ขี้หวง แย่งของเล่น
จะมักเป็นกับเด็กวัยเต๊าะแตะกันซะส่วนใหญ่เลยค่ะ
เนื่องจากเด็กวัยนี้มักรู้สึกว่าเขานั้นเป็นเจ้าของของทุกๆอย่าง
ทำให้เกิดอาการหวงของเล่นมาก หรือไม่แบ่งปันเพื่อน อีกทั้งยังสามารถไปแสดงนิสัยไม่ดีใส่เพื่อนด้วยการแย่งของเล่น
การที่เด็กเป็นแบบนี้ไม่ใช่เครื่องการันตีนะคะว่าลูกของเราจะเป็นเด็กก้าวร้าว
นิสัยไม่ดี แต่เป็นเพียงวัยของเขาที่ยังเด็ก
ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้มากเท่าที่ควร แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางออกถูกไหมคะ
เราสามารถทำให้นิสัย ขี้หวง แย่งของเล่น ของลูกน้อยเนี่ย ลดลงได้
จะด้วยวิธีอะไรก็ตามแต่รีบเลื่อนอ่านหัวข้อถัดไปเลยค่ะ ขี้หวง แย่งของเล่น น้อยลง ปรับได้ หมั่นฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอย ตั้งแต่เรื่องเล็กๆไปจนเรื่องใหญ่ อย่างเช่น
การฝึกให้ลูกขอและรอสิ่งของที่ต้องการ แทนการแย่งไป ณ เดี๋ยวนั้นนะคะ
อาจจะต้องพูดดีๆกับเขา และคอยเป็นน้ำเย็นลูบให้แก่เขานะคะ พ่อแม่ต้องทำวินัยเชิงบวกแก่ลูก ใช่ค่ะ
วินัยเชิงบวกในที่นี่การประนีประนอมแก่ลูก ไม่ว่าจะเป็นการให้เหตุผล พูดจาอ่อนโยน
ซึ่งจะเป็นผลดีในระยะยาวแก่ตัวลูกมากๆเลยค่ะ ข้อนี้ สอนให้ลูกเอาใจเขามาใส่ใจเรา การสอนแบบนี้สามารถใช้ได้กับทุกอย่างค่ะ
ถ้าลูกรู้สึกไม่ดีกับสิ่งไหนก็อย่าทำสิ่งนั้นกับคนอื่น
เพราะขนาดตัวเรายังไม่ชอบเลยแล้วคิดว่าคนอื่นจะชอบหรอ ? ปล่อยให้ลูกช่วยเหลือตนเอง การที่ให้ลูกช่วยเหลือตนเองโดยที่เราไม่ต้องคอยทำให้
ถือเป็นประสบการณ์ให้เขาสามารถเรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องและผิดพลาดให้แก่ตนเองได้ค่ะ
วิธีนี้จะสามารถช่วยขัดเกลาความใจร้อนและเสริมสร้างความคิดให้แก่ลูกน้อยได้มากเลยทีเดียว สอนให้ลูกช่วยเหลืองานบ้านและช่วยเหลือคนอื่น เมื่อลูกช่วยเหลือแล้วเขาก็จะต้องได้รับคำชมถูกไหมคะ
คำชมเหล่านี้แหละค่ะที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เขาคิดว่าเป็นวินัยเชิงบวกจะทำให้เขาอ่อนโยนและลดความแข็งกระด้างลง สอนให้ลูกรู้จักการขอและรอคอยการอนุญาต หากลูกต้องการจะเล่นของเล่น
หรือต้องการอะไรบางอย่างจะต้องให้เขาขอก่อนค่ะ
แล้วต้องรอคำตอบว่าอนุมัติให้เล่นได้ สรุป เมื่อเราพบเจอลูกนิสัยขี้หวง เกเรคนอื่น
แย่งของเล่น เราไม่ควรจะไปดุกล่าวเด็กๆเลยนะคะ
เพราะอย่างที่บอกไปว่ามันเป็นปัจจัยหนึ่งในวัยของเด็กที่เขามีความคิดแบบนี้ค่ะ
เราคนเป็นพ่อเป็นแม่จึงต้องหาวิธีการที่จะค่อยช่วยเหลือลูกอย่างการกระทำแบบนี้นิสัยขี้หวง
แย่งของเล่น สามารถปรับได้ค่ะ และจะทำให้ลูกน้อยของเราเป็นเด็กที่รู้จักการแบ่งปัน
ความเสียสละต่อผู้อื่นและส่วนร่วมอีกด้วย
Knowledge
ความรู้ ทั้งอัพเดท และ How to การเลี้ยงดูลูก รวมถึงการดูแลตัวเอง ฉบับคุณแม่ คุณพ่อ ยุคใหม่ ที่ครบคลุมตั้งแต่ ช่วงตั้งครรภ์ จนถึง ลูกอยู่ในวัยประถม
