นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์กุมารแพทย์ โรคระบบประสาท “สฟิงโกไมอีลิน” สารอาหารที่พบมากในนมแม่ นม ผลิตภัณฑ์นม ช่วยในการสร้างปลอกไมอีลิน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมอง การเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองแต่ละส่วน (brain connection) ซึ่งคือกลไกที่สำคัญที่สุดในการทำงานของสมอง ซึ่งต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานของสมองจึงจะมีประสิทธิภาพ หรือเปรียบเสมือนกับการใช้อินเทอร์เน็ต 5G การเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณของสมองต้องอาศัยการสร้างปลอกไมอีลิน เริ่มสร้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์และสร้างอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็วภายใน 2 ปีแรกหลังคลอด และถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น “สฟิงโกไมอีลิน” สารอาหารที่พบมากในนมแม่ นม ผลิตภัณฑ์นม ช่วยในการสร้างปลอกไมอีลิน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมอง การเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองแต่ละส่วน (brain connection) ซึ่งคือกลไกที่สำคัญที่สุดในการทำงานของสมอง ซึ่งต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานของสมองจึงจะมีประสิทธิภาพ หรือเปรียบเสมือนกับการใช้อินเทอร์เน็ต 5G การเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณของสมองต้องอาศัยการสร้างปลอกไมอีลิน เริ่มสร้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์และสร้างอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็วภายใน 2 ปีแรกหลังคลอด และถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น คุณพ่อคุณแม่รู้มั้ยว่า…..ความสามารถของลูกรักของคุณนั้นไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ การควบคุมการเคลื่อนไหว หรือการคิดวิเคราะห์และการวางแผนเมื่อเติบโตขึ้นไปนั้นล้วนเกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง แต่สมองเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งไม่สามารถที่จะสร้างสิ่งมหัศจรรย์เหล่านี้ได้โดยลำพัง แต่ต้องอาศัย การเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองแต่ละส่วน (brain connection) ซึ่งคือกลไกที่สำคัญที่สุดในการทำงานของสมอง ซึ่งต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานของสมองจึงจะมีประสิทธิภาพ หรือเปรียบเสมือนกับการใช้อินเทอร์เน็ต 5G…
Knowledge
ความรู้ ทั้งอัพเดท และ How to การเลี้ยงดูลูก รวมถึงการดูแลตัวเอง ฉบับคุณแม่ คุณพ่อ ยุคใหม่ ที่ครบคลุมตั้งแต่ ช่วงตั้งครรภ์ จนถึง ลูกอยู่ในวัยประถม
