ช่วงหน้าฝนมีโรคที่คุณแม่ต้องระวังอีกโรคหนึ่ง นั่นก็คือโรค เฮอร์แปงไจนา (Herpangina) เรามาสังเกตอาการ วิธีป้องกันและวิธีการรักษากันค่ะ อาการชวนสงสัย มีไข้สูงประมาณ 39.5-40 องศาเซลเซียส มีแผลในปากอาจจะมีตุ่มแดงหรือแผลเปื่อยบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล และในคอ มีอาการเจ็บคอ บางรายอาจมีอาการไข้เฉียบพลันหรือมีไข้สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ปวดคอ คอบวม ปวดท้อง เบื่ออาหาร อาจมีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง เบ้าตาลึกลง ปัสสาวะน้อยหรือสีเข้ม ฯลฯ เด็กทารกอาจมีอาการน้ำลายยืดหรืออาเจียน ถ้ามีอาการไข้ 3 วันแล้วยังไม่ลด ลูกซึมหรืออาการแย่ลงควรรีบพาไปพบคุณหมอค่ะ ไม่ต้องตกใจจนเกินไป เฮอร์แปงไจนาเป็นโรคที่ติดเชื้อในกลุ่มเอนเตอโรไวรัส (Enterovirus) โดยทั่วไปแล้วโรคนี้ไม่ใช่โรคที่รุนแรงมาก เมื่อเป็นแล้วอาจหายเองได้ภายในราว 7 วัน แต่คุณพ่อคุณแม่คอยระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น มีอาการหายใจหอบ อาการชัก หรือเจ็บคอจนลูกกินอาหารไม่ลงอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำและอาหาร ฯลฯ ติดโรคนี้มาจากไหน ? เด็กเล็กมีภูมิต้านทานค่อนข้างน้อย จึงรับเชื้อมาจากเสมหะ น้ำมูก…
Knowledge
ความรู้ ทั้งอัพเดท และ How to การเลี้ยงดูลูก รวมถึงการดูแลตัวเอง ฉบับคุณแม่ คุณพ่อ ยุคใหม่ ที่ครบคลุมตั้งแต่ ช่วงตั้งครรภ์ จนถึง ลูกอยู่ในวัยประถม
RSV เป็นชื่อย่อของ Respiratory Syncytial Virus เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ มักพบระบาดในช่วงหน้าฝนหรือช่วงที่มีอากาศชื้นค่ะ RSV กับไข้หวัดมีอาการค่อนข้างคล้ายกัน เมื่อป่วยลูกจะมีอาการไข้ ไอ และน้ำมูก แต่ปริมาณของเสมหะและน้ำมูกมีปริมาณมาก ทำให้เกิดการเหนื่อยหอบได้จากเสมหะและอาจมีการติดเชื้อในปอดหรือปอดติดเชื้อ เด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบมีโอกาสติดเชื้อ RSV ได้ง่าย และเด็กเล็กมีโอกาสมีอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อ ควรพาลูกพบคุณหมอถ้าลูกมีไข้สูง ไอมีเสมหะมาก ๆ หายใจครืดคราด หายใจมีอกบุ๋ม หายใจเร็วหรือแรงกว่าปกติ หรืออาการตัวเขียว ถ้าอาการไม่หนักหนาถึงกับนอนโรงพยาบาล ก็รักษาไปตามอาการค่ะ มีไข้คุณหมอจะให้ยาลดไข้ คุณแม่คอยเช็ดตัวเป็นระยะเพื่อป้องกันไข้สูงและอาการชัก ถ้ามีอาการไอทานยาแก้ไอตามแพทย์สั่ง รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ เป็นอาการอ่อน ๆ หลีกเลี่ยงของทอดของมันที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการไอ ดื่มน้ำอุ่น ๆ หลีกเลี่ยงของเย็น เพื่อลดการระคายคอและละลายเสมหะให้น้อยลง วิธีป้องกัน ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค RSV วิธีการป้องกันเท่าที่ทำได้ในเวลานี้คือการหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกใกล้ชิดกับผู้ป่วย ถ้าคุณพ่อคุณแม่ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หลีกเลี่ยงการพาลูกไปที่ชุมชน หรือบริเวณที่มีคนมาก ๆ หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ ทั้งคุณลูกและคุณพ่อคุณแม่ด้วยนะคะ ข้อมูลจาก : พญ.ศุภธิดา ตันศิริ กุมารแพทย์…
ช่วงฝนตกอย่างนี้ นอกจากโรคภัยไข้เจ็บที่มากับฤดูกาลอย่างไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือ RSV ฯลฯ แล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังสัตว์มีพิษกัดต่อยลูกด้วยค่ะ เพราะสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้อย่างเช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ฯลฯ อาจหนีน้ำเข้ามาอาศัยอยู่ภายในบ้าน วิธีป้องกัน เก็บกวาดบ้านให้เป็นระเบียบ หมั่นตรวจตามซอกหรือมุมอับและบริเวณอับชื้นภายในบ้า หมั่นตรวจดูภายในตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้า ผ้าเช็ดเท้า เก็บรองเท้าให้มิดชิด ก่อนให้ลูกสวมเสื้อผ้าหรือรองเท้าควรตรวจดูก่อน ถ้าลูกโตพอช่วยเหลือตัวเองได้สอนให้เขาตรวจเช็กก่อนสวมใส่ โรยกำมะถัน ปูนขาว โรยผงป้องกันแมลง ผงอบเชย ผงขมิ้น หรือของที่มีกลิ่นฉุน เช่น มะกรูด ตะไคร้ วางรอบบ้าน อุดรูรั่วรอยแตกในบ้าน และตรวจดูท่อน้ำ ฯลฯ ถ้าพบสัตว์มีพิษ ให้ตั้งสติ ถ้ากักขังให้อยู่ในบริเวณจำกัดได้ให้ทำ และโทรขอความช่วยเหลือเบอร์ฉุกเฉิน 1669 1784 หรือ 1137 ถ้าถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย …
คุณแม่มือใหม่มักจะถามกันบ่อย ๆ ว่าเวลาลูกร้องแล้วควรอุ้มไหม อุ้มแล้วจะติดมือหรือเปล่า คุณแม่ทายซิคะว่าน่าจะเป็นแบบไหน สำหรับเด็กทารกวัยแรกเกินจนถึงประมาณ 6 เดือน โลกภายนอกยังเป็นสถานที่แปลกใหม่ไม่คุ้นเคย เขารู้สึกไม่ปลอดภัย เพราะฉะนั้นเวลาทารกร้องไห้คุณแม่ควรอุ้มเขา ไม่ควรทิ้งให้ลูกร้องอยู่นานเกินไป พอลูกโตขึ้นมาอีกหน่อย แน่นอนว่าลูกจะค่อย ๆ เรียนรู้ว่าเวลาเขาร้องคุณแม่จะมาอุ้ม คุณแม่ลองสังเกตดูสักนิดว่าลูกร้องเพราะเหตุผลใด ตรวจดูที่นอนอาจมีมดแมลงมากัดหรือเจ็บป่วยไม่สบายตัว รอดูว่าเขาร้องไปสักครู่แล้วหยุดเองมั้ย