แนะนำวิธีการเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมสำหรับคุณแม่สายตุน จะลือกแบบไหนและต้องดูอะไรบ้างก่อนตัดสินใจมีคำแนะนำดี ๆ มาฝากค่ะ แบบใช้มือปั๊ม ข้อดี - ราคาไม่แพง คุณแม่ที่คิดแล้วว่าน่าจะไม่ได้ใช้บ่อยแบบปั๊มมือก็เป็นตัวเลือกที่ดี ข้อด้อย - ต้องใช้มือช่วยบีบ กว่าจะได้น้ำนมในปริมาณพอเพียง อาจทำให้คุณแม่เหนื่อยและท้อกับการปั๊มได้ง่าย ไม่เหมาะกับคุณแม่ลูกแฝดที่ต้องการน้ำนมมากเป็น 2 เท่า แบบไฟฟ้า ข้อดี – สะดวกสบายกว่า ไม่ต้องเหนื่อยปั๊มเอง มีให้เลือกหลายรุ่น ต้องดูว่าแบบไหนเหมาะกับการใช้งานขนาดใหญ่เหมาะกับใช้ที่บ้านไม่สะดวกต่อการพกพารุ่นสองหัวปั๊มสะดวกรวดเร็วกว่าหัวเดียว และกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนโปรแลกตินได้มากกว่า แต่แพงกว่ารุ่นหัวเดียว ข้อด้อย - ราคาค่อนข้างสูง 12 ข้อแนะนำการเลือกเครื่องปั๊มนม ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ทำความสะอาดง่าย ส่วนประกอบไม่มากจนเกินไป แต่ละส่วนถอดล้างและประกอบกลับได้ง่าย มีโหมดให้เลือกหลากหลาย เวิร์กกิ้งมัมควรเลือกชนิดพกพาสะดวกน้ำหนักเบา ควรมีอะไหล่เปลี่ยน ในกรณีชำรุดจะได้ไม่ต้องซื้อใหม่ทั้งชุด ดูว่าใช้ได้ทั้งไฟฟ้าและแบตเตอรี่หรือต้องใช้ไฟฟ้าเท่านั้น เสียงดังหรือไม่เวลาใช้งาน ควรมีแรงดูดอย่างน้อย 200 มม.ปรอท จังหวะในการดูดอย่างน้อย 40-60 รอบต่อนาที จึงจะใกล้เคียงการดูดของทารก ถ้าประเมินดูว่าใช้น้อยอาจซื้อรุ่นเล็กหรือแบบปั๊มมือ…
Knowledge
ความรู้ ทั้งอัพเดท และ How to การเลี้ยงดูลูก รวมถึงการดูแลตัวเอง ฉบับคุณแม่ คุณพ่อ ยุคใหม่ ที่ครบคลุมตั้งแต่ ช่วงตั้งครรภ์ จนถึง ลูกอยู่ในวัยประถม
คุณแม่ทราบมั้ยคะว่าเพียงแค่พักสายตางีบหลับสั้น ๆ ช่วงกลางวัน ก็สามารถชาร์ตแบตให้สมองตื่นตัว พร้อมรับภารกิจต่อไปค่ะ เพียงแค่อาศัยเทคนิคงีบแบบมีประสิทธิภาพซักนิด 10 - 30 นาที จะช่วยเพิ่มการทำงานสมองให้ดีขึ้น อย่านานกว่านั้น ยิ่งนอนกลางวันนานตื่นขึ้นมาสมองจะเฉื่อยชา กลับรู้สึกไม่เต็มอิ่มและไม่สดชื่นเท่ากับการนอนเพียงระยะเวลาสั้น ๆ 13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาเหมาะที่สุดสำหรับการงีบหลับไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ร่างกายได้พักผ่อนจริง ๆ และพักสมองอย่างมีคุณภาพ อย่างีบหลังจาก 15.00 น.นะคะเพราะจะทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืน เทคนิคง่าย ๆ อย่างนี้หาเวลางีบบ่อย ๆ นะคะ จะเป็นการรีเฟรชสมองเติมความสดใสให้คุณแม่ค่ะ
