Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Author page: motherandcare

แม่ท้องทราบวิธีคาดเข็มขัดนิรภัยกันหรือยังคะ ?

แม่ท้องต้องปรับเปลี่ยนวิธีคาดเข็มขัดนิรภัยสักนิดค่ะ วิธีคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับคนท้อง จะต้องพาดผ่านระหว่างอกพอดีและพาดเลยต่อไปที่ด้านข้างของลำตัว ห้ามพาดผ่านส่วนท้อง ส่วนล่างจะต้องพาดผ่านบริเวณส่วนบนของขา ไม่เลยขึ้นไปพาดที่ท้องเด็ดขาด โดยจะต้องพาดยาวจากสะโพกข้างหนึ่งไปยังสะโพกอีกข้าง คาดเข็มขัดนิรภัยถูกวิธีปลอดภัยทั้งคุณแม่และคุณลูกค่ะ

Read more

ตั้งครรภ์ 35 upต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

ข้อดีหลายอย่างของการมีลูกช้าก็คือคุณแม่พร้อมทั้งการเงินและการงาจัดการปัญหาได้ดีกว่าตอนอายุยังน้อย แต่ข้อด้อยก็คือโอกาสตั้งครรภ์ลดลงและมีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นไปตามอายุ จึงต้องดูแลตัวเองและพบคุณหมอตามนัดเพื่อเลี่ยงการเกิดปัญหาค่ะโอกาสเกิดภาวะต่าง ๆ สำหรับคุณแม่ 35 ปีมีดังนี้ 1.โรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูง คุณแม่ที่น้ำหนักขึ้นมากเกินเกณฑ์มาตรฐานควรระวังเป็นพิเศษ 2.ครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะอันตรายค่ะ คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสี่ยงมาก 3.รกเกาะต่ำ อาจทำให้เสียเลือดมากขณะคลอด อาจต้องผ่าคลอดแทนการคลอดเอง 4.แท้ง ช่วง 3 เดือนแรกมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าแม่ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี และจะเสี่ยงแท้งมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น 5.ความผิดปกติของทารก ดาวน์ ซินโดรมเป็นภาวะเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นตามอายุของแม่ 6.คลอดก่อนกำหนด 7.ทารกมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่าปกติ 8.ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ แม้จะมีโอกาสเสี่ยงหลายข้อ แต่คุณแม่อย่ากังวลใจจนเกินไป การอยู่ในความดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด ตรวจครรภ์สม่ำเสมอตามนัด ใส่ใจสุขภาพตัวเอง ทำจิตใจให้แจ่มใส ก็สามารถมีสมาชิกใหม่ตัวน้อย ๆ แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งแม่และลูกค่ะ

Read more

8 วิธีจัดการวัยปฏิเสธให้อยู่หมัด

คุณแม่ลูกเล็กวัย 1 ถึง 3 ขวบ ต้องเจอกับวัยปฏิเสธของลูกค่ะ บางครั้งคุณแม่เผลอปี๊ดวันละหลายรอบ เริ่มสงสัยว่าคนละคนกันหรือเปล่า เพราะตอนยังเล็กกว่านี้น่ารักเชื่อฟังแม่มาก ทำไมลูกจึงปฏิเสธไปเสียทุกอย่าง การปฏิเสธของลูกเป็นพัฒนาการตามวัยของเขาค่ะ เพราะลูกกำลังมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง ค่อย ๆ สร้างความเป็นตัวของตัวเองขึ้นมา และอยากทำอะไรเอง จึงไม่ชอบฟังคำสั่งของใครมีข้อแนะนำดี ๆ ในการดูแลลูกวัยปฏิเสธมาฝากกันค่ะ 1.อย่าห้ามทุกเรื่อง ห้ามเฉพาะเรื่องที่สำคัญ หรือเรื่องที่เป็นอันตราย เช่น เล่นในสิ่งที่พ่อแม่ห้าม การเล่นปลั๊กไฟเล่นของแตกง่ายปีนป่ายที่สูง คุณแม่ลดการปฏิเสธของลูกได้ด้วยการดูแลความปลอดภัยในบ้าน กั้นบริเวณที่ไม่ให้ลูกเข้าถึง เก็บของที่ลูกไม่ควรเล่นหรือเอาเข้าปากให้พ้นมือ จัดโซนของเล่นและฝึกให้ลูกเก็บของเล่นเอง 2.อย่าซีเรียสกับคำว่าไม่ของลูก คุณแม่ลดความเหนื่อยลงได้ด้วยการทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ไม่สนใจบ้าง ถึงเวลากินแล้วไม่ยอมกิน คุณแม่แค่บอกว่าอีก 10 นาทีแม่เก็บนะคะ ถ้าลูกมากินไม่ทันเดี๋ยวจะหิวแย่ วันนี้มีของอร่อยเสียด้วยสิ แล้วคุณแม่ก็เก็บจริงค่ะ 3. เปลี่ยนคำถามใหม่ จาก อยากกินข้าวไหม อยากกลับบ้านไหมอยากนอนไหม ลูกมักจะตอบว่าไม่ เลี่ยงคำถามที่ลูกจะปฏิเสธได้ เปลี่ยนเป็น เดี๋ยวเรากำลังจะกลับบ้านแล้วค่ะ เดี๋ยวถึงเวลากินข้าวเตรียมตัวนะคะ…