อาจแค่เรียกร้องความสนใจนิด ๆ หน่อย ๆ เท่านั้นเอง เสียงร้องก็ดูปกติไม่ใช่กรีดร้องอย่างตกใจหรือเจ็บปวด อย่างนี้อาจไม่ต้องรีบเข้าไปอุ้มทุกครั้งค่ะ คุณแม่อาจจะพูดกับเขาว่ารอเดี๋ยวนะคะ เดี๋ยวแม่ไปหา แต่ถ้าลูกไม่หยุดร้องเองหรือตะเบ็งเสียงดังกว่าเดิม เข้าไปอุ้มเขาเถอะค่ะ พูดคุยปลอบโยนให้อารมณ์ดี พอสบายใจแล้วก็เงียบเสียงลง เมื่อลูกรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยก็จะเรียกร้องความสนใจน้อยลงโยเยน้อยลงไปด้วย
ลูกวัยทารกก็จะมีอยู่ไม่กี่อย่างที่คุณแม่ทุกคนต้องดูแลอย่างใกล้ชิด นั่น็คือกิจวัตรประจำวันค่ะ คุณแม่คอยดูแลเขาตั้งแต่เช้าไปจนถึงตอนกลางคืน ลูกตื่นมาก็ให้นม อาบน้ำ แต่งตัวให้เขา ทำความสะอาดเช็ดอึฉี่ พาเขาเข้านอน การที่คุณแม่สามารถดูแลเขาและตอบสนองความต้องการของลูกวัยทารกได้ในยามที่ลูกต้องการ เมื่อลูกหิวก็ให้กินนม ง่วงก็พาเขานอน เวลาลูกอึหรือฉี่เราดูแลเช็ดล้างทำความสะอาดก้น ให้ลูกนอนในที่แห้งสบายไม่เปียกแฉะ ต้องการให้มีคนอยู่ใกล้ ๆ พูดคุย เล่นกับเขา หรือเมื่อลูกเหงาเบื่อหรือดูอารมณ์ไม่ดีก็ปลอบโยนให้เขาสบายใจ ทั้งหมดนี้คือการตอบสนองอย่างทันท่วงที ! ความสุขของลูกในวัยทารกมีแค่นี้ ไม่ซับซ้อนเลยค่ะ การดูแลลูกอย่างใกล้ชิดให้ลูกได้รับสิ่งเหล่านี้ จะทำให้เด็กมีความสุขรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยและ ช่วยสร้างความมั่นคงในจิตใจให้กับเด็ก สมองของเด็กที่มีความสุขจะพร้อมเปิดรับการเรียนรู้โลกรอบตัวค่ะ การดูแลลูกอย่างใกล้ชิดให้ลูกได้รับในในสิ่งที่ทารกต้องการจะช่วยให้สมองของเด็กในวัยนี้ได้โอกาสเรียนรู้ทั้งทางด้านความสัมพันธ์ เรียนรู้ทักษะทางสังคม การทำความเข้าใจโลกรอบตัว และยังได้ซึมซับด้านภาษาอีกด้วย
การดูแลลูกให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยจะช่วยสร้างความฉลาดให้ลูกได้ค่ะ เพราะสมองของลูกพร้อมเปิดรับการเรียนรู้ ถ้าลูกรู้สึกไม่ปลอดภัยจะเกิดความกลัว สมองไม่พร้อมเรียนรู้ ความเครียดกังวล ประสบการณ์ด้านลบ การเจ็บตัวหรือบาดเจ็บบ่อย ทำให้ทารกไม่สามารถไว้วางใจในสิ่งแวดล้อมรอบตัว การเรียนรู้ก็จะมีอุปสรรคขัดขวาง เช่นเดียวกับผู้ใหญ่เวลาเกิดความกลัวหรือกังวลสมองก็จะไม่เกิดการเรียนรู้เพราะถูกนำไปใช้เพื่อการปกป้องตัวเองให้ปลอดภัยก่อน เมื่อรู้สึกปลอดภัยทารกก็จะมีความสุข เมื่อมีความสุขแล้วสมองของลูกจะเปิดรับการเรียนรู้ง่าย สติปัญญาความเฉลียวฉลาดของลูกจึงพัฒนาได้ดีค่ะ ความสุขของทารกค่อนข้างเรียบง่าย ได้กินอิ่มได้นอนหลับสบาย สบายตัวไม่เปียกแฉะอยู่กับอึฉี่นาน ๆ ได้รับความรักความอบอุ่น ไม่มีอะไรมารบกวนให้เขารู้สึกไม่สบายตัวไม่สบายใจ รวมทั้งความปลอดภัยด้วยค่ะ
การสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดให้ลูกทำได้ง่ายมาก ๆ ค่ะคุณแม่ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง 1.อยู่ในที่ที่อากาศสบาย ๆ ไม่ร้อนไม่หนาวเย็นจนเกินไป แสงแดดหรือแสงสว่างไม่แยงตาไม่จ้าเข้าตาลูก และไม่มืดสลัวตลอดเวลาค่ะ 2.ความเงียบสงบ โดยเฉพาะเวลานอนหลับ พยายามอย่าให้ลูกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมีเสียงรบกวนหรือเสียงดังมาก ให้สงบ ผ่อนคลาย ถ้าอยากเปิดเพลงเลือกเพลงท่วงทำนองฟังเบาสบายสำหรับเด็ก 3.ไม่มีมดแมลงหรือสัตว์มากัด มีที่กั้นไม่ตกเตียง ตรวจดูความปลอดภัยของเตียงนอนลูกและห้องนอนว่ามีสิ่งไหนจะเป็นอันตรายกับลูก 4.เลี่ยงสิ่งที่ลูกกลัว เช่น คนแปลกหน้า ถ้าเขาไม่อยากให้อุ้มอย่าฝืนใจ ดูแลลูกใกล้ชิด อย่าฝากเขาไว้กับคนที่เขาไม่คุ้นเคย แม้จะชั่วคราว 5.พยายามเลี่ยงการทำเสียงดัง หรือเสียงที่น่าตกใจ เวลามีฟ้าร้องฟ้าผ่า อุ้มกอดเขาไว้ ไม่เปิดเพลงหรือดูโทรทัศน์เสียงดัง เลี่ยงการทะเลาะกันเสียงดังหรือมีความรุนแรงให้ลูกรับรู้ 6.ดูความปลอดภัยในบริเวณบ้าน ถึงวัยคลานต้องมีประตูกั้นส่วนที่เป็นอันตรายยังระเบียง ครัว บันได บ่อน้ำหรือประตูออกนอกบ้าน ดูด้วยว่าปิดเรียบร้อยดีหรือยัง 7.สภาพแวดล้อมภายในบ้าน เช่น เก็บของชิ้นเล็ก ๆ ให้พ้นมือ ป้องกันการนำเข้าปากหรือจมูก เก็บสารเคมีหรือสิ่งของอันตรายต่าง ๆ ระวังเรื่องปลั๊กไฟ ทำความสะอาดบ้านให้เรียบร้อยป้องกันสัตว์ร้ายเข้ามาอยู่อาศัย เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ล้มคว่ำง่ายง่าย เก้าอี้โยกอาจทับมือเด็กได้ควรยกออกไป หาอุปกรณ์กันขอบโต๊ะมุมโต๊ะต่าง ๆ
คุณแม่หลายคนบ่นว่าทำไมลูกโตช้า แน่นอนว่าส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมีปัญหาสุขภาพต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ แต่โดยทั่วไปแล้วการให้ลูกได้มีโอกาสเล่นซนตามวัยจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาทางร่างกายที่ดี โตเร็วและสุขภาพแข็งแรง มีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากค่ะ 1.คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ก้มหน้าเล่นมือถือหรือดูแท็บเล็ตอยู่ตลอดเวลาที่อยู่กับลูก เด็ก ๆ จำและเลียนแบบง่ายมากค่ะ 2.พาลูกออกไปเล่นนอกบ้าน เช่น ชวนขี่จักรยานในหมู่บ้าน พาลูกไปว่ายน้ำ พาไปเล่นกีฬา หรือเข้ายิมเด็ก ชวนวิ่งเล่นไล่จับ เล่นบอล เลือกในสิ่งที่ลูกชอบลูกจะทำโดยไม่ต้องบังคับ 3.