาจหยุดรถเพื่อลงเดินทุก 2 – 3 ชั่วโมง 6.เตรียมหมองอิงสำหรับหนุนหลังและหมอนรองคอ ปรับเก้าอี้ให้อยู่ในลักษณะกึ่งเอนนอน 7.คาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา
แม่ท้องอาจต้องเดินทางไปต่างประเทศ ช่วงเวลาที่เหมาะคือ ไตรมาสที่ 2 คุณแม่ไม่แพ้ท้องแล้วและโอกาสเสี่ยงน้อยกว่าไตรมาสแรกและไตรมาสสุดท้าย ควรเตรียมตัวดังนี้ค่ะ 1.ตรวจสุขภาพก่อนไป ปรึกษาคุณหมอสักนิด และพกยาที่ใช้ประจำรวมทั้งยาจำเป็นต่าง ๆ ไปด้วย 2.เตรียมใบรับรองแพทย์ไปด้วยหรือบอกทางสายการบินว่าตั้งครรภ์ เพื่อทางสายการบินจะได้เลือกที่นั่งที่สบายสำหรับคนท้องให้ 3.ลุกขึ้นเดินบ้างและควรเลือกที่นั่งที่สามารถยืดตัวได้มาก ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ คุณแม่อาจเตรียมอาหารส่วนตัวไปด้วย เผื่อกินอาหารบนเครื่องไม่ได้ 4.การเดินทางไกลข้ามทวีป ควรใช้เวลาพักผ่อนหลังการเดินทาง 2-3 วัน เพื่อให้หายเหนื่อยและหายเครียดจากการเดินทาง และให้ร่างกายได้ปรับตัวกับสถานที่และเวลาที่แตกต่าง 5.ติดตามข่าวโรคระบาดก่อนเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยง
คุณแม่หลายท่านอาจมีสัตว์เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนคลายเหงาก่อนตั้งครรภ์อยู่แล้ว เมื่อตั้งครรภ์สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือสุขอนามัยและความปลอดภัย คุณแม่ควรทราบหากมีสัตว์เลี้ยงในบ้าน 1.ควรเช็คและดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง พาไปรับวัคซีน ป้องกันการนำโรคต่าง ๆ หลายชนิดมาสู่แม่ท้องและลูก บางโรคอันตรายถึงชีวิต 2.ควรแยกสัตว์ให้อยู่เป็นสัดส่วนอย่างเหมาะสม อาจมีที่กั้นคอกสุนัข กรง หรือพื้นที่ของสัตว์เลี้ยง และอยู่ในพื้นที่โล่งมีอากาศถ่ายเท 3.หากเลี้ยงสุนัขหรือแมวขนยาว ควรพาสุนัขหรือแมวไปตัดขนให้สั้น 4.ทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากสัตว์เลี้ยง 5.หมั่นอาบน้ำทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงเสมอ 6.ป้องกันสัตว์เลี้ยงไม่ให้มีการรับเชื้อโรคโดยไม่ให้ไล่จับหนู ไม่ให้กินอาหารที่เป็นเนื้อสด และระมัดระวังไม่ให้สัตว์เลี้ยงไปคลุกคลีกับสัตว์นอกบ้าน เพราะอาจติดเชื้อโรคมา 7.การเลี้ยงปลาหรือเต่าในอ่างน้ำหรือโหลแก้ว ต้องหมั่นทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ 8.นกหรือสัตว์ปีก อาจนำเชื้อโรค มาสู่คุณแม่ได้ ต้องดูแลและใส่ใจเรื่องของความสะอาดเป็นพิเศษ 9.เมื่อสัมผัสหรือโดนน้ำลายของสัตว์เลี้ยง ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง 10.แยกห้องนอนกับสัตว์เลี้ยง และไม่คลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงมากนักในขณะที่ตั้งท้อง
