Knowledge
หลังคลอด แม่ควรตรวจอะไรบ้าง ?
ช่วงหลังคลอด เชื่อว่า แม่ ๆ คงมุ่งความสนใจไปที่ลูก จนลืมว่าคุณเองก็มีเรื่องที่ต้องดูแลใส่ใจเช่นกัน อย่าลืมตรวจสุขภาพและดูแลตัวเองด้วยนะคะ 1.ตรวจเต้านม เพื่อดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ตรวจมะเร็งเต้านมหรือก้อนน้ำเหลือง โดยวิธีการคลำที่หน้าอก คุณแม่อาจคลำด้วยตัวเองจากที่บ้านก่อนได้… Read More
พักผ่อนหลังคลอดเป็นไปได้แค่ไหน ?
ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่ควรพักผ่อนอย่างไรบ้าง อย่างน้อยควรนอนพักผ่อนช่วงกลางคืนให้ได้ 6-8 ชั่วโมง ไม่ควรหยิบจับหรือยกสิ่งของหนัก เพราะเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อและมดลูกกลับคืนสู่สภาพปกติ หากคุณแม่ยกของหนัก อาจกระทบกระเทือนถึงอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานมดลูกได้… Read More
ออกกำลังกายหลังคลอดจำเป็นจริงหรือ ?
การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างยิ่ง คุณแม่อย่าผัดวันกระกันพรุ่งนะคะ คุณแม่คนใหม่ควรเน้นการออกกำลังกายเบา ๆ ช่วงแรก อาจเป็นการเดินหรือทำงานบ้านที่ไม่ต้องใช้แรงมากนัก เพื่อช่วยในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในให้กลับสู่สภาพปกติได้เร็ว การบริหารยืดเหยียดร่างกาย การเดิน โยคะ หรือออกกำลังกายในแบบที่ชอบแต่ไม่ใช่แบบที่หนักหน่วงเกินไป… Read More
ดูแลแผลหลังคลอดอย่างไรไม่ติดเชื้อ ?
การดูแลแผลหลังคลอดทั้งแผลคลอดเองและผ่าคลอด คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องความสะอาดค่ะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แผลคลอดธรรมชาติ จะมีอาการปวดแผล 3-4 วัน หรืออย่างมาก 1 สัปดาห์ และจะค่อย ๆ ทุเลาลง มักหายเองภายใน1 สัปดาห์หลังคลอด หากปวดมากสามารถกินยาแก้ปวดลดได้ แต่ถ้าปวดแผลฝีเย็บมาก มีอาการบวมแดง กดแล้วเจ็บอาจเป็นเพราะฝีเย็บอักเสบควรรีบพบคุณหมอทันที ต้องหมั่นดูแลความสะอาดไม่ให้เกิดการติดเชื้อ การทำความสะอาดโดยทั่วไปคือ ทำความสะอาดแผลทุกวัน วันละ 1-2 ครั้งด้วยสบู่หรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออย่างอ่อนล้างกับน้ำสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพราะการล้างจากก้นมาด้านหน้า จะนำเชื้อโรคจากทวารหนักมาสู่แผลและช่องคลอด แผลผ่าคลอด ตรวจดูแผลว่า มีการปริแตกไหม ซึ่งคุณหมอจะปิดพลาสเตอร์กันน้ำมาให้ เมื่อครบกำหนดที่คุณหมอนัดก็ควรไปตามนัดเพื่อให้ตรวจแผลว่าเรียบร้อยดีหรือไม่ คำแนะนำ ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดด้วยวิธีธรรมชาติหรือผ่าคลอด การดูแลแผลหลังคลอดเป็นสิ่งสำคัญ เน้นเรื่องความสะอาด เพราะหากแผลติดเชื้อจากสิ่งสกปรกจะยิ่งทำให้แผลหายช้ามากขึ้น t Read More
ดื่มน้ำแค่ไหนอย่างไรช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ ?
