เด็กไม่ชอบกินผักอาจมาจากเหตุผลหลายหลายประการค่ะ เช่น เหนียว เคี้ยวยาก รสชาติไม่อร่อย มีกลิ่นฉุน ฯลฯ แต่ผักก็อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียด้วยสิ คุณแม่จึงต้องหาวิธีปรุงและค่อย ๆ หัดให้ลูกเริ่มต้นจากผักที่กินง่าย มีข้อแนะนำสำหรับการให้ลูกหม่ำผักแต่ละประเภทมาฝากค่ะ 1.ผักมีใบ สำหรับเด็กเล็ก นำมาต้มหรือตุ๋นให้สุกแล้วบดละเอียด โตหน่อยอาจซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ โรยหน้าหรือทำเป็นข้าวผัดก็ได้ต้องเลือกผักที่มีรสหวานใบนิ่มเป็นหลักเลยนะคะ 2.ผักมีก้าน หรือแบบเนื้อแข็งต้องทำให้เหมาะสม เช่น ถ้าลูกโตพอมีฟันบดหรือเคี้ยวอาหารได้ ก็ใช้วิธีนึ่งหรือต้ม หั่นเป็นแท่งก็ช่วยให้เด็ก ๆ หยิบจับ กัด ง่ายต่อการชวนลูกกินผัก 3.ผักมีกลิ่นฉุน เด็กหลายคนร้องยี้ ทำหน้าเบ้กับผักที่มีกลิ่น เช่น ผักชี ต้นหอม หรือขึ้นฉ่าย อาจไม่ชื่นชอบผักประเภทนี้มากนัก แนะนำว่า ยังไม่ควรนำมาปรุงอาหารในช่วงเริ่มต้นอาหารเสริมสำหรับเบบี๋ เพราะจะทำเกิดความรู้สึกติดลบกับการกินผัก ลองทำดูนะคะคุณแม่เผื่อเปลี่ยนใจคุณลูกให้เป็นเด็กรักผักค่ะ
Knowledge
ความรู้ ทั้งอัพเดท และ How to การเลี้ยงดูลูก รวมถึงการดูแลตัวเอง ฉบับคุณแม่ คุณพ่อ ยุคใหม่ ที่ครบคลุมตั้งแต่ ช่วงตั้งครรภ์ จนถึง ลูกอยู่ในวัยประถม
Q : ลูกชอบแย่งของเล่นชิ้นเดียวกัน พอพี่หยิบของเล่นชิ้นไหนน้องก็จะแย่งชิ้นเดียวกัน มีวิธีแก้ปัญหายังไงไม่ให้ลูกทะเลาะกัน ? A : ความจริงแล้วมนุษย์เรามีความเคยชินอย่างหนึ่งนั่นก็คือการเปรียบเทียบฉันมีอันนี้เธอมีอันนี้ ของเธอใหญ่กว่า ของเธอสวยกว่า กรณีที่มีของเล่นชิ้นหนึ่งพี่หรือน้องได้ไป ก็เกิดการเปรียบเทียบชัดเจนเลยว่าทำไมเขามีชิ้นนี้แต่เราไม่มี ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ให้คำแนะนำ หรือใช้วิธีการแก้ปัญหาผิดจุด เช่น ลูกแย่งลูกบอลกันคุณพ่อคุณแม่บอกว่าให้น้องไปก่อน เดี๋ยวซื้ออันใหม่ให้พี่ นี่คือการแก้ปัญหาที่ผิดจุด เราห้ามเด็กไม่ให้เปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่วิธีที่จะแก้ไขสถานการณ์นั้นเรากำหนดได้ ต้องดูตามสถานการณ์ว่าของชิ้นนั้นเล่นร่วมกันได้หรือไม่ ถ้าของชิ้นนั้นเล่นร่วมกันได้อย่างเช่น ฟุตบอล ไม่น่าแก้ไขด้วยกันให้ใครคนใดคนหนึ่งก่อน อาจพูดคุยกับลูกว่าการเล่นคนเดียวแค่เดาะบอล แต่เล่นด้วยกันมีการรับส่งจะสนุกกว่าไหม แบบนี้พี่น้องก็จะไม่ทะเลาะกัน ถ้าเป็นของเล่นที่จะต้องเล่นคนเดียว เช่น รถแทรกเตอร์ น้องเล่นอยู่พี่มาแย่ง คุณแม่ลองชวนลูกสร้างเรื่องราวจินตนาการเช่น ชวนให้พี่เล่นเป็นเจ้าของบริษัท จ้างรถแทรกเตอร์ให้ไปขุดดิน ลูกก็จะเล่นด้วยกันได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนอารมณ์ลูก หรือเบี่ยงเบนความสนใจ และคิดหากิจกรรมเพื่อให้ลูกเล่นด้วยกันโดยไม่ต้องทะเลาะกันค่ะ เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook :…