คุณแม่อาจเป็นกังวลว่าหน้าอกจะหย่อนคล้อยหลังคลอด เพราะน้ำหนักที่ลดลงก็จะรวมเอาขนาดหน้าอกให้ลดลงมาเท่ากับขนาดเดิมเท่ากับก่อนคลอดด้วย ส่วนการให้นมลูกไม่ได้ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยนะคะสำหรับการดูแลให้อกคุณแม่ยกกระชับเป๊ะเรามี 5 เคล็ดลับดี ๆ มาบอกต่อค่ะ 1.บริหารกล้ามเนื้อรอบเต้านม อยู่ว่าง ๆ ทำได้เลยค่ะ โดยประกบฝ่ามือทั้ง 2 ข้างเข้าหากันคล้ายกับท่าพนมมือ แต่เหยียดข้อศอกทั้ง 2 ข้างออกให้สุดเท่าที่จะทำได้ นับ 1 - 5 แล้วผ่อนคลาย ทำซ้ำ 5 ครั้ง 2.โยคะท่าธนู ท่างูเห่า และท่าหน้าวัว เป็นท่าที่ได้บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกรวมทั้งผ่อนคลายความตึงเครียดได้ดี คุณแม่เลือกท่าที่สามารถทำได้ อย่าฝืนค่ะเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ 3.การว่ายน้ำโดยเฉพาะท่าผีเสื้อและการกระโดดเชือก ช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าอกแข็งแรง กระชับกล้ามเนื้อหน้าอกที่อยู่ด้านหลังของเต้านม 4.การหายใจเข้าออกอย่างถูกต้อง จะช่วยบริหารกล้ามเนื้ออกไม่ให้หย่อนยาน ขณะหายใจเข้าเต็มที่กล้ามเนื้อกะบังลมควรลดตัวลงไปในช่องท้อง ส่วนไหล่ควรยกขึ้น 5.งดอาหารรสเค็มจัด ช่วยลดการคั่งของน้ำในเต้านม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการคัดเต้านม 6.กินผักและผลไม้สดให้มาก เพื่อรับวิตามินอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะวิตามินบี 6 ที่ช่วยลดการคั่งของน้ำ และยังช่วยปรับฮอร์โมนเอสโตรเจนให้สมดุลอีกด้วย 7.ชุดชั้นในพอดีตัว ช่วยโอบอุ้มทรวงอกให้กระชับและป้องกันการหย่อนยานของเต้านมได้
การเข้าใจผิดในบางเรื่องอาจทำให้คุณแม่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้ซักที แถมน้ำหนักยังอยู่ใกล้เคียงกับตอนท้องอีก น่าหนักใจใช่มั้ยคะความจริงแล้วแค่ปรับความเข้าใจให้ถูกต้องก็สามารถกลับมาหุ่นเป๊ะเหมือนเดิมได้แล้วค่ะ มาดูข้อเท็จจริง 4 ข้อกันค่ะ 1.ลดน้ำหนักไม่ใช่แค่ลดอาหาร การลดน้ำหนักไม่ใช่การลดจำนวนอาหารที่กินเข้าไป ปริมาณสำคัญแล้วต้องดูด้วยว่าลดอาหารพลังงานสูงหรือไขมันไปด้วยจึงจะได้ผล การรับประทานอาหารไขมันสูง หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนม น้ำหวาน น้ำอัดลม กาแฟเย็น ฯลฯ เป็นอุปสรรคต่อหุ่นสวยของคุณแม่ 2.ผิวแย่เพราะกินแต่ผัก ผลไม้ ความเชื่อผิดๆ ที่ว่า การกินผัก ผลไม้ โดยไม่แตะแป้ง โปรตีน หรือไขมันแล้วจะช่วยให้ผอมลง ถ้ากินแบบนี้ไปนาน ๆ จะทำให้ร่างกายขาดโปรตีน ไขมัน และวิตามินที่อยู่ในโปรตีน ทำให้สุขภาพผิวไม่แข็งแรงแลดูไม่สดใส และอาจก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้เพราะร่างกายขาดภูมิต้านทาน 3.น้ำหนักไม่ลงเพราะนอนไม่พอ เมื่อไม่ได้พักผ่อนนอนหลับในตอนกลางคืน ฮอร์โมนที่เร่งการเผาผลาญพลังงานจะทำงานได้ไม่เต็มที่ คุณแม่ที่ทำงานตอนกลางคืนหรือนอนหลับไม่เพียงพอ (6-8 ชั่วโมง) จึงมีปัญหาลดน้ำหนัก ควรจัดระเบียบการนอนใหม่เพื่อความงามค่ะ 4.ขจัดไขมันไม่ใช่แค่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างหนักในเวลาสั้น ๆ ร่างกายจะดึงพลังงานจากไกลโคเจนที่อยู่ในกล้ามเนื้อและตับไปใช้ แทบไม่ได้ลดไขมันเลย อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบด้วยซ้ำ การออกกำลังกายที่เหมาะที่สุดคือค่อยเป็นค่อยไปจะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี รูปร่างก็จะดีตามไปด้วย…
การลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องยาก แค่มีคีย์เวิร์ดสำคัญนั่นก็คือ ”วินัย” ค่ะ เพื่อให้มีรูปร่างกลับมาเพรียวบางเหมือนก่อนคลอดเป็นจริง เรามีเทคนิคง่าย ๆ แต่ “ต้องทำ” มาฝาก 1.ต้องกินครบ 5 หมู่ กินให้หลากหลาย โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า มื้อสำคัญจะช่วยให้การเผาผลาญเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยทำให้น้ำหนักคงที่ 2.ต้องกินอาหารครบ 3 มื้อ กินให้ตรงเวลา ระหว่างมื้อหากห่างกันมากเกิน 6 ชั่วโมง หาผลไม้หรือของว่างที่ดีต่อสุขภาพรองท้องด้วยนะคะ 3.ต้องจัดระบบเผาพลาญพลังงานใหม่ โดยดื่มน้ำเปล่าให้มาก เคี้ยวอาหารช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียด และออกกำลังกายเป็นประจำ เลือกการออกกำลังที่ง่ายและสะดวก เพื่อช่วยกระชับกล้ามเนื้อให้แข็งแรง 4.ต้องเลือกอาหารพลังงานต่ำ เพราะการที่น้ำหนักเพิ่มไม่ใช่ปริมาณอาหารเท่านั้น ต้องระวังพลังงานเกินค่ะ แป้งขัดขาวแป้งแปรรูป ไขมัน และอาหารรสหวานจัดนี่ละตัวดี อย่ากินเกิน เน้นผักและผลไม้รสหวานน้อยค่ะ 5.ต้องนอนหลับพักผ่อนให้พอ การนอนหลับพักผ่อนอย่างพอเพียงโดยเฉพาะในตอนกลางคืนจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันส่วนเกินได้ดี ไม่ยากใช่มั้ยคะ เริ่มทำตั้งแต่วันนี้เพื่อคืนหุ่นเป๊ะให้กลับมาดังใจ
อาการซึมเศร้าหลังคลอดมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ ร่วมกับปัจจัยอื่นมากระตุ้น เช่น ความเครียด ความกังวลในการเลี้ยงลูก พักผ่อนน้อย และการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อมีลูก คุณแม่มีสัญญาณเตือนเหล่านี้หรือเปล่าคะ 1.อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป จากเคยร่าเริงสนุกสนาน เปลี่ยนเป็นขี้กังวล หดหู่ รู้สึกเศร้า หรือเครียดมากขึ้น หรือจากคนใจเย็นกลายเป็นหงุดหงิดขี้โมโหได้ง่ายขึ้น 2.ขี้น้อยใจ ร้องไห้แบบไม่มีเหตุผล หรือกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ 3.ความคิดเปลี่ยน เช่น คิดช้าลง หรือคิดไปในทางลบ 4.ขี้หลงขี้ลืมบ่อยขึ้น เนื่องจากขาดสมาธิความจำจึงไม่ดีตามไปด้วย 5.ความสัมพันธ์กับคนอื่นถดถอยลง ไม่อยากพูดคุยกับใคร บางครั้งแยกตัว ไม่สนใจทำงานการอะไรก็ตาม ระยะเวลาของอาการซึมเศร้าหลังคลอดอาจแค่สัปดาห์เดียวหรือนานเป็นเดือน หากไม่รุนแรงมากอาการจะค่อย ๆ หายไป คุณแม่พยายามหาสิ่งผ่อนคลายจิตใจทำ และพักผ่อนนอนหลับให้พอเพียง คนรอบข้างเข้าใจและคอยเป็นกำลังใจ ก็จะช่วยให้ผ่านพ้นไปด้วยดี หรือถ้ารู้สึกว่าเป็นมากอาจปรึกษาคุณหมอค่ะ
