หน้าฝนแวะเวียนมาทีไร คุณแม่มักจะเป็นกังวลกับสุขภาพของลูกน้อยเป็นพิเศษ มีเรื่องใดต้องระวังบ้างมาดูกันเลยค่ะ
1.หวัด
เด็กเล็กมีโอกาสเป็นหวัดง่าย ไอ มีน้ำมูก หายใจครืดคราดอยู่บ่อย ๆ การให้ลูกดื่มน้ำหรือนมมากขึ้นช่วยได้ ถ้าไม่ได้มีน้ำมูกมากควรหลีกเลี่ยงการกินยาค่ะ
วิธีลดน้ำมูก
แม้ว่าภายในรูจมูกของลูกเป็นส่วนที่บอบบาง ไม่ควรมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปสัมผัส แต่หากมีความจำเป็นควรดูแลอย่างถูกวิธี
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน อาจใช้ก้านสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดภายในรูจมูก แต่อย่าเข้าไปลึกเพราะอาจเป็นอันตรายได้
- เด็กที่โตหน่อย ใช้ลูกยางดูดน้ำมูก โดยทำความสะอาดลูกยางด้วยน้ำและสบู่ บีบน้ำออกให้หมด เวลาใช้บีบกระเปาะยางให้แบนแล้วสอดเข้าไปในรูจมูกแล้วค่อย ๆ คลายมือที่บีบออกเบา ๆ เพื่อดูดน้ำมูก ใช้เสร็จแล้วควรทำความสะอาดและผึ่งลมให้แห้ง
2.ผดผื่นตอแย
- เชื้อโรคมักเติบโตได้ดีในอากาศอับชื้นนำมาสู่ปัญหาผดผื่นได้
ดูแลและป้องกัน
- ดูแลของใช้ลูก อย่างผ้าอ้อม เสื้อผ้า หรือผ้าห่มไม่ให้อับชื้น ก่อนเก็บผ้าให้จับดูว่าส่วนไหนยังชื้นอยู่ควรตากแดดให้แห้งหรือรีดให้หายชื้น
- ถ้าใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปต้องหมั่นเปลี่ยนเสมอ เพราะมีโอกาสทำให้เกิดผดผื่นได้มากกว่าผ้าอ้อมผ้า
- ถ้าลูกคันทาคาลามายน์เพื่อช่วยบรรเทา อย่าให้เกาเด็ดขาด ถ้ามีทีท่าว่าจะลามไม่หยุด ควรไปพบคุณหมอ
3. แมลง กัด ต่อย
ดูแลและป้องกัน
- ใส่เสื้อผ้าที่ปกคลุมแขนขาลูก หลีกเลี่ยงที่ยุงชุม นอนในห้องนอนที่มีมุ้งลวด
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน จัดบ้านให้โล่งเพื่อลดที่แอบซ่อนตัวของแมลงต่าง ๆ
- ทายาลดอาการแพ้และคันแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรพบคุณหมอ
4.แมลง กัด ต่อย
ยุงและแมลงต่างๆ มักชุกชุมมากขึ้นในช่วงหน้าฝน ถ้าลูกน้อยถูกยุงหรือแมลงกัดแล้วมีอาการแพ้ อาจทำให้เป็นตุ่มนูนแดงตามตัว
ดูแลและป้องกัน
- ทำความสะอาดบริเวณที่มีน้ำขังอยู่ให้แห้ง
- ประตูหรือระเบียงบ้านควรมีรั้วกั้นป้องกันไม่ให้เด็กคลานหรือเดินไปถึงบริเวณที่มีน้ำขัง
- ขณะอุ้มเด็กควรหลีกลี่ยงการเดินไปบริเวณที่มีน้ำขัง เช่น พื้นกระเบื้องเปียกเพื่อป้องกันการลื่นล้ม
- ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมทั้งสายไฟอยู่เสมอ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง ตรวจดูปลั๊กหรือสวิทช์ไฟที่อาจโดนฝนสาด ป้องกันเด็กเข้าถึงบริเวณน้ำท่วมขังหรือพื้นเปียกชื้นเพราะอาจมีกระแสไฟฟ้ารั่วได้