เด็กวัย 1-3 ขวบ เป็นช่วงวัยที่สมอง ร่างกาย จิตใจ กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว เด็ก ๆ จึงมักชอบทำกิจกรรมหลากหลาย มีความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง สนใจที่จะสำรวจสิ่งรอบตัว ร่างกายจึงต้องการพลังงาน และสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา นมโคแท้ 100% คุณภาพสูงเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมจากคุณแม่เพราะได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่ามีสารอาหารธรรมชาติที่เป็นประโยชน์แก่ลูกน้อย ซึ่งตรงกับความต้องการของคุณแม่ที่ปรารถนาให้ลูกน้อยได้มีพัฒนาการที่ดีสมวัย สามารถทำกิจกรรมและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็เติบโตแข็งแรงอย่างเป็นธรรมชาติ วิธีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นมโคแท้นั้น สังเกตได้ง่ายๆ จากส่วนประกอบข้างกล่อง ซึ่งมักระบุชัดเจนว่ามีน้ำนมโคสดแท้กี่เปอร์เซ็นต์ และในแต่ละกล่องประกอบด้วยสารอาหารชนิดใดบ้าง ซึ่งแม้จะเป็นนมโคสดแท้เหมือนกัน แต่ส่วนประกอบของสารอาหารแต่ละยี่ห้อนั้นแตกต่างกันไป โดยนมโคแท้ 100% ส่วนใหญ่จะมีสารอาหารพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ โปรตีน จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และให้กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการสร้างโปรตีนชนิดต่างๆในร่างกาย วิตามินบี 5 ช่วยในการใช้ประโยชน์ (เมตาบอลิซึม) ของไขมันและคาร์โบไฮเดรต ช่วยในการใช้ประโยชน์ของไขมันและคาร์โบไฮเดรต ช่วยในการเมตาบอลิซึมของไขมันและคาร์โบไฮเดรต สำหรับสารอาหารหลัก 5 ชนิดอันมีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กวัย 1-3 ขวบในด้านต่างๆ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจเลือกซื้อนมโคแท้…
เรื่องวิธีการเลี้ยงลูกนั้นเป็นประเด็นอ่อนไหวที่ทำให้หลาย ๆ บ้านต้องพบกับความขัดแย้ง เนื่องจากความคิดความเชื่อและประสบการณ์ที่แตกต่าง คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงแบบนี้ คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายก็มีวิธีการเลี้ยงอีกแบบหนึ่ง หลายครั้งเราจึงพบว่าเด็ก ๆ เองก็สับสนกับข้อตกลงหรือกติกาในบ้าน คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ก็ไม่สบายใจหรือบาดหมางใจกันทั้ง ๆ ที่ต่างก็รักลูกรักหลานเช่นเดียวกัน แล้วเราจะรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไรดี เทคนิควิธีสื่อสารด้วยหัวใจ ในประเด็นเรื่องการเลี้ยงลูก 1. อย่างแรก คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าลูก (หลาน) คือ แก้วตาดวงใจของทุกคน ทุกคนไม่ว่าจะคุณพ่อคุณแม่หรือคุณตาคุณยายก็อยากจะดูแลให้ดีที่สุด แต่ความหมายของคาว่า “ดีที่สุด” ของแต่ละคนนั้นต่างกัน หากเราเข้าใจในเรื่องนี้เราจะมองเห็นความรักความเมตตาที่ทุกคนมีต่อลูกของเรา รวมทั้งตัวเราด้วย และนั่นคือสะพานหลักที่จะนาเราไปสู่โอกาสในการพูดคุยเรื่องวิธีการเลี้ยงลูกแบบไม่ขัดแย้ง 