คุณแม่หลังคลอดรู้สึกหดหู่เศร้าใจ ขี้น้อยใจ ร้องไห้ง่ายแม้กับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ใช่มั้ยคะ นั่นอาจเป็นสัญญาของอาการซึมเศร้าหลังคลอดก็เป็นได้ ลองแก้ไขด้วยวิธีง่าย ๆ เหล่านี้ดูก่อนค่ะอาจช่วยได้ 1.พักผ่อนและนอนหลับให้พอ การผ่อนคลายด้วยกิจกรรมบันเทิง เช่น ฟังเพลง ดูหนัง ช่วยได้ ที่สำคัญควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ โอกาสนอนยาวอาจมีน้อยค่อย ๆ เก็บไประหว่างลูกหลับคุณแม่รีบหลับด้วยค่ะ 2 กินอาหารดีมีประโยชน์ สารอาหารที่ดีต่อร่างกายจะช่วยให้ระบบการทำงานในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างภูมิต้านทานและปรับสมดุลให้ร่างกายได้เป็นอย่างดี 3.ให้ลูกกินนมแม่ ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่สร้างน้ำนมแม่เพิ่มขึ้นหลังคลอด การให้ลูกดูดนมแม่จะทำให้สารแห่งความสุขเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณฮอร์โมนความเครียดค่อย ๆ ลดลงส่งผลให้คุณแม่อารมณ์ดี 4.มีผู้ช่วย การมีผู้ช่วยที่ดีไม่ว่าจะคุณสามี ญาติสนิท หรือพี่เลี้ยง จะช่วยผ่อนแรงคุณแม่ และช่วยให้คุณแม่ไม่รู้สึกเหนื่อยหนักจนเกินไปจนเกิดความเครียด 5.ออกกำลังกาย เหนื่อยแค่ไหนต้องหาเวลาออกกำลังกาย แล้วคุณแม่จะทราบว่านอกจากแรงเยอะขึ้นแล้วจิตใจก็จะสดใสขึ้น นี่คือวิธีการปรับสมดุลของร่างกายเรา ทำความสะอาดบ้านก็นับเป็นการออกกำลังกายได้ค่ะในขณะที่มีเวลาน้อย 6.คิดบวกมองบวก เป็นวิธีที่ดีและง่ายมากโดยไม่ต้องลงแรงทำอะไร ทำแล้วจะช่วยให้คุณแม่สามารถควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เป็นลบ ปรับสู่อารมณ์สดใสได้ เวลานี้มุ่งความสนใจไปกับเรื่องที่มีความสุขหรือสนุกสนานเพลิดเพลิน ตัดเรื่องจุกจิกกวนใจทิ้งไปค่ะ…
การดูแลลูกแรกเกิดมีเรื่องให้ทำหลายอย่างจนคุณแม่ยุ่งไปทั้งวันทั้งคืน จากเคยนอนยาว 8 ชั่วโมงรวดอาจต้องตื่นมาทุก 2 ชั่วโมงเพื่อให้นมลูก ถ้าไม่มีผู้ช่วยคุณแม่ต้องดูแลจัดการทุกเรื่องเกี่ยวกับลูกอยู่คนเดียว ทั้งให้นม อาบน้ำ ป้อนข้าว ล้างขวดนม ซักผ้า ตากผ้า เตรียมอาหาร ฯลฯ พอวิ่งไปทำอย่างนึงลูกร้องก็ต้องวิ่งกลับมาดูแล ตื่นขึ้นมาไม่เห็นแม่คุณลูกยิ่งร้องบ่อย หัวหมุนเลยใช่มั้ยคะ ขอแนะนำวิธีลดความยุ่งยากให้คุณแม่มือใหม่มีเวลาดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเวลาเขาตื่นเพิ่มขึ้นค่ะ 1.ย้ายออฟฟิศมานั่งทำงาน อย่างงานเอกสาร คิดบัญชีรายรับรายจ่าย ใกล้ ๆ ลูก 2.ทำงานบ้านบางอย่างใกล้กับลูก อาจจะนั่งพับผ้า เตรียมอาหารที่ไม่มีกลิ่นแรง เช่น หั่นผักหรือปอกเปลือกผักผลไม้ในห้องเดียวกับลูก แทนที่จะเข้าไปทำครัวเป็นเวลานาน ๆ 3.จัดวางของใช้ไว้เป็นเซ็ทเก็บให้อยู่ใกล้ ๆ กัน จะหยิบใช้อะไรไม่ต้องเดินไปมาหลายที่ เช่น เซ็ทเสื้อผ้าและอุปกรณ์อาบน้ำลูก เช็ทอาหารลูกอย่างขวดนมหรือจานชามลูก 4.ถ้าทำอาหารเองอาจเตรียมหั่นวัตถุดิบที่หั่นเก็บไว้ได้อย่างเนื้อสัตว์แยกใส่กล่องเข้าช่องแข็งในตู้เย็นไว้ หรือทำน้ำซุปใส่กล่องแยกเก็บไว้สำหรับใช้ในแต่ละครั้ง 5.จดรายการฝากคุณพ่อไปชอปปิง หรือฝากจ่ายค่าบัตรเครดิต ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ ไม่ต้องไปเอง แบบไหนเรียกว่าเวลาคุณภาพ ถ้าอยู่ใกล้…