Q : อยากให้ลูกเป็นคนรักการอ่านชอบอ่านหนังสือต้องทำอย่างไร ? A : ง่ายมากจะตอบแบบกำปั้นทุบดินดีก็ได้ค่ะว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องทำอะไรอ่านหนังสือให้ลูกเห็น น้อง ๆ จะเห็นคุณพ่อคุณแม่นอนอ่านหนังสือเป็นภาพชินตา ตอนเด็ก ๆ บ้านครูเคทเต็มไปด้วยหนังสือ บางทีเห็นคุณแม่นอนอ่านหนังสือหนังสือหลับอยู่ ก็เกิดการลอกเลียนแบบท่านี้ตั้งแต่เล็ก ๆ เวลาเราเห็นพ่อแม่นอนอ่านหนังสือก็จะเข้าไปอยู่ข้าง ๆ นั่งถือหนังสือกลับหัว ตอนนั้นเล็กมากอ่านหนังสือยังไม่ออกเลย แต่ฉันขอทำท่าเหมือนพ่อเหมือนแม่ เราเห็นว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องปกติ ที่บ้านไม่เคยสอนให้ลูกอ่านหนังสือเลยค่ะ น้อง 2 คนมีความชอบในการอ่านหนังสือต่างกัน คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ได้กำหนดกรอบว่าต้องอ่านหนังสือแบบไหน หนังสือนี้อ่านไม่ได้หนังสือนั้นไร้สาระห้ามอ่านแบบนี้ไม่มี ครูเคทเป็นคนอ่านหนังสือการ์ตูนมังงะก็ได้อ่าน ขอให้ลูกอยากอ่านคุณพ่อคุณแม่ซื้อให้ทั้งเซต ในขณะที่น้องคนกลางเป็นหมอชอบอ่านเรื่องวิทยาศาสตร์อยากจะซื้ออะไรพ่อแม่ก็ซื้อให้ น้องคนเล็กเป็นกูรูทางด้านการเงินชอบอ่านมังกรหยก อ่านหนังสือจีนซุนวู ลูกสาวบ้านนี้อ่านหนังสือคนละประเภท แต่พ่อแม่ซื้อให้หมด ไม่มีการห้ามแถมยังซื้อให้ไม่บ่น เพราะฉะนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่อ่านหนังสือก็อย่าไปบังคับให้ลูกอ่าน เพราะเขาเห็นตัวอย่างจากเรานั่นเอง และที่บ้านควรจะมีหนังสือเอาไว้ด้วย ถ้าไม่มีหนังสือในบ้านความรักการอ่านก็จะไม่เกิดเพราะไม่มีหนังสือให้เขาอ่าน เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook :…
Q : เวลาพาลูกไปที่ทำงานแม่อยากให้ลูกเข้ากับคนอื่นได้ง่ายจะทำอย่างไร ? A : เด็กจะมีความเขินอายเมื่อเป็นจุดศูนย์กลางความสนใจ พอไปที่ทำงานคุณแม่พี่ ๆ น้า ๆ ก็มะรุมมะตุ้มเด็ก เด็กอาจจะไม่ชินกับการเจอคนเยอะ ๆ บวกกับคุณพ่อคุณแม่ชอบโชว์ลูกอีก ไหนลูกทำอย่างนี้โชว์คุณน้าซิ ทุกสายตาพุ่งมาที่ลูก เด็กเกิดความอึดอัดได้เพราะเขาเคยชิน ในทางกลับกันหากคุณแม่พาลูกไปที่ทำงานโดยไม่ต้องไปยุ่งกับเขามาก เดี๋ยวเขาจะปรับตัวเอง ไม่ต้องไปบังคับว่าไหนร้องเพลงโชว์คุณน้าซิ หาสมุดระบายสีให้เขา เดี๋ยวพี่ ๆ น้า ๆ ก็แวะเวียนมาทักทายด็กจะค่อย ๆ เรียนรู้เอง หรือคุณแม่อาจจะให้ลูกช่วยส่งเอกสารไปให้เพื่อนร่วมงาน ก็จะการค่อย ๆ ฝึกให้ลูกค่อย ๆ ก้าวออกจากคอมฟอร์ทโซนโดยไม่ต้องฝืนหรือสั่งสอน ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติลูกก็จะกล้าขึ้นเมื่ออยู่กับคนอื่น เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook : Mother&Care : Raising Happy…