2. เลือกช่วงเวลาดีดีในการพูดคุยสื่อสาร เมื่อมีความคิดเห็น หรือวิธีการเลี้ยงลูกที่แตกต่างกัน เราควรเริ่มพูดคุยเรื่องนี้เมื่อเราพร้อม ไม่โมโหหรือขุ่นเคืองใจ และเริ่มเมื่อเห็นว่าอีกฝ่ายน่าจะพร้อม ประเด็นสำคัญคือเราไม่ควรพูดทันทีในที่เกิดเหตุ เช่น คุณยายห้ามป้อนข้าวน้องนะจะเสียนิสัย การพูด ณ ขณะนั้นแบบไม่ทันให้อีกฝ่ายตั้งตัวจะสร้างความรู้สึกถูกตาหนิ และอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งในครอบครัวได้ง่าย 3. เมื่อมีช่วงเวลาหรือโอกาสในการพูดคุย ให้สบตาคู่สนทนา พร้อมเกริ่นนาเล็กน้อย เทคนิคนี้เรียกกันว่า “การเคาะประตู” เป็นการสื่อสารเพื่อส่งสัญญาณให้คู่สนทนาของเราทราบว่า…
คุณพ่อคุณแม่ทราบกันหรือไม่ว่า “ความมั่นคงทางอารมณ์” ของคุณพ่อคุณแม่นั้น ส่งผลต่อการเลี้ยงดูลูกอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงทางอารมณ์เมื่อต้องรับมือกับความผิดหวังหรือเรื่องที่ไม่ได้ดังใจ เคยสังเกตตัวเองกันบ้างไหมว่า เวลาที่เราต้องรับมือกับความไม่ได้ดั่งใจ เวลาที่ลูกดื้อ เวลาที่ลูกไม่เชื่อฟัง เราจัดการกับเหตุการณ์นั้นด้วยอารมณ์แบบใด การรับมือกับความผิดด้วยความโกรธ พ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่รับมือกับความผิดของลูกด้วยอารมณ์โกรธและการลงโทษโดยปราศจากการสื่อสารที่ดี เมื่อเราโกรธลูก สิ่งที่สะท้อนกลับหรือผลลัพธ์ที่ได้จากลูกคือการต่อต้าน เราจะเห็นได้ว่าเมื่อพ่อแม่เสียงดัง ลูกมักจะอาละวาดและเสียงดังตามไป ยิ่งลูกเสียงดัง อารมณ์โกรธของคุณพ่อและคุณแม่ยิ่งพุ่งขึ้นถึงขีดสุด หลายครั้งจึงจบลงด้วยการตีหรือการทำให้ลูกหวาดกลัว แม้ว่าสุดท้ายพ่อแม่อาจจะบังคับหรือยุติพฤติกรรม ณ ขณะนั้นของลูกได้ แต่ในระยะยาวเรากลับพบว่า การรับมือกับความผิดของลูกด้วยอารมณ์โกรธนั้น ไม่ได้ช่วยเสริมพัฒนาการหรือวินัยในตนเองให้แก่เด็กๆเลย แล้วเราควรทำอย่างไร เพื่อรับมือกับเรื่องนี้ พ่อและแม่ควรเข้าหาลูกด้วยความเข้าใจ = เปิดให้โอกาสเด็กๆคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ คุณพ่อและคุณแม่ควรหันมาปรับอารมณ์ของตนเองให้เย็นและมั่นคงขึ้น เมื่อลูกทำผิด จากเดิมที่เข้าหาด้วยความโกรธตำหนิติโทษ ลองแปรเปลี่ยนเป็นการเข้าหาลูกด้วยท่าทีที่เป็นมิตร เข้าอกเข้าใจ และพร้อมจะแนะนำหรือเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้คิดวิเคราะห์สิ่งที่ต้องทำด้วยตนเอง เช่น เมื่อลูกไม่ยอมเก็บของเล่นเข้าที่และมันระเกะระกะเต็มบ้าน ลองปรับเปลี่ยนจากการดุลูก “รีบเก็บเดี๋ยวนี้เลยนะ ไม่งั้นแม่จะทิ้งให้หมดไม่ต้องเล่นอีกแล้ว” ซึ่งเป็นการเข้าหาด้วยความโกรธและตำหนิติโทษ เป็น “แม่รู้ว่าลูกกำลังสนุกมากและมันยากมากที่ต้องหยุดเล่นตอนนี้ (เข้าใจความรู้สึก) แต่มันหมดเวลาแล้วล่ะ (บอกสถานการณ์ หรือโจทย์) ลูกคิดว่าเราจะทำยังไงดีกับของเล่นนี่ (กระตุ้นให้คิดวิเคราะห์) ” หรือ “เล่นมันสนุกมากเลยเนาะ…