คุณแม่ทราบไหมคะว่าตั้งแต่แรกคลอดสมองของลูกน้อยก็พร้อมรู้ทุกสิ่งรอบตัวเขาแล้วค่ะ อย่างที่คุณแม่เคยได้ยินบ่อย ๆ ค่ะว่าการเลี้ยงดูลูกให้เติบโตมาเป็นเด็กฉลาดเริ่มได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ แรกคลอดก็แช่นกัน ให้ลูกเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัย เติมประสบการณ์ดี ๆ ให้กับลูก ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กจะพัฒนาไปได้ไม่ดีถ้าขาดความรักความอบอุ่นจากคุณแม่ค่ะ อ้อมกอดอันอบอุ่น สัมผัสรักระหว่างคุณแม่กับลูกส่งผลต่อความเฉลียวฉลาดของลูกได้อย่างไร เส้นใยประสาทภายในสมองของลูกจะมีการแตกแขนงเป็นจำนวนมาก การส่งผ่านข้อมูลความรู้ทำได้รวดเร็วขึ้น การเรียนรู้จึงง่ายขึ้นค่ะ คำพูดการโอบกอดสัมผัสด้วยความรักความอ่อนโยน ลูกรับรู้ได้นะคะ พอเขารับรู้สิ่งนี้เขาจะรู้มั่นคงปลอดภัยและมีความสุข เมื่อมีความสุขสมองก็สามารถเรียนรู้ได้ดี ในอ้อมกอดคุณแม่นี้แหละที่จะทำให้ลูกวัยทารกเติบโตเป็นเด็กฉลาดค่ะ
การเยี่ยมคุณแม่คนใหม่และทารกแรกเกิด ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่าย ก่อนไปเยี่ยมควรทราบสักนิดว่าต้องใส่ใจในเรื่องใดบ้าง นอกจากเป็นมารยาทอันดีงามแล้วควรป้องกันการนำเชื้อโรคไปสู่ทารกด้วยค่ะ 1.ดูความพร้อมคุณแม่ แม่หลังคลอดมักจะอ่อนเพลีย และยุ่งอยู่กับการเลี้ยงเบบี๋ คุณแม่บางคนจนตาเป็นแพนด้า ก่อนไปเยี่ยมควร ส่ง Message หรือโทรถามแม่ก่อนหรือว่าพร้อมให้ไปเยี่ยมหรือเปล่า นัดวันและเวลา เพราะแม่อาจกำลังให้นมลูก หรืองีบหลับอยู่ โอกาสพักผ่อนมีน้อยพยายามอย่ากวนแม่ ถ้าแม่บ่นว่าอยากเม้าใจจะขาด อย่ารอช้ารีบไปให้กำลังใจแม่ค่ะ 2.อย่านำเชื้อโรคไปฝาก เชื้อโรคธรรมดา ๆ อาจเป็นอันตรายต่อทารกและคลอดเพราะภูมิต้านทานยังไม่แข็งแรง ถ้าป่วยให้หายก่อนค่อยไปเยี่ยม ไม่ป่วย แต่คนรอบข้างป่วย อย่าเพิ่งไปเยี่ยม เลี่ยงการพาเด็กไปเยี่ยมทารกช่วงแรกคลอด เมื่อไปถึงขอล้างมือฟอกสบู่ก่อน 3.ห้ามหอมทารก การหอมหรือจูบทารก อาจเกิดอันตรายได้ เชื้อโรคธรรมดาที่เกิดกับผู้ใหญ่หรือเด็กทั่วไปเป็นแล้วหายง่ายไม่รุนแรง แต่เมื่อทารกรับเชื้อโรคอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง ทารกมีอาการป่วยหนักหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้ มีรายงานข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นระยะจากหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งบ้านเราด้วย 4.อย่าทำให้แม่เครียด คุณแม่บางคนมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด บางคำพูดกอาจทำให้แม่จิตตก ละเอียดอ่อนซักนิดค่ะ ถามถึงสุขภาพแม่ลูกพอสมควร ชวนคุยเรื่องดี ๆ เลี่ยงหัวข้อชวนเครียด เช่น รูปร่างแม่…