Q : ลูกเป็นเด็กมีนิสัยขี้โมโหอารมณ์ร้อนจะแก้อย่างไรดีคะ ? A : สาเหตุของการเป็นคนโมโหร้ายส่วนหนึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูอีกส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ ถ้าคุณพ่อคุณแม่เป็นคนขี้หงุดหงิดหรือมีอารมณ์รุนแรง มีโอกาสที่ลูกจะอารมณ์รุนแรงได้แต่ไม่ใช่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ประกอบกับการอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ที่มีอารมณ์รุนแรงก็เป็นการร่วมด้วยช่วยกันเพิ่มนิสัยขี้โมโหของเด็ก บางครั้งเกิดจากการที่คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงไม่เป็น ชอบขัดใจ เมื่อลูกเกิดความรู้สึกในใจที่อธิบายไม่ถูกปรับใจไม่ได้สิ่งที่เด็กทำได้ก็คือการระเบิดออก ถ้าคุณพ่อคุณแม่รู้สึกหงุดหงิดแล้วรู้ตัวให้สูดหายใจเฮือกหนึ่งก่อน จะรู้สึกสบายใจขึ้นเมื่อได้รับออกซิเจนเข้าไปในสมองมากขึ้น พยายามอย่าสั่งลูกว่าต้องทำเดี๋ยวนี้ คุณแม่อาจจะบอกว่าพยายามแล้วค่ะ ครั้งที่ 1 บอกแล้ว ครั้งที่ 2 ก็เฉยอีก บางทีพูดไป 5 ครั้งแล้วก็ยังเฉยอยู่ ต้องเปลี่ยนมาใช้วิธีแทรกซึม ลองเข้าไปเล่นกับลูก ตอนนั้นลูกกำลังอินอยู่กับอะไรบางอย่าง เช่น เล่นเกม ติดอยู่หน้าจอ คุณพ่อคุณแม่ไปนั่งดูแล้วนั่งเล่นกับเขา แทนที่จะปล่อยให้เขาหลุดเข้าไปในโลกของเกมเพียงอย่างเดียว ค่อย ๆ ให้ลูกเริ่มรู้ว่ามีโลกของคนจริง ๆ คือพ่อแม่อยู่ข้าง ๆ ค่อย ๆ เปลี่ยนบรรยากาศแล้วดึงลูกออกมา เบี่ยงเบนความสนใจ อย่าไปหักด้ามพร้าด้วยเข่า การอยู่กับลูกเล่นกับเขาใช้เวลาอยู่กับเขาช่วยปรับอารมณ์ลดความหงุดหงิดให้ลูกได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ คุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลาให้กับลูก แต่ไม่เป็นไร เวลาอันน้อยนิดขอให้มีคุณภาพ การใช้เวลาคุณภาพในครอบครัวคือการตั้งใจฟังลูกให้มากขึ้นอีกนิด และลดอัตตาของความเป็นพ่อเป็นแม่ลง เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์…
Q : ทำอย่างไรจะให้พี่น้องรักกันไม่อิจฉากัน ? A : เด็ก ๆ อิจฉากันเพราะเกิดการเปรียบเทียบ บางครั้งเกิดจากคุณพ่อคุณแม่แก้ไขปัญหาไม่ถูกวิธี เช่น เวลาพี่มีของเล่นใหม่น้องไม่มีก็เกิดความอิจฉา คุณแม่ก็ไปซื้อของเล่นใหม่ให้น้อง คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ให้เขาเห็นว่าการเล่นของเล่นร่วมกันสนุกกว่าเล่นคนเดียว สมมุติว่าพี่มีของเล่นแต่น้องไม่มี ให้เขาเห็นว่าถึงแม้พี่จะมีของเล่นแต่ก็เล่นกับน้องได้ และที่สำคัญของเล่นนั้นเป็นของพี่ แสดงว่าพี่ต้องมีความรับผิดชอบต่อของนั้นมีหน้าที่คอยจัดเก็บ มีหน้าที่ทำความสะอาดของเล่น น้องเองก็จะได้รู้ว่าถ้าเป็นเรื่องความรับผิดชอบเป็นของพี่ อย่าแก้ปัญหาด้วยการซื้อของเล่นเพิ่มให้อีกคนนึง เพราะจะเป็นการสร้างความรู้สึกให้กับเด็กติดไปจนโต เวลาเห็นใครมีตัวเองก็ต้องมี ถ้าไม่สามารถหามาได้ก็จะเกิดความทุกข์ใจ เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook : Mother&Care : Raising Happy Children with "Kru Kate" Live
