มีพ่อแม่บ้านไหนที่ทะเลาะกับลูกแทบทุกวันบ้าง คิดว่าคงมีหลายบ้านเลยที่ต้องพบเจอกับสภาวะแบบนี้ ลูกไม่ยอมไม่อาบน้ำ ลูกไม่ยอมไปทานข้าว เรียกแล้วเรียกอีกก็ทำเป็นไม่ได้ยิน สุดท้ายเรื่องราวมักจบลงที่คุณพ่อคุณแม่โมโหและต้องบังคับใช้มาตรการต่างๆ ทั้งข่มขู่ ทั้งตัดสิทธิ์ หรือบางบ้านอาจจะถึงกับลงไม้ลงมือตีกันไปเบาเบา แม้สุดท้ายลูกจะยอมทำตามที่พ่อแม่สั่งหรือบังคับ แต่เราก็ต้องสูญเสียบรรยากาศดีดีในบ้านไป
มันจะดีกว่านี้ไหม… หากเราสามารถฝึกวินัยเชิงบวกให้ลูกกำกับตนเองได้
จะฝึกลูกให้มีวินัยกากับตนเองได้ พ่อแม่ต้องทาอย่างไร
การฝึกวินัยเชิงบวกให้กับลูกต้องเริ่มต้นที่ความตั้งใจอันแน่วแน่ของคุณพ่อและคุณแม่ เพราะการฝึกนั้นย่อมต้องใช้ระยะเวลา ทาซ้าและสม่าเสมอ คุณพ่อคุณแม่ควรกาหนดกติกาหรือกิจวัตรประจาวันที่ลูกต้องทาอย่างสม่าเสมอ และกากับให้เวลาเป็นไปตามนั้น หากลูกไม่ปฏิบัติหรือมีอาการงอแง ขอให้คุณพ่อคุณแม่ทาความเข้าใจก่อนว่า นั่นเป็นเรื่องปกติตามวัยของเขา ซึ่งเราต้องเตรียมความพร้อมที่จะรับมือ และเราจะถือเอาโอกาสนั้นในการฝึกเขา โดยการสื่อสารเชิงบวก ชวนลูกใช้สมองคิดอย่างใจเย็น
วิธีรับมือเมื่อลูกไม่ทำตาม
- บอกเหตุผลกับลูกเพื่อฝึกสมองส่วนคิดวิเคราะห์ ในการบอกเหตุผลกับลูกนั้น ขอให้คุณพ่อคุณแม่มองหน้ามองตาและสื่อสารกับลูกด้วยท่าทีที่ปกติ เช่น เมื่อเราต้องการให้ลูกไปอาบน้ำ แทนที่เราจะบ่นว่า ว่าทำไมไม่ยอมมา แม่จะโมโหแล้วนะ เราควรพูดอธิบายถึงเหตุผลที่เขาต้องอาบน้ำในเวลานี้ เช่น เรากำหนดเวลาอ่านนิทานไว้สองทุ่ม หากลูกอาบน้ำช้า ลูกก็จะอดอ่านนิทานก่อนนอนนะคะ”
- เปิดพื้นที่เพื่อรับฟังเหตุผลของลูก เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกมีตัวตนและได้บอกกล่าวถึงสิ่งที่เขาคิดเพื่อเชื่อมโยงกับสถานการณ์ เช่น ลูกอาจจะไม่อยากไปอาบน้ำตอนนี้เพราะมีเพื่อนมาเล่นด้วย และเพิ่งได้เล่นกับไปแป๊ปเดียว หากได้รับคำตอบที่คุณพ่อคุณแม่รู้สึกขัดใจ อย่าเพิ่งรีบโมโห ให้ลองสรุปสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากลูกตัดสินใจเช่นนั้นให้เขาฟังต่อไป
- สรุปข้อมูลตามการตัดสินใจของลูกให้เขาฟัง เพื่อให้สมองส่วนคิดวิเคราะห์ของลูกทำงานง่ายขึ้น เช่น หากลูกไม่ไปอาบน้ำในเวลานี้ เมื่อถึงเวลาที่ต้องพักผ่อนลูกจะไม่ได้อ่านนิทาน หรือได้อ่านน้อยลงนะคะเพราะเวลาไม่เพียงพอแล้ว ลูกจะตัดสินใจอย่างไร ณ จุดนี้ พ่อแม่ต้องฝึกตนเองอย่างมากที่จะยอมรับการตัดสินใจของลูก
- เมื่อลูกคิดทบทวนและยังยืนยันการตัดสินเดิม คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกที่จะยอมรับ และพร้อมที่จะรับมือเมื่อลูกจะเกิดอาการผิดหวังในสถานการณ์หลังจากนี้ เช่น เมื่อลูกไม่ได้อ่านนิทานก่อนนอน แล้วงอแงโวยวาย พ่อแม่ควรรับมือกับความผิดหวังของลูกด้วยความเป็นมิตร
สุดท้าย สิ่งสาคัญอย่างมากในการฝึกวินัยเชิงบวก คือการรับมือตอนลูกมีอารมณ์ผิดหวัง เพื่อฝึกลูกรับผิดชอบผลลัพธ์ของการตัดสินใจ การรับมือกับความผิดหวังของลูก ไม่ใช่การยอมตามใจและไม่ใช่การปล่อยปละละเลยให้ฟูมฟาย พ่อและแม่ควรเข้าไปโอบอุ้มเขาด้วยการรับรู้ถึงความเสียใจ เข้าใจพร้อมแนะนำว่าครั้งต่อไปเราจะทำอย่างไรกันดีเพื่อไม้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก เพียงเท่านี้ลูกก็จะได้ฝึกการกำกับตนเองอย่างสม่ำเสมอแล้ว