ความรักที่พ่อและแม่มีให้กับลูกนั้น เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะอธิบายด้วยคำใดได้ แต่คุณพ่อคุณแม่เคยทราบกันบ้างหรือไม่ว่า บางครั้งเราก็ทำร้ายหรือรังแกลูกด้วยการแสดงออกถึงความรักหรือการทุ่มเทให้ความรักด้วยวิธีที่ผิดที่ผิดทางจนลูกของเราไม่สามารถที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆที่เขาต้องเผชิญด้วยตัวเองตามวัยของเขาได้ อย่างที่ใครๆหลายคนเรียกว่า “พ่อแม่รักแกฉัน” วันนี้เรามาดูกันว่า พ่อแม่รังแกลูกด้วยวิธีใดได้บ้าง อย่ารังแกลูกด้วยการปล่อยให้ลูกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เด็กๆที่ถูกตามใจ ไม่เคยโดนขัดใจ เมื่อเรียกร้องต้องการหรืออยากได้อะไรจะใช้วิธีตั้งเงื่อนไขกับคุณพ่อคุณแม่ และคุณพ่อคุณแม่หลายท่านยินยอมที่จะทำตามเงื่อนไขนั้นๆเสมอๆ บางครั้งเพราะสงสารลูก บางครั้งเพื่อให้เรื่องราวๆต่างๆสงบลง เช่น เมื่อคุณแม่ขอให้ลูกรอคอยอะไรบางอย่าง ลูกอาจจะสร้างเงื่อนไข “ต้องซื้อของเล่นให้หนูนะ หนูถึงจะยอมนั่งรอสงบๆ” “ต้องซื้อเดี๋ยวนี้ หนูรอไม่ด้ายยย” เมื่อไม่ได้ของเล่นลูกจะอาละวาดโวยวาย และคุณพ่อคุณแม่ต้องยอมซื้อให้ในที่สุด เมื่อเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เด็กๆจะคิดว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะต้องได้อย่างที่เขาอยากได้ เขาจะไม่รู้จักคาว่ารอ และจะโวยวายอาละวาดเสมอเมื่อไม่ได้ดั่งใจ พ่อแม่หลายคนคิดว่าเมื่อเติบโตขึ้นนิสัยเช่นนี้จะหายไปเองแต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด แม้ว่าเมื่อเด็กๆโตขึ้นจะระงับตัวเองได้มากขึ้นตามวัย แต่วิธีคิดที่ถูกสั่งสมมานานว่าต้องได้อย่างที่ต้องการนั้นจะติดตัวเขาไป ถ้าไม่อยากรังแกลูกด้วยวิธีนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกการสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูกๆของเรา อย่ารังแกลูก ด้วยการปกป้องลูกจากความผิดหวังทั้งปวง พ่อแม่หลายท่านไม่ยอมให้ลูกต้องพบกับความผิดหวังหรือเสียใจอะไรเลย เมื่อลูกอยากได้ของเล่นชิ้นใหม่ ก็ยอมตามใจซื้อให้ หรือแม่บางครั้งไม่ยอมซื้อให้ แต่เมื่อลูกมาบอกว่าคนนั้นก็มีคนนี้ก็มีลูกหน้าจ๋อยเศร้าเสียใจ คุณพ่อคุณแม่ก็ใจอ่อนต้องยอมซื้อให้เสมอไป เพราะกลัวลูกจะผิดหวังเสียใจหรือไม่เท่าเทียมคนอื่นๆ การไม่ยอมให้ลูกได้พบกับความผิดหวังหรือเสียใจบ้าง จะทำให้เด็กๆขาดภูมิคุ้มกันในชีวิต เพราะเขาไม่รู้ว่าการผิดหวังสมหวังนั้นเป็นเรื่องธรรมดา และเมื่อเขาเติบโตขึ้น ต้องเจอกับเรื่องที่ยากมากขึ้น เขาจะสามารถรับมือกับความผิดหวังนั้นได้อย่างไร หากไม่เคยซ้อมมือมาเลย ดังนั้น หากไม่อยากรังแกลูก ต้องให้โอกาสลูกได้ฝึกฝนตนเองบ้าง ด้วยการยอมให้เขาผิดหวังในบ้างครั้ง ยอมให้เขาด้อยกว่าคนอื่นในบางคราว ฝึกให้เขาได้พยายามและเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง …
ในยุคที่หันไปทางไหนก็มีแต่คนเล่นเฟสบุ๊ค อินสราแกรม ไลน์ โลกโซเซียลเน็ตเวิร์คขยับเข้ามาใกล้จนเราแทบจะไม่สามารถแยกตนเองออกจากสังคมออนไลน์ การโพสต์รูปลูก ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมต่างๆ ไลฟ์สไตล์หรือพัฒนาการของลูก เป็นความสุขและความชื่นใจของคนเป็นพ่อแม่ จนบางครั้งเราอาจจะหลงลืมไปว่าการโพสต์รูปเรื่องราวเกี่ยวกับลูกในสังคมออนไลน์นั้น ก็มีข้อควรระวังอยู่เช่นกัน จากการรวบรวมข้อมูลวิจัยในการใช้สังคมออนไลน์ของพ่อและแม่ (ต่างประเทศ) พบว่า การที่พ่อแม่ใช้สื่อสังคมออนไลน์หรือ "Sharenting" ในการติดต่อสื่อสารรายละเอียดข้อมูลเด็กนั้นมีเป็นจำนวนมาก โดย98% ของแม่จะโพสต์ถามเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก และ 89% ของพ่อจะโหลดรูปภาพเด็กลงเฟสบุ๊ค โดยพ่อและแม่ส่วนใหญ่ ชอบถึงชอบมากที่รูปของลูกได้รับการตอบรับ การโพสต์รูปลูกในสังคมออนไลน์แล้วได้รับการตอบรับที่ดีนั้นส่งผลให้คุณพ่อคุณแม่พึงพอใจในบทบาทของการเป็นพ่อแม่มากขึ้นด้วย นั่นก็สื่อความหมายได้ว่า พ่อและแม่มีแนวโน้มที่จะโพสต์ แชร์ รูปและข้อมูลของลูก “บ่อยขึ้นๆ” หลายคนคงสงสัยว่า แล้วการโพสต์รูปลูกนั้นมันมีข้อควรระวังอะไร โพสต์ถามเรื่องลูก โปรดคิดให้ดี! สิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับการโพสต์รูปหรือข้อมูลส่วนตัวของลูกลงในสื่อสังคมออนไลน์ก็คือ “ความเป็นส่วนตัวของลูก” ข้อมูลใดใดก็ตามที่เราโพสต์ลงไปแล้วบนโลกอินเตอร์เน็ตแล้ว ยากมากที่จะลบล้างหรือเรียกคืนได้ ดังนั้นในอีก 10 หรือ 20 ปี ข้างหน้าลูกอาจได้เห็นข้อมูลตนเองเมื่อเขาโตขึ้น หรือคนอื่นๆก็สามารถเห็นข้อมูลลูกในอดีตได้เช่นกัน เราไม่อาจทราบได้ว่าพวกเขาในอนาคตจะยินดีกับภาพหรือเรื่องราวที่พ่อกับแม่โพสต์ลงไปหรือไม่ ที่สาคัญเรื่องราวและรูปเหล่านั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของลูก ไม่ใช่ของพ่อและแม่ ดังนั้น ก่อนที่คุณพ่อและคุณแม่จะโพสต์ข้อมูลใดใดลงไป ลองตั้งคำถามกับตนเองสักนิดดีไหม เพื่อชะลอการตัดสินใจก่อนโพสต์ ฉันโพสต์ภาพ/เรื่องราวนี้ของลูกเพื่ออะไรกันนะ ? คำถามนี้จะช่วยเตือนสติว่าเราโพสต์รูปลูกบ่อยเกินไปหรือเปล่า โพสต์ทำไม…
คุณพ่อและคุณแม่ทุกคนล้วนมีความตั้งใจที่เหมือนกันในเรื่องอยากให้ลูก ๆ เป็นเด็กดี สิ่งหนึ่งที่เรามักจะย้ำกับลูกเสมอ คือ มีอะไรให้บอกพ่อกับแม่ “พูดความจริงกับพ่อและแม่นะคะ” “อย่าโกหกนะครับลูก” แต่ดูเหมือนว่าการสร้างลูกให้เป็นเด็กดี พูดความจริงกับพ่อและแม่เสมอนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย คุณพ่อคุณแม่แทบทุกบ้านจึงต้องหาวิธีการในการรับมือกับเหตุการณ์ที่ลูกไม่พูดความจริง หรือโกหกในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่เสมอ แล้วเราจะรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไรดี วิธีรับมือเมื่อลูกไม่พูดความจริง