ชวนลูกทำงานบ้าน ในแบบที่ได้ใช้แรง เช่น ช่วยกันล้างรถ ช่วยรดน้ำต้นไม้ ชวนกันปลูกต้นไม้ เช็ดโต๊ะเก้าอี้ งานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่าที่ลูกจะทำได้ สร้างบรรยากาศให้สนุกสนาน ระหว่างที่ลูกทำงานบ้านจะเป็นการใช้กล้ามเนื้อมือซื่งเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างแขนขาไปด้วย 4.ฝึกการทรงตัวให้ลูกด้วยการเล่นเกม เช่นใช้ชอล์กขีดบนพื้นนอกบ้านเป็นเส้นให้ลูกเดิน วาดเป็นเส้นตรง โค้ง วกวน เลี้ยวบ้าง หรือชวนลูกเล่นเกมตั้งแต วาดตารางบนพื้นให้ลูกกระโดดตามตารางตามกติกา 5.ชวนลูกเล่นลูกโป่งฟองสบู่ คุณพ่อคุณแม่อาจเป็นคนเป่าฟองให้ลูกวิ่งไล่จับในสนามหญ้า หรือให้เขาเป่าเองบ้างสลับกัน เน้นความสนุกสนานเพื่อให้ลูกได้วิ่งออกกำลังกาย 6.ควรให้ลูกได้อย่างเต็มที่ภายในขอบเขต เช่น บริเวณไหนเล่นได้ บริเวณไหนเล่นไม่ได้…
คุณแม่ทราบไหมคะว่าการที่เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดนั้นทางหนึ่งก็คือให้เขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรงได้เล่นเองได้ลองเองด้วยทำเองบวกกับการที่เขาซึมซับไปจากคุณแม่นั่นเอง การให้เขาได้ทำกิจกรรมแปลกใหม่ใกล้บ้าน ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมพิเศษหรือไกลบ้านมาก ก็สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ให้ลูกได้ เพราะฉะนั้นคราวนี้เราจะพาลูกไปจ่ายตลาดกันค่ะ คุยกับเขาและสร้างบรรยากาศสนุกสนานช่วยได้ คุณแม่อาจเกริ่นกับเขาก่อนก็ได้ค่ะในตลาดมีอะไรบ้าง กับข้าวที่คุณแม่ทำหรือซื้อมาหลายอย่างก็มาจากการซื้อวัตถุดิบมาจากตลาดนี่ละ สอนลูกให้รู้จักวางแผน หลังจากบอกลูกแล้วว่าพรุ่งนี้เราจะไปตลาดกันก่อนหน้านั้น 1 วันคุณแม่อาจถามลูกว่าเราจะกินอะไรกันดี ให้เขาคิดเมนูที่เขาชอบ ให้มีส่วนร่วมในการคิดตั้งแต่ต้น คุณแม่อาจจดรายการ ให้ลูกวาดภาพประกอบเพื่อความสนุกสนาน หรืออาจจะชวนคิดวางแผนเช่น ถ้าเขาอยากได้ 5 เมนู คุณแม่อาจคุยกับเขาว่าน่าจะมากเกินไป ขอแค่ 3 เมนู ให้เขาเลือกว่าเขาจะตัดเมนูไหนออกค่ะ สอนเรื่องงบประมาณ การออกไปจ่ายตลาดคุณแม่กำหนดจำนวนเงินโดยประมาณว่าจะใช้ประมาณเท่าไหร่ แล้วก็บอกให้ลูกรู้ว่าเราจะซื้อไม่เกินงบเท่านี้นะ สอนให้ลูกรู้ว่าเงินทองมีจำกัดจำเป็นต้องใช้อย่างเหมาะสม แต่ละครั้งที่ไปซื้อขอฃจึงต้องตั้งงบขึ้นมา อธิบายให้ลูกฟังง่าย ๆ ไม่ต้องซับซ้อน ในตลาดมีสิ่งน่าเรียนรู้มากมาย