การออกกำลังกายดีต่อทั้งผู้ใหญ่และเด็ก โดยเฉพาะเด็กอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินค่ะ มาดูกันว่าประโยชน์ของการออกกำลังกายในวัยกำลังเจริญเติบโตมีอะไรบ้าง เพิ่มการสร้างมวลกระดูก ทำให้กระดูกเจริญเติบโต ซึ่งมีผลต่อความสูง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พัฒนาระบบประสาทสั่งการการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้ระบบหัวใจ และหลอดเลือดแข็งแรงขึ้น เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมน้ำหนักตัว ช่วยส่งเสริมสุขภาพกายใจให้แข็งแรง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายกับ พ่อ แม่ เพื่อนๆ เด็กในวัยเดียว หรือวัยใกล้เคียงกัน จะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพราะได้มีสังคม อารมณ์แจ่มใส มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก
ถึงแม้การออกกำลังกายจะดีกับลูกในทุกด้าน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโตตามวัย อารมณ์แจ่มใส แต่ก็มีข้อควรระวังดังนี้ค่ะ 1.ควรวอร์มหรืออบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง ก่อนและหลังออกกำลังกาย 2.ถ้าลูกเป็นไข้ มีอาการตัวร้อน ห้ามออกกำลังกาย ถึงแม้จะมีไข้เพียงเล็กน้อยก็ไม่ควรให้เด็กเล่นหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อมาก 3.ภาวะขาดน้ำในร่างกาย เด็กที่มีอาการถ่ายเหลว หรืออาเจียนมาก ๆ มีอาการอ่อนเพลีย ควรงดการเล่นที่ออกแรงเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไป 4.ให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ เพราะเด็กมักจะไม่ใสใจในความปลอดภัย 5.ออกกำลังกายในอากาศที่เหมาะสม ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในขณะที่อากาศร้อน มีแสงแดดจัด หรือถ้ามีการออกกำลังกายก็ควรมีน้ำดื่มให้เพียงพอสำหรับความต้องการของเด็ก
หน้าหนาวมาเยือนทีไรลูกน้อยมักจะมีปัญหาผิวแห้งแตกเนื่องจากผิวเด็กอ่อนบางมีโอกาสแห้งแตกง่ายหากผิวลูกแห้งมากเป็นขุยแตกและรู้สึกคัน เมื่อคันลูกก็จะเกา ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ mother&care มีเคล็ดลับดี ๆ ในการปกป้องผิวลูกน้อยมาฝากค่ะ ให้ลูกดื่มน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อคงความชุ่มชื้นของผิวหนังเอาไว้ การใช้น้ำอุ่นอาบน้ำให้ลูกไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดเกินไปเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้ผิวลูกแห้งมาก เลี่ยงการใช้ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตัวขัดถูผิวลูก หยดน้ำมันมะกอกลงในน้ำอาบให้ลูกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ทา Babyครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้ลูก หลังอาบน้ำ สวมเสื้อผ้าเพื่อความอบอุ่นและช่วยปกป้องผิวให้ลูก เลี่ยงการพาลูกออกไปสัมผัสกับแสงแดดจัดดูแลครบทุกข้อหนาวนี้ผิวลูกก็ไม่แห้งแตกแล้วค่ะ