เมื่อลูกไม่พูดความจริงกับคุณพ่อคุณแม่ สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำ คือ การทบทวนและสำรวจตนเอง สำรวจวิธีการที่เราแสดงออกกับลูกเมื่อเขาทำในสิ่งที่ผิดพลาดไป อาทิ เมื่อลูกทำน้ำหก หรือทำขนมหกในบ้านหรือบนอุปกรณ์สำคัญ คุณพ่อคุณแม่มีวิธีการรับมืออย่างไร หากคุณพ่อคุณแม่รับมือด้วยอารมณ์โกรธ ลูกจะจดจาว่าเมื่อเกิดความผิดพลาดคุณพ่อคุณแม่จะโกรธ หากเค้าบังเอิญทำผิดซ้ำและไม่อยากพบกับอารมณ์โกรธแบบนั้น เด็กจะเลือกวิธีโกหก ในทางกลับกัน หากคุณพ่อคุณแม่ระงับอารมณ์โกรธลงได้ พร้อมที่จะเข้าใจและชี้แนะให้เขาทาในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น “ลูกทำน้ำหกบนเอกสารคุณพ่อเสียแล้วล่ะ แม่รู้ว่าลูกไม่ได้ตั้งใจ ขอโทษพ่อแล้วรีบไปเอาผ้ามาเช็ดพื้นตรงนี้เสียนะคะ” ลูกจะรับรู้ได้ว่า เมื่อเขาทำผิดพลาดไปพ่อและแม่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือและแนะนำสิ่งที่ถูกต้องให้เขา หากเขาทำผิดพลาดอีก (ซึ่งแน่นอนว่าต้องมี) เขาจะกล้าพูดความจริงกับพ่อและแม่ พร้อมกับกล้าที่จะรับผิดชอบต่อความผิดของตนเอง ซึ่งหากฝึกเสมอก็จะเป็นนิสัยประจำตัวของเขาต่อไป ชื่นชมลูกเมื่อเขาแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดลงไปได้ด้วยตัวเอง พ่อแม่หลายท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำใจกล่าวชมลูกเมื่อเขาทำผิด แต่เราไม่ได้โฟกัสที่การกระทำความผิดนั้น เราโฟกัสที่ความรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา ดังนั้น หากลูกทำน้ำหก เขามาบอกพ่อกับแม่และหาผ้าเช็ดน้ำนั้นเรียบร้อย คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกที่จะขอบคุณลูกเมื่อลูกพูดความจริง และชื่นชมที่เขารับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำลงไปได้ดี แค่นี้ลูกก็จะมีความมั่นใจว่าพ่อกับแม่พร้อมจะรับฟังความจริงจากเขาเสมอ …
มนุษย์ทั้งหลาย ไม่มากก็น้อยคงต้องเคยเจอข้อหา “ขี้บ่น” จากลูกๆ ใครไม่บ่นถือว่ายอดคน ยอดคุณแม่ เพราะในแต่ละวัน มีเรื่องราวมากมายที่ชวนให้คุณแม่ต้องหงุดหงิดใจ แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้ว่า “การบ่น” ที่คุณแม่ต้องสูญเสียพลังงานมากมายมหาศาลในการพูดออกไปนั้น ไม่ได้ช่วยให้เด็กๆ (อันที่จริงก็ทุกวัย) มีพัฒนาการหรือรับรู้ความต้องการของคุณแม่ได้สักเท่าไหร่เลย ทาไมการบ่นจึงไม่ได้ผล เพราะการบ่นแตกต่างกับการเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้อย่างมาก ในเวลาที่เราบ่น เรามักจะพูดไปเรื่อยๆ จับโน่นโยงนี่เพื่อระบายออกซึ่งความรู้สึกหรืออารมณ์ไม่ได้อย่างใจของเรา ดังนั้นสารที่เราสื่อออกมาอย่างชัดเจนในการบ่นคือ “อารมณ์ไม่พอใจ” ในขณะที่เนื้อหาสาระนั้นผู้ฟังจะรับรู้ได้น้อยมากเพราะอารมณ์ขุ่นเคืองมันกลบความชัดเจนของเนื้อหา ลูกจึงรับรู้ได้ถึงอารมณ์ไม่พอใจมากกว่ารับรู้ถึงสิ่งที่คุณอยากให้เขาทาหรือฟัง