Read more

8 วิธีเก็บน้ำนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

การเก็บน้ำนมแม่ให้ครบทั้งคุณค่าอาหารจากนมแม่มากที่สุดและปลอดภัยปราศจากเชื้อโรค เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ที่ต้องการปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกค่ะ มีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก 8 ข้อค่ะ 1.ใช้ภาชนะที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว แนะนำว่าควรใช้ขวดพลาสติกหรือถุงเก็บน้ำนมโดยเฉพาะ 2.ติดฉลากที่ขวดหรือที่ถุงเก็บน้ำนมทุกชิ้น บนฉลากเขียนวันที่ที่ปั๊มน้ำนมเก็บ 3.เวลาใช้ให้เรียงตามลำดับ ใช้ถุงที่เก็บไว้เก่าที่สุดก่อนค่อยใช้ถุงที่ใหม่กว่า 4.หลังจากปั๊มน้ำนมเสร็จทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้งด้วยน้ำอุ่นกับน้ำยาทำความสะอาดโดยเฉพาะ แยกอ่างล้างไม่ใช้อ่างล้างจาน ก่อนนำไปนึ่งหรือต้มฆ่าเชื้อ 5.ล้างมือให้สะอาดก่อนปั๊มน้ำนม ดูแลอุปกรณ์ให้สะอาดอยู่เสมอ ป้องกันเชื้อโรคเติบโตในน้ำนมแม่ที่เก็บ 6.สำหรับน้ำนมที่จะแช่แข็ง ควรแช่ทันทีหลังปั๊มเสร็จ อย่าใส่จนเต็ม ควรเหลือที่ว่างเผื่อการขยายตัวตอนกลายเป็นน้ำแข็ง 7.เช็คดูว่าถุงเก็บน้ำนมมีรอยรั่วก่อนเก็บ 8.ตอนแช่ละลายถุงน้ำนมระวังถุงล้ม ป้องกันน้ำนมสัมผัสกับเชื้อโรค ไม่ยากเลยใช่มั้ยคะในการดูแลความสะอาดในการเก็บน้ำนมแม่ เท่านี้ก็มีน้ำนมแม่คุณภาพเยี่ยมตุนไว้ให้ลูกน้อยแล้วค่ะ

Read more

แม่ท้องเป็นไข้ลูกจะปลอดภัยมั้ย ?

คุณแม่สบายใจได้ค่ะ อาการเป็นไข้หวัดขณะตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นอันตรายต่อทารก แต่การใช้ยาแก้หวัดอาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่ค่ะยาบางชนิดที่คุณแม่ใช้เป็นประจำในยามปกติอาจไม่เป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่ แต่เมื่อตั้งครรภ์แล้วควรระวังการใช้ การกินยาบางประเภทมีผลต่อลูกในท้อง ยาอะไรบ้างที่แม่ท้องควรเลี่ยง กลุ่มยาแก้แพ้แก้คัน เช่น คลอเฟนิรามีน ยาลดไข้ที่เป็นยาลดการอักเสบ เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบบางตัว ยาแก้ไอผสมไอโอดีน ยาแก้แพ้ท้อง ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร (Antaacids) ยารักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ยาแก้ไอที่ผสมไอโอดีน ยาทารักษาสิวกลุ่มกรดวิตามินเอ ยาพ่นจมูก หรือการกินวิตามินเอ บี ซี ดี เค รวมทั้งอาหารเสริมต่าง ๆ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยาเสมอค่ะ ดูแลตัวเองเมื่อเป็นหวัด ถ้าเป็นหวัดธรรมดาคุณแม่สามารถดูแลตัวเองได้หลายวิธีร่วมด้วยช่วยกันค่ะ - พักผ่อนอย่างพอเพียง หาเวลานอนหลับให้เต็มอิ่ม - รับประทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม ส้ม กีวี มะละกอ สตรอเบอรี่ ฯลฯ - ดึ่มน้ำเพิ่มขึ้น ค่อย ๆ…

Read more

ลูกวัย 4-5 ขวบให้กินเท่าไหร่ดี ?