ลูกจะได้ทำความรู้จักกับผักผลไม้เนื้อสัตว์และเครื่องปรุงต่างๆ ไม่ต้องให้เป็นวิชาการค่ะ พาเขาไปเลือกซื้ออาจจะบอกบางอย่างว่าสิ่งที่คุณแม่ซื้อคืออะไร ชวนคุยและลูกสนใจอะไรเป็นพิเศษบ้างไหม อาจจะพูดถึงผักหรือผลไม้ชนิดนั้น ระหว่างที่คุณแม่ซักถามราคากับแม่ค้าก็หันมาพูดคุยกับลูกได้ เช่น อันนี้ราคาเท่านี้นะคะ อาจชวนลูกนับเงินทอน หรือให้ลูกเปรียบเทียบดูว่าผลไม้ลูกไหนที่ดูน่ากินกว่ากัน กิจกรรมต่อท้าย คุณแม่ชวนลูกเป็นลูกมือทำกับข้าว ล้างผัก เด็ดผัก จัดผักผลไม้ใส่จาน ชมเขาซะหน่อยว่าผักหรือผลไม้ที่เขาช่วยเลือกสดน่ารับประทานเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้กับเขา หรืออาจจะชวนเขาวาดรูปผักผลไม้ที่เขาชอบ ให้ลูกรู้สึกว่าเป็นเกมอย่างหนึ่งที่เขาอยากเล่น…
คุณแม่หลายคนเจอปัญหาลูกอมข้าว ส่วนใหญ่อมเสร็จคายทิ้ง ทำบ่อยอาจขาดอาหาร คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจปัญหานี้มีทางแก้ค่ะ 1.ปรับอาหารให้เหมาะกับวัย ช่วงเริ่มกินอาหารใหม่ ๆ นอกจากนมคุณแม่บดอาหารละเอียดก่อน ต่อมาค่อยปรับเป็นอาหารชิ้นใหญ่ขึ้น จากบดละเอียดเป็นสับหยาบและหั่นชิ้นเล็ก ลูกมีฟันขึ้นแล้วอย่าให้แต่อาหารบดละเอียดอีก ถ้าลูกไม่ได้ฝึกเคี้ยวก็จะเคยชินกับการกลืน และอาจติดเป็นิสัยเพราะกินง่าย 2.อย่าให้นมแทนข้าว เวลาลูกอมข้าวคุณแม่อาจกังวลว่าลูกจะไม่โต ให้กินนมแทนดีกว่าไม่ได้กินอะไร นั่นเท่ากับคุณแม่กำลังฝึกให้ลูกกินนมแทนข้าว อย่าเพิ่งใจอ่อนตามใจ ให้ได้บ้างนิดหน่อยแต่อย่ามากจนอิ่ม 3.ไม่เล่นระหว่างกินข้าว ให้ลูกมุ่งความสนใจไปที่การกินอาหาร กินไปเล่นไปเด็กจะสนใจการเล่น เวลาลูกกินทุกคำที่ป้อนโดยไม่รู้ตัวเหมือนจะดี แต่ก็จะลืมเคี้ยว 4.ไม่ให้ดูโทรทัศน์ใช้แทบเล็ตหรือมือถือระหว่างกินข้าว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะดึงดูดความสนใจของลูกออกไปจากการกิน 5.ชวนลูกให้สนใจการกิน อาจจะชวนคุยให้ลูกอารมณ์ดี หรือพูดคุยเกี่ยวกับอาหารเช่น อาจจะถามลูกว่าพรุ่งนี้ลูกอยากกินอะไร ชวนให้เขามีส่วนร่วมในการทำอาหารก็จะช่วยให้เขาสนใจการกิน 6.อย่าใช้เวลานานเกินไป ไม่เกินครึ่งชั่วโมง การพยายามให้ลูกกินหมดชามคุณแม่อาจเข้าใจว่าภารกิจประสบความสำเร็จ แต่ความจริงแล้วทำให้ลูกไม่มีวินัยในการกิน 7.จัดเวลามื้อของว่างให้เหมาะ ระหว่างมื้อ ลูกหิวขึ้นมาขอนมหรือขนมคุณแม่กลัวลูกหิวก็มักจะให้กิน ให้กินได้แต่ไม่ต้องมากจนอิ่มเกินไป และไม่ควรให้กินใกล้เวลาอาหาร ถ้าลูกอมข้าวน้อยลงอย่าลืมชมนะคะ เขาจะได้มีกำลังใจและรู้สึกภูมิใจค่ะ