คุณแม่คงเคยได้รับคำแนะนำมาบ้างว่าให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อเพิ่มน้ำนมแม่ แล้วจะต้องดื่มมากแค่ไหนคุณแม่อาจสงสัยใช่มั้ยคะ ตรงนี้มีคำตอบค่ะ 1.ปริมาณน้ำไม่จำเป็นต้องเกินกว่าปกติมากเกินไป การดื่มน้ำเกินความต้องการของร่างกายไปมากจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพมากกว่า 2.ดูว่าดื่มน้ำพอเพียงต่อการให้นมลูกได้โดยดูจากปัสสาวะคุณแม่ค่ะ ถ้าเป็นสีเหลืองเข้มขึ้นแสดงว่าร่างกายได้รับน้ำไม่พอเพียงต้องการน้ำเพิ่ม 3.วิธีดื่มน้ำที่เหมาะสมในแต่ละวันไม่ใช่การดื่มคราวละเป็นลิตรๆ แต่ควรดื่มทีละน้อยเป็นระยะเพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงร่างกายตลอดวัน … Read More
7 วิธีเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อถึงวันคลอด
วันคลอดเป็นวันที่คุณพ่อคุณแม่อาจตื่นเต้นจนอาจลืมบางอย่างหรือทำอะไรไม่ถูก ฉะนั้นการเตรียมตัวล่วงหน้าให้พร้อมไว้เสมอจะช่วยให้ไม่ฉุกละหุกในวันไปคลอดค่ะ สิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้ 1.จัดกระเป๋าเสื้อผ้าและของใช้จำเป็นแม่และลูกเตรียมไว้ล่วงหน้า 2.ช่วงใกล้คลอดเช็คสภาพรถเติมน้ำมันให้เรียบร้อย 3.เตรียมเบอร์โทรโรงพยาบาล เบอร์โทรฉุกเฉินเผื่อต้องการความช่วยเหลือ หรือเรียกรถพยาบาล เบอร์แท็กซี่หรือแอพ 4.ติดต่อบอกญาติหรือเพื่อนที่อยู่ใกล้ไว้ล่วงหน้า เผื่อติดขัดขอความช่วยเหลือหรือให้ช่วยพาไปโรงพยาบาล… Read More
เจ็บหลอกหรือเจ็บท้องคลอดกันแน่ ?
ในช่วงเดือนสุดท้ายใกล้คลอดคุณแม่เฝ้าระวังและระแวงอยู่ใช่มั้ยคะว่าอาการเจ็บท้องที่เกิดขึ้นเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก ก็จะไม่ต้องไปโรงพยาบาลเก้อ หรือเจ็บจริงขึ้นมาก็จะไปโรงพยาบาลทันท่วงที มาสังเกตอาการกันค่ะจะได้แยกออกว่าอาการเจ็บท้องจริงกับเจ็บหลอกต่างกันยังไงบ้าง เจ็บท้องหลอกหรือเจ็บท้องเตือน 1.ระยะเวลาเจ็บไม่แน่นอน ถี่บ้างห่างบ้าง เจ็บมากบ้างหรือน้อยบ้าง หรือเจ็บติด ๆ กันหลายครั้งแล้วหยุดไป… Read More
6 ข้อควรรู้คลอดเองและผ่าคลอด
คุณแม่มีคำถามอยู่ในใจใช่มั้ยคะว่าจะคลอดเองหรือจะผ่าคลอดดี มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการคลอดมาฝากค่ะ 1.ความปลอดภัย - ถ้าคุณหมอบอกว่าร่างกายคุณแม่ปกติดีไม่มีปัญหา การเลือกคลอดเองจะปลอดภัยกว่าทั้งกับแม่และลูกมากกว่า 2.ฟื้นตัวเร็วกว่า – การคลอดเองฟื้นตัวเร็วกว่าผ่าตัดคลอด 1-2 วันก็เริ่มลุกเดินได้แล้ว… Read More
ควรเลือกผ่าคลอดเมื่อจำเป็นจริงหรือ ?
คุณแม่ตั้งครรภ์กำลังจะเลือกใช่มั้ยคะว่าจะคลอดเองหรือผ่าคลอดดี ความจริงแล้วการเลือกวิธีไหนน่าจะคำนึงถึงความเหมาะสมและความปลอดภัยเป็นหลักค่ะ ถ้าร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ฝากครรภ์พบคุณหมอตามนัดคุณหมอบอกว่าคลอดเองได้ การคลอดเองจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าและยังเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าค่ะ การคลอดเองจะดีกับตัวคุณแม่เพราะฟื้นตัวเร็ว ลดโอกาสเสี่ยงอันตรายจากการดมยาและผ่าตัดลงไป และ ยังดีต่อการทำงานของปอดและภูมิคุ้มกันระบบทางเดินอาหารและสำไส้ของลูก WHO หรือองค์การอนามัยโลกรายงานว่าแม่ที่คลอดโดยการผ่าตัดทำคลอดมีความเสี่ยงอันตรายสูงกว่าการคลอดปกติถึง… Read More
ท้องวัย 35 ต้องดูแลตัวเองอย่างไร ?
คุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 35 ปีมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองเพื่อแม่และลูก และยังต้องพบคุณหมอตามนัดด้วยนะคะ คุณแม่อาจได้รับการตรวจพิเศษตามคำแนะนำของคุณหมอ เช่น ตรวจอัลตร้าซาวด์ เจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ตรวจชิ้นเนื้อรก… Read More