นมแม่มีข้อดีนานัปการดังที่คุณแม่ทราบ มีโปรตีนย่อยง่าย สร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ เช่นดอทบวมโรคทางเดินอาหาร ป้องกันท้องเสีย ป้องกันภูมิแพ้ ต้านการอักเสบติดเชื้อ สุขภาพแข็งแรงโตเร็ว แล้วนมแม่ยังช่วยเสริมสร้างสติปัญญาความเฉลียวฉลาดให้ลูกได้ รายงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford University และ the Institute for Social and Economic Research, Essex University พบว่านมแม่ช่วยพัฒนาด้านความจำและยังช่วยเรื่องการเรียนของเด็กเมื่อถึงวัยเข้าเรียนอีกด้วย เมื่อได้กินนมทารกจะเติบโตเป็นเด็กที่มีความสุข สุขภาพจิตดีเพราะได้รับความอบอุ่นจากอ้อมกอดแม่ ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยและมีความสุขเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาสมองของเด็กเช่นกัน คุณแม่มือใหม่พยายามให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนหรือนานกว่านั้นก็ยิ่งดีนะคะ เพราะนมแม่เลอค่าสุด ๆ ค่ะ
ต้องยอมรับว่าบางครั้งลูกน้อยแสนน่ารักสามารถกลายเป็นลูกน้อยแสนป่วนได้ ทำให้คุณแม่ต้องแปลงร่างเป็นแม่มดกันบ้าง แต่บ่อยไปก็จะไม่ดีทั้งกับคุณแม่และคุณลูกแน่ ๆ มาดูวิธีบรรเทาอาการปี๊ดแตกใส่คุณลูกกันค่ะ ตั้งสติ ท่องไว้ในใจว่าตอนนี้กำลังโกรธลูกใจเย็นลงหน่อย หาสาเหตุที่แท้จริง ต้นเหตุอาจจะไม่ใช่ลูก แต่เป็นความเครียดจากที่ทำงาน ปัญหาการ พักผ่อนน้อยอดนอน 3.นับ 1-10 ก่อนอาละวาดใส่ลูก เมื่อรู้สึกโกรธสุดขีดให้เดินเลี่ยงออกไปจากห้องนั้นก่อน ฝากคุณพ่อดูสักครู่ค่อยกลับมาใหม่ พูดถึงความรู้สึกของคุณแม่ว่ารู้สึกแย่อย่างไรเมื่อลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้ แทนการชี้ข้อผิดของลูก อย่าเอาคดีเก่ามารวมรวบยอดพูดซ้ำซาก เวลาหายโกรธแล้ว ช่วงเวลาอารมณ์ดีอธิบายให้ลูกฟังด้วยท่าทีอบอุ่นอ่อนโยน เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันค่ะ
เด็ก ๆ มักจะชอบฟังนิทานก่อนนอน และบางครั้งยังชอบเป็นคนเล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง การฟังลูกเล่านิทานดีต่อพัฒนาการของลูกในหลายด้านค่ะ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง 1.พัฒนาทักษะด้านภาษา Dr. Frederick Zimmerman นักวิจัยจาก UCLA School of Public Health แห่ง California กล่าวว่าเด็กที่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้พ่อแม่ฟังจะมีพัฒนาการทางภาษาเร็วขึ้น 6 เท่า เมื่อเทียบกันการเป็นคนฟังนิทานเพียงอย่างเดียว 2.เสริมจินตนาการ การให้ลูกเล่านิทานด้วยตัวเขาเองจะช่วยเสริมทักษะด้านจินตนาการให้ลูก ให้ลูกเล่าอย่างอิสระ อาจจะแต่งเติมเนื้อหาตามใจชอบหรือแต่งเรื่องขึ้นเอง คุณแม่อาจจะกระตุ้นเขาด้วยกันซักถามระหว่างลูกเล่า 3.เรียบเรียงความคิด การที่เด็กคนนึงจะเล่าเรื่องราวออกมาเขาจะต้องเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบ ตั้งแต่การวางเรื่องว่าจะให้ดำเนินไปอย่างไร มีตัวละครกี่ตัว แต่ละตัวมีบทบาทอะไรบ้าง ฯลฯ 4.ฝึกความจำ การพูดออกมาจะช่วยกระตุ้นความจำได้มากขึ้น ในการเล่านิทานลูกจะได้ฝึกการจดจำเรื่องราวและคำศัพท์ต่าง ๆ 5.สร้างความมั่นใจ เมื่อคุณพ่อคุณแม่สนใจในสิ่งที่ลูกเล่าและชื่นชมเขา ลูกจะรู้สึกค่อย ๆ พัฒนาความมั่นใจในตัวเองขึ้นมา การเล่านิทานของเด็กอาจเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่มีประโยชน์เกินความคาดหมายทีเดียวค่ะ
