ในยุคปัจจุบันดูเหมือนว่าเด็กกับสมาร์ทโฟนจะกลายเป็นของคู่กันอย่างหลักเลี่ยงได้ยาก พ่อแม่หลายบ้านที่อดใจไม่ไหวหยิบยื่นโทรศัพท์มือถือให้ลูกเพื่อแลกกับความสุขสงบ แลกกับการที่ลูกยอมทานอาหาร หรือแลกกับการทำภารกิจอื่นๆในชีวิตประจาวัน การปล่อยเด็กไว้กับจอทีวีหรือจอมือถือนั้นจะส่งผลเสียทั้งในด้านพัฒนาการของสมองและร่างกาย เหล่ากุมารแพทย์จึงต่างพากันออกมาเตือนถึงภัยของการใช้สมาร์ทโฟนที่มากเกินไปสาหรับวัยเด็ก โดยสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาประกาศไว้ว่า เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีไม่ควรใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคทุกชนิด เพราะเด็กจะขาดโอกาสพัฒนาทักษะการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
แล้วเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปีล่ะ จะใช้เวลาอยู่หน้าจอได้นานเท่าไหร่ถึงไม่อันตราย
ในทางทฤษฎีนั้นเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี สามารถดูสมาร์ทโฟนหรือสื่ออิเลคทรอนิคก์ได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง/วัน แต่ถ้าพบว่าเด็กมีปัญหาด้านการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ควรงดการอยู่กับสื่อทันที และสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังไม่มั่นใจว่า การอนุญาตให้ลูกดูทีวีหรือสมาร์ทโฟน 1-2 ชั่วโมงต่อวันนั้น ควรพิจารณาจากสิ่งใด อันที่จริงแล้วไม่มีข้อกาหนดที่ตายตัวในเรื่องนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถพิจารณาได้จากตัวของเด็กๆเอง อาทิ หากเด็กในการดูแลของคุณสามารถทำตามกติกาหรือข้อตกลงของครอบครัวได้ดี มีสมาธิตามวัยและไม่พบปัญหาด้านการปฏิสัมพันธ์ คุณอาจจะอนุญาตให้เด็กๆดูทีวี หรือดูการ์ตูนได้ ครั้งละ 1 ชั่วโมง จานวน 2 ครั้ง /ต่อวัน หรือ 1 ชั่วโมง เพียง 1 ครั้ง/วัน โดยกำหนดวันที่เด็กสามารถดูทีวีหรืออยู่กับสมาร์ทโฟนได้ เช่น ทุกวันอาทิตย์ ทั้งนี้ไม่ควรให้เด็กๆอยู่กับหน้าจอเกินกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งสุขภาพตา และสภาพร่างกาย
สร้างข้อตกลงอย่างไรให้เด็กๆอยู่หน้าจอ อย่างมีวินัย
สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าจำนวนเวลาที่อนุญาตให้เด็กๆอยู่หน้าจอ คือข้อตกลงของครอบครัวที่กำหนดให้เด็กๆปฏิบัติตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้สิทธิ์เด็กๆในการใช้สมาร์ทโฟนหรือดูทีวีตามใจชอบ แต่ควรกำหนดกติกา เวลา ที่ชัดเจนในการดูทีวีหรือสมาร์ทโฟน เช่น อนุญาตให้ดูในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ จำนวน 1 ชั่วโมงหลังทำการบ้านเสร็จ เมื่อกำหนดกติกาแล้วให้บังคับใช้กติกาอย่างจริงจัง เพื่อสร้างวินัยให้กับเด็กๆ จนเกิดเป็นนิสัย เมื่อเค้าคุ้นชินแล้ว เด็กๆจะปิดทีวี หรือส่งคืนโทรศัพท์มือถือให้คุณพ่อคุณแม่เองเมื่อหมดเวลา ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ควรชมเชยให้กำลังใจหากเด็กๆปฏิบัติตามข้อตกลงได้ดี แต่ในกรณีที่พบว่าเด็กๆมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ใจร้อน ไม่รู้จักรอหรือเกิดปัญหาในด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ควรงดการให้ดูทีวีหรืออยู่หน้าจอทันที แต่ให้หันมาพูดคุยชักชวนเด็กๆทำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเขา
สิ่งสำคัญในประเด็นนี้ก็คือ คุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวเอง ก็ควรต้องงดใช้สมาร์ทโฟนหรืองดการดูทีวีทั้งวันเช่นกัน และควรหันมาสร้างกิจกรรมหรือทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ อาทิ การไปสวนสาธารณะเพื่อออกกำลังกายหรือเดินเล่น การทำงานศิลปะ เช่น วาดรูป ประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ การทำอาหารร่วมกัน เป็นต้น การได้ทำกิจกรรมในยามว่างที่มุ่งเน้นการใช้ศักยภาพด้านต่างๆ จะทำให้เด็กๆเพลิดเพลิน จนลืมเรื่องมือถือไปเลยล่ะ