การกินผลไม้ทุกวันในระหว่างตั้งท้อง เส้นใยหรือไฟเบอร์ในผลไม้นอกจากจะช่วยลดอาการท้องผูกแล้ว ในผลไม้ยังอุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่ดีต่อร่างกายคุณแม่และลูกน้อยด้วย ผลไม้แก้ท้องผูก ผลไม้หลายชนิดช่วยในการขับถ่าย เช่น มะละกอ มะขาม ส้ม แอปเปิ้ล ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า ลูกพรุน องุ่น เป็นต้น แต่ไม่ควรกินผลไม้ที่ช่วยขับถ่ายง่าย อย่างลูกพรุน มะขาม หรือ มะละกอ มากเกินไป เพราะจะทำให้ถ่ายมาก มดลูกมีการบีบตัวอาจกระตุ้นให้คลอดก่อนกำหนด สารอาหารมีคุณค่า วิตามินซี จะช่วยในการสร้างกระดูกและฟันของลูก ช่วยเผาผลาญอาหารและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง กรดโฟลิก พบในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม ซึ่งกรดโฟลิกเป็นสารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต การเจริญพันธุ์และป้องกันความผิดปกติของเลือด วิตามินเอ เช่น สารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารจำเป็นที่ใช้ในการเจริญเติบโตของเซลล์ร่างกาย ความสมบูรณ์ของเซลล์ผิวหนัง กระดูกและตา พบได้ในผักและผลไม้สีเหลือง เช่น แคนตาลูป มะม่วง มะละกอ ฟักทอง เป็นต้น นอกจากนี้ ในผลไม้ยังมีสารอาหารประเภทอื่นๆ เช่น แคลเซียมที่พบได้ในฝรั่ง…
แม่ท้องโดยเฉพาะช่วงไตรมาสสุดท้ายมักจะมีปัญหาอึดอัดนอนไม่สบายตัว เนื่องจากท้องใหญ่ขึ้นทำให้หายใจไม่สะดวก มีข้อแนะนำมาฝากช่วยให้คุณแม่หลับสบายขึ้นค่ะ 1.ควรนอนตะแคงซ้าย เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงลูกในท้องและอวัยวะภายในได้มากขึ้น ไม่ควรนอนหงายเป็นระยะเวลานาน 2.ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ป้องกันอาการปวดท้อง อย่ากินอาหารแต่ละมื้อมากเกินไป ลดเผ็ดและเปรี้ยว หากแน่นท้องเวลานอนหนุนหัวให้สูง ดื่มน้ำมาก ๆ ในเวลากลางวัน ไม่ดื่มน้ำใกล้เวลานอน 3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดีและลดการเป็นตะคริวที่เท้า 4.แม่ท้องนอนกรนบางรายอาจจะต้องใช้หมอนสำหรับคนท้อง 5.หากมีอาการของโรคภูมิแพ้ ให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษา ป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อภายในจมูกบวม 6.หาเวลางีบหลับในช่วงกลางวัน 7.หลีกเลี่ยงการใช้ยา เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท 8.ปรึกษาแพทย์หากมีอาการนอนกรน
สาเหตุของเส้นเลือดขอดในแม่ท้องเกิดจากผนังของหลอดเลือดดำใต้ชั้นผิวหนังโป่งพอง เพราะเลือดส่วนปลายขาที่ไม่สามารถไหลเวียนกลับเข้าสู่การสูบฉีดของหัวใจได้เร็วตามปกติคั่งค้างอยู่ในหลอดเลือด ปกติหลอดเลือดดำจะมีลิ้นปิดเปิด เพื่อกักเลือดไม่ให้ไหลย้อนลงข้างล่างตามแรงโน้มถ่วง เมื่อลิ้นนี้อ่อนแอเลือดจะย้อนมารวมกันที่เส้นเลือดด้านล่าง ทำให้เกิดอาการบวม และอาจมีอาการปวดเท้า เท้าบวม มักปวดมากขึ้นเมื่อยืนหรือนั่งนาน ๆ อาจเป็นตะคริวในตอนกลางคืน ถ้าเป็นมากอาจมีการอักเสบและเส้นเลือดแตกป้องกันได้ 1.ระหว่างนั่งเก้าอี้ ยกขาซ้ายให้ขนานกับพื้นแล้วกระดกข้อเท้าขึ้นลงติดต่อกัน 20 ครั้งเสร็จแล้วยกขาขวาบริหารบ้าง หรือบริหารด้วยการยืนเขย่งปลายเท้าขึ้นลง 2.