สารกันบูดมีอยู่ในอาหารหลายประเภท คุณแม่อาจนึกไม่ถึงหรือลืมนึกไปว่าอาหารประเภทนี้ก็ใส่สารกันบูดกับเขาด้วย สารกันบูดหรือสารกันเสียมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ค้าขายอาหาร เพราะช่วยยืดอายุอาหารให้อยู่นาน บูดเสียช้า ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อกำหนดเอาไว้ว่าไม่ให้ใส่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มีการใส่สารกันบูดในอะไรบ้าง อาหาร : เช่น ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ผักดอง หมูยอ อาหารประเภทแฮม ไส้กรอก น้ำพริก ฯลฯ ขนม : เช่น ขนมปัง โดนัท เยลลี่ แยม ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้อบแห้ง ข้าวเกรียบกุ้ง ขนมเปี๊ยะ โรตีสายไหม ขนมแบบแห้ง ฯลฯ เครื่องดื่ม : น้ำอัดลม น้ำหวาน *อาหารบางอย่างก็ใส่สารกันบูดมากกว่า 1 ชนิด รวมแล้วอาจจะเกินกำหนด
*ถ้ารอบตัวลูกมีแต่อาหารที่ใส่สารกันบูดให้เลือกรับประทาน ก็เท่ากับว่ามีโอกาสรับปริมาณสารกันบูดเกิน อันตรายถ้ากินสารกันบูดเกิน เกิดอาการแพ้…
Knowledge
ความรู้ ทั้งอัพเดท และ How to การเลี้ยงดูลูก รวมถึงการดูแลตัวเอง ฉบับคุณแม่ คุณพ่อ ยุคใหม่ ที่ครบคลุมตั้งแต่ ช่วงตั้งครรภ์ จนถึง ลูกอยู่ในวัยประถม
งานวิจัยจาก Trieste and the University of Padua ที่ตีพิมพ์ใน Scientific Reports เผยว่า ทารกในครรภ์อายุตั้งแต่ 18 สัปดาห์ขึ้นไปจะเคลื่อนไหวโดยใช้มือข้างที่ถนัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมือขวา งานวิจัยรายงานว่าความถนัดซ้ายหรือขวาของลูกนั้นถูกกำหนดมาตั้งแต่ในครรภ์ นักจิตวิทยาพัฒนาการแนะนำว่า อย่าพยายาม “แก้ไข” ความถนัดซ้ายของลูก เพราะจะส่งผลให้สมองของลูกทำงานหนักขึ้น มีโอกาสเกิดปัญหาในการเขียน การใช้กรรไกร หรือมีด และเล่นกีฬาได้ไม่ดี รวมไปถึงเหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องมาจากความถนัดซ้ายหรือขวาของเด็ก ๆ เกี่ยวข้องกับการบริการจัดการและการทำหน้าที่ของสมอง สมองซีกซ้ายและซีกขวา นั้นมีหน้าที่ควบคุมการทำงานและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ข้อแนะนำ ถ้าลูกยังไม่แสดงให้เห็นการใช้มือข้างที่ถนัดภายในอายุ 2 ปี พยายามให้เขาหยิบจับสิ่งของโดยใช้มือทีละข้าง และอย่าสั่งให้ลูกใช้ช้อนหรือปากกาด้วยมือข้างใด แต่ปล่อยให้เขาได้เลือกข้างที่ถนัดด้วยตัวเอง เมื่อลูกแสดงให้เห็นว่าถนัดมือข้างไหน พยายามหากิจกรรมให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อมือข้างนั้นด้วยจะดีที่สุดค่ะ
การนอนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของวัยเบบี๋ทั้งด้านร่างกาย สมอง อารมณ์ และจิตใจ แต่ถ้าลูกมีอาการนอนกรนจนเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้หยุดหายใจขณะหลับจะเกิดปัญหาสุขภาพตามมาค่ะ นอนกรนจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea Syndrome : OSAS) มักเกิดจากช่องคอที่แคบลงและปิดในระหว่างหลับ ทำให้เด็กมีอาการหายใจเสียงดัง หายใจหอบ สะดุ้ง สำลัก เวลาหายใจเข้าหน้าอกจะบุ๋มขณะหลับ เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับกล้ามเนื้อจะหย่อนตัวมาก ทำให้ช่องคอแคบมากกว่าปกติจนกระทั่งช่องคอปิด อาจได้ยินเสียงหายใจเฮือกเสียงดัง เมื่อเริ่มกลับมาหายใจอีกครั้ง การหายใจเช่นนี้อาจกระตุ้นให้ตื่นเป็นช่วงสั้น ๆ และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจได้ เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจน อาการเป็นแบบนี้ เด็กจะนอนหลับในท่าทางที่ผิดปกติ กรนเสียงดังเป็นประจำ หยุดหายใจสั้น ๆ ขณะหลับแล้วตามด้วยเสียงกรน หายใจหอบ ตื่นกลางคืน เหงื่อออกมากขณะหลับ นอนกระสับกระส่าย ปลุกตื่นยาก หลังตื่นนอนอยากจะนอนหลับต่อ ปวดศีรษะระหว่างวันหรือหลังตื่นนอน หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ผลเสีย เมื่อโตจะมีปัญหานอนหลับยาก มักหลับขณะเรียน การเจริญเติบโตไม่ดี มีปัญหาพฤติกรรม ปัสสาวะรดที่นอน อาจมีสมาธิสั้น และซนกว่าปกติ เป็นต้น ถ้าลูกมีอาการดังกล่าวควรปรึกษากุมารแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับค่ะ ข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์นิทราเวช …
การนอนสะดุ้งเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยอัตโนมัติ (Reflex) ของเด็กทารกทุกคนเป็นปกติ แค่มีเสียงดังหรือบริเวณที่นอนอยู่มีการสั่นสะเทือนเบาๆ ลูกจะมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วยการขยับแขนขาในทันที ดังนั้นเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น เช่น เสียงพูดคุยหรือเปิดประตู ก็อาจทำให้ลูกสะดุ้งตกใจได้ เมื่อลูกโตขึ้นปฏิกิริยาเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ หายไปเองค่ะ
หากคุณแม่กังวลว่าลูกนอนนานไม่ตื่นขึ้นมากินนมสักที คงต้องสังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกค่ะ ถ้าลูกนอนสบาย เป็นปกติดีไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องกังวลหรือปลุกให้ลุกขึ้นมากินนมทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง อาจยืดหยุ่นช่วงเวลาการกินกันได้ ตามความเหมาะสม การที่ลูกนอนนานถ้าไม่นานจนรู้สึกว่าผิดปกติมากก็ไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปค่ะ หรือถ้าคุณแม่ยังไม่คลายความกังวลอาจปรึกษาคุณหมอ ร่วมกับการสังเกตการเจริญเติบโต น้ำหนักตัวกับปริมาณการกินของลูก ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ หากมีปัญหาจะได้ดูแลแก้ไขทัน