Q : เวลาอยู่บ้านลูกไม่เชื่อฟังพ่อแม่ แต่ทำไมพอไปอยู่โรงเรียนกลับเชื่อฟังคุณครู ? A : เพราะเด็กเชื่อฟังคนที่มีอำนาจเหนือกว่า พ่อแม่อาจเข้าใจว่าการมีอำนาจเหนือลูกคือการดุเขา ซึ่งไม่ใช่ คนที่มีอำนาจเหนือกว่าก็คือคนที่สามารถเข้าไปนั่งกลางใจเด็ก คุณพ่อคุณแม่ฟังแล้วอาจน้อยใจ โดยปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะใจร้อน อยากได้อะไรต้องได้เดี๋ยวนั้น อยู่ที่โรงเรียนคุณครูจะค่อย ๆ พูดค่อย ๆ กล่อม เด็กจะมีความรู้สึกว่าคุณครูไม่ดุ ถึงแม้คุณครูจะดุแต่ว่าสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน เด็กเห็นว่าเพื่อน ๆ ทำตัวอย่างไรก็จะทำเหมือน ๆ เพื่อน สามารถเข้าใจและรับทราบกฎระเบียบไปโดยปริยาย แต่ที่บ้านบางวันคุณพ่อคุณแม่เป็นนางฟ้าหรือเทวดาของลูก บางวันแปลงร่างเป็นปีศาจ ความไม่สม่ำเสมอของพ่อแม่ทำให้เด็กสับสนในบทบาทของพ่อแม่ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ลูกทดลองดูว่าสามารถมีอำนาจเหนือพ่อแม่ได้ไหม ถ้าบังเอิญทดลองแล้วเวิร์ค เช่น ลงไปดิ้นร้องไห้แล้วได้ผลพ่อแม่มะรุมมะตุ้มเอาใจฉัน นั่นเพราะว่าเด็กอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจไม่ได้ว่าตอนนี้ยังไม่อยากกินข้าว ยังไม่อยากทำสิ่งที่พ่อแม่สั่งแต่อธิบายออกไปไม่เป็น พ่อแม่ต้องสอนลูกเรื่องการสื่อสาร ที่โรงเรียนคุณครูจะค่อย ๆ พูดจึงช่วยปรับอารมณ์เด็กได้ดีกว่าพ่อแม่ที่ใช้การออกคำสั่งเป็นส่วนใหญ่ เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook :…
Q : น้องชอบเลียนแบบพี่แต่ว่าเลียนแบบในทางที่ไม่ดี ปกติน้องกินผักอยู่ พอเห็นพี่สาวไม่กินผักเลยน้องเลียนแบบบ้างจะแก้ยังไงดี ? A : การเลียนแบบเป็นพฤติกรรมปกติของเด็ก ก็ต้องกลับมาถามก่อนว่าทำไมพี่คนโตไม่กินผัก คุณพ่อคุณแม่จะให้ลูกกินผักได้อย่างไร กิจกรรมที่เหมาะสมคือควรจะทำให้การกินผักเป็นเรื่องสนุกสนาน ชวนลูกคุย ชวนทำกับข้าวให้เด็ก ๆ คอยช่วยทำในส่วนที่เขาสามารถทำได้ ล้างผัก เด็ดผัก เตรียมจาน พอเด็กมีโอกาสได้ลงมือทำอะไรด้วยมือของเขาเองแล้ว ก็จะค่อย ๆ คุ้นเคย ทำอาหารเสร็จก็อยากจะชิม เพราะเป็นความภาคภูมิใจของเขา ถึงแม้จะไม่ชอบรสชาติก็ตามแต่เกิดความภาคภูมิใจ คุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ ฝึกให้พี่น้องทำอะไรร่วมกัน ไหนลองชิมอาหารนี้ซิ ให้เขาคุยเล่นกันก็จะเกิดการเรียนรู้ไปเองตามธรรมชาติ เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook : Mother&Care : Raising Happy Children with "Kru Kate" Live