วัย 4-5 ขวบวัยกำลังซนกำลังโต ช่วงนี้เด็กแต่ละคนอาจจะโตไม่เท่ากัน คุณแม่อาจไม่แน่ใจว่าควรให้ลูกกินอาหารในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ในหลักการทางการแพทย์ บอกไว้ว่าลูกน้อยในวัย 4 - 5 ปี ต้องการพลังงานและสารอาหารใน 1 วัน ประมาณ 1,450 กิโลแคลอรี่  แบ่งสัดส่วนดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 50-60%, โปรตีน 10-15% ไขมัน 25-30% ปริมาณอาหารที่ลูกวัยนี้ควรได้รับในแต่ละวัน คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง : 2 ½ – 3 ถ้วยตวง (ประมาณ 5 - 6 ทัพพีต่อวัน) เช่น ข้าวสวย ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น มะกะโรนี โปรตีน : 3 ½ – 4 ช้อนโต๊ะ…

Read more

Top 6 อาหารที่เด็กแพ้ง่าย

ทุกวันนี้เราพบว่าเด็กเล็กมีการแพ้อาหารกันมากขึ้น อาการแพ้มีตั้งแต่ระดับอ่อนไปจนถึงขั้นรุนแรง จึงควรดูแลให้ลูกหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ค่ะ มาดูกันว่าอาหารประเภทไหนบ้างที่ติดอันดับ Top 6 1.นมวัว เด็กเล็กมีโอกาสแพ้โปรตีนในนมวัวได้ง่าย  พบว่าคุณแม่ที่ดื่มนมมาก ๆ ระหว่างท้องและให้นม ลูกจะมีโอกาสแพ้นมวัวง่าย 2.ไข่ พบบ่อยว่าแพ้ในช่วงขวบปีแรก และมักจะหายไปเมื่ออายุประมาณ 9 ปี โอกาสแพ้ไข่ขาวมีมากกว่าไข่แดง เด็กเล็กควรเริ่มกินไข่แดงก่อน อาจเริ่มไข่ขาวตอน 8 เดือนหรือ 1 ขวบ 3.อาหารทะเล ไม่ใช่แต่กุ้งและปูเท่านั้นที่แพ้ ยังมี หอย และปลาหมึก  ปลาก็มีโอกาสแพ้ได้ทั้งปลาทะเลและปลาน้ำจืด 4.ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็งพวกลูกนัทต่าง ๆ และถั่วเหลือง รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยวทำจากถั่วเหลือง อาการแพ้ถั่วมักไม่หายไปเมื่อโต 5.ข้าวสาลี มีในอาหารและขนมหลายชนิด และเป็นส่วนผสมของซีอิ๊วหรือซอสบางอย่าง 6.อาหารแปรรูป ที่มีส่วนผสมของอาหารที่แพ้ เช่น ไข่ ถั่ว ข้าวสาลี อาหารทะเล อาจรับประทานเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เช่น ซอส เต้าหู้ กะปิ อาหารหรือขนมที่ผสมแป้งสาลี…

Read more

11 สิ่งต้องทำเมื่อลูกเป็นหวัด

เมื่อเด็กเล็ก ๆ เป็นหวัดอาการมักจะรุนแรงกว่าเด็กโต เพราะร่างกายยังอ่อนแอ สามารถเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น โรคหลอดลมอักเสบหรือปอดบวม และยังดูดนมไม่สะดวกจากอาการคัดจมูกมีน้ำมูก มีวิธีดูแลมาฝากค่ะ ให้วัดปรอทดูว่ามีไข้หรือไม่ ถ้าไม่มีคอยดูแลให้ร่างกายลูกอบอุ่น ไม่ต้องให้นอนก็ได้ถ้าลูกไม่อยากนอน ถ้าลูกมีไข้ขึ้นสูงประมาณ 38 องศาเซลเซียส และไข้ไม่ลดลงในเวลา 4-6 ชม. ควรให้ลูกนอนพัก เช็ดตัวและให้ยาลดไข้ หรือพาไปพบคุณหมอ สังเกตน้ำมูกลูก ถ้าน้ำมูกข้นมีสีเหลืองหรือสีเขียว อาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน แต่ถ้าน้ำมูกใสอาจเกิดจากโรคแพ้ฝุ่นละอองเกสรต่าง ๆ ลองปรึกษาคุณหมอค่ะ ไม่ควรซื้อยากแก้ไอให้ลูกกินเอง ควรพาลูกไปพบคุณหมอ ซึ่งคุณหมออาจให้ยาแก้ไอหรือยาขับเสมหะถ้าลูกไอมาก ควรพาลูกไปพบคุณหมอ ถ้าสงสัยว่าลูกมีอาการติดเชื้ออื่นร่วมด้วย หรือลูกมีอาการไม่ยอมกินข้าว หรือไอจนนอนไม่หลับ หรือมีอาการกระวนกระวายผิดปกติ เมื่อไปพบคุณหมอแล้วใช้ยาตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ยาเองติดต่อกันเป็นเวลานาน ยกศีรษะลูกให้สูงเวลานอนโดยใช้หมอนหนุนใต้ที่นอน เพื่อช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้น ให้ลูกจิบน้ำบ่อย ๆ อาจเป็นน้ำอุ่น น้ำมะนาวผสมเจือจาง ให้น้ำหวานที่ลูกชอบด้วยก็ได้ ให้ดื่มน้ำก่อนนอน เพราะเป็นไข้ร่างกายสูญเสียน้ำ สอนให้ลูกสั่งน้ำมูกอย่างถูกวิธี โดยให้สั่งน้ำมูกทีละข้าง ให้ลูกนอนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี ควรทำห้องให้ชื้น หรือตั้งอ่างไว้ใต้เครื่องปรับอากาศเพื่อให้น้ำระเหย จะทำให้ลูกหายใจได้คล่องขึ้น ใช้น้ำมันหอมระเหย เช่น ยูคาลิปตัส…