ช่วงแรกเกิดวงจรการนอนของเด็กจะสั้นกว่าผู้ใหญ่ ทำให้ทารกตื่นบ่อย ทำให้ลูกหลับได้นาน รวมทั้งกระเพาะของลูกก็ยังเล็ก ทำให้ย่อยเร็ว ตื่นมากินนมทุก 2-3 ชั่วโมงในช่วง 3 เดือนแรก อีกทั้งเด็กแต่ละคน ก็มีรูปแบบการนอนที่แตกต่างกัน บางคนนอนทั้งวันไม่ตื่น หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ ทั้งวันทั้งคืนก็เป็นไปได้ แต่เมื่อลูกโตขึ้นวงจรการนอนจะนานขึ้น ทำให้เห็นได้ว่าลูกหลับลึกโดยไม่แสดงท่าทีว่ารู้สึกตัวตื่นด้วยการขยับหรือบิดตัวได้นานมากขึ้น สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือ ให้ลูกเรียนรู้เรื่องเวลากลางวันและกลางคืนตั้งแต่หลังคลอด ด้วยการสร้างบรรยากาศการนอน เช่น กลางวัน ควรให้ห้องนอนหรือห้องที่ลูกอยู่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่ปิดทึบหรือมืด ส่วนกลางคืน แสงไฟในห้องไม่ควรสว่างจ้า จนไปรบกวนการนอนของลูก
สังเกตไม่ยาก วันไหนคุณแม่รู้สึกร้อนอึดอัด ไม่สบายตัว ทารกก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ถ้ามีเหงื่อออกแสดงว่าร้อน อาจลองแตะที่ซอกคอดู ถ้ามือเท้าเย็น ผิวตัวลูกลายเป็นตาข่ายแสดงว่าหนาว เมื่อโตขึ้น เบบี๋จะแสดงท่าทางสื่อสารได้ว่าต้องการอะไร ควรสังเกตว่าลูกต้องการจะบอกอะไรกับคุณแม่ ปัญหาการไม่ยอมนอนของลูกนั้นคุณแม่ลองสังเกตดูว่ามาจากสาเหตุใด ส่วนใหญ่มาจากคุณแม่ยังไม่ได้จัดการเรื่องเวลานอนของลูกค่ะ มีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก ควรให้ลูกนอนกลางวันเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะช่วงแรกเกิด หากลูกนอนเกิน 3 ชั่วโมงควรปลุกให้ตื่น ถ้าลูกไม่หิวไม่เป็นไร อาจหากิจกรรมเรื่องเล่นให้ลูก เพื่อให้ลูกนอนกลางวันน้อยลง สามารถหลับในตอนกลางคืนได้มากขึ้น ในเวลากลางคืนควรสร้างบรรยากาศการก่อนนอน เช่น ทำให้ห้องนอนสงบ เปิดเพลงเบาๆ และลดกิจกรรมที่ตื่นเต้นก่อนนอน หรือเปิดไฟน้อยดวงเท่าที่จำเป็นหากต้องลุกขึ้นมาดูแลลูกในตอนกลางคืน เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยเปลี่ยนมานอนตอนกลางคืนได้ดีขึ้นค่ะ
ถ้าลูกร้องตื่น ควรดูแลแก้ไขตามสาเหตุนั้น ๆ เช่น ลูกเจ็บป่วย ชื้นแฉะ ไม่สบายตัว ทำให้ลูกต้องงอแงร้องไห้ ตื่นขึ้น แต่หากการร้องของลูกเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ในตอนกลางคืน รอดูสักพัก การรีบเข้าไปอุ้ม เปิดไฟให้สว่าง หรือให้นมมื้อดึก จะทำให้ทารกร้องให้อุ้มทุกครั้ง ลองให้ลูกได้หลับต่อเอง หรือปลอบโยนด้วยการแตะหรือตบก้นเบา ๆ เพื่อให้ลูกรู้ว่าคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ
ในบางเวลาอากาศเอาแน่เอานอนไม่ได้คุณแม่อาจสงสัยว่าตอนนี้ลูกน้อยสวมเสื้อผ้าอบอุ่นพอหรือยังหรือว่าเขาจะร้อนเกินไปนะ จะสังเกตอย่างไรดี ทารกเกิดใหม่ ร่างกายเคยชินกับความอบอุ่นในท้องแม่มาโดยตลอด เมื่อออกมาลืมตาดูโลกควรจัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับของเดิมเป็นดีที่สุด อยู่ในบ้านหรือนอกบ้าน ก็จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นเข้าไว้ ทารกที่โตหน่อย เริ่มชินกับสภาวะแวดล้อมแล้ว เมื่ออยู่ในบ้านก็ไม่ต้องสวมเสื้อผ้าหลายชั้นเหมือนเวลาออกไปนอกบ้าน อย่าลืมสวมหมวกให้ลูกทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน เพราะศีรษะเป็นอวัยวะที่บอบบาง รับรู้ร้อนหนาวได้เร็ว และอาจทำให้ไม่สบายได้ ช่วงปลายรู้สึกหนาว เบบี๋อาจร้องงอแง แต่ถ้าลูกรู้สึกร้อนเกินไปจะง่วงและนอนทั้งวัน เพราะไม่กวน คุณพ่อคุณแม่จึงไม่รู้ว่า เขากำลังไม่สบายตัวอยู่ สังเกตไม่ยาก วันไหนคุณแม่รู้สึกร้อนอึดอัด ไม่สบายตัว ทารกก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ถ้ามีเหงื่อออกแสดงว่าร้อน อาจลองแตะที่ซอกคอดู ถ้ามือเท้าเย็น ผิวตัวลูกลายเป็นตาข่ายแสดงว่าหนาว เมื่อโตขึ้น เบบี๋จะแสดงท่าทางสื่อสารได้ว่าต้องการอะไร ควรสังเกตว่าลูกต้องการจะบอกอะไรกับคุณแม่
การดูแลสุขภาพฟันของลูกตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นเพื่อสร้างนิสัยการดูแลฟันตั้งแต่เขายังเล็ก และป้องกันปัญหาในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ ฯลฯ ฟันแท้สำคัญเพราะลูกต้องใช้ไปจนตลอดชีวิต และสุขภาพฟันที่ดีมีผลต่อการกินอาหารเป็นอย่างมากค่ะ ดูแลฟันสำคัญสุด ๆ เด็กเล็กเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาฟันผุสูง โดยเฉพาะช่วงขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กยังมีการดูดนมค่อนข้างบ่อย จึงมีความถี่ที่น้ำนมจะสัมผัสกับเนื้อฟันได้สูง หากพ่อแม่ ผู้ปกครองไม่สามารถทำความสะอาดฟันให้ลูกได้ จะมีโอกาสเกิดฟันผุได้ง่าย กว่าจะรู้ก็ผุแล้ว ฟันผุในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ พ่อแม่จึงไม่ทราบว่า ลูกเริ่มมีฟันผุแล้ว จนกระทั่งรอยผุลุกลามใหญ่ขึ้นจนทะลุโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้ติดเชื้อที่ฟันและมีอาการปวดฟัน หรือมีตุ่มหนองที่เหงือก รักษายากและแพง การรักษาฟันที่มีการผุลุกลามมากแล้วนั้นมักต้องฉีดยาชาร่วมกับการถอนฟัน หรือรักษารากฟัน ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้ยังทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการทำฟันและเข้าพบทันตแพทย์อีกด้วย วิธีดูแลฟันลูก 1.พาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปาก และป้องกันฟันผุด้วยการเคลือบฟลูออไรด์หรือเคลือบหลุ่มร่องฟัน หากคุณหมอพบรอยผุตั้งแต่ระยะแรกก็จะทำการอุดฟันแบบที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด นอกจากนี้หากพบความผิดปกติอื่น ๆ จะได้รักษาเร็วก่อนลุกลาม 2.พาลูกไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น หรืออย่างช้าอายุไม่เกิน 1 ปี เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพปากและฟันเหมาะสม ลูกเล็กไม่ยอมแปรงฟันทำยังไงดี 1.ฝึกให้ลูกเคยชินกับการแปรงสีฟัน เช่นให้ถือเล่น หรือลองใช้แปรงสีฟันเข้าปาก แต่ต้องเป็นแปรงที่เหมาะสมกับช่วงวัย รวมถึงการเลือกแปรงสีฟันที่มีสีสันสดใส 2.ควรทำเป็นลักษณะของกิจกรรมครอบครัวโดยการที่คุณพ่อ คุณแม่ทำให้ลูกเห็นและให้ลูกทำตามไปพร้อมๆกัน 3.สร้างบรรยากาศสนุกสนาน ร้องเพลงขณะแปรงฟันด้วยกัน เด็กเล็กมักเป็นวัยที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในเรื่องแปรงฟัน คุณพ่อคุณแม่พยายามสักนิด ใช้หลาย…