งอและเหยียดกล้ามเนื้อส่วนขาดยนอนหงายงอเข่าจรดอก หรือใช้ท่านอนตะแคงงอเข่าดึงส้นเท้าชิดสะโพก หรือนั่งเหยียดขาตรงกระดกข้อเท้าขึ้นและก้มตัวแตะปลายเท้า เป็นต้น 3.หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินนาน ๆ นั่งยกขาสูงและพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรรับประทานอาหารเค็มจัด 4.เมื่อไปฝากครรภ์ควรให้คุณหมอตรวจดูทุกครั้งว่ามีอาการบวมที่ขาและเท้าหรือไม่
เมื่อแม่ท้องมีปัญหาเส้นเลือดขอด อาจมีอาการปวดขาเกิดขึ้นได้ มีข้อแนะนำในการลดอาการปวดขามาฝากแม่ ๆ ค่ะ 1.ประคบร้อน เพื่อให้หลอดเลือดขยายตัว ร่วมกับยกขาขึ้นสูง เพื่อช่วยให้เลือดเทกลับลงสู่ระบบหลอดเลือดดำใหญ่ที่ต้นขาได้ง่ายขึ้น 2.บีบนวดกล้ามเนื้อน่องเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว จากการใช้งานมาตลอดวัน 3.ใช้ผ้ายืดที่ลักษณะเหมือนถุงเท้ารัดที่ขาท่อนล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น แต่อย่ารัดให้แน่นจนเกินไป ควรเป็นผ้ายืดจากผ้าฝ้าย เพราะใยสังเคราะห์จะทำให้อับชื้นได้ และหลีกเลี่ยงการสวมผ้ายืดรัดขาที่สูงเกินเข่าเพราะขัดขวางการไหลเวียนของเส้นเลือดดำ ทำให้อาการมากขึ้น 4.คุณแม่ที่ต้องทำงานยืนหรือเดินตลอดวัน อาจมีอาการปวดเมื่อยที่ขาได้ง่าย ยิ่งถ้ามีอาการบวมหรือเส้นเลือดขอดด้วยแล้ว จะทำให้มีอาการมากขึ้น การใส่ถุงน่องจะช่วยพยุงขาและทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นได้ค่ะ
แม่ท้องบ่นกันเป็นประจำว่าปวดหลัง อาการปวดหลังยามตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ ตั้งแต่น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ท้องใหญ่ขึ้นหลังแบกรับน้ำหนักเพิ่ม ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงเส้นเอ็นและข้อต่อหลวมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ความเครียด ฯลฯ แต่ปัญหานี้แก้ไขได้ค่ะ 1.นวดหลัง ให้คุณพ่อช่วยนวดหลังคุณแม่จะได้ผ่อนคลายสบายกล้ามเนื้อ หรือใช้ไม้นวดยาว ๆ ที่มีลูกกลม ๆ ติดอยู่ตรงปลายสองลูก หาซื้อได้ง่าย ใช้ถูหลังลดอาการปวดหลังได้ค่ะ 2.บริหารร่างกาย ท่าที่ 1 ยืนก้มตัวโค้งไปข้างหน้า มือไขว้หลังจับประสานกันไว้ ก้มตัวช้า ๆ ค่อยๆ ยกแขนที่มือประสานกันเหยียดไปด้านหลังให้ตึงสุดสุด ท่าที่ 2 บิดเอว โดยนอนราบ ชันเข่าขึ้นฝ่าเท้าวาราบ แล้วเอนเข่าทั้งสองข้างไปทางซ้ายช้า ๆ พร้อมกับหันศีรษะไปทางขวา เกร็งไว้ แล้วทำสลับข้าง 3.ใช้ท่วงท่าให้ถูกต้อง อย่าก้มหลังบ่อย ไม่ว่าจะเก็บกวาดบ้าน ถูบ้าน เก็บของบนพื้น อย่าโน้มตัวลง ควรนั่งก่อนแล้วค่อยเก็บของ ไม่ยกของหนัก เวลายกนั่งใกล้ของที่จะยก แล้วออกแรงยกของโดยใช้กำลังที่ขา เหยียดยืนขึ้น 4.งดรองเท้าส้นสูง เปลี่ยนมาใส่รองเท้าแบนไม่มีส้น เลือกพื้นรองเท้านุ่มหนาพอจะแบกรับน้ำหนักท้องที่เพิ่มขึ้นได้ด้วย เท่านี้ก็ช่วยให้อาการปวดหลังก็ลดลงได้แล้วค่ะ