นอกจากนี้ การบ่นมักจะเป็นการพูดซ้ำๆ ย้ำๆ วกวนและขาดความชัดเจน จะทำให้ลูกรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่รู้ว่าแม่ต้องการอะไร ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการหรือความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ไม่บ่นแล้วให้ทำไง มาหาวิธีสื่อสารให้ลูกเข้าใจกันเถอะ สื่อสารด้วยความชัดเจน หากอยากให้ลูกทำอะไร ควรพูดกับเขาด้วยอารมณ์ปกติ และใช้ประโยคสั้นๆ ง่ายๆ เพื่อสื่อสารให้เขาเข้าใจว่าแม่ต้องการให้เขาทำอะไร อย่างไร มันดีกว่าการบ่นร่ายยาว จนผู้ฟังสับสนเพราะเขาไม่รู้ว่าคุณกำลังต้องการให้ทำอะไร เอาใจใส่และมีส่วนร่วมในการทำสิ่งนั้นๆกับลูก คุณแม่หลายท่านที่ต้องทำงานไปด้วย เลี้ยงลูกไปด้วยถึงเวลาก็บ่นให้ลูกไปทำโน่นนี่ โดยที่ตนเองนั้นไม่ได้หันไปมอง สบตา หรือชักชวนให้เด็กๆมาทำด้วย ซึ่งในเด็กเล็กนั้นการที่ขาดคนกระตุ้นอาจจะทำให้เขาขาดความกระตือรือร้นที่จะทำ ดังนั้น เมื่อคุณบอกให้ลูกเก็บของเล่น คุณต้องมองเขา สบตา ช่วยเขาเก็บและชวนให้เขาสนุกกับสิ่งที่คุณให้ทำ สื่อสารด้วยน้าเสียงที่ปกติ น้าเสียงนั้นส่งผลต่อการรับรู้อย่างมาก…
คุณพ่อคุณแม่หลายคนสงสัยมากว่า “พร่ำสอนลูกไปมากมายทำไมลูกไม่จำหรือไม่ทำตามสักที” หลายคนคิดว่าที่ลูกไม่ทำตามคำสั่งสอนนั้นเป็นเพราะลูกนั้นดื้อ แล้วเคยคิดทบทวนบ้างไหมคะว่า ที่ว่าเด็กดื้อนั้น ดื้อเหมือนใคร ….คำตอบก็คือ เด็กๆดื้อเหมือนคนที่เลี้ยงดูเขามา เพราะไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะพยายามพร่ำสอนลูกด้วยหลักการหรือหลักธรรมใดใด แต่สุดท้ายแล้วลูกจะนำเอา “วิธีการ” ที่เราใช้มาเป็น “รูปแบบ” ที่เด็กๆจะจดจำและนำไปใช้เป็นแบบอย่างเสมอ ทั้งวิธีการในด้านบวกและด้านลบ ยกตัวอย่างให้เห็นกันได้โดยง่าย เมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้สึกโกรธและต้องการให้ลูกหยุดพฤติกรรมที่กำลังทาอยู่ หลายครั้งที่พ่อแม่ตะคอกหรือส่งเสียงดังใส่ลูก และแน่นอนว่าลูกเองก็จดจาพฤติกรรมเช่นนั้นมาด้วย เมื่อเขาโกรธโมโหหรือต้องการให้คนรอบข้างหยุดพฤติกรรมต่างๆ เด็กๆจะตะคอก ตวาด เช่นเดียวกับเวลาที่คุณพ่อคุณแม่โมโหเช่นกัน ดังนั้น ต่อให้คุณพ่อคุณแม่เพียรสอนสั่งเท่าไหร่ว่าอย่าตวาดหรือส่งเสียงดังก็คงจะไม่ได้ผล แล้วจะทำอย่างไรถ้าพ่อแม่มีมุมที่ไม่โอเคอยู่บ้าง คนเป็นพ่อเป็นแม่จะโกรธลูกไม่ได้เลยหรือ โกรธหรือโมโหลูกแล้วจะต้องทำอย่างไร ลูกถึงจะได้ต้นแบบที่ดีไปเป็นแบบอย่าง นี่เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจของพ่อกับแม่ทุกคน ความโกรธนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ ดังนั้นไม่แปลกที่คุณจะโกรธให้ลูกเห็น แต่มันจะดีกว่ามากหากคุณแสดงถึง “วิธีการจัดการความโกรธ” ให้เขาเห็นด้วย วิธีการที่ง่ายดายที่สุดคือ อย่าปล่อยให้ตัวเองอาละวาดเมื่อไหร่ที่คุณรู้ตัวว่ากาลังโกรธ ให้บอกเด็กๆไปว่า คุณกำลังโกรธและต้องการเวลาสักหน่อยเพื่อระงับอารมณ์โกรธนี้ ก่อนจะกลับมาจัดการกับปัญหาหรือคุยกับเขาอีกครั้ง “แม่กำลังรู้สึกโกรธมาก แม่อยากจะอยู่คนเดียวสักครู่ เดี๋ยวเราค่อยคุยกัน” ด้วยวิธีการนี้ เด็กๆจะเรียนรู้ว่าความโกรธนั้นเป็นเรื่องเกิดขึ้นได้กับทุกคน และคุณมีวิธีการจัดการความโกรธด้วยการขอเวลาเพื่อสงบอารมณ์ นอกจากจะได้เห็นวิธีการแล้ว เด็กๆจะเรียนรู้ด้วยว่าเขากำลังทาบางสิ่งให้แม่โกรธ และเขาจะเริ่มทบทวนว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้แม่โกรธ เมื่อคุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีนี้ โดยไม่ต้องพร่ำสอน ลูกๆจะเลียนแบบไปโดยอัตโนมัติ เขาจะเรียนรู้ที่จะสัมผัสกับอารมณ์ของตนเอง…
ในยุคปัจจุบันดูเหมือนว่าเด็กกับสมาร์ทโฟนจะกลายเป็นของคู่กันอย่างหลักเลี่ยงได้ยาก พ่อแม่หลายบ้านที่อดใจไม่ไหวหยิบยื่นโทรศัพท์มือถือให้ลูกเพื่อแลกกับความสุขสงบ แลกกับการที่ลูกยอมทานอาหาร หรือแลกกับการทำภารกิจอื่นๆในชีวิตประจาวัน การปล่อยเด็กไว้กับจอทีวีหรือจอมือถือนั้นจะส่งผลเสียทั้งในด้านพัฒนาการของสมองและร่างกาย เหล่ากุมารแพทย์จึงต่างพากันออกมาเตือนถึงภัยของการใช้สมาร์ทโฟนที่มากเกินไปสาหรับวัยเด็ก โดยสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาประกาศไว้ว่า เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีไม่ควรใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคทุกชนิด เพราะเด็กจะขาดโอกาสพัฒนาทักษะการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แล้วเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปีล่ะ จะใช้เวลาอยู่หน้าจอได้นานเท่าไหร่ถึงไม่อันตราย ในทางทฤษฎีนั้นเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี สามารถดูสมาร์ทโฟนหรือสื่ออิเลคทรอนิคก์ได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง/วัน แต่ถ้าพบว่าเด็กมีปัญหาด้านการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ควรงดการอยู่กับสื่อทันที และสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังไม่มั่นใจว่า การอนุญาตให้ลูกดูทีวีหรือสมาร์ทโฟน 1-2 ชั่วโมงต่อวันนั้น ควรพิจารณาจากสิ่งใด อันที่จริงแล้วไม่มีข้อกาหนดที่ตายตัวในเรื่องนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถพิจารณาได้จากตัวของเด็กๆเอง อาทิ หากเด็กในการดูแลของคุณสามารถทำตามกติกาหรือข้อตกลงของครอบครัวได้ดี มีสมาธิตามวัยและไม่พบปัญหาด้านการปฏิสัมพันธ์ คุณอาจจะอนุญาตให้เด็กๆดูทีวี หรือดูการ์ตูนได้ ครั้งละ 1 ชั่วโมง จานวน 2 ครั้ง /ต่อวัน หรือ 1 ชั่วโมง เพียง 1 ครั้ง/วัน โดยกำหนดวันที่เด็กสามารถดูทีวีหรืออยู่กับสมาร์ทโฟนได้ เช่น ทุกวันอาทิตย์ ทั้งนี้ไม่ควรให้เด็กๆอยู่กับหน้าจอเกินกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งสุขภาพตา…