เทศกาลวันลอยกระทงเป็นช่วงเวลาที่เด็กต่ำกว่าอายุ 15 ปีมักเกิดอุบัติจมน้ำเสียชีวิตบ่อยครั้ง และเกิดขึ้นทุกปี นอกจากการจมน้ำแล้วคุณพ่อคุณแม่ยังต้องระวังอุบัติเหตุและการพลัดหลงค่ะ ป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ดูแลเด็กไม่ให้คลาดสายตา อุ้มหรือจูงมือไว้ตลอดเวลา เมื่อพาลูกไปยังจุดใกล้แม่น้ำ คลอง บึง ฯลฯ เพิ่มความระวังให้มากขึ้น ลูกโตแล้วก็ไม่ควรปล่อยให้เด็ก ๆ ไปลอยกระทงกันตามลำพัง ป้องกันลูกพลัดหลง เขียนชื่อที่อยู่เบอร์โทรศัพท์ให้ลูกติดตัวไว้ สอนว่าถ้าพลัดหลงอย่าเดินหายไปไหนให้อยู่กับที่ ให้ลูกจำเบอร์โทรศัพท์ของพ่อแม่ ถึงแม้จะถึงวัยที่คุณแม่ให้พกโทรศัพท์มือถือได้แล้วอาจมีโอกาสทำหายได้ จูงมือลูกอุ้มไว้ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในบริเวณที่คนหนาแน่น ไม่ปล่อยลูกไว้กับพี่ที่ยังเป็นเด็กด้วยกัน ให้ลูกพกนกหวีดและสอนให้ใช้เพื่อขอความช่วยเหลือ ป้องกันอันตรายจากพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ห้ามลูกเล่นพลุ ประทัด และดอกไม้ไฟ ผู้ใหญ่ก็ไม่ควรซื้อมาเล่นเองเพราะจะเป็นตัวอย่างให้เด็กทำตาม ห้ามลูกแอบเก็บพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ไว้ในกระเป๋าเสื้อ กางเกง หรือที่มีอากาศร้อน แสงแดดส่องเพราะอาจเกิดการเสียดสีและระเบิดขึ้นได้
รับทราบมาบ่อย ๆ ว่าการกินเค็มหรือกินโซเดียมมากส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต กระดูกพรุน อัมพฤกษ์อัมพาต ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่อาจมั่นใจว่าลูกไม่ได้กินเค็มเกินไป ดูตัวเลขเหล่านี้แล้วอาจเปลี่ยนความคิดใหม่ มาดูปริมาณโซเดียมในอาหารจานเดียวกันก่อน สุกี้น้ำ 1,560 มิลลิกรัม บะหมี่น้ำหมูแดง 1,480 มิลลิกรัม เส้นใหญ่เย็นตาโฟ 1,417 มิลลิกรัม ผัดซีอิ๊ว 1,352 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 977 มิลลิกรัม กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่าผู้ใหญ่ไม่ควรกินเกลือเกินวันละ 1 ช้อนชา (เกลือ 1 ช้อนชา =โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม) แล้วเด็กล่ะ ? 6-11 เดือน 175-550 มิลลิกรัม/วัน (ประมาณ ¼ ช้อนชา) 1-3…
คุณแม่มือใหม่ต่างคนมีความกังวลกับเสียงหายใจของลูกค่ะ เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นเสียงหายใจปกติหรือเปล่า เสียงหายใจของทารกแรกเกิดจะผิดแผกแตกต่างไปจากผู้ใหญ่ มักจะดูเหมือนว่าเป็นเสียงไม่ปกติเช่นลูกอาจจะหายใจเร็ว หายใจแรง หยุดเป็นช่วงยาว และอาจจะมีเสียงครืดคราด ทำไมทารกช่วงแรกเกิดจึงหายใจแปลก ๆ ทางเดินหายใจเล็ก แล้วถูกปิดกั้นได้ง่าย กระดูกบริเวณผนังหน้าอกยังอ่อนอยู่ ปอดยังทำงานไม่ได้เต็มที่ ยังมีน้ำคร่ำตกค้างอยู่ในทางเดินหายใจ สังเกตอาการผิดปกติ หายใจเสียงวี้ด ๆ ร้องเสียงแหบหรือไอเสียงก้อง หายใจเร็วผิดปกติ กรน หายใจเสียงดังครุป หายใจเสียงคำราม ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรพาลูกไปพบคุณหมอค่ะ