เรื่องวิธีการเลี้ยงลูกนั้นเป็นประเด็นอ่อนไหวที่ทำให้หลาย ๆ บ้านต้องพบกับความขัดแย้ง เนื่องจากความคิดความเชื่อและประสบการณ์ที่แตกต่าง คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงแบบนี้ คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายก็มีวิธีการเลี้ยงอีกแบบหนึ่ง หลายครั้งเราจึงพบว่าเด็ก ๆ เองก็สับสนกับข้อตกลงหรือกติกาในบ้าน คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ก็ไม่สบายใจหรือบาดหมางใจกันทั้ง ๆ ที่ต่างก็รักลูกรักหลานเช่นเดียวกัน แล้วเราจะรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไรดี
เทคนิควิธีสื่อสารด้วยหัวใจ ในประเด็นเรื่องการเลี้ยงลูก
1. อย่างแรก คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าลูก (หลาน) คือ แก้วตาดวงใจของทุกคน ทุกคนไม่ว่าจะคุณพ่อคุณแม่หรือคุณตาคุณยายก็อยากจะดูแลให้ดีที่สุด แต่ความหมายของคาว่า “ดีที่สุด” ของแต่ละคนนั้นต่างกัน หากเราเข้าใจในเรื่องนี้เราจะมองเห็นความรักความเมตตาที่ทุกคนมีต่อลูกของเรา รวมทั้งตัวเราด้วย และนั่นคือสะพานหลักที่จะนาเราไปสู่โอกาสในการพูดคุยเรื่องวิธีการเลี้ยงลูกแบบไม่ขัดแย้ง
2. เลือกช่วงเวลาดีดีในการพูดคุยสื่อสาร เมื่อมีความคิดเห็น หรือวิธีการเลี้ยงลูกที่แตกต่างกัน เราควรเริ่มพูดคุยเรื่องนี้เมื่อเราพร้อม ไม่โมโหหรือขุ่นเคืองใจ และเริ่มเมื่อเห็นว่าอีกฝ่ายน่าจะพร้อม ประเด็นสำคัญคือเราไม่ควรพูดทันทีในที่เกิดเหตุ เช่น คุณยายห้ามป้อนข้าวน้องนะจะเสียนิสัย การพูด ณ ขณะนั้นแบบไม่ทันให้อีกฝ่ายตั้งตัวจะสร้างความรู้สึกถูกตาหนิ และอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งในครอบครัวได้ง่าย
3. เมื่อมีช่วงเวลาหรือโอกาสในการพูดคุย ให้สบตาคู่สนทนา พร้อมเกริ่นนาเล็กน้อย เทคนิคนี้เรียกกันว่า “การเคาะประตู” เป็นการสื่อสารเพื่อส่งสัญญาณให้คู่สนทนาของเราทราบว่า เรากำลังจะพูดเรื่องอะไร เพื่อดูความพร้อมของอีกฝ่าย เช่น กรณีคุณแม่อยากให้ลูกทานข้าวเป็นเวลาและฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทานข้าว ขณะที่คุณพ่อ คุณตาหรือคุณยายอาจจะมองว่าการปล่อยให้ลูกหิวนั้นเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้ หากลูกไม่ทานก็ตามป้อน มุมมองที่แตกต่างกัน นำมาซึ่งวิธีคิดและวิธีการที่แตกต่าง ดังนั้น หากจะเริ่มพูดคุยในเรื่องนี้ เราอาจจะเริ่มเคาะประตูเกริ่นนา เมื่อเห็นว่าคู่สนทนามีความพร้อมก็สามารถพูดคุยได้
4. เห็นความสำคัญและเข้าอกเข้าใจคู่สนทนา ในการพูดคุยเราควรพูดถึงสิ่งดีดีที่อีกฝ่ายมีก่อน เช่น “หนูรู้ดีว่าคุณแม่รักหนูมากและรักหลานมาก หนูขอบคุณมากมากที่มาช่วยดูแลหลาน
เรื่องที่หนูจะปรึกษานี้ไม่ใช่ว่าคุณแม่ทำไม่ดีนะคะ แต่มันมีแนวทางการเลี้ยงเด็กที่แตกต่างไป หนูอยากจะให้คุณแม่ช่วยหนูเพื่อช่วยหลานในการฝึกเรื่องนี้ บลาๆๆๆ …..” การเห็นความสำคัญและเข้าอกเข้าใจคู่สนทนา จะทำให้คู่สนทนาตระหนักว่า นี่คือการร้องขอการปรึกษาหารือไม่ใช่การตำหนิติเตียน จึงสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้ดี
5. อย่าลืมที่จะสรุปปิดจบการสนทนาเพื่อจะได้ข้อตกลงร่วมกัน และขอบคุณคู่สนทนาในความเข้าอกเข้าใจที่มี
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักอยู่เสมอก็คือ บรรยากาศที่มีความสุขในครอบครัวคือความสุขของลูกรักด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงควรที่จะพยายามสื่อสารกันด้วยความเข้าใจ เราควรรักลูกและรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัวไปพร้อม ๆ กัน อาจจะยากและใช้เวลาสักหน่อยแต่คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับแน่นอน