Q : ผู้ใหญ่หลายคนเข้าใจว่าการที่เด็กนั่งดูการ์ตูนได้เป็นชั่วโมงแสดงว่ามีสมาธิ ความจริงแล้วเป็นอย่างไร ? A : แสดงว่าผู้ใหญ่เองก็ไม่เข้าใจว่าสมาธิคืออะไร สมาธิเป็นการรู้สองอย่างคือรู้ตัวกับรู้สภาพแวดล้อม เราต้องฝึกเด็กให้รู้ตัวและรู้บุคคลรอบ ๆ ข้าง ขณะที่เด็กดูการ์ตูนจ้องอยู่หน้าจอแล้วไม่รู้ตัว เขาจะถูกสะกดจิตหลุดเข้าไปในโลกเสมือนจริงของชีวิต อย่างนี้ไม่จัดว่าเป็นสมาธิที่สมบูรณ์แบบ สมาธิสมบูรณ์แบบคือดูทีวีและย้อนกลับมาดูตัวได้ สมมุติว่าผู้ใหญ่ดูข่าวนี้แล้วย้อนกลับมาคิดว่าเกิดอะไรขึ้นในข่าว เด็กเล็กดูการ์ตูนอย่างเดียวกลับมาคิดไม่ได้ หรือนั่งดูแล้วเมื่อยขาแต่ไม่รู้สึก อย่างนี้ไม่ใช่การมีสมาธิที่ดี สมัยนี้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจมากขึ้นว่าไม่ควรให้เด็กอายุต่ำว่า 2 ขวบอยู่หน้าจอ โตขึ้นมา 2 ขวบดูได้แต่อยู่ในดุลพินิจของพ่อแม่ และเลือกช่องที่เหมาะสมกับเด็ก การ์ตูนไม่ใช่สิ่งจำเป็นในชีวิตซักเท่าไหร่ ครูเคทไปร่วมประชุมของกระทรวงวัฒนธรรม ประชุมเรื่องสื่อสำหรับเยาวชนคุณหมอท่านหนึ่งบอกว่าเด็กไม่ควรดูทีวีเลยจนกว่า 7 ขวบ โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตไม่ควรให้เล่นเลย เด็กควรได้พัฒนาทักษะหลาย ๆ ด้าน ต้องพัฒนากล้ามเนื้อ ภาษา การปฏิสัมพันธ์กับคน การออกไปดูโลกกว้าง สัมผัสหลากหลายดีกว่านั่งอยู่หน้าจอ เด็กเล็กจำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนให้มากที่สุด เริ่มพบแล้วว่า เด็ก Gen Z ที่อยู่หน้าจอมาก ๆ เริ่มมีปัญหาซึมเศร้า แค่อายุ 12 เป็นแล้ว…
ในวัย 8-9 เดือนลูกเริ่มสนใจจับทุกอย่างเข้าปาก ! เป็นโอกาสดี ๆ ที่คุณแม่จะฝึกให้ลูกหยิบจับอาหารหม่ำเอง มีเทคนิคง่าย ๆ มาแนะนำค่ะ 1.เตรียมอาหารที่ดีต่อสุขภาพลูก อย่างผักหรือผลไม้รสอ่อน เริ่มต้นด้วยอาหารชิ้นเล็ก ๆ นิ่ม ๆ เพื่อป้องกันการสำลักหรือติดคอ 2.เตรียมอาหารไว้น้อย ๆ ก็พอ แล้วปล่อยให้ลูกตัดสินใจเองว่าจะกินหรือไม่ ลองปล่อยให้ลูกหยิบ จับ เล่นกับอาหารเพื่อทำความคุ้นเคย ต้องยอมให้เลอะเทอะบ้าง แรก ๆ คุณแม่ยังคงป้อนอยู่นะคะ เพื่อให้ลูกได้อาหารพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย 3.ถ้าลูกอยากถือช้อนเองปล่อยตามใจเขาค่ะ โดยคุณแม่สอนวิธีการกิน อาจการจับมือลูกให้แน่นแล้วค่อย ๆ ป้อนเข้าปากลูกช้า ๆ 4.ถ้าลูกเริ่มเล่นอาหาร ให้ลูกหยุดกิน โดยคุณแม่ทำสีหน้าปกติ ไม่ดุหรือแสดงอาการตื่นเต้นร้อนรนให้ลูกเห็น เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเล่นอาหารไม่เลิก และจะทำเช่นนี้อีกในครั้งต่อไป พยายามควบคุมเวลากินของลูกแต่ละมื้อให้อยู่ในราว ๆ 30 นาทีค่ะ 5.ใช้ชามพลาสติกก้นกว้างที่หกยากไม่แตกง่าย และช้อนขอบมน ขนาดเหมาะกับปากของลูก ด้ามช้อนให้จับได้ง่าย เพื่อให้ลูกตักอาหารป้อนตัวเองได้ มีการศึกษาพบว่าในช่วงอายุ 11 เดือน…