Read more

มือเท้าปากโรคที่ต้องระวัง

อากาศชื้น ๆ เย็น ๆ อย่างนี้โรคมือเท้าปากระบาดได้ง่าย พบได้บ่อยในเด็กเล็กช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปีค่ะ รับเชื้อโรคมาจากไหน มือเท้าปากเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ยังไม่มียาเฉพาะที่ฆ่าเชื้อโรคได้ มักติดต่อโดยการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นจากการกินอาหารที่มีเชื้อโรค สัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย รวมไปถึงอุจจาระแล้วนำมือเข้าปาก การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างตามโรงเรียน เนอสเซอรี่ เด็ก ๆ จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย สังเกตอาการลูกเล็กไม่ยอมกิน ลูกอาจมีอาการป่วยคล้ายกับหวัด มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อนอนไม่หลับหรือหลับมากกว่าปกติ ขอดื่มแต่น้ำเย็น นอกจากอาการตุ่มสีแดงขึ้นบริเวณมือ เท้า ปากแล้ว ในเด็กเล็กที่ยังบอกอาการไม่ได้ คุณแม่อาจไม่ทราบว่าลูกเจ็บปาก ลองสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร ไม่ดื่มน้ำ น้ำลายไหล อาการนี้ต้องพบคุณหมอ ถ้ามีไข้สูง หรือรับประทานอะไรไม่ได้ ดูซึมลง ปัสสาวะออกน้อยลง หรือสีเข้มขึ้น ควรรีบพาไปหาคุณหมอ คุณหมอจะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก…

Read more

วัคซีนรวม 6 โรค ช่วยหนูเจ็บน้อยครั้งลง

สิ่งสำคัญหนึ่งที่ช่วยให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดเชื้อในช่วงหลังคลอดได้ คือ การฉีดวัคซีนให้แม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งช่วยลดการเกิดโรคหลายชนิดที่เป็นในคุณแม่ได้ และยังสามารถส่งผ่านภูมิคุ้มกันไปถึงลูกในท้อง ส่งต่อภูมิคุ้มกันจนกระทั่งลูกเกิดมาลืมตาดูโลก แต่อย่างไรก็ตามจะต้องไม่ลืมพาลูกรักไปรับการฉีดวัคซีนอย่างตอ่ เนอื่งใหครบตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ จึงจะช่วยป้องกันโรคอย่างได้ผลที่สุด รู้จัก 6 โรคสำาคัญ ที่ต้องป้องกันด้วยวัคซีน ลูกรักวัยแรกเกิดจนถึง 1 ขวบ การฉีดวัคซีนทุกชนิดให้ครบกำหนดจะต้องฉีดวัคซีนอย่างน้อย 16-20 ครั้ง ทำให้ลูกรักเจ็บตัวหลายหน จึงทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนรวมที่มีประสิทธิภำพ ครอบคลุมโรคต่ำงๆ ที่เด็กจะต้องฉีดป้องกันตำมเกณฑ์ 6 โรคได้แก่ คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ ตับอักเสบบี ไอกรน และเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ ซึ่งไม่เพียงช่วยให้เจ็บตัวน้อยลง แต่ยังช่วยลดควำมยุ่งยำก ลดค่าใช้จ่าย มีความปลอดภัย ช่วยให้ได้รับวัคซีนครบทุกชนิดมากกว่าการแยกฉีด เพราะวัคซีนรวม 6 โรคสามารถฉีดพร้อมกับวัคซีนอื่นๆ ที่ต้องฉีดในช่วงอายุนั้น และทำให้มีไข้น้อย เช่น วัคซีนไอกรนจะใช้ชนิดที่ไม่มีตัวเชื้อ หลังฉีดทำให้ร้องกวนหรือเป็นไข้น้อยลง

Read more